จัดการความรู้แบบจีนยูนนาน...นำเสนอตัวตนผ่านการท่องเที่ยว


มีคำถามว่า เราจะแปลงภูมิปัญญาเป็นทุนใช่หรือไม่? เปล่าเลย...หากคิดเช่นนั้น นับวันภูมิปัญญาจะล่มสลาย

ชุมชนจีนยูนนานสันติชลได้ดำเนินการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ผ่านมาระยะหนึ่งในชุมชนจีนยูนนานแม่ฮ่องสอน ด้วยกระแสที่แรงของการท่องเที่ยวในปีนี้ ที่สันติชล มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวในหมู่บ้านมากขึ้น

พฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนไทยเราเปลี่ยนไป จากการเที่ยวแบบไปถ่ายรูป ซื้อของ ทานข้าว เริ่มเข้าสู่การท่องเที่ยวแบบเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนกับชุมชน และตั้งคำถามกับสิ่งที่พบเห็นที่แปลกของไปจากวิถีตนเอง เป็นการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้กันและกันมากขึ้น

การท่องเที่ยวโดยชุมชน ตอบโจทย์นี้ ชุมชนจีนยูนนานมี องค์ความรู้พื้นบ้านที่มีคุณค่า มีศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี ที่สืบต่อกันมาช้านาน จากรุ่นสู่รุ่น

ความเข้มแข็งของภูมิปัญญาจีน แสดงออกผ่านวิถีของคนจีนรุ่นใหม่ การแต่งกาย การกิน ภาษา และวิถีการดำเนินชีวิตทั่วไป

เหล่านี้คือ ...คุณค่าของภูมิปัญญา

ในกระบวนการท่องเที่ยว มีคำถามว่า  เราจะแปลงภูมิปัญญาเป็นทุนใช่หรือไม่? เปล่าเลย...หากคิดเช่นนั้น นับวันภูมิปัญญาจะล่มสลาย

หากแต่ใช้โอกาสการท่องเที่ยวนำเสนอตัวตนของจีนยูนาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตนเองและผู้อื่น เพื่อความเข้าใจ และความสมานฉันท์ ผ่านการปะทะสังสรรค์ของนักท่องเที่ยวกับชาวบ้าน

แนวความคิดการจัดทำศูนย์เรียนรู้ "วัฒนธรรมจีนยูนนาน" บ้านสันติชลจึงเกิดขึ้น ทางทีมวิจัยชาวบ้านได้ร่วมกันคิด ในส่วนของการผสานความรู้ต่างๆ(Knowledge integration) รวมถึงรูปแบบการถ่ายทอดความรู้(Knowledge transfer) การจัดเก็บความรู้ในรูปแบบต่างๆ(Knowledge storage and maintenance) 

ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ...วันนี้ได้เริ่มต้นไปบางส่วน และวันที่ ๙ - ๑๑ ธันวาคม ๔๙ ผมและชาวบ้านจำนวนหนึ่งจะเดินทางไปดูงานที่ดอยแม่สลอง เชียงราย เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพี่น้องจีนยูนนานที่แม่สลอง ในประเด็นการพัฒนาดังกล่าว

เป็นการเริ่มต้น...จากชาวบ้านคิดและเห็นความสำคัญ

การจัดการความรู้แบบจีนยูนนาน คงเป็นจริงได้ไม่ยาก ในอนาคตอันใกล้นี้ ที่บ้านสันติชล อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน

 

หมายเลขบันทึก: 66122เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2006 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

เรียน คุณจตุพร

                    ผมได้อ่านข้อความตามแจ้ง ได้ความรู้ดี ขอบอกเล่าเรื่องคุณตรีปฐม และเพื่อน ไปพบคุณสุเมษ ๆ ให้ความร่วมมือดี เขาขึ้นดอยไป 2 วันแล้วครับ ตั้งใจว่าพรุ่งนี้เช้าจะขึ้นไปเยี่ยม ระยะทางจากน่านไปถึงชุมชุมเผ่าตองเหลือง รวม 45 กิโลเมตรครับ ผมขอใช้เส้นทางนี้สื่อสารบอกเล่า แลกเปลี่ยน  ขอความรู้ และคำแนะนำในโอกาสต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ.

  • สวัสดีครับท่านอาจารย์จตุพร
  • "แปลงปัญญาเป็นทุน" ประเด็นนี้น่าคิดมาก ๆ เลยครับ
  • ถ้าแปลงเป็นทุน เหมือนแปลงสินทรัพย์เป็นทุนล่ะแย่แน่ ๆ เลยครับ เหมือนกับที่อาจารย์บอก
  • แต่ถ้าแปลงปัญญาให้เป็นทุนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงิน
  • แปลงเป็นแรง แปลงเป็นใจ แปลงเป็นชีวิตและความรักจนกลายเป็นศรัทธาก็จะเป็นทุนที่มีค่ายิ่งเลยครับ

ต้องขอบคุณพี่ tanu เป็นอย่างสูงครับ...สิ่งไหนที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น ช่วยกันสร้างสรรค์ชุมชน

ศรัทธาเสมอครับ

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

อาจารย์ปภังกรครับ 

มีนักพัฒนาอิสระ และอาจารย์จากจุฬา และผม เรานั่งคุยกันเรื่องนี้ครับ...เราเป็นห่วง ประเด็นที่ละเอียดอ่อนแบบนี้

แต่หากแปลงเป็นแบบที่อาจารย์เขียนไว้ แปลงสู่สิ่งดีๆ เพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน คือ KM นั่นเอง

ขอบคุณอาจารย์มากครับ

คุณเคยเห็นโคมไฟล้านนา มั้ย

ในสมัยก่อนผมต้องรอเวลาช่วงประเพณียี่เป็ง(ลอยกระทง) จึงจะมีโอกาสเห็น

แต่ตอนนี้อยากเห็นตอนไหนก็เห็น ร้านอาหาร รีสอร์ท นำมาให้นักท่องเที่ยวปล่อยเล่น

 

  • พฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนไทยเราเปลี่ยนไป จากการเที่ยวแบบไปถ่ายรูป ซื้อของ ทานข้าว เริ่มเข้าสู่การท่องเที่ยวแบบเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนกับชุมชน ถือเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีครับ
  • สิ่งที่จะทำให้การแลกเปลี่ยนสมบูรณ์ขึ้น คงต้องมีคนประเภทคุณอำนวยอยู่ด้วยครับ

มาเยี่ยม...

กำลังเตรียมตัวไปดอยแม่สลองหรือครับ...

นานแล้วที่ผมไปชื่นชมชาวจีนฮ่อ  กับวิถีความเป็นอยู่

ใช้ล่อแบกสิ่งของ...ขึ้นดอย...มีบ้านพักอดีตนายกรัฐมนตรีชื่อ พลเอกเกรียงศักดิ์  โดดเด่นอยู่ที่นั้นด้วย

พอกลับมาเพื่อนล้อผมว่ามีเค้าหน้าเหมือนชาวจีนฮ่ออยู่พักหนึ่ง...

ขอชื่นชมคุณจตุพรที่มองเห็นการท่องเที่ยวของคนไทย 

ไปทางดีขึ้นครับ...

ขอบคุณครับ 

คุณ Mr. Kamphanat Archa (Jack)

ขอบคุณที่เข้ามาร่วมเติม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครับ

กระบวนการท่องเที่ยวโดยชุมชน จะแตกต่างกับการท่องเที่ยวกระแสหลักทั้งในแนวคิดและกระบวนการ

การท่องเที่ยวถือเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องมี"คุณอำนวย" ที่เข้าใจ และต้องรู้เท่าทันปัญหา ที่เกิดจากการท่องเที่ยว(มีได้)

เราอยากให้กระบวนการวิจัยท่องเที่ยว ยกระดับความรู้ชุมชน และเสริมความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของตนเอง(โดยเฉพาะเยาวชน)

เป็นการศึกษา พัฒนา และวิจัย ครับ เราทำอย่างต่อเนื่องที่แม่ฮ่องสอน

ตอนนี้ผมกำลังทำงานวิจัยประเด็น "การสังเคราะห์การท่องเที่ยวโดยชุมชนแม่ฮ่องสอน" ในภาพรวมทั้ง จังหวัดอยู่ครับ อีกไม่นานคงได้นำผลวิจัยมาแลกเปลี่ยนกันใน Blog มีหลายๆประเด็นที่น่าสนใจมากทีเดียวครับ

แลกเปลี่ยนกันในช่วงต่อไปครับ

อาจารย์ umi

พรุ่งนี้ผมออกเดินทางจากเมืองปายแม่ฮ่องสอนแต่เช้าตรู่ครับ ผมจะไปร่วมงานชิมชาที่ดอยแม่สลอง และไปสัมผัสวิถีชาวจีนที่นั่น...การเดินทางไปครั้งนี้เพื่อเรียนรู้และนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับ บ้านจีนยูนนานสันติชลของเราครับ

ผมทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ ประเด็น community based tourism ที่แม่ฮ่องสอนครับผม

เอารูปสาวยูนนานที่สันติชล(ปาย)มาฝาก ถ่ายเมื่อสักครู่ ช่วงบ่าย ๓ โมงวันนี้  (๙ ธค.๔๙)...

-อ ขจิต เปลี่ยนรูป คุณจตุพร ก็เปลี่ยนรูป นัดกันมาหรือเปล่าน้อ

- แต่หล่อเหลาเชียวนะคะ (ไม่ส่งสายตาหวานๆ ให้ คุณไร้นามได้ติชมแล้ว รูปนี้ ดูหนุ่มกว่ารูปที่แล้ว สงสัยเอารูปในอดีตมาแน่นอนเลย)

- สิงของที่รวบรวมได้ กำลังเดินทางไปหาคุณจตุพรนะคะ มี 3 กล่องค่ะ

คุณกาเหว่า ครับ 

ผมเปลี่ยนก่อนอาจารย์ขจิตครับ  เป็นรูปปัจจุบันครับ ก็ถ่ายช่วงหนาว และ ก็ต้องทำตัวให้หนาวสมบรรยากาศกาศครับ

ผมก็หวั่นคุณไร้นามติชมครับ...เพราะเธอชมไม่เหมือนใครครับ

ต้องขอบคุณสิ่งของที่รวบรวมมาที่ผมนะครับ ผมขอเป็นผู้ประสานบุญนำสิ่งของที่ได้ ไปร่วมกับคาราวานของหลวงปู่ที่วัดอีกที ประมาณวันที่ ๑๐ มค.๕๐ ท่านหลวงปู่พร้อมศิษยานุศิษย์ จะนำไปบริจาคในบ้านชาวเขา บนดอยสูงที่ทุรกันดารแบบถึงมือครับผม

ขอรับเป็นผู้ประสานบุญครับ ขออนุโมทนาครับผม

ไม่รู้ว่าคุยเรื่องอะไรกันบ้าง แต่รู้ว่าคุยกันมาพักใหญ่ ๆ แต่ที่แวะมาชม ก็คือสนใจเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน ชอบสไตล์ของ อ.จตุพร มาก ๆ ที่ยึดหลักคุณค่าวิถีชีวิตของชุมชนเป็นเกณฑ์ ไม่ทำงานวิจัยเพื่อผลประโยชน์บนความทุกข์ในอนาคตของชุมชน เป็นกำลังใจสู้ต่อไป 

 

 

สวัสดีครับ คุณ สมัครเล่น  (แต่เอาจริง)

คุยมาพักใหญ่(มากๆ) ครับ แต่ก็เคลื่อนน้อย(ยังดีนะครับ) ผมมองว่าต้องใจเย็นๆ ตามที่ผมเขียนในบันทึก นี้ ครับ

การทำงานที่ไม่ยึดคุณค่า และศักยภาพชุมชนเป็นเกณฑ์ ผมมองว่าเดินทางไปไม่ไกลครับ เพราะเราละเลยความเป็นตัวเรา และไม่ให้เกียรติตัวเรา(หมายถึงชุมชน)

ผมเฝ้ามองการเปลี่ยนไปของการพัฒนาทั้งคนและชุมชน และคิดว่า ธรรมชาติของความรู้ที่เกิดขึ้น เริ่มต้นมันจะมีแรงผลักไปเรื่อยๆครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท