ตามติดวิจัยสถาบัน ช่วงสุดท้าย


จบบริบูรณ์สำหรับวิจัยสถาบัน

 

 สรุปกิจกรรมที่ผ่านพ้นไปตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้

ช่วงที่  1 http://gotoknow.org/blog/nareejuti/148693

ช่วงที่  2     http://gotoknow.org/blog/nareejuti/156256 

ช่วงที่  3     http://gotoknow.org/blog/nareejuti/163773

ช่วงที่  4     http://gotoknow.org/blog/nareejuti/170591

 

     ในที่สุดวันที่ต้องฝึกนำเสนอผลงานวิจัยก็มาถึง  หลังจากที่คร่ำเครียดในการทำวิจัยสถาบัน  ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ในการเก็บแบบสอบถามรวบรวมข้อมูลดิบและนำมาวิเคราะห์ข้อมูล  ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลได้อบรมไปแล้วในช่วงที่  3  (http://gotoknow.org/blog/nareejuti/163773)และได้ลุยทำการวิเคราะห์ข้อมูลจาก  SPSS  ประมาณกลางๆ  เดือนกุมภาพันธ์  คีย์ข้อมูลไป  พักไป  นอนไป  จนเสร็จสักที  แล้วก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์แต่เนื่องด้วยเวลาที่จำกัด  ใจก็กังวลว่าจะทำเสร็จทันวันที่  10  มีนาคม  2551  หรือเปล่า  เพราะว่าเป็นวันที่จะต้องไปฝึกนำเสนอผลงานวิจัย  บวกกับวันที่  3-7  มีนาคม  2551  ต้องเดินทางไปศึกษาดูงาน   ประเทศเวียดนาม  (http://gotoknow.org/blog/nareejuti/170499ก่อนไปทำเสร็จแต่ไม่สมบูรณ์ดีเท่าไหร่ แต่พอดีมาอ่านบล็อกของสายลมที่หวังดี  (http://gotoknow.org/blog/year/169543)เข้าไปอ่านคอมเมนต์เห็นคุณสาทิตย์บอกว่าไม่จำเป็นต้องทำเสร็จ  ทำได้แค่ไหนก็นำไปเสนอเพียงเท่านั้น  เห็นแล้วผู้เขียนเริ่มมีกำลังใจขึ้นมาทันที   พอกลับจากเวียดนามก็ใช้เวลาอย่างคุ้มค่านั่งทำพอยเวอร์สำหรับเตรียมนำเสนอในที่สุดก็ทำเสร็จพร้อมนำเสนอ  ซึ่งผู้เขียนได้นำข้อมูลดิบที่ได้ไปวิเคราะห์ออกมาเสร็จแบบไฟล้นก้นนิดหน่อย  ซึ่งนิสัยไม่ดีสักเท่าไหร่  ไม่ควรเอาแบบอย่าง

       และแล้ว  ช่วงที่  4  การนำเสนอผลงานวิจัย   ภูแก้ว  รีสอร์ท อ.เขาค้อ  จ.เพชรบูรณ์ก็มาถึง  (10-11  มีนาคม  2551)  โดยมีอธิการบดีเป็นผู้กล่าวเปิดงาน  และให้กำลังใจและชื่นชมเจ้าหน้าที่  และถ้ามีโอกาสทำให้อะไรทำซะวันนี้  วิจัยสถาบันจะเป็นตัวพัฒนางานส่วนต่างๆ  เวลาทำงานให้คิดว่าทำแล้วได้อะไรกับงานวิจัยที่ทำ  เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรของเรา  

ก่อนจะเผชิญชะตากรรมตามที่สายลมที่หวังดีบอก  ขอคลายเครียดกันสักหน่อย

 

เช้าวันที่  11  มีนาคม  2551  ก่อนฝึกนำเสนอขอถ่ายรูปเก็บบรรยากาศสวยๆของภูแก้วมาให้ดูกันค่ะ  คลายเครียดกันหน่อย

วันที่  11  มีนาคม  2551 เจอเพื่อนผู้ร่วมชะตากรรมต่างบอกกันว่าไม่นำเสนอได้ไหม  บางคนก็บอกว่าอายจังที่จะนำเสนอ  บางคนก็บอกว่ากรรมการเห็นต้องวิพากษ์สุดยอดแน่ๆ  แต่พอถึงวันนำเสนอจริงๆ  ทีแรกผู้เขียนเองใจก็เต้นตุ๊มๆ  ต่อมๆ  ที่ต้องนำเสนอ  เพราะว่ากลัวว่าผลงานที่ทำจะไม่ดี  แต่หลังจากที่ได้นำเสนอไปได้ฟังวิทยากร  (รศ.ดร.รัตนะ  บัวสนธ์)  วิพากษ์ก็รู้สึกว่าอาจารย์ให้คำแนะนำเป็นอย่างดี  ว่าส่วนไหนควรปรับปรุงและแก้ไขบ้าง  ท้ายสุดอาจารย์รัตนะ  ก็ได้ให้กำลังใจและพูดถึงผู้ที่ทำวิจัยสถาบันทุกคนว่า  รู้สึกดีใจที่ทุกคนทำวิจัยสถาบัน  การทำวิจัยสถาบันนั้นต้องให้ความหมายนิยามศัพท์ที่ชัดเจน  เขียนตามสิ่งที่เราทำจริงๆ  คิดยังไรก็ให้เขียนไปตามนั้น  เกณฑ์การแปลความหมายของค่าต้องชัดเจน  การนำเสนอผลงานนั้นสิ่งที่ผู้วิจัยสถาบันต้องนำเสนอคือข้อมูลพื้นฐาน และยึดวัตถุประสงค์เป็นหลักในการดึงนำมาเสนอข้อมูล  และการนำเสนอนั้นควรจะนำเสนอเป็นกราฟจะน่าสนใจ  และเลือกสีกราฟหรือแผนภูมิโทนร้อน  เพื่อทำให้การนำเสนอไม่น่าง่วง  และการอภิปราย  ข้อเสนอแนะนั้นจะเป็นส่วนสำคัญเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนางาน  เขียนเน้นข้อค้นพบของการทำวิจัย  เขียนให้ดีและคม  และเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์ในเชิงนโยบายเพื่อนำไปดำเนินงานต่อไป  

และอย่าท้อ  ครั้งแรกจะดูยุ่งยากสำหรับผู้ที่เริ่มต้นการทำวิจัยสถาบัน  แต่พอครั้งต่อไปจะคิดแบบเป็นระบบมีข้อมูลและรู้ว่างานวิจัยมีคุณค่าใช้โอกาสได้ทำอย่างต่อเนื่อง

รับวุฒิบัตรการผ่านอบรม อย่างภาคภูมิใจ

ฟังแบบนี้แล้ว  ผู้เขียนเองก็กลับมาคิดเหมือนกันว่า  “ทำให้เราคิดเป็นระบบหรอ”  คงจะจริง  ทำให้เราคิดเป็นระบบขึ้นรู้จักการวางแผนในการทำงาน  ต่อไปคงจะต้องเตรียมทำรายงานฉบับสมบูรณ์  

และในช่วงสุดท้าย  ทางอาจารย์วลุลี  โพธิรังสิยากร  ได้บรรยายพิเศษ  ประสบการณ์การทำวิจัยสถาบัน และการนำเสนอผลงานวิจัยไปตีพิมพ์  ทำให้ได้รับแนวทางและแนวคิดของอาจารย์  คิดใหญ่ แต่เริ่มจากจุดเล็กๆ  และทำมัน

 

จบบริบูรณ์

 

คำสำคัญ (Tags): #วิจัยสถาบัน
หมายเลขบันทึก: 170591เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2008 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2019 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ขอแสดงความยินดีด้วยนะครับ ในที่สุดก็ทำสำเร็จจนได้!!!! ถึงแม้จะเป็นภาระกิจที่ยากจนหลายคนท้อใจ และแล้วเราก็ได้นักวิจันสถาบันหน้าใหม่เพิ่มขึ้นอีกหลายคน
  • รูปสวยดีครับ (*_*)

เข้ามาชื่นชมความสำเร็จของเธอ ขอให้ความมุ่งมั่นของเธอจงนำทางไปสู่เป้าหมาย ทางเดินแห่งความสำเร็จ สำหรับ "ทางเดินแห่งรัก"

ลุงเก

 

  • ใช่ดีมากเลย
  • การที่ผู้มีประสบยการณ์มาให้ข้อคิดและเป็นกำลังใจให้เรา
  • บรรยายกาศดีมากเลย
  • สวยด้วย(วิว)นะ

สวัสดีครับ

  • แวะมาเยี่ยมครับ
  • บรรยากาศดีมากเลยนะครับ
  • น่าสนุก
  • ผ่านพ้นไปด้วยดีนะครับ
  • น่าชื่นชม
  • ชอบจำสลับกับสาวน้อยข้างบน
  • P
  • ฮ่าๆๆๆ
  • ดีใจด้วยครับที่งานผ่านไปได้ด้วยดี
  • ตอนไป มน
  • ทำไมไม่ได้ พบกันครับ
  • งง งง
  • ขอบคุณคุณสาทิตย์ที่มีส่วนช่วยให้โครงการนี้สำเร็จ  ถ้าไม่มีโครงการนี้กิจกรรมดีๆแบบนี้คงไม่เกิด 
  • ขอบคุณอาจารย์เกย์มากๆค่ะ  สำหรับกำลังใจค่ะ  ดูมีกำลังใจอีกเยอะเลยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ คุณยงยุทธค่ะ  ถ้ามีโอกาสก็ลองไปเที่ยวนะค่ะ  บรรยากาศดีมากๆ  ที่พักก็สะดวกสบาย  ปลอดอากาศเป็นพิษ  (ไม่ได้ค่าประชาสัมพันธ์นะคะ)
  • ขอบคุณ  สายลมที่หวังดี  ภาพวิว สวยอยู่แล้วค่ะ  แต่คนนี่แน่นอนกว่าค่ะ  อิอิ  (ล้อเล่นนะ) ไปมาด้วยกัน  ไม่ค่อยบ้ากันเลย  (ถ่ายรูป) 

 

เรียน  อาจารย์ขจิต 

  จริงแล้วคนที่จำสลับก็เป็นเพื่อนกันที่ร่วมกิน นอน  ยามทุกข์ยามยากมาน่ะค่ะ  แต่จำได้ง่ายๆ ค่ะ  สายลมที่หวังดี  จะขาวๆ  ส่วน  ทางเดินแห่งรัก  จะเข้มๆ  (ดำๆ  อิอิ)  แต่ดูดี   

   ที่ไม่เจอเพราะตอนนั้น  แก่นจังก็ชวนอยู่เหมือนกันค่ะ  ถ้าจำไม่ผิดวันนั้นติดประชุมค่ะ แต่ก็ได้เห็นภาพในวันนั้นจาก  gotoknow  เหมือนกันค่ะ  แก่นจังก็เป็นเพื่อนร่วมชะตากรรมมาตั้งแต่สมัยเรียนป.ตรี 

     ขอบคุณอาจารย์ขจิตมากๆค่ะ 

  ถ้ามีโอกาส คงได้เจอตัวจริงๆของอาจารย์ขจิตค่ะ  เพราะแต่ละบทความของอาจารย์มีเยอะและให้ความรู้ที่หลากหลายมากๆ  เพราะเวลาถ้าผู้เขียนว่างๆ  ก็จะแอบมาอ่านเหมือนกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท