โปรแกรม IT รุ่น 14 กพ.54, หลักสูตรระยะสั้น กับ วิชาชีพระยะสั้น, วิจัยอย่างง่าย ๆ, สอบ ผอ.กศน.จ.


โปรแกรม IT ออกเวอร์ชั่นใหม่ ทั้ง 3 หลักสูตร, หลักสูตรระยะสั้น กับ วิชาชีพระยะสั้น เหมือนหรือต่างกันอย่างไร, การทำวิจัยอย่างง่าย ๆ สำหรับครู กศน.

สัปดาห์นี้ มีเรื่องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4 เรื่อง คือ

 

         1. วันที่ 14 ก.พ.54  คุณสุขุม  ศรีวิไลฤทธิ์ ผู้พัฒนาโปรแกรม IT ได้ส่งลิงค์ดาวน์โหลดโปรแกรม ITw ของหลักสูตรเก่า 2544 และโปรแกรมของหลักสูตรใหม่ 2551 เวอร์ชั่นใหม่ 14 ก.พ.54 มาให้ทางอีเมล   ผมได้นำไปรวมไว้ให้ผู้สนใจเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่บันทึกเก่าเมื่อสัปดาห์ก่อนของผม ที่

http://gotoknow.org/blog/nfeph999/422965


         2. วันเดียวกัน  คุณสรัญญา  พัฒนมาศ ถามผมทางอีเมลว่า ใครเป็นผู้อนุมัติหลักสูตร “อาชีพระยะสั้น”   ผมตอบว่า ผอ.กศน.อำเภอ เป็นผู้อนุมัติหลักสูตร โดยแนะนำให้เข้าไปดูรายละเอียดเรื่อง “หลักสูตรระยะสั้น” ที่ http://gotoknow.org/blog/nfeph999/411801

             ต่อมา วันที่ 1 ก.พ.54  คุณสรัญญา  พัฒนมาศ ส่งอีเมลตอบมาว่า “อาชีพระยะสั้น” ไม่ใช่ “หลักสูตรระยะสั้น”    เรื่องนี้ เพื่อความชัดเจน ผมได้ถาม กป.กศน.  ได้รับคำตอบจาก อ.กฤติพัฒน์  แสงทอง ว่า
             หลักสูตรระยะสั้นก็คือการศึกษาต่อเนื่องทั้งหมด  โดย การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่สถานศึกษาสังกัด กศน. จัด แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ รวม 3 ประเภท คือ
             1. การศึกษานอกระบบ
                 1.1 การศึกษาขั้นพื้นฐาน ( สายสามัญ )
                 1.2 การศึกษาต่อเนื่อง
             2. การศึกษาตามอัธยาศัย
             การศึกษาต่อเนื่องทั้งหมด ( รวมทั้งวิชาชีพระยะสั้น ) ก็คือหลักสูตรระยะสั้น  หรือหลักสูตรระยะสั้นคือการศึกษาทุกอย่างที่ กศน.อำเภอจัด ที่ไม่ใช่สายสามัญและอัธยาศัย
             และเนื่องจากกลุ่มแผนงาน และสำนักงบประมาณ ใช้คำว่า "การศึกษาต่อเนื่อง" กป.จึงกำลังจะเปลี่ยนระเบียบหลักสูตรระยะสั้นใหม่ ไปใช้คำว่า การศึกษาต่อเนื่อง ให้เหมือนกันแทน
             คนจำนวนไม่น้อยยังคิดว่า หลักสูตรระยะสั้น กับทักษะอาชีพระยะสั้น เป็นคนละอย่างกัน แต่จริง ๆ แล้ว ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา เขาใช้คำว่า "หลักสูตรระยะสั้น" เป็น "คำรวม" รวมทุกหลักสูตรยกเว้นการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการศึกษาตามอัธยาศัย และให้อำนาจการอนุมัติหลักสูตรระยะสั้นเป็นอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา   ก่อนหน้านั้น การอนุมัติหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ไม่ใช่อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา แม้แต่การเปิดสอนกลุ่มสนใจ ( ปัจจุบันคือทักษะชีวิต ) ก็ยังต้องเสนอนายอำเภอ  แต่ระเบียบหลักสูตรระยะสั้นปี 2548 นี้ รวมกลุ่มสนใจหรือทักษะชีวิตด้วย ไม่ต้องเสนอนายอำเภอแล้ว

             ประกาศที่เกี่ยวข้องกับ “หลักสูตรระยะสั้น” ล่าสุดคือ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนหลักสูตรระยะสั้น พุทธศักราช 2554  ประกาศ ณ วันที่ 11 ม.ค.54


 

         3. สัปดาห์นี้ ผมจัดทำเอกสาร ( ใบความรู้ ) สำหรับจะไปเป็นวิทยากรที่ กศน.อ.เสนา ในสัปดาห์หน้า ( 8-9 ก.พ.54 )  2 เรื่อง คือ เรื่อง การทำสรุปผลการดำเนินงาน กับ การวิจัยอย่างง่าย ๆ ( ไม่ใช่ง่ายธรรมดา มีไม้ยมกด้วย แต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนไม้เอกบนง่ายคำแรกให้เป็นไม้ตรี )  ให้เวลาอบรมเรื่องละ 1 วัน

             สำหรับเรื่องการทำวิจัยอย่างง่าย ๆ จะให้ทำในลักษณะที่รายงานการวิจัยออกมาเพียง 1-3 หน้า ดังตัวอย่างต่อไปนี้



             จึงขอใช้ตรงนี้ สื่อสารไปถึงผู้จะเข้าอบรม ให้เตรียมดังนี้
             1)  กิจกรรมหรือโครงการ ที่จะทำการสรุปผลการดำเนินงาน คนละ 1 กิจกรรมหรือโครงการ ( เป็นกิจกรรมหรือโครงการที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2553-2554 โดยดำเนินการไปแล้วหรือกำลังจะดำเนินการก็ได้ )
             2)  ชื่อเรื่องการวิจัยอย่างง่าย ๆ คนละ 1 เรื่อง  โดยศึกษาและกรอกชื่อเรื่องลงในแบบฟอร์มด้านล่างนี้เตรียมไว้


 

ผู้สนใจ ดาวน์โหลดรายงานการวิจัยอย่างง่ายที่ผมเป็นผู้วิจัย โดยคลิกที่นี่

 

         4. เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุม ก.ค.ศ.ได้เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้อำนวย กศน.จ./กทม. มีสา่ระสำคัญได้แก่
             1) ให้แบ่งผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสอบคัดเลือก กับ กลุ่มคัดเลือก โดยให้คณะอนุกรรมบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ( อ.ก.ค.ศ. ) เป็นผู้กำหนดสัดส่วนตำแหน่งว่างที่จะใช้บรรจุและแต่งตั้งกรณีประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกและคัดเลือกในคราวเดียวกัน
ให้มีสิทธิสมัครได้เพียงกลุ่มเดียว   คณะกรรมการคัดเลือกมีไม่เกิน 5 คน เพื่อพิจารณากลั่นกรองผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
             2) หลักสูตรการสอบ
                  - กลุ่มสอบคัดเลือก มี 3 ภาค 400 คะแนน คือ
                     ภาค ก สอบข้อเขียน 100 คะแนน
                     ภาค ข ประเมินสมรรถนะทางการบริหาร 100 คะแนน
                     ภาค ค ประเมินประวัติ ผลงาน วิสัยทัศน์ แนวทางการพัฒนาการศึกษานอกระบบ และความเหมาะสมกับตำแหน่ง 200 คะแนน
                 - กลุ่มคัดเลือก มี 2 ภาค 400 คะแนน คือ
                     ภาค ก การแสดงวิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 200 คะแนน
                     ภาค ข ประเมินความเหมะสมกับตำแหน่ง 200 คะแนน


หมายเลขบันทึก: 424060เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2011 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอบคุณมากครับพี่เอก ...เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานมากครับ

แหม หน้าตาสดชื่นเบิกบาน (อ้วน) กันทั้งคู่เลยนะครับท่าน ผอ. 
ฝากความคิดถึง ถึงท่านรองโกศลด้วย

มาเยี่ยมชมผลงานและให้กำลังใจครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับท่าน ผอ.

ขอบคุณ อ.เอกชัย มากจ๊ะ ที่จะมาให้ความรู้กับเราชาว กศน.เสนา

และจะเตรียมโครงการ/กิจกรรม ที่จะดำเนินการทดลองปฏิบัติการสรุปผลโครงการ

 

จะเป็นการคุยกัน ให้เข้าใจวิธีทำ และทดลองทำในบางส่วนตามความจำกัดของเวลาและสภาพการณ์น่ะ ( อยากให้เตรียมเครื่องมือประเมิน เช่น แบบสอบถามที่เก็บข้อมูลไว้แล้ว เพื่อจะทดลองวิเคราะห์ข้อมูลออกมาเป็นข้อสรุปด้วย )
      ฝากบอกครู กศน. ให้ศึกษาเอกสารขั้นที่ 1 แล้วเลือกเรื่องที่จะวิจัยอย่างง่าย ๆ ไว้เลย
      แล้วเจอกันนะ

สนใจครับอยากให้ไปสอนที่อ.บางละมุง พัทยาบ้างครับอาจารย์

ถ้าสนใจ สัปดาห์หน้า ผมจะนำเอกสารใบความรู้ที่ผมทำทั้งหมด มาให้ดาวน์โหลดนะครับ  คงศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองได้

เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อครูกศน.ตำบลเป็นอย่างมากขอขอบพระคุณที่ได้จัดทำขึ้นเว็ปไว้ให้ดู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท