แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

เส้นทางการเดินทางอีกครั้ง (๑) ... แข่งขัน


บทความต่อเนื่อง 3 บทความค่ะ

 

 

แนะนำบันทึกเพิ่มเติม

 

 

ไปวิปัสสนาครั้งนี้ค่อนข้างฉุกละหุกมากเลยค่ะ 
มีวิบากเกิดก่อนการเข้าปฏิบัติ จึงทำให้ตัดสินใจกระทันหันให้ไปวิปัสสนาครั้งนี้ 

โอ๊ย...ฉันไม่ไหวแล้ว...ฉันอยากหนี...จากสังคมแบบนี้.... 

นั่นคือความรู้สึกที่อยากไปวิปัสสนา .... 
ทำอย่างไรดี ที่จะหนีจากความวุ่นวายใจอย่างนี้ 

เอาเลย...เช็คตารางเวลาของโคเอ็นก้า....โป๊ะเช๊ะ...เลยค่ะพี่น้อง.... 
ได้เวลาในวันที่ 25 ก.พ. - 8 มี.ค. '52

แต่งานอบรมที่ตัวเองไปช่วยงานนั้นยังไม่จบ...
ก็เลยต้องขออนุญาตศูนย์ธรรมกมลาเข้าไปในส่วนสมทบของวันที่ 28 ก.พ. 

มีบททดสอบเริ่มตั้งแต่เดินทางวันแรก (เอ๊ะ...ตั้งแต่ก่อนเดินทางด้วยซ้ำซินะ) 
จากที่ทุกครั้งที่เดินทางไปกับรถของศูนย์ฯ ที่จัดมาบริการ แต่ครั้งนี้ต้องเดินทางไปเอง เดินทางด้วยรถตู้สาธารณะจากอนุสาวรีย์ 9 โมงกว่า ถึงศูนย์ฯ ก็เที่ยงพอดี โชคดีที่ทันเที่ยงเพราะได้ทานข้าวค่ะ ไม่อย่างงั้น วันนี้ทั้งวันท้องร้องทั้งคืนแหง๋ แหง๋ 

ไปถึงปุ๊บก็นั่งวิปัสสนาบ่ายนั้นเลยค่ะ นั่งไปด้วยอาการปวดหัวมากๆ เพราะเพื่อนใหม่ในกายที่ฉันเรียกเขาว่า "ระฆัง" ส่งสัญญาณให้พักผ่อน แต่ตัวเองต้องไปนั่งวิปัสสนาเลย พอพักช่วง 6 โมงเย็นและขึ้นปฏิบัติในช่วงทุ่ม ฉันขออนุญาตธรรมบริกรไม่ขอขึ้นได้หรือไม่เพราะทั้งเพลียกับการเดินทางไกลและปวดหัวมาก แต่นั่นแหล่ะกฏก็เป็นกฏ ก็ต้องไปนั่งพิจารณาความเจ็บปวดตลอดจน 3 ทุ่ม แต่ครั้งนี้เป็นการพิจารณาความเจ็บปวดที่ชัดเจนมาก และทำให้เข้าใจกับคำว่า "เฝ้ามอง ไม่เข้าไปตัดสินนั้นเป็นอย่างไร" อย่างที่น้องคนหนึ่งได้แนะนำนั้นเป็นอย่างไร เพราะในช่วงเวลานั้นฉันได้นั่งพิจารณาแต่ภายในกระโหลกศีรษะ ... และนี่เป็นครั้งแรกที่ตัวเองพิจารณาเจาะเข้าไปถึงระดับลึกครั้งแรกจริงๆ เห็นอาการที่เป็นเพียงกริยาของอาการ จิตเราไม่ได้เจ็บปวดด้วย เป็นเพียงสิ่งที่เราได้บัญญัติไว้ว่า นี่คือความเจ็บปวด ... มันปวดนะ ปวดมากจริงๆ มีความรู้สึกอยากลงไปนอนตรงนั้น แต่ความอยากรู้ว่า มันจะปวดไปถึงไหน และความอยากจะลงไปนอนนั้นไปถึงไหน ... ทนสุดๆ 

ตลอดช่วงเวลานั้นรับรู้ว่า จิตฟุ้งซ่านมาก เพราะคิดเตลิดไปถึงการกระทำของตัวเอง ที่โดนแจ๊คพ๊อตมา มันต้องมีเหตุที่ไปที่มาเราได้กระทำและโดนกระทำขนาดนั้น เราสร้างเหตุจึงมีผลทำให้กระทำและโดนกระทำ หลายๆ สิ่งหลายๆ อย่างสะท้อนถึงการกระทำของเราที่ส่งผลสะท้อนกลับมาขนาดนั้น ทำให้คิดว่า อีกแล้วหรือ โดนดึงเข้าสู่โลกแห่งการแข่งขันอีกแล้วหรือ เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ คงต้องตั้งสติเพื่อกลับเข้าสู่โลกการแข่งขันอีกครั้ง แต่การกลับเข้าครั้งนี้คงต้องระวังการกระทำของตัวเองให้มากขึ้น อย่างมีสติ ไตร่ตรอง มากกว่านี้ 

ฉันมีความเชื่อว่า หลายอย่างที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่เหตุบังเอิญ โจทย์ที่เราได้รับนั้นจิตเดิมเราเคยได้สัมผัสแล้ว และยังหาคำตอบไม่ได้ ทำให้ปัจจุบันเราจึงต้องมาพบกับโจทย์นั้นอีก นี่เป็นความเชื่อของฉันนะ ซึ่งทำให้ฉันสบายใจเมื่อคิดอย่างนี้ นั่นคือในช่วงที่ใจสงบนะ แต่ถ้าในช่วงหลงในความคิดก็มักจะคิด อะไรเนี่ย...อีกแล้วหรือ...ฉันโดนเปรียบเทียบอีกแล้วหรือ...ฉันโดนดูถูกอีกแล้วหรือ...ฉันโดนดึงเข้าสู่โลกแห่งการแข่งขันอีกแล้วหรือ...ซึ่งบางครั้งก็ไปปะทะโดนจริตของคนอื่นโดยที่เราไม่รู้ตัว 

เคยเจอไหม...บางครั้งคนๆ นี้เราเพิ่งเจอหน้าเขาเพียงแว๊บแรกเท่านั้น แต่ทำไมเราจึงไม่ชอบหน้าเขาเลย หรือ มองกลับกัน ทำไมเราชอบเขาจัง ฉันเชื่อค่ะว่า มันต้องมีเหตุที่ทำให้เรารู้สึกอย่างนั้น แต่กว่าจะยอมรับความเชื่อนั้นได้ก็ผ่านใจอคติของตัวเองมามากพอสมควร ทั้งโดยที่เราเองรู้ตัวและไม่รู้ตัว แม้แต่บางครั้งที่เราโดนดึงเข้าสู่โลกของการแข่งขันภายนอก ที่มักทำให้ใจเราคิดไม่ดีเอาเสียเลย และอยากหลีกเร้นออกจากสังคมเหล่านั้น แต่นั่นแหล่ะ ถ้าเราไม่สู้เผชิญและตอบโจทย์นั้นให้ได้ เราก็ต้องเจอโจทย์เดิมๆ นั้นอีก ไม่จบไม่สิ้น

แต่การกลับเข้าสู่โลกแห่งการแข่งขันครั้งนี้ คงต้องเตือนตัวเองว่า เป็นการแข่งขันกับตัวเอง เพื่อให้ชนะกับอคติในเรือนใจของเรา ถึงแม้จะมีใครถูกดึงโดยเราหรือเราได้ดึงใครเข้ามาสู่โลกแห่งการแข่งขันโดยไม่ตั้งใจ คงต้องเตือนสติพอสมควรว่า "พึงระวัง และแข่งขันกับตัวเอง ทำอะไรก็แล้วแต่ถือหลักแห่งสติว่า เคลื่อนความระลึกรู้เพียงกายตัวเองเท่านั้น" ซึ่งมันคงยากพอสมควร เพราะยังอนุบาลเหลือเกินสำหรับการปฏิบัติจิต

พึงระวังว่า การแข่งขันนั้น ถ้าเราไม่นำไปเปรียบเทียบกับใคร การแข่งขันก็ไม่เกิด สู้มองกลับกันนำการเปรียบเทียบนั้นมาสู่จิตใจของเรา ณ ปัจจุบันนั้นให้ทัน และแข่งขันกับตัวเองดีกว่า...แต่จะทันไหมหนอ...คงต้องหมั่นฝึกจิต จับจิต น้อมนำเข้าสู่ใจ...ให้ทันแล้วหล่ะนะ...

 

เส้นทางการเดินทางอีกครั้ง (๒)...อุปสรรค (เข้าอ่านที่นี่)

หมายเลขบันทึก: 250159เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2009 18:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เจริญพร โยมแตง

หากคนเราแข่งขันกันสร้างความดี

โลกนี้ก็เป็นเหมือนสวรรค์

เจริญพร

นมัสการค่ะ ท่านพระปลัด

อย่างที่ท่านว่า คนเราแข่งขันกับสร้างความดี
มันก็คือการติดดี...ไม่ใช่หรือคะ..(เถียงค่ะ)
มันก็จะกลายเป็นการแข่งขันสร้างทุกข์อีกอย่างหนึ่งไม่ใช่หรือคะ
ทีนี้หล่ะ...แตงว่ามันยิ่งวุ่นวายกว่าเดิมนะคะ

หรือท่านว่าไงคะ

กราบนมัสการมาด้วยความเคารพค่ะ

 

เจริญพร โยมแตง

ท่านพุทธทาสบอกว่า ความดีเราก็ไม่ควรไปยึดมั่น

แต่สำหรับปุถุชนแล้วต่างยึดมั่นกันทั้งสิ้น

เจริญพร

สวัสดีคุณแตง ผ่านขั้นการเจ็บปวดสู่ไม่เจ็บปวด คือผ่านการทดสอบ

อดีตผมเป็นจับกังแบกฟืนเข้าเตาถ่าน ในวันแรก บ่าพอมพองเป็นผื่น กะจะเลิกงานโดยไม่รับค่าจ้าง แต่ลุงผมที่เป็นจับกังอยู่ก่อน บอกให้ผมสู้ให้ชนะ ลุงบอกว่าผ่านขั้นเจ็บปวดจะไม่เจ็บปวด ผมเอาไม้ขึ้นบ่าไม่ไหวแกให้ผมลากไป จนในที่สุดจะแบกไม้หลายๆดุ้นบ่ามันคุ้นกับไม้

มานึกคำลุงที่เคี่ยวเข็ญ ให้ผมชนะในวันนั้น เป็นคติฃีวิตมาถึงวันี้ และวิชาที่ลุงสอนผม ผมเอามาสอนเด็กในปัจจุบัน เดือดร้อนถึงพ่อแม่ มาห้ามหาว่าทารุณเด็กครับ

สวัสดีค่ะ ท่านผู้เฒ่า-วอญ่า

อย่างว่าแหล่ะค่ะ
การสอนของพ่อแม่ในยุคปัจจุบัน ไม่เหมือนกับสมัยเราในวัยเด็กเลยนะคะ

สมัยเราพ่อแม ผู้ใหญ่ที่แวดล้อมเลี้ยงดูเรานั้น เลี้ยงดูถึงแม้ทะนุถนอม แต่เมื่อเราเจอความเจ็บปวด ก็ไม่เคยทำโทษสิ่งที่ทำให้เจ็บ ปล่อยให้เราเรียนรู้กับสิ่งที่ทำให้เราเจ็บปวดเอง และอยู่กับสิ่งนั้นให้คุ้นเคย
แต่เด็กสมัยนี้พ่อแม่กลับทำโทษสิ่งที่ทำให้เด็กเจ็บ ไม่ยกเว้นแม้แต่พื้นดินที่เขาเหยียบอยู่ จนเด็กไม่เคยมองเข้ามาในตัวเอง มัวแต่กล่าวโทษสิ่งรอบกายที่ทำร้ายตัวเอง
พอโตขึ้นการสู้รบกับสิ่งเลวร้ายที่รุมเร้าเข้ามา ก็เลยต่อสู้ไม่ได้ จนมีการทำร้ายคนอื่นหรือแม้แต่ตัวเองในปัจจุบัน 
ท่านผู้เฒ่าเคยสังเกตไหมคะ เด็กสมัยนี้ทำไมทำร้ายตัวเองง่ายจังเลยคะ
ไม่ยกเว้นแม้แต่การฆ่าตัวเอง ที่พุทธถือว่า เป็นบาปอย่างมหันต์ เขาก็กระทำ คิดแต่เพียงว่า ไม่มีตัวเขา ณ ตอนนี้ เรื่องต่างๆ คงดีขึ้น และหลายคนก็คงสบายใจที่ไม่มีเขาอยู่ ณ ตรงนั้น ... มีแต่กล่าวโทษตัวเอง หรือ สิ่งรอบข้าง
ไม่เคยคิดดี หรือ มองกลับกัน ... ดีจังที่เราเจอโจทย์อย่างงั้น ต้องฟันฝ่าโจทย์ที่เข้ามาให้ได้ ... 
พวกเราในวัยที่เคยผ่านช่วงนั้นมา คงต้องช่วยกันช่วยเหลือพวกเขาแล้วหล่ะค่ะ

 

ได้ความคิดผุดขึ้นมามากเลยครับจากบทความคุณแตงไทยนี้

สวัสดีค่ะ อ.สาโรจน์

ขอบพระคุณมากค่ะ ที่อาจารย์แวะเข้ามาอ่าน

ยิ้มรับเลยค่ะ...สำหรับคำชม

ยกหาง...เนอะ...อาจารย์

ขอบพระคุณมากค่ะสำหรับกำลังใจ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท