ตามหา..."หัวใจ R2R"


เข้าใจหรือไม่...ว่าอะไรคือ ข้อคิดแท้จริงที่ซ่อนอยู่ใน R2R

ฉันได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นวิทยากรกลุ่มในงานแลกเปลี่ยน เรียนรู้ของภาคีเครือข่าย R2R เมื่อวันที่2-3 กรกฎาคม ที่ผ่านมา

 

ได้กลับมาอ่านทบทวน แนวคิด R2R ว่าจริงๆแล้ว...เจตนารมย์คืออะไร....

เพราะผลงานที่ได้รับคัดเลือกไปนั้น  เป็นงานวิจัยที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2531 และ 2535  แต่ผลของงานนั้นได้ถูกนำมาใช้งานทางวิสัญญีนับจากนั้นจนปัจจุบัน

 

ฉันอ่านบันทึกของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ใน r2r-vicharn ร่วมกับหนังสือที่ได้จากงานประชุมเล่มหนึ่ง.....

P

"R2R Routine to Research  สยบงานจำเจด้วยการวิจัย  สู่โลกใหม่ของงานประจำ"

 

โดยส่วนตัวแล้ว  ฉันเป็นคนอ่านหนังสือช้า...แต่มักสนใจในแนวคิดของผู้เขียน  โดยเฉพาะคำนำและบทหลักต้นๆ

    

จริงๆแล้วความสำคัญมีมากมายตลอดทั้งเล่ม

แต่ขอยกมากล่าวอ้างอิงบางส่วนที่โดนใจค่ะ

 

อ.นพ.พงษ์พิสุทธิ์  จงอุดมสุข กล่าวไว้ใน คำนำ ตอนหนึ่งว่า

 

....ผมเชื่อมั่นเสมอว่า ความโง่ ย่อมมาก่อน ความฉลาด  และคำถามโง่ๆของผม  ทำให้ผมได้เรียนรู้ว่า  ทรัพย์สมบัติที่มีค่าที่แพทย์รุ่นพี่เอ่ยถึงนั้นก็คือ ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ในโรงพยาบาล  ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผมจะหยิบใช้เมื่อไรก็ได้....

 

ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์  พานิช กล่าวไว้ตอนหนึ่ง ใน ภาค1 ตั้งหลักที่ความคิด  “R2R” ...อย่าสำคัญ(ผิด)ว่าเป็นเป้าหมาย ว่า

 

“R2R อาจเป็นชื่อที่ทำให้คนเข้าใจผิดได้ง่าย  เพราะคิดว่าหัวใจของเรื่องนี้คือการทำวิจัย  ซึ่งเป็นคำที่ทำให้คนบางกลุ่มเดินหนี

 

.....คำว่าการวิจัย หรือ research นั้น เป็นคำที่ฟังดูโก้  ถ้ามีงานวิจัยคนก็มักเอาไปเป็นผลงานวิชาการเพื่อใช้เลื่อนตำแหน่ง  เลื่อนขั้นได้  แต่การวิจัยแบบ R2Rนั้น เป็นงานวิจัยแบบง่ายๆ  เพราะหัวใจจริงๆไม่ได้อยู่ที่การวิจัย  แต่อยู่ที่การพัฒนางาน  โดยจัดกระบวนการให้เกิดการเรียนรู้อีกเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้กระบวนการพัฒนางานเกิดงานวิจัยที่สร้างความรู้ออกมาอย่างชัดเจนได้  คนทำก็มีความภาคภูมิใจ  ไปเล่าให้คนอื่นฟังได้อย่างเป็นระบบ  เขียนออกมาได้  และได้รับผลประโยชน์ทุกฝ่าย.....

 

....ดังนั้น  ชื่อ R2R จึงมีข้อดีอยู่  แต่ถ้าไม่ระวังก็อาจเข้าใจผิด  แล้วก็ไปหลงติดอยู่กับคำว่า วิจัย ทั้งๆที่หัวใจของ R2R คือการพัฒนางานไปพร้อมกับการพัฒนาคน......

 

 .....หลักในการพิจารณาว่างานศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็น R2Rหรือไม่ ให้ดูจาก 4 ส่วน ได้แก่

·        โจทย์วิจัย  คำถามวิจัยของ R2R ต้องมาจากงานประจำ  เป็นการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานประจำ

·        ผู้ทำวิจัย  ต้องเป็นผู้ทำงานประจำนั่นเองและต้องเป็นผู้แสดงบทบาทหลักของการวิจัย

·        ผลลัพธ์ของการวิจัย  ต้องวัดที่ผลที่เกิดต่อตัวผู้ป่วยหรือบริการที่มีผลต่อผู้ป่วยโดยตรง  ไม่ใช่วัดที่ตัวชี้วัดทุติยภูมิเท่านั้น เช่น ระดับสารต่างๆในร่างกายหรือผลการตรวจพิเศษต่างๆ

·        การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์  ผลการวิจัยต้องวนกลับไปก่อผลเปลี่ยนแปลงต่อการให้บริการผู้ป่วยโดยตรง  หรือต่อการจัดบริการผู้ป่วย.....

 

.....การทำ R2Rให้ได้ผลดีต้องการแรงเสริม 2 ส่วน

ส่วนที่หนึ่ง คือ บรรยากาศในที่ทำงาน........

ส่วนที่สอง คือ แรงหนุนจากผู้บริหาร.....

 

.....R2Rนั้น  หัวใจอยู่ที่คนที่ทำงานประจำที่ต้องการพัฒนางานของตัวให้ดีขึ้น  แล้วก็ใช้กระบวนการเพื่อคิดหาวิธี  โดยมุ่งตอบคำถามว่าทำอย่างไร (how) เพื่อให้งานในจุดนั้นทำได้ดีขึ้น....

 

แนวคิดเหล่านี้เป็นข้อเตือนใจที่ดีมากๆ...ของผู้ที่คิดจะพัฒนางานด้วยเทคนิคของR2R เพื่อยกระดับความน่าเชื่อถือในผลงานของการพัฒนา

 

...และก็เป็นแนวคิดที่ดีมากๆอีกเช่นกัน  ที่นำให้ผู้มีส่วนพิจารณางาน R2R สามารถเข้าช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานอย่างสมดังเจตนารมณ์ของผู้คิดคำว่า R2R คือ ท่านอาจารย์ วิจารณ์  พานิช ค่ะ

 

(ที่มา : ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์, อภิญญา ตันทวีวงศ์. R2R : Routine to Research สยบงานจำเจด้วยการวิจัย  สู่โลกใหม่ของงานประจำ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.), กรกฎาคม 2551.)

 

(นำเพลงที่เพื่อนรักฝากมาฟัง..ในวันพิเศษค่ะ  ทำให้มีกำลังใจทำงานมากขึ้น)

My Music - ช่วงเวลาที่ดีที่สุด
หมายเลขบันทึก: 193924เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2008 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีคะ อ.กฤษณา

  • บันทึกนี้ดีจังค่ะ สรุปเข้าใจง่ายตรงประเด็น
  • ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ ได้ความรู้เพิ่มเติม กำลังสนใจเรื่องนี้พอดีค่ะ เพราะไม่แน่ใจว่างานที่ตัวเองจะทำนั้นจะเข้าข่ายลักษณะของ R2R ได้หรือไม่

พี่ติ๋ว...กะปุ๋มส่งเมล์ไปหานะคะ...

(^___^)

ขอบพระคุณมากสำหรับบันทึกนี้นะคะ

น้องกะปุ๋มขา

  • kku.ac.th น่าจะล่มนะคะ...พี่เปิดไม่ได้ค่ะ

สวัสดีค่ะ ป้าแดง pa_daeng [มณีแดง คนสวย แซ่เฮ]

  • เป็นการนำข้อความในหนังสือที่ทาง สวรส.จัดทำมาเล่าค่ะ  เห็นว่าหากมีผู้สนใจอาจจะต้องใช้เวลาไปหามาอ่าน...มีข้อมูลในมือก็เลยถือโอกาสนำบางส่วนมาถ่ายทอดไปก่อนค่ะ...เพื่อจะได้ทันใจผู้สนใจ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณ Independent Woman

  • อ่านเพิ่มเติมได้จากบันทึกของอาจารย์วิจารณ์และอีกหลายๆบันทึกที่เกี่ยวข้องได้ค่ะ
  • ยินดีค่ะ

น้องกะปุ๋ม  Ka-Poom

  • พี่ติ๋วเปิด kku.ac.th ได้แล้วค่ะ  แต่ยังไม่พบmailของกะปุ๋มนะคะ
  • แวะมาอวยพรวันเกิดค่ะ....มาช้าดีกว่าไม่มา...อิอิ

น้องกะปุ๋ม  Ka-Poom

  • พี่ติ๋วเปิด kku.ac.th ได้แล้วค่ะ  แต่ยังไม่พบmailของกะปุ๋มนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณหมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ

  • ขอบพระคุณค่ะสำหรับพรที่นำมาค่ะ....
  • ไม่ได้มาช้าหรอกค่ะ...มาก่อนใครๆเลยค่ะ
  • ...เอ้อ...คือว่า...เออ...อ้า..เอ้อ...วันเกิดติ๋วพรุ่งนี้ วันที่ 14 กรกฎาคมค่ะ...แต่ก็กราบขอบพระคุณมากๆเลยค่ะที่นำขนมเค็กและรูปนกคู่มาฝาก....ถูกใจมากๆค่ะ
  • มาก่อนวันนึงก็ยิ่งยินดีค่ะ...จะได้เริ่มสุขซะตั้งแต่วันนี้ไปเลย ได้ฉลองสองวัน...สามคืนโชคดีกว่าใครๆค่ะ
  • ขอบคุณมากๆนะคะ

คุณติ๋วที่รักค่ะ

วันเกิดคุณติ๋ว วันอาทิตย์ ที่ ๑๔ กรกฏาคม

หมูเขียนบันทึกอวยพรก่อน ๑ วัน โดยถือฤกษ์วันอาทิตย์ http://gotoknow.org/blog/moowan/193884

หลาย ๆ ท่านอวยพรคุณติ๋วล่วงหน้า ๑ วัน

มีความสุขมาก ๆ และสวยตลอดไปนะค่ะ

ถึงคุณหมู อ.หมู แซ่เฮ เพื่อนรัก

P  

  • แม้ได้พบกันเพียงครั้งเดียว  ก็ทราบได้ถึงมิตรภาพที่ดี  ที่อบอุ่นจากคุณหมูเสมอค่ะ
  • คุณหมูเป็นคนสวย  ยิ้มหวาน  ใจเย็น  พูดเพราะ...เสียงยิ่งไพเราะมากๆค่ะ...จำได้ดี
  • ขอบคุณอีกครั้งสำหรับทุกๆอย่างค่ะ  เพลงไพเราะจริงๆ...ถูกใจและมีความสุขมากๆค่ะ ...ติ๋วเลยนำเพลงมาลงบันทึกนี้ด้วย...เพื่อระลึกถึงความน่ารักของคุณหมูค่ะ ^_^
  • ขอบคุณนะคะ  เพื่อนรัก

.หลักในการพิจารณาว่างานศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็น R2Rหรือไม่ ให้ดูจาก 4 ส่วน ได้แก่

·        โจทย์วิจัย  คำถามวิจัยของ R2R ต้องมาจากงานประจำ  เป็นการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานประจำ

·        ผู้ทำวิจัย  ต้องเป็นผู้ทำงานประจำนั่นเองและต้องเป็นผู้แสดงบทบาทหลักของการวิจัย

·        ผลลัพธ์ของการวิจัย  ต้องวัดที่ผลที่เกิดต่อตัวผู้ป่วยหรือบริการที่มีผลต่อผู้ป่วยโดยตรง  ไม่ใช่วัดที่ตัวชี้วัดทุติยภูมิเท่านั้น เช่น ระดับสารต่างๆในร่างกายหรือผลการตรวจพิเศษต่างๆ

·        การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์  ผลการวิจัยต้องวนกลับไปก่อผลเปลี่ยนแปลงต่อการให้บริการผู้ป่วยโดยตรง  หรือต่อการจัดบริการผู้ป่วย.....

 

ใช่เลยค่ะ

ถ้าทำได้ตามประเด็นนี้ อยากให้ลองเขียนมาขอทุน R2R ได้แน่นอนค่ะ

Image hosted by Photobucket.com

  • ขอให้มีความสุขตลอดไปค่ะ

สุขสันต์วันคล้ายวันเกิดนะครับ

วันที่ ๑๔ กรกฏาคม

ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยคุ้มครอง

ขอให้สุขภาพแข็งแรง เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นครับ

<object width='315' height='80'><param name='movie' value='http://www.ijigg.com/jiggPlayer.swf?songID=V2G4DFPA0&Autoplay=1'><param name='scale' value='noscale' /><param name='wmode' value='transparent'><embed src='http://www.ijigg.com/jiggPlayer.swf?Autoplay=1&songID=V2G4DFPA0' width='315' height='80'  scale='noscale' wmode='transparent'></embed></object><div style='width:300px;padding:4px;background:white;font-family:Arial,Tahoma;text-align:center;'><font size='3'><a href='http://www.ijigg.com/songs/V2G4DFPA0'>kids songs - Happy Birthday</a></div>

พี่แก้วคะ

  • ข้อคิดการทำ R2R ....จากข้อความที่อธิบาย  ขยายความโดยอาจารย์วิจารณ์ พานิช ชัดเจนอย่างที่พี่แก้วอ่านค่ะ...อาจารย์แนะนำให้เราทำได้อย่างง่ายๆและไม่หลงทางค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณน้องdanthai

  • ขอบคุณสำหรับเค็กวันเกิดที่น่าทานค่ะ...
  • ขอให้มีความสุขมากๆด้วยกัน...เช่นกันนะคะ
  • ...ฝากความรักและคิดถึงถึงทุกๆคนในครอบครัวด้วยค่ะ
  • ...จากป้าติ๋ว...

สวัสดีค่ะ คุณ Mr. Surachet Noirid

  • ขอบคุณนะคะสำหรับพรที่นำมาฝากพร้อมทั้งเพลงที่ตั้งใจนำมาให้ฟัง....^_^
  • ...ได้ทราบว่าเป็นเพลง Happy Birthday...และฟังแล้วค่ะ
  • ขอบพระคุณมากๆค่ะ
  • ขอให้มีความสุขมากๆเช่นกันนะคะ

                     

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท