สุนทรียสนทนา : Dialogue with JJ


ความสำเร็จในอดีตทำให้เห็น ปัจจัยความสำเร็จที่เป็น key success factor ของตนเอง เป็นการเรียกพลังความเชื่อมั่นในตนเองกลับมา

ในการประชุมวิชาการ Northeast Regional HA Forum ครั้งที่ 7 ภาคบ่ายของวันแรกในห้องเอราวัณ ผู้เขียนโชคดีที่ท่าน อ.จิตเจริญ ไชยาคำ (ท่าน อ.JJ) เรียกใช้งานโดยให้ช่วย workshop : สุนทรียสนทนา(Dialogue)  จากเดิมที่คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 ท่าน เรื่องนี้กลับมีผู้ที่สนใจมาก จนมีผู้เข้าร่วมทั้งหมดราว 60 ท่าน เราต้องเสริมเก้าอี้เพิ่มขึ้นซึ่งหากคราวต่อไปจะให้นั่งฟังกับพื้น...หลายท่านก็คงยินดี

มีผู้กล่าวถึง "สุนทรียสนทนา" มากมาย อาทิเช่น อ.ศรีสุดา คล้ายคล่องจิตร ซึ่งท่านสามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้

แต่ในมุมของผู้ปฏิบัติการซึ่งมีข้อจำกัดในหลายประการอาจต้องหยิบมาใช้แบบบูรณาการ ดังเช่นที่อ.จิตเจริญ ไชยาคำได้นำมาถ่ายทอดใน workshop นี้

ผู้เขียนขอสรุปเพียงบางประเด็นและบางสไลด์ ส่วนเนื้อหาของอาจารย์คาดว่าทาง HACC คงนำขึ้น website ในไม่ช้านี้

 

อาจารย์เริ่มต้นด้วยให้ทุกคนเขียนแนะนำตนเองในกระดาษ พร้อมทั้งความคาดหวังจากการเข้าร่วม workshop เป็นการ BAR (Before Action Review) ตนเอง

 

จากนั้นอาจารย์เริ่มบรรยายด้วยการให้ความสำคัญของ “คน” เพราะคนทุกคนเป็น Somebody ไม่ใช่ Nobody ให้ใช้ Positive thinking ในการทำงานให้มาก ให้ใช้พลังเชิงบวกในการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 

ชีวิตคนทำงานต้องอาศัย  “KUSA” (Knowledge, Understanding, Skill and Attitude)

 

พยายามใช้ Tacit Knowledge และ Learning by doing โดยคิดเสมอว่า การเรียนรู้คือชีวิต แสวงหาเรื่องมาเรียนรู้อยู่เรื่อยๆ และนำความรู้ที่มีอยู่ในตัวตนออกมาแบ่งปัน

สุนทรียสนทนาเป็นเครื่องมือเพื่อเสาะแสวงหาความรู้ในตัวตนของคน เป็นความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติงาน นำมาแลกเปลี่ยนกัน เรียนรู้ด้วยกันเพื่อพัฒนาองค์กร

 

หากมองความเชื่อมโยงไปสู่เรื่องของคุณภาพ  สุนทรียสนทนาน่าจะเป็นเครื่องมือที่ดีชิ้นหนึ่งในการค้นหาสิ่งดีๆในองค์กรโดยออกมาจากผู้ปฏิบัติจริงในพื้นที่ เป็นการเรียนรู้จาก Best Practice ของเพื่อน อาจนำเรื่องของ “ความสำเร็จในการจัดการความเสี่ยงต่างๆ” มาเล่า...ซึ่งหากจะฟังให้ได้ยินสิ่งที่ดีๆจากเพื่อน ต้องตั้งใจฟัง(จริงๆ)

 

สุดท้ายแล้ว  KUSA ทำให้เกิด KUSAP DeVa... นั่นคือได้ Performance, Development และ Value ไปในที่สุด

 

ทำไมกวางต้องพยายามวิ่งให้เร็วกว่าเสือ?...เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของเสือ และขณะเดียวกัน ทำไมเสือต้องพยายามวิ่งให้เร็วกว่ากวาง?...เพราะจะได้กินกวาง

...ตัวอย่างใน VDO เสือไล่กวางที่อาจารย์เปิดให้ดูสอนให้รู้ว่าในแต่ละวันชีวิตต้องทำให้ดีขึ้นกว่าเมื่อวานเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย

 

ในบรรยากาศเงียบสงบ ผ่อนคลายก่อให้เกิดความมีสติ เพื่อพร้อมในการรับฟังและถ่ายทอดอย่างมีสติอีกเช่นกัน การทำสุนทรียสนทนาเริ่มต้นด้วยการพยายามค้นหาตัวตนของตนเองให้พบ เพื่อมองให้เห็นศักยภาพในตนเอง ดังเช่นTarzan ในวีดีโอการ์ตูนที่อาจารย์นำมาให้ดูเป็นตัวอย่าง

 

การนึกถึงตนเองและวาดภาพของตนเองออกมาว่าเป็นอย่างไร เป็นโอกาสที่ทุกคนได้หันกลับมาทบทวนความสำเร็จของตนเองในอดีต แล้วทดลองเล่าโดยจับคู่สนทนากัน ผลัดกันเล่าเรื่องเพื่อเป็นการฝึกการฟังและการเล่าเรื่องในเบื้องต้น

 

ต่อมาให้จับกลุ่มๆละ 6 คน ฝึกทักษะการฟังและเล่าแบบสุนทรียสนทนาที่เข้มข้นขึ้น โดยใช้ปากกาเป็นมาร์คเกอร์ในการเล่าเรื่องของตนทีละคน เพื่อนๆที่เหลือให้ตั้งใจฟังไม่ขัดจังหวะการเล่า ฟังแบบ Deep Listening (อ.ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ UsableLabs ม.สงขลนครินทร์ เคยกล่าวไว้ตั้งแต่ปี 2549)... ตอนนี้ที่ผู้เขียนสังเกตเห็นบางคนเล่าอย่างมีความสุข แววตา ท่าทางและเรื่องที่เล่าบ่งบอกว่าความสำเร็จนี้ของเขาเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ ซึ่งอาจไม่เคยมีใครได้ฟังหรือรับทราบ และผู้ฟังฟังอย่างตั้งใจ

โดยสรุป

สุนทรียสนทนาเป็นเทคนิคหนึ่งในการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ขององค์กร ที่ทำให้คนในองค์กรค้นหาความดี สิ่งดีๆของกันและกันซึ่งเป็น best practice ในองค์กร

การสร้างให้บุคลากรเชื่อมั่นในตนเองว่ามีศักยภาพมากเพียงพอในการสร้างประโยชน์ต่อองค์กร “การมองตนเองให้ออก บอกตนเองให้ได้ ใช้ตนเองให้เป็น” เป็นสิ่งสำคัญในการดึงศักยภาพของตนเองออกมาใช้

การนึกถึงเรื่องราวความสำเร็จในอดีตทำให้เห็น ปัจจัยความสำเร็จที่เป็น key success factor ของคนในองค์กร เป็นการเรียกพลังความเชื่อมั่นของเขากลับมา การหมั่นทบทวนตนเองเพื่อให้ได้ Tacit Knowledge ของเขาเหล่านั้น และตั้งใจฟังเรื่องเล่าดีๆของเขา นำมาซึ่งประโยชน์อย่างมากต่อองค์กร

 

หมดเวลา workshop อาจารย์ให้ทำ AAR (After Action Review) ซึ่งส่วนมากบอกว่าชื่นชอบมาก พึงพอใจและมีเวลาน้อยไป อยากให้จัดหลักสูตรนี้อีกและอยากให้ใช้เวลามากกว่านี้

.....

จบการทำ workshopนี้แล้วทำให้ผู้เขียนได้คิด เรามีของดีใกล้ตัวมากมายที่ไม่แสวงหาให้พบและนำออกมาใช้  ในองค์กรของเราเองขาดความเชื่อมั่นและกระตุ้นกันและกันทำให้สิ่งดีๆที่มีในตัวคนไม่สามารถนำออกมาแสดงให้ประจักษ์ได้ น่าเสียดายยิ่งนัก

ตั้งใจฟังกันและกันให้มากขึ้นสักนิด แล้วชีวิตจะพบสิ่งดีๆมากมาย

...แล้วตอนนี้ล่ะ ท่านพร้อมจะทำสุนทรียสนทนากับคนในองค์กรของท่านรึยัง

ขอขอบพระคุณ อ.จิตเจริญ ไชยาคำ ปรมาจารย์คุณภาพของผู้เขียน

ด้วยความเคารพยิ่ง

กฤษณา สำเร็จ

25 กรกฎาคม 2553

 

 บันทึกเพิ่มเติม ณ 8 สิงหาคม 2553

บันทึกนี้ของผู้เขียนได้รับการต่อยอดจาก อ. Phoenix ซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์อย่างมาก

ข้อความขยายเพิ่มเติมของท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากข้อคิดเห็นด้านล่างของบันทึกค่ะ

23.
P
กฤษณา สำเร็จ
เมื่อ อา. 08 ส.ค. 2553 @ 10:00
#2124376 [ ลบ ]

มากกว่าบันทึกที่ออกมาเป็น short note หรือ powerpoint คือ สิ่งที่บรรยายไม่ถูก... ซึ่งมีมากมาย ลึกซึ้งกว่าที่ผู้เขียนเล่าไว้ในบันทึกนี้มากนัก

หากต้องการสัมผัสความลึกซึ้งดังกล่าวสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ซึ่งมีมากมายจากหลายๆท่าน เช่น บันทึกนี้ค่ะ

Gotoknow Forum 2009 (4): World Café   โดย P Phoenix

สุนทรียสนทนา: โหมโรง  โดย P คนธรรมดา

... และอีกหลายท่านที่บันทึกไว้ทั้งใน GotoKnow และ share.psu.ac.th

  • ขอขอบพระคุณ อ. Phoenix อีกครั้ง ท่านเป็นผู้ที่ทำให้ความคิดของผู้เขียนเปิดกว้างขึ้นอีกมากค่ะ และ
  • ขอขอบพระคุณ อ. คนธรรมดา ที่กรุณาบันทึกเล่าไว้หลายบันทึกให้ได้อ่านจนชุมฉ่ำใจค่ะ
หมายเลขบันทึก: 378686เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2010 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

สวัสดีค่ะ คุณติ๋ว

  • ครูอ้อย มาทักทายมาเรียนรู้มาบอกว่าคิดถึง
  • เมื่อไร จะมีเรื่องตลกให้ครูอ้อยอ่านอีกล่ะคะ

เรียน พี่แก้ว

  • ยินดีและขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ ครูอ้อย

  • ขอบคุณนะคะที่แวะมาหา
  • นี่นะ...ติ๋วมีเรื่องตลกมากมาย แต่แหม...มันไม่มีเวลาเมาท์เลย..เดี๋ยวนะ ว่างๆจะแอบมาเล่าให้ฟัง...เรื่อง พลังหยินและพลังหยาง ฟังมะ...อิอิ

จายเย็นๆๆๆ....ไปกินก๋วยเตี๋ยวไส้บิดคอยก่อนนะจ๊ะ

เรียน ท่านพี่ติ๋ว ถอดบทเรียนได้ครบถ้วน สาธุ สาธุ

มารอคิว อ่านเรื่องตลกน่ะค่ะ  และเรียนเชิญ ไป ชมดอกไม้สวย ที่นี่ ค่ะ

ขอบคุณคราบบบบ จะลองนำไปใช้ดู

ยังไม่ได้เล่าเลยจ้า..ครูอ้อย... วันพระเค้าไม่พูดทะลึ่งกันน่ะ...อิอิ

สวัสดีค่ะ คุณสสอ.ปลาปาก

ได้ผลอย่างไรนำมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

สวัสดีครับ

แวะมาเยี่ยม มาเก็บเกี่ยวความรู้ ครับ

เรียน อ.รศ. เพชรากร หาญพานิชย์ ค่ะ

ท่าน อ.JJ อยากให้อาจารย์มาร่วมกิจกรรมนี้ด้วยกัน ทราบข่าวจากน้องในทีมงานว่าท่านติดภารกิจ หน้าเสียดายค่ะ

โอกาสหน้าเชิญนะคะ

สุขสันต์วันเข้าพรรษา ด้วยต้นกล้วยบัวสีชมพูค่ะสาธุจ้า

พี่ติ๋วครับ คิดฮอดหลายครับ

แหะ แหะ คราวก่อนที่ขอนแก่นผิดพลาดนิดหน่อย

เดี๋ยวไปแก้ตัวใหม่ครับ

อ่านบันทึกนี้แล้ว เหมือนนั่งอยู่ด้วยเลยครับ...

ขอแจมสักนิดเดียว

ชื่นชมในกระบวนการและการสรุปมากครับ

บางครั้งหลังสุนทรียสนทนา เราไม่จำเป็นต้องได้ knowledge อะไรเลยก็ได้ แต่กลับได้ "ความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง" ขึ้นมาแทน ซึ่งบางทีสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ยั่งยืน มีค่า มีความหมายเสียย่ิงไปกว่าความรู้เสียอีก ไม่มีวันล้าสมัย

มนุษย์พูดคุยกันเพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ความทะเยอทะยานใฝ่สูงส่วนตัว มีค่ามีความหมายน้อยกว่าการสร้างสังคมที่รักกัน เอื้อเฟื้อกัน เข้าใจกัน

สุนทรียสนทนา​ (dialogue) เป็นเครื่องมือสื่อสารที่หล่อเลี้ยงความสัมพันธ์ได้ดีมาก ต่างจากเครื่องมืออื่นๆที่จะเน้น contents เนื้อหา ความรู้ เพราะ dialogue ทำให้เราเห็นคนเบื้องหน้าเป็นคน เป็นครู เป็นกัลยาณมิตร และทำให้เราเข้าใจว่าเราโชคดีขนาดไหน ท่ีได้มาอยู่เบื้องหน้าคนๆนี้ ได้มาในวันนี้

สวัสดีค่ะ น้องหนานเกียรติ

  • พี่มัวแต่ไปเขียนบันทึกเลยเพิ่งเห็นคอมเมนท์นี้ค่ะ
  • วันนั้นพี่ก็ต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้ไปแจมด้วย ชีวิตของพี่หากไม่วางแผนไว้ก่อนละก้อออกจะลำบากสักหน่อยค่ะ...อิอิ
  • คงมีโอกาสหน้านะคะ

เรียน อ.P Phoenix ค่ะ

ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะที่ร่วม "แจม" ในบันทึกนี้

เพิ่งเข้าใจถ่องแท้และทราบลึกซึ้งมากขึ้นใน สุนทรียสนทนา​ (dialogue) จากข้อคอมเมนท์ของอาจารย์ค่ะ

ลึกๆแล้วสุนทรียสนทนาเป็นการให้เกียรติผู้พูดด้วยการตั้งใจฟัง ด้วยความจริงใจ ...เสน่ห์จึงอยู่ที่สัมพันธภาพที่เกิดขึ้นระหว่างและหลังการทำสุนทรียสนทนานั่นเอง ถูกมั้ยคะอาจารย์

แบบนี้หากมีการเข้ามาเขียนในบันทึกแล้วมีการพูดคุยลักษณะเดียวกัน ได้ผลลัพธ์เป็น"ความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง" อย่างที่อาจารย์กล่าว จะถือว่าเป็นการใช้สุนทรียสนทนาเช่นกันใช่หรือไม่คะ หากใช่...นั่นหมายความว่า สุนทรียสนทนาเป็นเทคนิคที่มนุษย์พึงใช้ในการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม ไม่ใช่เพียงเพื่ออยากให้ได้เนื้อหาความรู้ฝังลึกในตัวตนของบางคนเพียงเท่านั้น ถูกมั้ยคะ (รอข้อคิดเห็นต่อค่ะ)

ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

คุณติ๋วครับ

แต่ไหนแต่ไร มนุษย์อยู่ "ด้วยกัน" และสังสรรค์สนทนากัน ไม่ได้หวังอะไรมากไปกว่าที่มีอยู่คือ "ฉันมีเธอ เธอมีฉัน"

ในยุคที่แสวงหาอะไรสักอย่างจากอีกฝ่ายตลอดเวลา กระหายหาความรู้จากสิ่งแวดล้อม จนบางที "contents" มัน overwhelm จนบางทีเราก้มหน้าก้มตาจดบันทึก เสน่ห์และความมหัศจรรย์ที่เราได้อยู่เบื้องหน้าซึ่งกันและกันหายหดไปหมดอย่างน่าเสียดาย

เราเดินไปหาคนไข้ เขามีเรื่องราวเล่ามากมาย เราก็เยียวยาเขา แต่ในขณะเดียวกันเขาก็เยียวยาเรา ด้วยการเติมมิตรภาพ เติมความสัมพันธ์ เติมความขอบคุณให้กับเรา สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่เพียงแค่ประสบการณ์ชีวิต แต่ความเป็นกัลยาณมิตร การให้และการรับ

ในยุค KM กำลังเฟื่องฟู ยกอนุญาตยกคำของไอสไตน์ "Imagination is more important than knowledge" หรือ จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ จินตนาการที่บรรเจิด ไม่ใช่จินตนาการเพื่อตัวเราเอง แต่เป็นจินตนาการเพื่อโลกใบนี้

เพราะสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ก็ทรงสอนให้พวกเราอย่าไป "ติด" ที่การเรียน เพราะ

"True success is not in the learning but in its application to the benefit of mankind."

หลังสุนทรียสนทนา หากเราเหลือแค่ short note หนึ่งเล่ม powerpoint หนึ่งชุด และไม่ได้ความมหัศจรรย์ของความสัมพันธ์ของมนุษย์ ก็น่าเสียดายเป็นที่ยิ่ง

My two cents (not more, not less)

เรียน อ.Phoenix ค่ะ

  • ฟังข้อคิดของอาจารย์ในรอบสองนี้แล้วต้องหายใจลึกๆๆๆๆยาวๆๆๆๆ...ค่ะ
  • ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะที่ทำให้ตาสว่างขึ้นมากมายในหลายๆเรื่อง
  • เหนือกว่าข้อมูลความรู้ที่อยากได้มากมายตรงหน้า... คือแววตาที่เปล่งประกายและสายใยสัมพันธ์ที่เหลืออยู่...

"...หลังสุนทรียสนทนา หากเราเหลือแค่ short note หนึ่งเล่ม powerpoint หนึ่งชุด และไม่ได้ความมหัศจรรย์ของความสัมพันธ์ของมนุษย์ ก็น่าเสียดายเป็นที่ยิ่ง..."  ซาบซึ้งยิ่งนักค่ะ

                                                            ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

                                                                           ติ๋ว

มากกว่าบันทึกที่ออกมาเป็น short note หรือ powerpoint คือ สิ่งที่บรรยายไม่ถูก... ซึ่งมีมากมาย ลึกซึ้งกว่าที่ผู้เขียนเล่าไว้ในบันทึกนี้มากนัก

หากต้องการสัมผัสความลึกซึ้งดังกล่าวสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ซึ่งมีมากมายจากหลายๆท่าน เช่น บันทึกนี้ค่ะ

Gotoknow Forum 2009 (4): World Café   โดย P Phoenix

สุนทรียสนทนา: โหมโรง  โดย P คนธรรมดา

... และอีกหลายท่านที่บันทึกไว้ทั้งใน GotoKnow และ share.psu.ac.th

  • ขอขอบพระคุณ อ. Phoenix อีกครั้ง ท่านเป็นผู้ที่ทำให้ความคิดของผู้เขียนเปิดกว้างขึ้นอีกมากค่ะ และ
  • ขอขอบพระคุณ อ. คนธรรมดา ที่กรุณาบันทึกเล่าไว้หลายบันทึกให้ได้อ่านจนชุมฉ่ำใจค่ะ

ตามมาเก็บเกี่ยว จาก ท่าน อาจารย์ Phoenix และ อาจารย์ ฅนธรรมดา เคล็ดวิชา "เมื่อเราให้เกียรติกันในสังคม ฅน มองเป็น ฅน เป็น ฅน นี่แหละ สังคมแห่งการเรียนรู้ ร่วมกู่สร้างสรรค์ ครับ สาธุ สาธุ"

เรียน ท่าน อ.JJ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท