โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

ประชุมประจำเดือนทีมกัลยาณมิตร: ประเด็นน่าสนใจ case ลุง ท.


"เราจะดูแลผู้ป่วยอย่างไร ให้เรามีความสุขในงาน ผมคิดว่าเราสามารถมีปิติในการทำความดี"

สืบเนื่องมาจากบันทึก หมดหวัง แต่ยังสู้ เรานำ case ลุงท.เข้าประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเด็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่น่าสนใจ (อ่านย้อนหลังได้นะครับ เพื่อความเข้าใจใน case ได้มากขึ้น)

เจ้าของ case คือแผนกศัลยกรรมชาย มีคุณหมอ ENT (หมอธวัชชัย) เป็นเจ้าของไข้ ผู้ป่วยรายนี้เสียชีวิตที่ รพ. แม่สอด ตอนตายมีญาติห่างๆมาร่วมงานศพ แต่เจ้าภาพกลับเป็น อสม. ที่มีจิตใจเมตตา สุดท้ายญาติได้เงินฌาปนกิจไป (ทั้งๆ ที่ตลอดเวลาที่ลุงป่วยไม่มีใครมาเหลียวแลเลย) เราเกิดประเด็นหลายอย่างที่จะได้เรียนรู้ สรุปประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

1.เราจะทำอย่างไรในกรณีที่ญาติไม่เหลียวแลผู้ป่วย

ผู้อภิปรายรายหนึ่งกล่าวว่า " เวลาที่ญาติผู้ป่วยดี เราก็ดูแลผู้ป่วยได้มีความสุข แต่พอญาติเขาไม่รับผิดชอบหรือทิ้งผู้ป่วยก้รู้สึกหงุดหงิด"

อีกคนถามว่า "จะไปตามญาติมารับผิดชอบจนได้"

สรุปประเด็น

1.การดูแลผู้ป่วยที่ไม่มีญาตินั้น ที่สำคัญคือ เขาไม่มีที่ไป อาการก็แย่ กำลังใจก็ถดถอย ลุงท.เป็นคนที่อดทนและ ตลอดเวลาที่อยู่ ward พยาบาลบอกว่าไม่เคยเรียกร้องอะไรเลย ปวดก็ไม่ตามพยาบาล หิวก็ถือสายอาหารเอง (ผู้ป่วยกินไม่ได้ ต้องให้อาหารทางสายยาง) พยายามรบกวนเราน้อยที่สุด มีนักจิตวิทยาที่เข้าไปดูบอกว่าลุงเป็นคนที่เข้มแข็งอย่างมากและมีความเกรงใจ จนท. มาก

ผมให้ความเห็นว่า หน้าที่เราคือดูแลผู้ป่วยไม่ว่า เราจะชอบหรือไม่

"เราจะดูแลผู้ป่วยอย่างไร ให้เรามีความสุขในงาน ผมคิดว่าเราสามารถมีปิติในการทำความดี" ผมยกตัวอย่างตอนไปเยี่ยมผู้ป่วยวันแรก แผลที่คอเหม็นมากหน้าตาผู้ป่วยทุกข์มาก แต่สัปดาห์ต่อมา ผู้ป่วยสะอาด ไม่มีกลิ่นเลย ผู้ป่วยขอบคุณพยาบาล ทีมชื่นชมพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างดี พยาบาลเจ้าของไข้ยิ้มออกมาอย่างสดใส

2.อาจมีเหตุปัจจัยมากมายที่ญาติทอดทิ้งผู้ป่วย สิ่งที่เราเห็นในวันนี้เป็นผลจากอดีต เราไม่ควรรีบด่วนตัดสินว่าใครดี ใครแย่ แต่ที่แน่ๆ ญาติก็มีหน้าที่ของเขา แต่ก็แล้วแต่ว่าเขาจะทำหรือไม่

ในกรณีลุงท.นั้น ไม่มีญาติสนิทเลย เป็นแค่หลานห่างๆ ไม่มีลูกเลย การจะให้ใครมารับผิดชอบผู้ป่วยโดยที่ไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีอยู่ก่อนในสภาพของผู้ป่วยรายนี้คงจะยาก

2.ควรหรือไม่ที่เราจะถามผู้ป่วยก่อนตายว่าจะตัดสินใจอย่างไรกับ กิจกรรมที่ยังค้างคาใจ

เลขาโครงการคุณแนท ถามว่า "จากปัญหาก่อนตายไม่รู้จะติดต่อใคร รวมถึงเงินฌาปนกิจ จะยกให้ใคร เราควรทำอย่างไรใน case แบบนี้ในอนาคต" (รู้สึกไม่ดีกับตอนท้ายที่เงินไปตกกับญาติห่างๆ)

สรุปประเด็น

1.สิ่งที่ผู้ป่วยต้องการในบั้นปลาย ผู้ป่วยบอกว่า "ไม่อยากเจอใคร ขอตาย รพ." ประเด็นถกกันคือ เราควรหรือไม่ที่จะพยายามตามใครมาพบแก ผมบอกว่า "ถ้าเราค้นลึกลงไปในใจแก ว่าไม่อยากเพราะอะไร อยากเพราะอะไร เราอาจรู้ความต้องการจริงๆของคนไข้ บางครั้งเราอาจ explore ผิวเผินเกินไป

2.เมื่อความสัมพันธ์ดีแล้วเราถามผู้ป่วยได้ว่าก่อนตายอยากให้จัดการศพ/ทรัพย์สินของแกอย่างไร โดยมีหลักสำคัญ 3 ข้อ คือ

- ความสัมพันธ์ดี

-ผู้ป่วย accept กับโรคและเข้าใจอย่างชัดแจ้งว่าจะตายในไม่ช้า

-ผู้ป่วยพร้อมที่จะคุย

-ผู้ป่วยมีสติสัมปชัญญะดี

นี้เป็นเรื่องของ timing ไม่มีใครบอกได้ว่าควรเป็นตอนไหนขึ้นกับการตัดสินใจและ communication skill ก็สำคัญมาก

3.เรื่องที่เรากังวลและไม่สบายใจว่า ญาติห่างๆ ก็เอาเงินฌาปนกิจไปทั้งๆ ที่ไม่เคยดูแลแกเลย ผมกลับมองอีกมุมว่า "ลุงก็ได้ทำบุญในวาระสุดท้ายโดยทีเงินของแกเป็นประโยชน์แก่ลูกหลาน และตัวแกเองก็ไม่ได้ยึดติดกับเงินเหล่านี้แต่อย่างไร"

ผมกลับมองว่า คนไข้จบความรู้สึกไปแล้ว เราต่างหากที่ยังทุกข์แบบตกค้าง

สรุปว่า case นี้เราได้เรียนรู้ประเด็นยากๆ ไปหลายประเด็นเลยครับ

คำสำคัญ (Tags): #ca larynx#palliative care
หมายเลขบันทึก: 156602เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2007 08:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เป็นประเด็นที่พบกันบ่อยมากค่ะในแต่ละ รพ

แต่ที่ หอผู้ป่วยที่รับผิดชอบ จะไม่พบปัญหานี้ เพราะเรามีเวลาเตรียมผู้ป่วยและญาติค่ะ

ได้ข้อคิดมากมายค่ะ

ขอบคุณ คุณหมอที่สนใจพูดคุยกันกับพยาบาล

เพราะถ้าทีมบุคลากร ทำงานร่วมกันได้แบบนี้ ปัญหาต่างๆเหล่านี้น่าจะลดลงค่ะ

ขอบคุณอุบลที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ

น่าสนใจมากเลยนะครับ

สวัสดีปีใหม่ครับ

สวัสดีครับพี่ ธนพันธ์ สวัสดีปีใหม่ครับ

แวะเข้ามาอ่าน น่าสนใจดีค่ะ โดยส่วนตัวดูแลเด็กโรคมะเร็งตั้งแต่ first diagnosis- curable - or palliationอยู่ในทีมการแจ้งข่าวร้าย

มะเร็งในเด็ก cure rate ค่อนข้าง ok (ที่ขอนแก่น)แต่บางส่วนถ้าโรครักษายาก เปลี่ยนการรักษาเป็น palliation ทีมก็ต้อง approach: breaing bad news ไม่ใช่ครั้งเดียว แต่อาจต้องวางแผนกับญาติเป็นช่วงๆ ทีมเด็กของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ เราเป็นสหวิชาชีพที่ชัดเจน มี แพทย์ พยาบาล นักสังคม ครูเด็กป่วย pain team เรามีชั่วโมง Holistic conference for children with chronic illness เดือนละ 2 ครั้ง Hemato grand round ทุกอังคารบ่าย pediatric palliative grand round ทุกพฤหัสที่ 1 และ 3 ของเดือน และเยี่ยมบ้านในบางราย

และส่วนตัวมีประสบการณ์ใช้กิจกรรมบำบัดเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กในการบรรเทา (control pain, fear, anxiety ) ซึ่งพบว่าได้ผลดี ลดความปวด กลัว กังวลในเด็กได้ เช่น เด็กที่ต้องถูกเจาะหลัง เจาะไขกระดูก ปวดจาก cancer pain การใช้ distractor ที่เด็กชอบ เช่น บีบลูกบอล เป่ากังหัน จินตนาการ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  การสะกดจิต (เมื่อจิตเด็กเป็นสามาธิมากๆ เราสามารถชักนำ coach/suggest ให้เด็กเคลื่อนย้ายความปวดไปสู้สถานที่หรือกิจกรรมที่ชอบ)

สวัสดีครับ คุณ เกศนี บุณยวัฒนางกุล ขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะ case เด็ก เพราะผมมีประสบการณ์กับ case เด็กน้อยมาก

ขอชื่อชมทีมของ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถ้ามีโอกาสคงได้รับคำชี้แนะอีกครับ

 

ขอบคุณสำหรับประสบการณ์ดีๆค่ะ

บางครั้งความต้องการของผู้ป่วยอาจจะไม่เหมือนกับความต้องการของทีมสุขภาพ...ในขณะเดียวกันความต้องการของทีมสุขภาพก็อาจจะไม่ใช่ความต้องการของผู้ป่วยเช่นเดียวกันค่ะ....(อันนี้เอาไว้บอกตัวเองเสมอเวลาไปคุยกับผู้ป่วย)

การมีเวลาในการสอบถาม  พูดคุย  ที่มากกว่าการ round word เป็นสิ่งที่ช่วยผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี...

 

สวัสดีครับ

vicky  ขอบคุณเช่นกันกับความสนใจในเรื่องนี้ หวังว่าคงได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท