โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

ศรัทธาในพระเจ้า ตอนที่ 1


การปฏิเสธการรักษาเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยเลือกได้ เรามีหน้าที่ "บำบัดทุกข์(กาย-ใจ) บำรุงสุขให้เธอ" เพราะเป็นหน้าที่ของข้าราชการในองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ควรกระทำต่อประชาชนของท่าน

สวัสดีครับ เรื่องราววันนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของคุณครูท่านหนึ่งที่ผมดูแลอยู่ เธอมีชีวิตที่น่านับถือและผมได้เรียนรู้หลายอย่างจากเธอ เรื่องนี้เคยนำเสนอมาแล้วในบางส่วนเมื่อการพบการครั้งแรกเมื่อ 2 ปีก่อนในตอน มะเร็งกาย VS ศรัทธา

คุณครูอายุประมาณ 40 ปีนับถือศาสนาคริสต์ เป็นครูอยู่ รร.เอกชนคริสเตียน แห่งหนึ่ง อยู่กับสามีและลูกสาวอายุ 10 ขวบ

เธอป่วยเป็นมะเร็งเต้านมได้ 4 ปี ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมซ้าย และมีแขนบวม หมอบอกเธอว่าเป็นมะเร็งระยะลุกลาม ต้องให้เคมีบำบัดเพื่อประคับประคองอาการ เธอปฏิเสธเคมีบำบัดและการรักษาแผนตะวันตก หันมาดูแลตัวเองด้วยสมุนไพร ผมรู้จักเธอเพราะ sister พลอย (พยาบาลอาสาชาวคริสต์ที่มาทำงานที่ รพ. แม่สอด) แนะนำให้ผมรู้จักเมื่อ 2 ปีก่อน

sister พลอย "พี่พยายามเข้าไปเยี่ยมเธอแต่เธอไม่อยากให้ช่วย เพราะ เกรงใจ พี่ต้องเปิดมุ้งเข้าไปหาเธอ เธอถึงยอม"

จากที่ sister พลอยบอกผม ผมไม่แน่ใจว่าอะไรทำให้เธอพยายามดูแลตัวเองโดยที่ไม่ต้องการความช่วยเหลือจาก sister

บทสนทนาย่อ ๆ เมื่อ 2 ปีก่อน (เธอยอมมาคุยกับผมที่ศูนย์สุขภาพชุมชน)

ผม "เห็นว่าพี่ไม่อยากให้เคมีบำบัด"

คุณครู " พี่คิดว่าการให้เคมีทำให้ร่างกายทรุดโทรม"

ผม " พี่คิดว่าจะทำไงต่อไป"

คุณครู " เป็นประสงค์ของคุณพระที่ให้พี่ป่วยพี่ก็ยอมรับ นี่เป็นการทดสอบ....หากท่านประสงค์ให้พี่หายพี่ก็เชื่อว่าน่าจะหายได้"

ผม"เห็นว่าพี่มีลูกสาว ห่วงลูกไหมครับ"

คุณครู " ห่วงนะอยากอยู่จนถึงเขาเรียนจบปริญญา" (ตอนนั้นน้องอายุ 8 ขวบเอง...ผมนึกในใจว่าจากอาการเธอไม่น่าจะอยู่ถึง 6 เดือนด้วยซ้ำ)

ม " แล้วบอกลูกไหมว่าป่วยเป็นอะไร"

คุณครู " ยังไม่ได้บอกเลย คิดว่าบอกลูกก็ยังไม่เข้าใจ"

ผม "แล้วลูกถามไหมว่าแม่เป็นอะไร"

คุณครู " มีบ้าง แต่ก็พยายามเข้มแข็ง คุยกับแฟนว่าช่วยดูแลลูกสาวอย่างอบอุ่น"

ผม "ถ้ามีอะไรให้ผมช่วยก็ยินดีนะครับ"

ผู้ป่วยมีอาการปวดแขนซ้าย+แผลเริ่มมีกลิ่น เธอดูแลตัวเองทุกอย่างและยังไม่ต้องการยาใด ๆ sister พลอยบอกว่ายังไงก็จะพยายามไปเยี่ยมเธอบ่อย ๆ

ผมมองว่า การปฏิเสธการรักษาเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยเลือกได้ เรามีหน้าที่ "บำบัดทุกข์ (กาย-ใจ) บำรุงสุขให้เธอ " เพราะเป็นหน้าที่ของข้าราชการในองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ควรทำต่อประชาชนของท่าน ผมเปิดช่องทางให้เธอได้เลือกทางของตัวเอง อย่างให้เกียรติและเท่าเทียม อไม่ได้มาหาผมอีกเลยหลังจากวันนั้น ไม่ใช่เพราะเธอไม่เชื่อเรา-แต่เธอยังดูแลตัวเองได้-ยังมีพลังที่จะต่อสู้

ผมมองเรื่อง ศรัทธา (faith) เป็นพลังในการดำรงชีวิตอยู่ ผมได้เรียนรู้มากทั้งศรัทธาของ sister พลอยที่อยากจะช่วยเหลือ และศรัทธาของคุณครูที่มีต่อพระเจ้า

เราคงไม่มีหน้าที่ไปตัดสินใครว่าจะมีอายุยืนนานเท่าไหร่ เธอเชื่อและขอต่อพระเจ้าว่าอยากอยู่ดูลูกจนหมดห่วง-คงไม่ใช้หน้าที่ของเราที่ไปบอกเธอว่าจะอยู่ได้แค่ 6 เดือน หรือ ไม่ถึงลูกรับปริญญา

2 ปีผ่านไป sister พลอยบอกผมว่า "ผู้ป่วยอาการไม่ดี หมอช่วยไปเยี่ยมได้ไหม...ผมตอบรับทันทีแบบไม่ต้องคิด"

ตอนต่อไปน่าสนใจครับ...แล้วเจอกันครับ

หมายเลขบันทึก: 262791เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2009 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

พี่ได้อบรมการเผชิญความตายจากพระอาจารย์ไพศาล วิสาโลและทีม

คุณสุ้ย ฝากคิดถึงคุณหมอค่ะ

จะรอติดตามนะคะ

ขอบคุณคุณแจ่มใสที่แวะมาครับ

พี่แก้วครับเสียดายที่ไม่ได้ไป zone อีสาน เลยไม่ค่อยได้เจอพี่ ยังไงก็เจอกันใน blog แล้วกันครับ

  • การปฏิเสธการรักษา คนไข้ต้องทำด้วยความเป็นอิสระ
  • หลายครั้ง ผมเองก็รู้สึกว่า คนไข้ของผมตัดสินใจไม่เป็นอิสระ เช่น กลัวเป็นภาระกับลูก หรือ คนดูแล
  • แวะไป ที่นี่ แล้วยังครับ

สวัสดีครับอาจารย์เต็ม

ผมไปดูใน livingwill แล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท