โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

order ที่แปลกตา ตอนที่ 1 (positive thinking)


"มีเรื่องดี ๆ จะเล่าให้ผมฟังไหม?"

วันนี้ผมไปเยี่ยมผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยปรึกษา(หมอเรียนกันว่า "ไป round")  จาก พี่ปุ๊ หมอกระดูก บอกว่าคนไข้มีปวดและเป็นอัมพาตท่อนล่างเนื่องจากมะเร็งกระจายไปที่กระดูก เป็นผู้ป่วยชายอายุ 43 ปี เป็นมะเร็งหลังโพรงจมูกหลังจากควบคุมอาการปวดได้ดีตอนแรกให้ morphine แล้วไม่เบาปวดพอเพิ่ม dose ก็มีปัญหาเรื่องง่วงซึมเนื่องจากมีปัญหาโรคไต (case chronic kidney disease) หลังปรับเป็น methadone+gabapentin  อาการปวดคุมได้ดีและไม่ซึม อาการเหนื่อยจากมะเร็งกระจายไปที่ปอดหลังปรับ methadone เพิม่ขนาดประมาณ 25% ของdose แก้ปวดก็เบาเหนื่อย

คนไข้กลับบ้านไม่ได้เนื่องจากแม่อายุมากและที่บ้านมีแต่ยายอายุ 80 กว่า ก็เลยอาจต้องอยู่ รพ.จนกว่าจะเสียชีวิต พี่ปุ๊ก็บอกว่า ถ้างั้นแกก็ยอมให้ผู้ป่วยอยู่ต่อ ผมเองเลยอาสาร่วมดูแล

ผมคุยกับผู้ป่วยเรื่อง DNAR (การไม่ใส่ท่อช่วยหายใจและปั้มหัวใจ) ไปเมื่อวาน ผู้ป่วยไม่อยากทำอะไรที่ทำให้เจ็บมากขึ้น ทางผมก็ยืนยันถึงการดูแลประคับประคองอย่างต่อเนื่อง ทางแม่ผู้ป่วยก็เข้าใจ หลังจากประเมินอาการประจำวันแล้วเราก็คุยกันเรื่องทางใจบ้าง

บันทึกอาการทางกาย

ผม "วันนี้เป็นไงบ้างครับ เรื่องจิตใจ"

ผู้ป่วยเงียบไปพักหนึ่ง "มันเฉยๆ หมอ"

ผม "เฉยๆ หมายถึงอะไรครับ"

ผู้ป่วย "บอกไม่ถูกเหมือนกันหมอ"

ผู้ป่วย "เวลาผมจะไปมันจะเป็นไงครับ จะหลับไปเลยหรือเปล่าครับ"

ผม "ที่ถามอย่างนี้เพราะอะไร?"

ผู้ป่วย "ถ้าได้อย่างนี้ก็ดี จะได้ไม่ทรมาน"

ผม "ผมคิดว่าผมสามารถทำให้คุณไม่ปวดได้และไม่เหนื่อยมากๆ ได้...อย่างที่ผมทำในขณะนี้"

คนไข้ยิ้มอย่างโล่งอก

ผม "คนเราก็มีทั้งช่วงอารมณ์ดีและหดหู่...อย่างที่คุยกันเมื่อวานว่า จิตที่สดใสจะช่วยทำให้เราอาการดี และ แม้ไม่หายแต่ทางพุทธก็เชื่อว่าจิตกุศลนะนำเราไปในทิศทางที่ดีครับ"

ผม "มีเรื่องดี ๆ จะเล่าให้ผมฟังไหม?"

ผู้ป่วย "เมื่อคืนผมได้รับโทรศัพท์จากเจ๊...ที่ผมเคยทำงานด้วย เธอบอกว่า เป็นห่วง และโอนโบนัดให้ 5000 บาท....ผมดีใจจนน้ำตาไหลเลยหมอ (สีหน้าคนไข้ยิ้มน้ำตาซึม)"

ผม "เอทำไมเขาถึงโอนให้ ทั้งๆ ที่พี่ก็ออกจากงานมาเกือบปีแล้ว"

ผู้ป่วยยิ้มมากขึ้นแล้วบอกว่า "ตอนผมทำงานอยู่กับเจ๊ ผมทำเต็มที่ นี่คงเป็นความดีที่ผมทำไว้"

ผม "ดีมากครับ นี่เป็นเรื่องที่มีความสุข ควรนึกถึงบ่อย ๆ...เรื่องการเจอกันของเรา ก็เช่นกัน ในโลกนี้ไม่มีเรื่องบังเอิญ อาจเป็นความดีที่เคยทำไว้ในอดีต"

ผม "คราวนี้เรื่องอารมณ์ที่ทำให้เศร้าหมอง....พระพุทธเจ้าตอนที่เจอมารพจน..ท่านบอกมารว่า เจ้ามารเรารู้จักเจ้า สิ่งเหล่านั้นก็หายไป"

ท่านเจ้าคุณ ปยุต...เคยกล่าวไว้ว่า "ทุกข์มีไว้เห็น สุขทีไว้เป็น"

คนไข้ยิ้มและพยักหน้า...สีหน้าเขาดูมีความสุขอย่างมาก

ผม "สัญญากับผมข้อนึงได้ไหม?"

ผู้ป่วย "ได้ครับ"

ผม "คุณต้องเล่าเรื่องดี ๆ ที่เกิดในแต่ละวันให้ผมฟังวันละเรื่อง"

ไม่มี order ใดในวันนี้นอกจาก พ่นน้ำเกลือละลายเสมหะ และ

"ให้คนไข้นึกเรื่องที่ positive แล้วเล่าให้หมอฟังทุกวัน"

พยาบาลถามผมว่า หมอจะมาฟังเองหรือจะให้พยาบาลฟังคะ

ผมหัวเราะแล้วบอกว่า "ถ้าคนไข้อยากเล่ามากกว่า 1 รอบพี่ก็ช่วยผมฟังด้วยก็ได้ครับ"

คงจะเป็น order ที่ค่อนข้างแปลกตาพยาบาล ward นี้นะเนี้ย

คำสำคัญ (Tags): #palliative care round#difficult pain control
หมายเลขบันทึก: 434728เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2011 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบคุณนะคะ สำหรับบทความดี ๆ อ่านแล้วหัวใจพองโต เห็นถึงความใส่ใจ ถ้าหนิงเป็นคนไข้คงรับรู้ได้ แต่ส่วนใหญ่เราก็มักจะบอกว่าไม่ค่อยมีเวลา งานยุ่ง คำถามสั้นแต่น่าสนใจ มีเรื่องดี ๆ จะเล่าให้ฟังไหม...ขอเป็นกำลังใจให้หมอนะคะ

ขอบคุณนะหนึง

สบายดีหรือเปล่าชาว รพ. ปัว

ภาพเบลอ หรือตาผมมัวครับ อาจารย์

เปลี่ยนเป็นใช้ iPhone ถ่ายจะชัดกว่านี้ อิ อิ

เข้าทีครับ ต้องเล่าเรื่องดีให้หมอฟัง

บางทีอาจต้องคิดนานหน่อย

นะครับ


@pcunet /อาจารย์สกล

นี่สุดฝีมือแล้วครับ กล่องมือถือรุ่นนี้ท่าจะได้แค่นี้นะเนี้ย

 

อาจารย์โสภณ

ปัญหาสำคัญของแพทย์คืด ณู้สึกว่าไม่มีเวลาฟังครับ

อ่านบันทึกนี้มาสามรอบแล้ว ชอบบันทึกนี้มากค่ะ

ดาวขอลองนำไปใช้ดูบ้างนะคะ อยากให้คนไข้มี positive thinking มีพลังใจที่ดีค่ะ ^^

ผมว่า ผู้ป่วยไม่ได้กลัวตาย เขารับรู้จาก context เเล้วว่านี่คงเป็น the last admission ปัญหาใหญ่คือความกลัว ดูเหมือนคนไข้ไม่ได้กลัวความตายเเต่กลัวความเจ็บปวด กลัวความทรมานจากหัตถการที่เเพทย์มอบให้เขา บางทีเขาอาจเห็นสิ่งที่เพื่อนร่วม ward ได้รับก่อนตาย เช่น ถูกมัดเเขนมัดขา ใส่สายยาง ใส่ท่อพลาสติกเข้าไปในทุกๆช่องทวาร ถ้าเปรียบเทียบเเบบ abstract มันคล้ายกับการชดใช้กรรม โดยการถูกลงโทษ ชำระบาปด้วยการมัดเเขนขา ทำให้พูดไม่ได้ สื่อสารทางกาย ทางสีหน้าก็ไม่ได้เพราะถูกรัดตรึงไว้กับเตียง การขยับหรือการดิ้นเเสดงความเจ็บปวดเป็นสิ่งต้องห้าม ถ้าทำเช่นนั้นคงจะได้ valium สัก dose หรืออีกหลายdose จนเข้าได้กับ rule ของโรงพยาบาลคือ เป็นคนไข้ต้องนอนเฉยๆ ห้ามขยับเเขน ขา การเเสดงความรู้สึกหรือเเม้เเต่เเสดงออกให้คนอื่นมา share ความเห็นอกเห็นใจกันเเทบจะเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่เขากลัวคือ กลัววัฒนธรรมของโรงพยาบาล วัฒนธรรมที่เขาไม่มีสิทธิตัดสินใจในฐานะที่เป็นเจ้าของร่างกาย ทำไมเราไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยจากไปเเบบที่มนุษย์พึงได้รับ จากไปในเเบบที่เขายังมี self มี autonomy อยู่ครบถ้วน

ผมว่า setting ของ hospice น่าจะมาเเทนที่ setting hospital ซึ่ง rule ต่างๆของโรงพยาบาล มิอาจจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูเเลรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับวันเวลาสุดท้ายของชีวิต มันคงคล้ายกับที่ทำงานที่ดีที่สุดของหมอ fammed คงมิใช่ hospital based เช่นกัน

เห็นด้วยกับคุณ [IP: 113.53.54.140]

ในแง่เรื่อง fear and suffering เป็นผลรวมของทั้งเรื่องการรักษา belief system และ health care system ที่มีอยู่ยังไม่ตอบสนองความต้องการผู้ป่วยกลุ่มนี้ทั้งหมด

สร้างสถานบริบาลที่เหมาะกับบริบทของคนไข้กลุ่มนี้ นั้นคือ hospice แต่ข้อจำกัดเดิมๆ เรื่องบุคคลากร ไม่เพียงพอ

ในขณะที่การสร้างวัฒนธรรมการดูแลผู้ป่วยใน รพ. เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในขณะนี้ ผมเองคงมุ่งเน้นทำในสิ่งที่เป็นยไปได้มากที่สุดก่อน

พี่โรจน์ครับ...

__/][\__

อนุโมทนาครับ

อ่านแล้วซาบซึ้งมากๆ

อยากให้หมอและพยาบาลหลายๆคน

เข้าใจคุณค่าของสิ่งเหล่านี้จังเลยครับ

ขอบคุณแทนผู้ป่วยรายนี้ เป็นบุญที่เขาได้พบคุณหมอ ขออนุโมทนาบุญกับคุณหมอด้วยค่ะ.  อยากเห็นหมอไทยคิดและทำได้อย่างนี้เยอะๆจัง;)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท