โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตอนที่1


ผมสังเกต-รู้สึก-และเกิดความคิดบางอย่างที่เป็นแรงบันดาลใจ

ผมสนใจการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมาได้ประมาณ 3 ปีแล้วครับ ผมเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและทำงานที่ รพ. แห่งหนึ่งทำงานในศูนย์สุขภาพชุมชน ผมตรวจผู้ป่วยทั่วไปในศูนย์สุขภาพชุมชน(PCU) ช่วงบ่ายผมก็ได้ไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยพร้อมกับทีมพยาบาลและ จนท. สอ.(สถานีอนามัย) ผมเดินทางไปที่ต่างๆ ทั่วพื้นที่บริการที่เป็นเขตรับผิดชอบ ทุกครั้งที่ผมไปเยี่ยมบ้าน ในหลายครั้งหลายคราวที่ผมพบผู้ป่วยมะเร็งที่กลับมาจาก รพ. โดยส่วนใหญ่ก็ได้รับยามารับประทาน ผมจำไม่ได้ว่าเยี่ยมไปกี่ case แต่ที่ผมสังเกต-รู้สึก-และเกิดความคิดบางอย่างที่เป็นแรงบันดาลใจ

ผมสังเกตเห็น

1.ผู้ป่วยส่วนใหญ่ทุกข์จากอาการทางกายต่างๆ+ทุกข์จากเรื่องจิตใจ

2.ผู้ป่วยรู้สึกว่าเมื่อเป็นมะเร็งแล้วก็หมดทางเยียวยา หลายครั้งความรู้สึกนี้ไม่ได้เกิดจากความคิดผู้ป่วยเอง แต่เกิดจากการสื่อสารจากบุคคลากรทางการแพทย์ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือท่าที

3.ผู้ป่วยรู้สึกถูกทอดทิ้งจากระบบบริการสาธารณสุข ขาดความต่อเนื่องของข้อมูล ต่างคนต่างดูแล การดูแลขาดช่วง ได้ยามา รอยาหมดโดยที่ทนทุกข์ เมื่อทนไม่ไหวก็ไปห้องฉุกเฉิน ผู้ป่วยไปนอน รพ.ไม่รู้ว่าเขาดูแลอย่างไรบ้าง,ผู้ป่วยรักษาที่ PCU ก็ไม่สามารถสื่อกับ รพ. ได้ 

4.ครอบครัวผู้ป่วยก็ทุกข์หนัก เพราะดูแลผู้ป่วย+เห็นผู้ป่วยค่อยๆแย่ลงอย่างช้าๆ ขาดคนแนะนำว่าจะดูแลผู้ป่วยอย่างไร ในบางครั้งก็พบการทอดทิ้งผู้ป่วยให้ทุกข์ทรมานอยู่คนเดียว

5.เราทำอะไรไม่ได้มากนักเมื่อผู้ป่วยมีอาการมากขึ้น ประกอบกับการดูแลที่ไม่ต่อเนื่อง+ขาดทักษะ+ขาดทรัพยากร ทำให้ผลการดูแลไม่ดี

6.ใน รพ.เองก็มีภาระมากจนในบางครั้งประเด็นเหล่านี้ถูกละเลย

 ผมรู้สึก

1.ระบบการดูแลตอบสนองได้ดี(ในระดับหนึ่ง)เฉพาะต่อคนที่เป็นโรคที่รักษาหาย

2.ผมไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้เพียงลำพัง

ผมเกิดแรงบันดาลใจ

1.ต้องหาเพื่อน ต้องมีทีมและประสานงานร่วมกันทั่งระบบบริการ ทำให้มีการดูแลที่ต่อเนื่อง  

2.แบ่งกันเหนื่อย แบ่งกันหนัก ทั้ง รพ.-PCU (primary care unit) และผู้ป่วย/ญาติ

3.จะต้องทำให้เกิดระบบที่มีความยั่งยืน

จากแรงบันดาลใจ นำมาถึงการลงมือปฏิบัติ

ผมลงมือ

1.เริ่มเยี่ยมผู้ป่วยมะเร็ง/ผู้ป่วยเรื้อรังที่หอผู้ป่วย-พูดคุย-ซักถามอาการของผู้ป่วยจากแพทย์ที่ดูแล/พยาบาล

2.ผมคุยกับผู้บริหารว่าอยากจะทำเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างเป็นระบบ

3.ผมเริ่มหาองค์ความรู้จากอาจารย์-บทความ- internet-และการอบรม

จนผมคิดว่าเริ่มพอรู้เรื่องรู้ราวเกี่ยวกับ palliative care บ้าง ผมเริ่มพบเพื่อนที่เป็นคนที่สนใจทำงานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยใจรัก (แต่ยังต่างคนต่างทำ) ชักชวนมาจับมือกันทำอะไรดีๆ ให้กับ รพ. ไหม

เสียงตอบรับ

ดีเกินคาดมีคนอยากคุยประเด็นนี้กันมากกว่าที่คิด ผมจึงเริ่มการประชุม/พูดคุยแลกเปลี่ยน เดือนละ 1 ครั้ง

ถึงตอนนี้ขอหยุดบทความไว้แค่นี้ก่อนนะครับแล้วสักพักจะเขียนตอนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 97450เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2007 00:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

แสดงว่าเราทำงานแบบเดียวกันเลย  กำลังหาเพื่อนอยู่พอดี เพราะแถวนี้ไม่มีเพื่อนคุยเรื่องนี้เลย  กำลังทำอะไรกันอยู่ไม่รู้

ช่วยเล่ามาเรื่อย ๆ   นะ พี่ต้องการระบบการทำงานเรื่องนี้มาก จะได้เอามาใช้ด้วย  วันจันทร์นี้ก็ต้อง สรุปการทำงานรอบ 4 เดือน ที่ผ่านมาของศูนย์แพทย์ ให้ สปสช ฟัง  แล้ว

มีอะไรอยากแนะนำ  tel 0815938628  น่าจะได้คุยสะดวกกว่าทาง blog

ยินดีที่มีคนสนใจเรื่องเดียวกันครับ ผมจะส่ง power point ทาง e-mail นะครับ
ขอบคุณครับ

ดีใจมากครับ ที่มีคุณหมอสนใจเรื่องนี้

แหม! คุณหมอจิ้น ทิ้งเบอร์โทรศัพท์ใน blog เลยนะครับ 

สงสัยพี่จะ ลบ email ที่โรจน์ส่งมาด้วยความบังเอิญหรือเปล่าไม่แน่ใจ  ถ้าได้ส่งมาแล้ว รบกวนส่งมาให้ใหม่ด้วยนะครับ  ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ขอบคุณอาจารย์เต็มศักดิ์ที่เข้ามาเยี่ยมชม ในอนาคตคงต้องขอคำแนะนำจากอาจารย์ครับ

อาจารย์หมอจิ้นครับผมไม่สามารถ attach file ผ่านทางนี้ได้ รบกวนอาจารย์ส่ง e-mail อะไรก็ได้ที่ [email protected] นะครับเดี่ยวผมจะส่งให้ครับ

P

e mail +>  [email protected]

สงสัย เดี๋ยวพี่เต็มจะแซว ว่าให้ทั้งเบอร์ โทรศัพท์ ทั้ง e mail  ใน blog เลย  ใจง่ายจริง ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท