บันทึกคนสานเครือข่าย MS-PCARE ๘ : outcome mapping sharing ๔ - ทบทวน


วันนี้วิทยากรเปลี่ยนเป็น น้องอ้อม จาก สคส. ในหัวข้อการทบทวนแนวคิด OM โดยประยุกต์วิธีของ ไพ่เจได เริ่มต้นจากวางบัตรคำกระจายไปทั่วพื้นห้อง แล้วให้ผู้เข้าสัมมนาทุกคนเดินชมดูตามใจชอบ และให้แต่ละคนเลือกคำที่ตรงกับใจของตนเองที่สื่อถึง ผลกระทบของการใช้ OM แล้วให้นำมาอธิบายให้ทั้งกลุ่มใหญ่ฟัง

กิจกรรมนี้ ช่วยให้แต่ละคนได้เปิดมุมมองของตนเอง ร่วมกับต่อยอดจากความคิดของคนอื่นได้เป็นอย่างดี และก็เป็นโอกาสที่จะได้ทบทวนแนวคิดของ outcome mapping ที่บางคนต้องการให้มีการทบทวนปรับเครื่องกันสักนิดในเช้าวันที่สอง


มาดูกันว่า แต่ละคนเลือกคำว่าอะไรกันบ้างนะครับ

  • คิดเชิงบวก
  • แตกต่าง/หลากหลาย
  • คึกคัก
  • ความเข้าใจกัน
  • ตื่นเต้น
  • คุณประสาน
  • เพิ่มขีดความสามารถ
  • เรียนรู้ข้ามองค์กร
  • วิสัยทัศน์ร่วม
  • ความสำเร็จเล็กๆ
  • วัฒนธรรมการเรียนรู้
  • การต่อยอดความรู้
  • ศักยภาพ
  • คุณอำนวย
  • สร้างและใช้้ความรู้ในการทำงาน
  • การทำงานเชิงรุก


มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ขอขยายความ


ความเข้าใจกัน

คุณอู๊ด..ธีระศํกดิ์ อินต๊ะรัตน์ จาก โครงการค้นหาคนดีแล้วขยายผล เป็นผู้เลือก และมีคำอธิบายเพิ่มเติมว่า ในประเทศญี่ปุ่น หน่วยงานจะให้คนทำงาน ทำอะไรร่วมกันบางอย่างในช่วงเช้าก่อนเริ่มงาน เขายอมเสียเวลาที่จะปรับฐานเพื่อทำความเข้าใจในงานให้ตรงกันเสียก่อนจะเริ่มปฏิบัติงานแต่ละวัน OM ที่ใช้ในการวางแผนก็เหมือนกัน ต้องมาร่วมปรับความเข้าใจทั้งวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายร่วมกันก่อน ซึ่งดูเหมือนจะเสียเวลาในช่วงแรก แต่พอเริ่มงานแล้ว จะขับเคลื่อนกิจกรรมได้คล่องขึ้น ..เริ่มช้า แต่ไปต่อเร็ว

ความสำเร็จเล็กๆ

น้องนพ..ศศิมาภรณ์ ล้อมทอง จาก โครงการพัฒนายกระดับร้านอาหาร เป็นผู้เลือก และอธิบายว่า progress marker เป็นเหมือนการสร้างภาพฝันย่อยๆ ที่สามารถทำให้เราประสบความสำเร็จเล็กๆ ไปได้ตลอดการทำงาน

วัฒนธรรมการเรียนรู้

น้องเด่น..พัฒนพงษ์ จากสสส. เป็นผู้เลือก โดยโยงไปถึงข้อจำกัดของสสส. ในการติดตามและประเมินผลโครงการต่างๆในอดีต มักจะถูกตั้งข้อหาว่า ไปจับผิดชาวบ้าน ซึ่งไม่อยากให้ผู้ขอทุนเกิดความรู้สึกทำนองนั้น อยากให้คิดว่า จะสร้างการเรียนรู้จากผลงานได้อย่างไร ไม่ใช่พิสูจน์ผลงานอย่างเดียว

การต่อยอดความรู้

เป็นคำที่น้องอโนชา แสงอ้าย จากโครงการเครือข่ายเยาวชนรักษ์ลุ่มน้ำปิง กับผม เกิดใจตรงกันเลือกคำเดียวกัน ส่วนหนึ่งผมคิดว่า เพราะแนวคิดของ OM ทำให้เราได้เรียนรู้ตั้งแต่ตอนเริ่มลงมือเขียนแผนไปจนกระทั่งการติดตามประเมินผล ถ้าเราทบทวนและวิเคราะห์ตามไปด้วย เราจะได้เรียนรู้ต่อยอดจากความรู้เดิมของเราได้ทุกขั้นตอน


ภาพทั้งหมดในบันทึกชุดนี้ได้จากกล้องของพี่ปุ๋ย..นพ.กอปรชุษณ์ ตยัคคานนท์ กับทีมงาน สคส. (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม)

หมายเลขบันทึก: 315202เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2009 08:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

แวะมาอ่านครับอาจารย์ ตื่นแต่เช้าเลยนะครับอาจารย์

สวัสดีค่ะคุณลุงหมอ

หนูมาดูการทำงานของคุณลุงหมอค่ะ  ที่บ้านของคุณลุงหมอน้ำท่วมไหมคะ  ตอนนี้ที่บ้านหนูอากาศหนาวเย็นมากค่ะ

P

  • สวัสดีครับ ไม่เช้าแล้วแหละ
  • ไปไหนไม่ได้ครับ น้ำท่วมรอบบ้าน ดีที่ยังมีเน็ตให้ใช้

P

  • สวัสดีครับน้องนัท
  • อากาศหนาวต้องระวังสุขภาพด้วยนะ
  • บ้านลุงหมอน้ำไม่ท่วม แต่ถนนทางเข้าบ้าน น้ำขึ้นถึงระดับเอว ออกไปไหนไม่ได้ครับ เมื่อวานตอนเย็นน้ำลงหมดแล้ว เพราะแถวที่ลุงหมออยู่ เขาเรียกว่าเป็น พื้นที่น้ำหลาก มาเร็วไปเร็วครับ
  • แต่นี้ ฝนยังตกหนักมาก ไม่รู้เย็นนี้จะท่วมอีกมั้ย

เป็น blog ที่ให้แค่คิด และ ประสพการณ์ในการทำ OM ที่ดีมากครับ

ทำให้ผมเห็นภาพ OM ชัดขึ้นมาก ขอบคุณครับ

P

  • ของผมเลือก"คุณประสาน"ครับ
  • เพราะได้เกิดการประสานงานขึ้นจริงๆ 
  • ประสานทุกอย่าง ตั้งแต่สากะเบือ เกือบถึงเรือรบเลยครับ

P

  • เทียบชั้น พี่แม้ว ที่เลือก คุณอำนวย เลยครับ แนท
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท