มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ชีวิตนักศึกษาปริญญาเอก: ระบบระเบียบที่ทำให้ชีวิตการเรียนราบรื่นขึ้น


ต่อเนื่องมาจากบันทึกที่แล้วเรื่อง committee meeting ค่ะ มีหลายความเห็นฝากไว้ว่า ดูที่นี่ทำงานเป็นระบบดีจัง คงไม่ใช่ทุกที่เป็นแบบนี้

วันนี้เลยมาเขียนเรื่อง ระบบระเบียบของมหาวิทยาลัยที่ทำให้ชีวิตการเรียนป. เอก (หรือโท)  เป็นไปได้อย่างราบรื่นที่สุด

ท่านผู้อ่านท่านใดมีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดระบบในมหาวิทยาลัยที่เมืองไทย จะนำไปปรับใช้ก็ได้นะคะ เพราะผู้เขียนเห็นว่ามันมีประโยชน์จริงๆ

หรือสำหรับท่านผู้อ่านที่เป็นนักศึกษาถ้าทางมหาวิทยาลัยไม่มีระบบระเบียบให้ จะนำมาใช้เป็นระบบส่วนตัวก็ได้นะคะ ลองคุยกับอ.ที่ปรึกษาดู บางข้อเราทำเองได้ไม่ต้องรอมหาวิทยาลัย 

--------------------------------------------------------------

มาดูที่แผนภูมิองค์กรก่อนดีไม๊ค่ะ ไม่ต่างจากที่เมืองไทยมั้งค่ะ

คือนักศึกษาป.เอก และ โท เนี่ยะ ไม่ว่าจะทำงานคณะไหน สังกัดที่แท้จริงคือ บัณฑิตวิทยาลัย (ที่นี่เรียกสั้นๆว่า ฟ็อกซ์ FoGs ย่อมาจาก Faculty of Graduate Studies)

นักศึกษามีอ.ที่ปรึกษาคนหลักที่อยู่คณะที่เราเลือกเรียนสาขาหลัก ท่านี้มีตำแหน่งทางการเรียกว่า faculty advisor หรือ main supervisor คนนี้ก็เป็นประธานคณะกรรมการอ.ที่ปรึกษาทั้งหมด (committee chair)

thesis supervisory committee หรือ คณะกรรมการอ.ที่ปรึกษานั้นมี 3-5 ท่าน รวมคนที่เป็น chair หรือ   supervisor หลักเราด้วย ท่านอื่นๆมาจากคณะไหนก็ได้ เป็นที่ปรึกษาเราตั้งแต่การเลือกเรียน coursework การทำวิจัย หารเขียน thesis

นอกจากนี้ เรายังมีที่ปรึกษาอีกคนในคณะ ท่านมีตำแหน่งเป็น graduate advisor มีคณะละ 1 คนดูแลนักศึกษาป.โท เอกทั้งหมดโดยรวม เราไม่ได้ติดต่ออะไรท่านมากในชีวิตประจำวัน แต่ท่านเป็นคนที่เป็นตัวกลางถ้าเราเผื่อนร.มีปัญหากับ supervisor แล้วท่านก็เป็นคนที่เป็นตัวเชื่อมระว่าง FoGs กับคณะ ท่านเป็นคนที่จัดให้มี grad student seminar ในคณะ ให้นักศึกษาต่างภาค แต่อยู่คณะเดียวกันได้มาเจอกัน มาลปรร.กันอาทิตย์ละครั้ง มีการประกาศรางวัลการนำเสนอดีเด่นประจำปี

grad advisor นี้มีเลขาฯ (grad secretary) นนี้นี่แหละค่ะที่สำคัญมากๆ เป็นคนที่ทำให้ชีวิตเราราบรื่น เป็นคนที่มีแฟ้มข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับด้าน admin ของเรา ตอนเข้ามาเรียนเทอมแรก คุณวิกกี้นี่แหละที่ช่วยส่ง email มาบอกว่า ลงทะเบียนเรียนวิชาบังคับให้แล้วนะ ให้เข้าไปดูในweb บอกวิธีการลงทะเบียนให้เสร็จ เค้าทำให้ครั้งแรก แล้วครั้งต่อๆไปเราก็ทำเอง เค้าเป็นคนคอยเตือนตลอดว่ามี deadline อะไรบ้าง อย่างถ้าใครไม่เรียน committee meeting เลยเกินปี เค้าก็จะมาเตือน เค้าจะรู้เพราะหลังเราประชุมเสร็จทุกครั้งต้องทำรายงานการประชุมส่งถึง grad advisor ซึ่งท่านจะอ่านแล้วก็เอามาเข้าแฟ้มที่คุณเลขาฯนี่เอง

คุณเลขาสนิทกับนักศึกษาทุกคนมาจนพวกเรายกให้เป็น mom away from home เลยค่ะ 

--------------------------------------------------------------

คราวนี้กลับมาที่บัณฑิตวิทยาลัย

ทางบัณฑิตวิทยาลัยนี่มีห้องที่ให้คำปรึกษาตลอดเวลาราชการค่ะ แวะไปได้ตลอดถ้ามีคำถามนอกจากนี้ยังมี website ให้ข้อมูลสำคัญๆ เช่น

นอกจากนี้ทางบัณฑิตวิทยาลัยยังจัด workshop

ให้ด้วย เช่น workshop การเขียน thesis, การนำเสนองาน ทั้งเทคนิคการพูดและการทำสื่อ, การวางแผนและการบริหารเวลา, การจัดการกับ conflict ในการทำงาน, การเตรียมตัว defense  ฯลฯ

สิ่งที่ผู้เขียนประทับใจคือทุกคนให้กำลังใจมากกว่าขู่ ตัวระบบระเบียบ deadline ต่างๆก็ทำขึ้นมาเพื่อประโยชน์นักศึกษาเอง เจ้าหน้าที่ที่ FoGs ก็ใจดี 

ยังไม่เคยได้ยินใครบ่นเลยนอกจากความละเอียดในการตรวจthesisที่พิมพ์ออกมาแล้ว  ได้ข่าวมาว่าละเอียดยิ๊บ ไม่งั้นไม่ยอมรับ แต่เค้าก็มีตัวอย่างให้ดูออน์ไลน์นะคะ ไว้ถึงขั้นนั้นเมื่อไหร่แล้วจะมาเล่าให้ฟังค่ะ  : )

หมายเลขบันทึก: 101620เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2007 02:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 08:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะอาจารย์มัท

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้ค่ะ ทำให้มีโอกาสรู้ว่า นักศึกษาป.โท เอก ของทางแคนาดาเรียนกันยังไงบ้าง ดูท่าทางน่าจะสนุกแล้วก็มีโอกาสเรียนรู้หลากหลายมากเลยนะคะ  แค่จำนวน supervisors ก็กินขาดแล้วค่ะ


ตอนนี้เรียนอยู่ที่ออสเตรเลียค่ะ ที่มหาวิทยาลัยเค้ากำหนดให้มี Sup อย่างน้อย 2 คน แต่ตอนนี้มีอยู่ 3 ค่ะ  เรียนแบบวิจัยค่ะ ตอนนี้เป็นช่วงเริ่มต้น เลยต้องเจออาจารย์ที่ปรึกษาหลักทุกอาทิตย์ค่ะ แต่ถ้าพบทั้งหมด จะเดือนละ 1 ครั้ง แต่ก็ขึ้นอยู่กับช่วงหรือความจำเป็นเหมือนกันนะคะ

"ท่านเป็นคนที่จัดให้มี grad student seminar ในคณะ ให้นักศึกษาต่างภาค แต่อยู่คณะเดียวกันได้มาเจอกัน มาลปรร.กันอาทิตย์ละครั้ง มีการประกาศรางวัลการนำเสนอดีเด่นประจำปี"

อันนี้น่าสนใจค่ะ ที่ school ที่ทำอยู่ก็คือมีสัมมนาทุกสัปดาห์ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเสนอ proposal หรือผลการวิจัย ประมาณ 1 ชั่วโมงค่ะ ไม่รู้ว่าเหมือนกับของอาจารย์มัทหรือเปล่านะคะ ยังไม่ได้รวมกับ school อื่นๆ ใน คณะค่ะ ถ้ามีการรวมกันทั้งคณะท่าทางน่าจะดี เพราะเค้ารวม ทั้ง คอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพไว้ด้วยกันหมดเลยค่ะ จะได้ไปเรียนรู้กับ school อื่นๆ ด้วยค่ะ  ลืมบอกไปค่ะ ตอนนี้เรียนสาขาพยาบาลค่ะ   

จะลองไปเสนอให้ จัดแบบรวมกันแบบของอาจารย์มัทดูค่ะ เผื่อจะได้อะไรใหม่ๆ


เรื่องการจัดการกับการเรียนเฉพาะที่มหาวิทยาลัยที่เรียนนะคะ  

จริงๆ แล้วตลอดหลักสูตรจะเป็นหน้าที่ของ Graduate school ค่ะ แต่ช่วงหลังเริ่มจะแบ่งหน้าที่กันระหว่าง Higher degree ของแต่ละคณะกับ Graduate school  โดยช่วงก่อนที่จะส่ง proposal หรือก่อนที่จะเก็บข้อมูลจะเป็นหน้าที่รับผิดชอบของ Higher degree ของแต่ละคณะค่ะ แต่ Graduate school จะช่วยเหลือเรื่องการจัดการส่งเสริมหรือสนับสนุนเรื่องความรู้ทีี่จำเป็นในการทำวิจัยค่ะ แต่ถ้า proposal ผ่านการอนุมัติ จะเริ่มเข้าสู่ความรับผิดชอบของ Graduate school ค่ะ  

แต่ทุกอย่างต้องผ่านอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นสำคัญค่ะ  เจ้าหน้าที่ที่ช่วยดำเนินการก็จะค่อนข้างเป็นกันเองกับนักศึกษาค่ะ ช่วยเหลือทุกอย่างเท่าที่จะสามารถช่วยได้ค่ะ  ระบบนี้เพิ่งเริ่มเมื่อต้นปีนี้ค่ะ บางทีเวลาติดต่ออะไรก็ต้องถามกันก่อนว่าใช่ความรับผิดชอบของใครกันแน่ แต่ตอนนี้ก็เริ่มเข้าที่แล้วค่ะ

แต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะมีความแตกต่างกันไปนะคะ ดิฉันเรียนอยู่ที่ Edith Cowan University Perth WA.ค่ะ

ศิริกุล

ขอบคุณคุณศิริกุลมากๆเลยค่ะ เป็นการลงความเห็นที่มีประโยชน์มากๆ เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันที่ดีจริงๆ : )

ได้พบคณะอ.ที่ปรึกษาอาทิตย์ละครั้งที่บ่อยดีมากๆเลยค่ะ  นับถือนำ้ใจอ.จริงๆ เพราะมันเข้าใจเลยว่า การนัดให้อาจารย์ทุกท่านให้ว่างพร้อมกันได้นี่ยากมาก : ) มัทพบอ.ที่ปรึกษาท่านหลักอาทิตย์ละครั้ง เช่นกันค่ะ เพิ่งมาทำได้สองปีหลัง เพราะถ้าไม่นัดกันเป็นเรื่องเป็นเรา เราเองก็อู้เหมือนกัน การที่ต้องมาพบท่านทุกอาทิตย์ก็เป็นเหมือน การหาไฟมาลนก้น สำหรับมัทแล้ว เป็นคนพื้นฐานชอบเที่ยวเลยจำเป็นมากที่จะต้องตั้ง deadline ให้ตัวเอง ไม่งั้นนะ ชีพจรลงเท้าไปไหนต่อไหนแล้วค่ะ : P

ส่วน graduate student seminar ก็เหมือนที่โรงเรียน คุณศิริกุล เลยค่ะ เป็นงานในคณะ แต่ให้ทุกภาควิชา ทุก lab ทุกกลุ่มวิจัยมาร่วม ไม่ว่าจะเป็นงาน molecular งาน dental material งานชุมชน งาน clinical trial ฯลฯ เพราะคนจัดคือ grad advisor ของคณะทันตฯค่ะ

แต่ seminar ที่ร่วมงานนำเสนอนอกคณะก็มีค่ะ มัทเองก็ไปฟัง และ ไปนำเสนองานที่

  • grand rounds ของ department of health care and epidemiology ของคณะแพทย์ แล้วก็ที่
  • Interdisciplinary seminar ของ College of Health Disciplines
  • แล้วก็กลุ่มที่สนใจด้าน dementia โดยเฉพาะที่คณะ social worker ด้วยค่ะ

แต่ปีนึงไปที่ละซักสองสามครั้งเองค่ะ เค้าจะส่ง email มาบอกว่าอาทิตย์นี้หัวข้ออะไร ถ้าเราสนใจก็ไปฟัง

ข้อดีของที่นี่คือ เค้าส่งเสริมให้ไปทำอะไรนอกคณะค่ะ คิดว่าที่ออสเตรเลียก็เช่นกัน ไป audit วิชาที่เราสนใจก็ได้ เป็นต้น 

ขอบคุณคุณศิริกุลอีกครั้งนะคะ

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท