OUTCOME MAPPING: THE FINAL FLAG


THE FINAL FLAG

Outcome Mapping ยังไม่ได้จบแค่นี้ เท่าที่เล่ามา 10 ตอนเป็นเพียงแค่ initial phase หรือระยะเริ่มต้นของการนำเอา outcome mapping มาใช้ในการวางแผน กำหนดกลยุทธ์ และปักธงรายทางซึ่งยังเป็นระยะที่จินตนาการ สรัางโครงการ ยังจะต้องมีระยะ monitoring & review และท้ายสุดก็คือการประเมินผลอีก แต่นั่นยังไม่สามารถจะเขียนออกมาได้เพราะยังไม่ทราบว่า สสส. สคส. และ มสช. จะกรุณายอมรับไปอบรมอีกหรือไม่

แต่ก็อยากจะ wrap-up Outcome Mapping เท่าที่ได้เรียนมาใน 2 คืน 2 วันครึ่งอีกสักหนึ่งบทความ

ความต่างของ Outcome Mapping (หรือที่จริง อาจจะเรียกเป็น "ข้อบ่งชี้" ก็ได้) ก็คือ outcome mapping เหมาะสำหรับแผนหรือโครงการที่เป้าหมายเป็นแบบ non-profitable organization และเป้าหมายมีความซับซ้อนหลากหลายมิติ อาทิ แผนหรือโครงการด้านสาธารณสุข ความเป็นอยู่ของคน การเมือง หรือคุณค่าที่เป็นด้านสังคมศาสตร์ต่างๆ การเริ่มต้นการเขียนแผนการวิสัยทัศน์หรือพันธกิจด้วย "ผู้รับประโยชน์" จะส่งผลให้กระบวนการคิดทั้งหมดที่ตามมาเปลี่ยนไปตาม vision & mission แบบนี้

เมื่อตอนหนังสือ Balance Scorecard ของ Kaplan & Norton ออกมาครั้งแรก ก็สร้างกระแสและมิติในการนำเอา efficiency และ การวางแผนที่เชื่อมโยงใยขององค์กรแบบองค์รวม มีการเน้น human resource development ที่ชัดเจน ใน version แรกๆของ Balance Scorecard นั้น มิติของ F หรือ Financial นั้น จะอยู่บนยอดปิรามิด แต่ต่อมาเมื่อมีการเอา Balance Scorecard ไปใช้ในองค์กรประเภท non-profit organization โครงสร้างแบบนี้จึงไม่เข้ากับบริบท หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีหนังสือเกี่ยวกับ Balance Scorecard for Non-profit Organization ออกมา ทีนี้ top of priority ทุกอย่างขององค์กรจะมุ่งไปที่ C หรือ Customers แทน สำหรับองค์กรแบบนี้ มักจะหมายถึงประชาชนนั้นเอง ถ้าหาก non-profit organization สามารถ "รับใช้" คนที่องค์กรเกิดมาเพื่อรับใช้ได้ดี funders ก็จะ happy และพร้อมที่จะสนับสนุนต่อไป ประชาชนที่ได้รับประโยชน์ก็จะเกิดความเป็นเนื้อหนึ่งเดียวกับแผนหรือองค์กรประเภทนี้ และอาจจะเสริมช่วยโดยการบริจากทรัพย์ หรือกำลังคนให้อีกต่างหาก เกิดเป็น relationship แบบชุมชนขึ้นมา

ผลลัพธ์ของแผนแบบนี้ จะเน้นที่ผู้คน ฉะนั้น milestones ต่างๆ จะไม่ได้ใช้ "การนับกิจกรรม" แต่เราจะค้นหาอะไรที่ "ตรง" กับความต้องการของแผนแต่แรกเริ่ม ได้แก่ พฤติกรรม ความสัมพันธ์ สมรรถภาพ กระบวนทัศน์ ของผู้รับประโยชน์แทน วัดยากกว่าก็จริง แต่ก็ขะมีประโยชน์ตอนนำไปดัดแปลงใช้ และ "ตรงกว่า" ในแง่สิ่งที่เราต้องการให้เกิด

แน่นอนที่สุด อะไรที่เกิดขึ้นในสังคม มีหลายชั้น หลายมิติ เป็นเหตุปัจจัยอยู่ outcome mapping เสนอให้เรามองหา strategic partner และให้ความสำคัญ เป็นแผนที่เน้นกัลยาณมิตร (ขณะที่บางแผน บาง school อาจจะเรียกเป็น rival หรือ competition หรือ คู่แข่ง) outcome mapping concept จะมองเห็นโยงใยที่เกียวข้อง และทราบว่า การมีปฏิสัมพันธ์และผลแห่งความสัมพันธ์นั้น มีความสำคัญอย่างยวดยิ่งต่อสัมฤทธิ์ผล

ลักษณะความเกี่ยวข้องโยงใยแบบนี้ ต้องการการมีสติ มี awareness ต่อสิ่งต่างๆรอบๆตัวตลอดเวลา การติดตามทบทวนกลยุทธ์ต้องทำเป็น real time และต้องมีภูมิคุ้มกันสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้อยู่ในแผนมาก่อนได้ด้วย

การเปลี่ยนแปลงของสังคมนั้น เดี๋ยวนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าเราวางแผนที่ rigid เกินไป ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นที่แน่ชัดว่าเราอาจจะเผชิญความหายนะได้ เมื่อความไม่คาดฝันเกิดขึ้น และโอกาสแบบนี้ก็มีไม่น้อยเลย

ในอีกพื้นที่หนึ่ง ที่โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าน่าจะมีอะไรมาใช้ได้เยอะทีเดียว จากลักษณะของ Outcome Mapping ที่ว่ามา นั่นคือใน "วงการการศึกษา" นั่นเอง เพราะมีมิติความซับซ้อนไม่เป็นที่สองรองใคร และการเรียนการสอนก็มีผลระดับองค์รวมอย่างแน่ชัด ผมสนใจใคร่ศึกษาว่า outcome mapping แบบที่ว่ามาทั้งหมด หากนำมาใช้กับการปรับร่างหลักสูตร ทั้งแพทยศาสตรบัณฑิต หรือจะเป็นวิชาใดๆก็ตาม จะเป็นเช่นไร?

 

คำสำคัญ (Tags): #outcome mapping
หมายเลขบันทึก: 199468เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2008 00:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ขอบคุณ คุณหมอ ที่นำเสนอสิ่งดีๆครับ

ในกระบวนการ ปฏิบัติธรรม ก็ สามารถ เอา OM มาติดตาม สอบอารมณ์ ได้เช่นกันครับ

อ.วรภัทรครับ

ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยียนและทักทายครับผม

ผมคิดว่าในมิติมุมมองหนึ่ง OM ก็อาจจะคล้ายๆการเดินออกจากตัวตนเองเป็นพักๆ มองย้อนกลับมาดูว่าเราทำอะไรอยู่ (ไม่เพียงแค่อยู่ที่ไหนเท่านั้น) คิดอะไรอยู่ รู้สึกอย่างไรอยู่ การ monitoring ทาง OM ที่ดูความสัมพันธ์ พฤติกรรม สมรรถนะ และกระบวนทรรศน์นั้น ผมก็ว่าใกล้เคียงกับการศึกษาปฏิบัติภาวนามากทีเดียว

ไปๆมาๆ พระพุทธเจ้าท่านก็คือนัก OM รายแรกๆของโลกนะนี่!!

อาจารย์หมอสกลครับ . . . สุดยอดจริงๆ ครับ ทั้งเนื้อหา และรูปประกอบ ได้อรรถรสจริงๆ ครับ . . . ผมจะต้องกลับมาอ่านอีกหลายๆ เที่ยว ตอนนี้ก็ได้แนะนำหลายๆ ท่านที่อยากรู้เรื่อง OM ให้เข้ามาอ่าน . . . This is the best blog on OM ครับ!! . . . คงได้พบกันช่วง "สอบอารมณ์" (M&E) นะครับ

อาจารย์ประพนธ์ครับ P

ดีใจที่อาจารย์ชอบครับ (อย่างน้อยก็ช่วย confirm ว่าเราไม่ได้หลงไปไหนไกลเกินไป อิ อิ) ยินดีขอรับฟังคำคิดเห็น แนะนำ แลกเปลี่ยนกันเยอะๆครับ ยิ่งหลากหลายยิ่งสนุก

M&E น่าสนใจมากๆครับ หวังว่าผมคงจะได้ไปอีก อยากเจอกันอีกครับผม

 

เรียนอ.หมอสากลครับ

จะเข้ามาติดตามข้อมูลด้าน OM เรื่อยๆครับ

เพิ่งไปอบรมกับทาง สคส.จัดงานโดย มสช. มาครับ

ฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ จะได้นำมาใช้กับโครงการได้อย่างเข้าใจครับ

สวัสดีครับอาจารย์

เจออาจารย์ในเวที M&E แต่ไม่มีโอกาสได้สวัสดีอาจารย์ แต่ทราบว่าอาจารย์เวปบล็อก

เลยลองเข้ามาดูครับ

ขอขอบคุณในนำ้ใจอันงดงามที่ทำใหัสามารถเข้ามาอยู่ตรงนี้ได้ และขอกล่าวสวัสดีเพื่อนๆพี่ๆสมาชิกทุกท่าน ขอฝากตัวเป็นน้องใหม่ ณ ที่นีัด้วย ขอขอบคุณอีกครั้ง หลังจากเข้ามาตรงนี้แล้วได้อ่านบทความก็ดี เรื่องเล่าเกร็ดความรู้สาระต่างๆมากมาย จากผู้มากประสบการณ์ หลากหลายสาขาอาชีพ เป็นการเปิดมิติอีกด้านจริงๆ เป็นโอกาสดีที่จะไดัศึกษาสิ่งแปลกใหม่จากความคิดเห็นที่หลายท่านได้นำมาแบ่งปันกันไวั อาจจะต้องขออนุญาตหยิบยกเอาเกร็ดความรู้ สาระดีๆ ไปใช้บ้างคงไม่ว่ากันนะคะ

ขอขอบคุณในนำ้ใจอันงดงามที่ทำใหัสามารถเข้ามาอยู่ตรงนี้ได้ และขอกล่าวสวัสดีเพื่อนๆพี่ๆสมาชิกทุกท่าน ขอฝากตัวเป็นน้องใหม่ ณ ที่นีัด้วย ขอขอบคุณอีกครั้ง หลังจากเข้ามาตรงนี้แล้วได้อ่านบทความก็ดี เรื่องเล่าเกร็ดความรู้สาระต่างๆมากมาย จากผู้มากประสบการณ์ หลากหลายสาขาอาชีพ เป็นการเปิดมิติอีกด้านจริงๆ เป็นโอกาสดีที่จะไดัศึกษาสิ่งแปลกใหม่จากความคิดเห็นที่หลายท่านได้นำมาแบ่งปันกันไวั อาจจะต้องขออนุญาตหยิบยกเอาเกร็ดความรู้ สาระดีๆ ไปใช้บ้างคงไม่ว่ากันนะคะ

ขอขอบคุณในนำ้ใจอันงดงามที่ทำใหัสามารถเข้ามาอยู่ตรงนี้ได้ และขอกล่าวสวัสดีเพื่อนๆพี่ๆสมาชิกทุกท่าน ขอฝากตัวเป็นน้องใหม่ ณ ที่นีัด้วย ขอขอบคุณอีกครั้ง หลังจากเข้ามาตรงนี้แล้วได้อ่านบทความก็ดี เรื่องเล่าเกร็ดความรู้สาระต่างๆมากมาย จากผู้มากประสบการณ์ หลากหลายสาขาอาชีพ เป็นการเปิดมิติอีกด้านจริงๆ เป็นโอกาสดีที่จะไดัศึกษาสิ่งแปลกใหม่จากความคิดเห็นที่หลายท่านได้นำมาแบ่งปันกันไวั อาจจะต้องขออนุญาตหยิบยกเอาเกร็ดความรู้ สาระดีๆ ไปใช้บ้างคงไม่ว่ากันนะคะ

เรียนอาจารย์หมอสกล ขอบพระคุณครับ ขอนำไปถ่ายทอดต่อนะครับ ให้ ทีม มอบ

ขอชื่นชม ความขยัน ความสามารถในการสรุป ในการถ่ายทอด ของ คุณหมอ ครับ

ขอแชร์บ้างนะ :-

ผมรอ จน คุณหมอ เขียนครบ ผมคิดเอง เออเองว่า การอ่านต่อเนื่อง เรียงๆ กัน สิบกว่าบท ได้ sense มากกว่า อ่าน ๆ หยุดๆ

เห็นด้วย เรื่อง ความ rigid ของแผน และ ที่สำคัญ คือ ความ rigid ของผู้ประเมิน และ ผู้บริหาร

ผมคิดว่า OC map คล้าย story telling แต่ ให้ความสำคัญ กับเรื่อง คนที่เกี่ยวข้องทั้งตรงและสนับสนุนมากขึ้น เน้นไปที่มนุษย์มากขึ้น แต่ ก็มีอะไร ๆ ให้ สอดแทรก ลูกเล่น เพิ่ม options ได้อีกมากมายนะ (ผมว่าเองนะ)

หาก challenge ของเรา กับ ผู้บริหาร ไม่ตรงกัน เรากับท่าน ไม่ co-dream กัน ละก็ สุดท้าย เข้าอีกหรอบเดิมๆ "โตเมืองนอก ตายไทย"

ผมคิดว่า ผมใช้หลักธรรม ๆ ไปเถอะ ทำๆ ไปเถอะ อีกหน่อย ก็เก่งเอง

ตอนนี้ ผมคงวิจารณ์ OC map มากไม่ได้ เพราะ เป็น ขั้นรับรู้ เท่านั้น เอาไว้สักพัก เอาไปใช้ สักระยะนึง เมื่อมีทักษะ เข้าใจ เข้าถึง OC map แล้ว คงจะกลับมาแชร์ กันใหม่

ขอบคุณ สำหรับบันทึกดีๆ เช่นนี้ครับ

เรียน อ. Phoenix ค่ะ

  • พออ่านจนจบดิฉันรู้สึกว่าคงต้องกลับมาทบทวนความฝัน(ของตน)ที่อยากเห็นแผนที่การทำงานคุณภาพวิสัญญี มข.ใหม่ละมังคะ  เพราะรู้สึกโดยตัวของ Outcome Mapping มีศักยภาพทำได้ระดับใหญ่จริงๆ  ในงานบริการของวิสัญญีที่คิดและลองเริ่มทำกัน คงต้องดัดแปลงให้เหมาะสมอีกมากๆในหลายขั้นตอนค่ะ....
  • ที่แน่ๆ...ตอนนี้ตัวเองต้องกลับมาอ่านทบทวนบันทึกของอาจารย์ไปมาหลายๆรอบเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง  แตกฉานในรอบถัดๆไป...
  • หากอาจารย์พบว่าดิฉันเวียนกลับมาถามแล้วถามอีกก็อย่าเพิ่งเบื่อนะคะ...ดิฉันเป็นคนเข้าใจอะไรยากค่ะ  และก็ที่แย่มากๆคือลืมง่ายซะอีก..แต่ก็ยังมีข้อดีอยู่บ้างที่เป็นคนขยันค่ะ...ขยันถามน่ะค่ะ..อิอิ...
  • ขอบพระคุณท่านมากๆค่ะ

สวัสดีครับ อ.กฤษณา Pครับ

ขอบพระคุณที่ติดตามอ่าน series นี้จนถึงบทนี้ครับ แต่อยากจะเรียนว่ายังมีอีก 11 ตอน สำหรับเนื้อหาต่อเนื่องคือ M&E monitoring & evaluation ครับ

ประสบการณ์ outcome mapping ของผมเองยังไม่เป็นรูปธรรมเท่าไรเลยครับ ก็พึ่งเคยมารับการอบรมจาก สคส.นี่แหละ คงจะยังไม่ qualify เป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่จากที่ได้รับฟังและแลกเปลี่ยนมา คนที่จะเป็นคนตอบคำถามว่า อะไรคือพฤติกรรมที่พึงประสงค์ อะไรคือเป้าประสงค์ร่วมของฝันที่ทุกคนอยากจะได้ น่าจะเป็นกลุ่ม direct partners มาช่วยกันคัดกรองกัน คนภายนอกคงจะยากที่ชี้นำว่าน่าจะฝันอย่างไร หรือน่าจะฝันว่าอะไรบ้าง

ในบท "vision & mission" นั้น ผมได้เรียนรู้ว่า แรงบันดาลใจที่แท้จะเกิดจาก inner side ของตัวเราเชื่อมโยงกับพฤติกรรม ความคิดของเราได้ ตรงนี้ผมเห็นว่าเป็นการทำงานภายในของแต่ละคน ที่ได้มานั่งตกผลีก จนกระทั่งเห็นว่าตัวเรามีส่วนส่งผลกระทบต่อภาพรวมขององค์กรอย่างไร ตรงไหน และเราใฝ่ฝันในอีก 3-4 ปี หรือ ระยะยาว ว่าเราจะไปถึงไหน

ตรงนี้ผลลัพธ์ทั้งแบบ traditional หรือที่เป็น quantitative และแบบ outcomes คือ พฤติกรรมและความสัมพันธ์ ก็คงต้องเลือกใช้ทั้งสองอย่างกระมังครับ ไม่ได้เหลือเพียงอย่างหนึ่งอย่างใด การวัดเชิงปริมาณถึงจะมีข้อจำกัด แต่ถ้าพวกเราช่วยกันคิดและพบว่ามัน represent สิ่งที่เราต้องการก็ใช้ได้เหมือนกัน outcome mapping ไม่ได้จำเป็นต้องหมายความว่าเราทิ้งเครื่องมืออื่นๆไปทีเดียว เหลือแต่อย่างนี้อย่างเดียว

อยากจะให้อาจารย์ลองอ่านทางการประเมิน ใน series ต่อไป อาจจะพบคำตอบของคำถามใน series นี้ไปปรากฏที่นั่น (เหมือนที่ สคส. ทำผมค้างเติ่งอยู่หลายเดือน กว่าจะเชิญไปร่วมเฉลยในรอบที่สอง)

ขอบพระคุณอีกครั้งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท