ผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบที่ 5 ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 : คณะสหเวชฯ มน.


องค์ประกอบที่ 5 การบริการวิชาการแก่สังคม

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 มีระบบและกลไกในการบริการทางวิชาการแก่สังคมตามเป้าหมายของสถาบัน

เกณฑ์มาตรฐาน : ระดับ

  1. มีการจัดทำนโยบาย แผนกลยุทธ์ และแผนดำเนินงานของการบริการวิชาการแก่สังคม
  2. มีคณะกรรมการ คณะทำงานหรือหน่วยงานดำเนินการให้บริการวิชาการแก่สังคมตามแผนที่กำหนด
  3. มีการกำหนดหลักเกณฑ์และหรือระเบียบในการให้บริการวิชาการแก่สังคม
  4. มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนด
  5. มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริการวิชาการแก่สังคม
  6. มีการจัดทำแผนการเชื่อมโยงและบูรณาการการบริการทางวิชาการแก่สังคมเข้ากับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
  7. มีการประเมินสัมฤทธิผลและนำผลการประเมินไปพิจารณาปรับปรุงความเชื่อมโยงและบูรณาการระหว่างการบริการวิชาการแก่สังคมกับภารกิจอื่น ๆ ของสถาบัน

เกณฑ์การประเมิน  :

คะแนน 1 

คะแนน 2 

คะแนน 3 

มีการดำเนินการไม่ครบ 3 ข้อแรก  มีการดำเนินการครบ 3-4 ข้อแรก มีการดำเนินการอย่างน้อย 5ข้อ

การประเมินตนเอง (SAR)

ผู้กำกับดูแลดัชนี:  ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสหเวชศาสตร์ชุมชน เบอร์โทรภายใน: 6221 E-mail :  [email protected]
ผู้เก็บรวมรวบข้อมูล: สุวดี     มีมาก เบอร์โทรภายใน :  6560  E-mail :  

[email protected]

ค่าเป้าหมาย :มีการดำเนินการถึงระดับที่ 7 

ผลการดำเนินงาน

  1. มีการจัดทำ นโยบาย และแผนงาน ที่เป็นลายลักษณ์อักษร (หลักฐาน1) (หลักฐาน2)
  2. คณะฯมีรองคณบดีฝ่ายวิชาการ  ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสหเวชศาสตร์ชุมชน และคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ รับผิดชอบการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการสู่สังคม (หลักฐาน3)  (หลักฐาน4)  (หลักฐาน5)
  3. คณะฯมีการเผยแพร่ นโยบาย และแผนงาน โดยแจกแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2550 ให้บุคลากรทุกท่านได้รับทราบและเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายให้สาธารณชนรับทราบ (หลักฐาน6) (หลักฐาน7)
  4. คณะฯได้มีการทบทวนประเมิน นโยบาย และแผนงานทางด้านบริการวิชาการในคราวประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯครั้งที่ 1, 4 – 8/2549 (หลักฐาน8)
  5. มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาเป็นแผนยุทธศาสตร์ 2549-2553 และแผนปฏิบัติการประจำปี 2550 โดยมีการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ มาตรการ และตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของโครงการทางด้านบริการวิชาการที่ชัดเจน (หลักฐาน9) (หลักฐาน10)
  6. คณะฯมีแผนปฏิบัติการโครงการศูนย์ห้องปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพ   โครงการบริการเคลื่อนที่เพื่อพัฒนาสุขภาพและอาชีพประชาชน เพื่อให้คณาจารย์และนิสิตนำความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการมาใช้ในการเรียนการสอนและการวิจัย  (หลักฐาน11) (หลักฐาน12)
  7. อาจารย์ที่ร่วมออกให้บริการในโครงการบริการเคลื่อนที่ฯ ของมหาวิทยาลัย สามารถนำประสบการณ์ที่ได้จากการให้บริการไปใช้กับการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ของแต่ละภาควิชา  เช่น   การตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด  ไขมัน  โคเลสเตอรอลไตรกลีเซอไรด์  และหมู่เลือดของภาควิชาเทคนิคการแพทย์  นั้นนำไปใช้ในรายวิชาเคมีคลินิค1 ของภาควิชาเทคนิคการแพทย์  ส่วนการให้บริการในศูนย์ห้องปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งของภาควิชากายภาพบำบัด และเทคนิคการแพทย์ สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา กายภาพบำบัดทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ  และรายวิชาโลหิตภูมิคุ้มกัน ตามลำดับ   (หลักฐาน13) 
    1. รายวิชาเคมี 1 ภาคเทคนิคการแพทย์ (หลักฐาน14) 
    2. รายวิชาเคมี 2 ภาคเทคนิคการแพทย์  (หลักฐาน15) 
    3. รายวิชาโลหิตภูมิคุ้มกัน ภาคเทคนิคการแพทย์  (หลักฐาน16)
    4. รายวิชาฝึกกายภาพบำบัดทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ภาคกายภาพบำบัด (หลักฐาน17)      
  8. คณะฯมีการนำความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการและวิชาชีพมาใช้ในการวิจัย (หลักฐาน18)  (หลักฐาน19)
  9. คณะฯมีการนำความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการและวิชาชีพมาใช้ในการเรียนการสอนและการวิจัยโดย  ศูนย์ห้องปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพกายภาพบำบัด และ, เทคนิคการแพทย์  โครงการการบริการเคลื่อนที่เพื่อพัฒนาสุขภาพและอาชีพประชาชน (หลักฐาน20)
  10. คณะฯมีการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนหรือการวิจัยกับการบริการวิชาการ/วิชาชีพ (หลักฐาน21)  (หลักฐาน22)

ผลการประเมินตนเอง (อิงเกณฑ์ สกอ.) 

 ผลการประเมินตนเองปีที่แล้ว : 3 ผลการประเมินตนเองครั้งนี้ :  3   เป้าหมายปีต่อไป :  3

TOWS Analysis : ภาวะคุกคาม  มหาวิทยาลัยไม่เน้นพันธกิจด้านบริการวิชาการ 
  โอกาส องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นมีแหล่งเงินที่พร้อมจะพัฒนางานด้านบริการสุขภาพแก่ชุมชน จึงเป็นโอกาสที่คณะฯจะเข้าไปร่วมด้วยได้ 
  จุดอ่อน อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้บริการไม่เพียงพอ และที่มีอยู่เริ่มชำรุดเสียหาย 
  จุดแข็ง คณะมีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับศูนย์ปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพ ที่ให้บริการทางวิชาการสู่สังคม กล่าวคือ จะเป็นฐานของการเรียนการสอน การวิจัย และการพึ่งพาตนเอง ด้วย  

โครงการหรือกิจกรรมในปีต่อไป :

  1. ประเมินนโยบายและแผนงานด้านบริการวิชาการเพื่อนำผลประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาในปีถัดไป
  2. ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการออกหน่วยบริการเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง

ผลการประเมินตรวจสอบ  (กรุณาบันทึกในความคิดเห็นโดย copy ข้อความข้างใต้ไปวาง)

การบรรลุเป้าหมาย 

ค่าเป้าหมาย  มีการดำเนินการถึงระดับที่ 7     
การบรรลุเป้าหมาย  บรรลุ:  ไม่บรรลุ:                   

 ผลการประเมินตรวจสอบปีที่แล้ว : 3 ผลการประเมินตรวจสอบครั้งนี้ : ?   เป้าหมายปีต่อไป : ?

ข้อสังเกต/เสนอแนะ :  (กรุณาบันทึกในความคิดเห็น)

-

-

หมายเลขบันทึก: 127852เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2007 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผลการประเมินตรวจสอบ ได้ผลการดำเนินการระบบและกลไกในการบริการทางวิชาการแก่สังคมตามเป้าหมายของสถาบัน เท่ากับระดับ 5

การบรรลุเป้าหมาย 

ค่าเป้าหมาย  มีการดำเนินการถึงระดับที่ 7     
การบรรลุเป้าหมาย  บรรลุ:  ไม่บรรลุ:  ü                 

 ผลการประเมินตรวจสอบปีที่แล้ว : 3 ผลการประเมินตรวจสอบครั้งนี้ : 3   เป้าหมายปีต่อไป : -

ข้อสังเกต/เสนอแนะ

หลักฐานบางข้อไม่ชัดเจน ควรทำสัญลักษณ์ให้สื่อถึงตัวบ่งชี้ที่ 5.1

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท