ปรากฏการณ์ "ดวงจันทร์ยิ้ม" ฝีมือ ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา


 

ใหม่!

ข้อมูลเพิ่มเติม - ภาพดวงจันทร์ขนาดใหญ่ทั้ง 4 ดวงของดาวพฤหัส
(ที่เรียกว่า Galilean moons = ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ หรือ ดวงจันทร์กาลิเลียน)







พี่อู - ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา

รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ได้กรุณาส่งภาพสวยๆ ชุดนี้มาให้ผม

ปรากฏการณ์ที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า "พระจันทร์ยิ้ม" เมื่อวันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นั่นเองครับ

ถ่ายจากดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่

ตามไปชมกันเลย!

ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมว่า..อะไร..ทำไม..อย่างไร...เดี๋ยวรอพี่อูมาให้ข้อมูลกับพวกเราเพิ่มเติม

ขอขอบคุณพี่อูไว้ ณ ที่นี้ครับ

 



คำศัพท์น่ารู้ (ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ "ดวงจันทร์ยิ้ม" ครั้งนี้)


ดาวเคียงเดือน
: การที่ดาวสว่างปรากฏอยู่ใกล้ดวงจันทร์

                      ในกรณีเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2551 ที่ผ่านมานี้ ดาวศุกร์และดาวพฤหัส เป็นดาวที่สว่างที่สุดใน
ท้องฟ้าและสว่างกว่าดาวฤกษ์ทุกดวง

 

คอนจังก์ชัน (conjunction) : การที่วัตถุในระบบสุริยะปรากฏอยู่ใกล้เคียงกันบนท้องฟ้า (เมื่อสังเกตจากโลก)

                       ดูรายละเอียดได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Conjunction_(astronomy_and_astrology)

 

แสงโลก (Earthshine - เขียนติดกัน) : ปรากฏการณ์ที่เราสามารถมองเห็นด้านมืดของดวงจันทร์ได้ 

                   ปรากฏการณ์นี้เกิดจากแสงอาทิตย์ที่สะท้อนไปจากโลกตกกระทบด้านมืดของดวงจันทร์ โลกเป็นวัตถุที่สะท้อนแสงอาทิตย์ได้ดี (36.7%) 
                   ในช่วงที่ดวงจันทร์ปรากฏเป็นเสี้ยวบางนั้น บนด้านมืดของดวงจันทร์จะเห็นโลกสว่างเกือบเต็มดวง
                   การสะท้อนแสงจากเมฆในบรรยากาศของโลกเปลี่ยนไปตามปริมาณของ
เมฆที่ปกคลุม Earthshine จึงใช้ในการศึกษาเมฆและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก (climate change) ได้ด้วย

 

ภาพที่ 1 :

ในภาพนี้ จะเห็นปรากฏการณ์แสงโลก (Earthshine) ได้อย่างชัดเจน

ส่วนจุดเล็กๆ ข้างดาวพฤหัสบดี คือ ดวงจันทร์กาลิเลียนทั้ง 4 ดวง
ในภาพต้นฉบับซึ่งมีความละเอียดมากกว่าภาพนี้จะเห็นดวงจันทร์เหล่านี้ได้ชัดเจน
ทั้งนี้เป็นเพราะสภาพท้องฟ้าที่ดีของดอยอินทนนท์


ดาวพฤหัสบดี & ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ (Galilean moons) ทั้ง 4
[ภาพนี้ตัดมาจากภาพรายละเอียดสูงขนาด 3.314 MB]

 

เงื่อนไขการถ่ายภาพที่ 1 : Canon 450D เลนส์เทเลโฟโต้ 300 mm f/4, ความเร็วชัตเตอร์  2 วินาที ที่ ISO 400

 

ภาพที่ 2 : 

เงื่อนไขการถ่ายภาพที่ 2 : Fuji S5 Pro ทางยาวโฟกัส 26 mm f/4, ความเร็วชัตเตอร์  6 วินาที ที่ ISO 400




ภาพที่ 3 :


เงื่อนไขการถ่ายภาพที่ 3 : Fuji S5 Pro ทางยาวโฟกัส 44 mm f/4.5, ความเร็วชัตเตอร์  30 วินาที ที่ ISO 1600


 

 

 

 


 
ปรากฏการณ์ "ดวงจันทร์ยิ้ม" จะเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อไร?

เท่าที่ผม [ดร.ศรัณย์] ได้ตรวจสอบเบื้องต้น การเกิดคอนจังก์ชัน (conjunction) ของดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี

อย่างไรก็ดี การที่จะเห็นดวงจันทร์เสี้ยวมาปรากฏอยู่ร่วมด้วยนั้น
ต้องรอถึง 18 ก.ค. 2558 ซึ่งเป็นฤดูฝน ท้องฟ้ามืดช้า และดวงจันทร์จะตะแคงยิ้มไม่
สวยเช่นนี้

 


 

 

 

หมายเลขบันทึก: 226996เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2008 06:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)

สวัสดีคะ

ภาพสวยมากเลยคะ

ขอยืมไปเป็นสื่อการสอนนักเรียนหน่อยนะคะ

ขอบคุณมากเลยคะ

ขอให้มีความสุขนะคะ

           

  • ใช่เลยครับ
  • สวยมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
  • ตามมาชมหลังจากแว๊บตามไปดูที่บล็อกพี่ดาวลูกไก่ครับ
  • สวัสดียามเช้าครับ ท่านอาจารย์บัญชา
  • สบายดีนะครับ
  • สุขกายสุขใจในวันพุธครับ
  • ภาพพระจันทร์สวยชัดเจนมากๆค่ะ
  • เห็นองค์ พระธาตุนภเมทนีดลและพระธาตุนภพลภูมิสิริ อยู่เคียงกันสวยมากๆค่ะ

ภาพที่สอง ถ่ายได้ดีมากๆ เลยครับ

สวัสดีครับ

      คุณครู อังคณา สืบเนียม : คิดว่า อาจารย์ ดร.ศรัณย์ คงจะยินดีครับ โดยอ้างถึงอาจารย์เพื่อให้ credit ซะหน่อย ;-)

      คุณ คนพลัดถิ่น~natachoei(หน้าตาเฉย) : สุขใจ สุขกายเช่นกันครับ วันนี้วันดีซะด้วย ^__^

      หุย ... : ใช่แล้ว ต้อง 'ยิ้มสู้...ประเทศไทย' ตอนนี้คงจะสบายใจไปได้อย่างน้อยก็ 1 สัปดาห์ครับ

           ภาพดวงอาทิตย์นี่เอาขึ้นเมื่อไร พี่จะแจ้งไปอีกทีนะ

      อาจารย์ กมลวัลย์ : ไม่ได้แวะไปคุยกับอาจารย์นานนนน..ทีเดียวครับ

      คุณ naree suwan : ขอบคุณมากเลยครับ สำหรับชื่อพระธาตุ

          ผมได้ไปที่ดอยอินทนนท์กับ ดร.ศรัณย์ เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 29 ธันวาคมด้วย อยู่ตรงตำแหน่งที่ถ่ายภาพนั่นแหละครับ งามมากๆ จริงๆ...ขอบอก ^__^

งามแต้ ๆ ครับอาจารย์

ขอบคุณมากครับ :)

  • เท่าที่ชมภาพมา ภาพนี้สวย ละเอียดชัดมากที่สุด และดีใจจังค่ะที่ได้เห็นภาพพร้อมความรู้ผ่านนักดาราศาสตร์-นักวิทยาศาสตร์
  • แบบนี้หากจะมีมหกรรมฝนดาวตกที่ดูได้ชัดเจน ท้องฟ้าเปิดในเมืองไทย ในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่นี้ พี่จะบอกตัวเองว่า ต่อให้หนาวเยือกขนาดไหน ก็จะไปดูให้เห็นกับตา กับนักดาราศาสตร์-นักวิทยาศาสตร์ ให้ได้ค่ะ
  • เมื่อคืนไปทานข้าวกับพี่ ศน.อ้วน พี่เหมี่ยว คุณ บก หมู เราคุยกันว่า พระจันทร์งอน...ไม่ยิ้มแล้ว (ดูแบบกลับหัวนะคะ)  แบบนี้ค่ะ >> ) ,'
  • ภาพสวย ละเอียด ชัดเจน
  • ขอบคุณที่แบ่งปันความสุขมาให้ค่ะ

ว๊าวสวยมากๆเลยค่ะ จากป้าแต๋ง

ภาพพระจันทร์ยิ้มชัดเจนมากครับ

วันที่ 1 ธ.ค. ผมกำลังเข้าบ้านพอดีก็มองดู เห็นพระจันทร์กับดาวพฤหัส และดาวศุกร์เคียงคู่มากับพระจันทร์ เสียดายไม่ได้ถ่ายภาพเก็บไว้

แต่มีพระจันทร์คืนวันเพ็ญเดือนสิบสองแทนครับ

อ.บัญชาสบายดีนะครับ

วันนี้เชียงใหม่อากาศหนาวกว่าวันที่อาจารย์มา มช.อีกครับ

สวัสดีครับ

       กวิน : ใช่แล้วครับ ภาพที่สองที่มีพระธาตุอยู่ด้วย นอกจากจะสวยงามมากแล้ว ยังมีความหมายหลายมิติเหลือเกินครับ

   อ. Wasawat Deemarn : ต้องขอบคุณ ดร.ศรัณย์ กับทีมงานครับ ที่ไปเก็บภาพสวยๆ ทั้งหมดนี้มาให้เรา

           ผมกำลังจะเขียนไปขอภาพ HiRes จาก ดร.ศรัณย์ คือ อยากเห็นดวงจันทร์ทั้ง 4 ของดาวพฤหัสบดีครับ (ทำตัวเลียนแบบกาลิเลโอซะหน่อย ;-))

    ครูปู~natadee t'ซู๊ด : ยิ้มหวานเหมือนดวงจันทร์เลยนะครับเนี่ย :-)

 

สวัสดีครับ พี่ดาว

       แม้จะไม่มีฝนดาวตก แต่ถ้าฟ้าเปิด ก็มองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่สวยงามอีกหลายอย่างได้ครับ

       เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ผมเห็น ทางช้างเผือก กาแล็กซีแอนโดรเมดา และ..แน่นอน...ดาวลูกไก่!

       ไว้ถ้ามีโอกาสได้ไปเชียงใหม่คราวหน้า จะลองคุยกับ ดร.ศรัณย์ ดู จัด Trip ให้พวกเราชาว G2K ขึ้นไปบนดอยอินทนนท์เลย ดีไหมครับ

สวัสดีครับ

       คุณครู วรางค์ภรณ์ เนื่องจากอวน : นำภาพไปสอนเด็กๆ ได้นะครับ โดยให้ credit กับฝีมือ ดร.ศรัณย์ ซะหน่อย ^__^

       ป้าแต๋ง : คราวหน้าตาม ดร.ศรัณย์ ขึ้นดอยอินทนนท์ไปดูดาวกันไหมครับ หนาวหน่อย แต่คุ้ม

       ครูไข่ วัชรา ทองหยอด : ผมว่าแม้จะไม่ได้บันทึกภาพเอาไว้ แต่ใครได้เห็น ก็จะจดจำไปอีกนานเชียวครับ

            ขอบคุณสำหรับภาพดวงจันทร์วันเพ็ญนะครับ ดูเหมือนจะทรงกลด (moon corona) จางๆ ซะด้วย ^__^

             อากาศที่เชียงใหม่หนาวลง รักษาสุขภาพด้วยครับ  

อ.ชิวคะ..

ภาพของอ.ชิว งามแต้ๆ เลยล่ะค่ะ...ต้องโต้ลมหนาวของแท้ซะด้วย.. เพื่อจะได้ภาพสวยๆแบบนี้.ขอบคุณมากค่ะ...

สวัสดีครับพี่ชิว แวะมาดูอีกทีคราวนี้มีบอก ค่า ISO และความเร็วชัตเตอร์ ด้วยนะครับ ดีจังจะได้เอาไปลองตั้งค่าตามบ้าง

  • สวยงามมาก
  • ดูแล้วสุขใจค่ะ
  • ตามน้องดาวมาดูช่างภาพมืออาชีพค่ะ
  • วันก่อนนัดน้องดาวจะไปฟังอาจารย์บรรยายเรื่อง phobia แต่ติดภาระกิจด่วน  เลยไม่ได้ไป เสียดายมากๆ
  • แต่น้องดาวอาสาจะเอาวีดีโอที่อัดไว้มาให้ดู
  • โอกาสหน้ามาเชียงใหม่จะแวะมาทักทายนะคะ

-ภาพสวยมากค่ะ

-เสน่ห์ของจันทร์ ทำให้มนุษย์หลงใหลได้จริงๆ

-ขอบคุณค่ะ ที่แบ่งปันความรู้

-ครูต้อยมีสื่อดีๆให้เด็กๆศึกษาเพิ่มขึ้นอีก 1 แล้วค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่ชิว

เอชวนน้องนีโอออกมาดูพระจันทร์ยิ้มด้วยค่ะ

ขนาดดูแถวๆบ้าน นีโอยังตื่นเต้นเลย

แต่พอได้มาดูภาพของดร.ศรัณย์ แล้วนี่

สุดยอดจริงๆ สวยงามมากๆๆ

อดจะอมยิ้มไม่ได้ ที่เห้นจันทร์ ยิ้ม

สวัสดีครับ

      ครูบิ๋ม : ภาพทั้งหมดนี้ฝีมือของ ดร.ศรัณย์ และทีมงานครับ

      กวิน : ได้เลยๆ ได้ผลยังไง ส่งภาพสวยๆ มาให้ดูกันบ้าง

      คุณ ลำดวน : ต้องขอบคุณเจ้าของภาพครับ

      พี่ มนัญญา ~ natachoei ( หน้าตาเฉย) : เสียดายที่ไม่ได้เจอเหมือนกันครับ เรื่องโฟเบียนี่ ผมให้ข้อมูลไว้นิดๆ หน่อยๆ เป็นการชวนคิดครับ ที่น่าสนใจคือ เด็กๆ นักเรียนที่เข้าฟัง ให้ข้อมูลที่น่าสนใจมากทีเดียว

      คุณ krutoi : ถ้าต้องการข้อมูลเกี่ยวกับดาราศาสตร์เพิ่มเติม ก็ฝากคำถามไว้ให้ ดร.ศรัณย์ ได้นะครับ

      เอ แม่นีโอ : พี่อู (ดร.ศรัณย์) ของเรานี่มืออาชีพอยู่แล้วครับ ว่าแต่ เอ เคยเจอตัวเป็นๆ ตอนพี่เขาอยู่ที่ สวทช. หรือเปล่า?

     คุณ ณ.ปัตตานี : เข้าใจว่าทุกคนเป็นเช่นเดียวกันครับ

 

     * ผมได้รับภาพพระจันทร์ยิ้ม Hi-Resolution จาก ดร.ศรัณย์ มาแล้ว เห็นดวงจันทร์ 4 ดวง ของดาวพฤหัสด้วย ไว้จะนำมาให้ชมกันนะครับ

     

ว่าที่ร้อยตรีหญิงดอกอ้อย ผาสุข

อยากให้ทุกคนบนโลกใบนี้มีแต่รอยยิ้ม

สวัสดีครับ

       ตามไปดู นกยิ้ม และยิ้มแบบต่างๆ ของสัตว์ได้ที่นี่ครับ

มีข่าวว่าวันที่ 30 ธ.ค. นี้ จะมีพระจันทร์มายิ้มให้อีก จริงๆ หรือคะ ไม่ใช่อีก 15 ปีหรือคะ

สวัสดีครับ พี่ดาว

       เข้าใจว่าจะยิ้มไม่ค่อยสวยน่ะครับ เดี๋ยวถ้าหาภาพจำลองเหตุการณ์ได้จะนำมาให้ชม

ประทับใจค่ะ เอ๋ได้ดูด้วยตาเปล่าด้วยค่ะ

ตั้งแต่เกิดมาก็พึ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรก

เอ๋คิดว่า ภาพนี้จะอยู่ในความทรงจำอันสุดแสนจะประทับใจ

ของคนที่พบเห็นแน่นอนค่ะ แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้เห็นอีก

เอ้...นักดาราศาสตร์คำนวณได้รึเปล่าคะ ว่าวันไหน

ถ้าได้นะคะ.. เอ๋จะหอบเสื่อ หอบหมอน มานอนรอดูแน่นอนค่ะ อิ อิ

สวัสดีครับ เมฆน้อย

          คำนวณได้ครับ แต่จำไม่ได้แล้วว่าเมื่อไร เข้าใจว่าอีกนับสิบปีอยู่

          ถึงตอนนั้นจะยังเดินไหวอยู่หรือเปล่า...น่าสงสัย...อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท