51.โรคาภิวัฒน์ : ไข้หวัดหมู(2009H1N1) เกิดขึ้นได้อย่างไร???


ภายใต้สังคมโลกาภิวัฒน์ (Globalization) เส้นแบ่งพรมแดนจางลงเรื่อยๆ ...

ทำให้พื้นที่ต่างๆ ในโลกใบนี้เชื่อมโยงถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยี

การเดินทาง คมนาคม การสื่อสาร การขนส่ง และการเคลื่อนย้ายมนุษย์และสรรพสิ่ง

รวมไปถึง "โรคภัยต่างๆ " ก็สามารถกระจายไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว

"โรคาภิวัฒน์" ดูจะเป็นคำใหม่ที่เกิดขึ้นแล้ว...

นับตั้งแต่ ไข้หวัดนก  โรคซาห์  จนมาถึง ไข้หวัดหมู (หรือไข้หวัดเม็กซิโก หรือ ไข้หวัด2009H1N1)

และคงมีอีกหลายๆ โรค ตามมาในอนาคต...

พัฒนาการของโรคาภิวัฒน์ เกิดขึ้นจากการต่อสู้ชิงชัยระหว่าง

"ธรรมชาติของเชื้อโรค" ที่ต้องการการอยู่รอด และเอาชนะวิธีการทำลายจากมนุษย์

 กับ "ความรู้ของมนุษย์" ที่ต้องการเอาชนะธรรมชาติ และโรคภัยต่างๆ

อ่านพบการวิเคราะห์ และสืบสาวราวเรื่องที่มาของไข้หวัดหมูจาก

website ประชาธรรม (www.newspnn.com)

จึงนำมาช่วยเผยแพร่ เป็นความรู้เพิ่มเติมค่ะ

มีหลักฐานเชื่อมโยงที่พบ-- ทำให้เชื่อได้ว่าที่มาของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่
หรือที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่า ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโกนั้น (ไข้หวัด2009
H1N1)
สืบเนื่องมาจากอุตสาหกรรมฟาร์มเลี้ยงหมูขนาดใหญ่ยักษ์ที่มีสภาพทั้งสกปรก
และไม่ผ่านหลักสุขอนามัยทั้งปวง

โดยแหล่งที่เชื้อว่าเป็นต้นเหตุในการแพร่ไวรัสครั้งนี้
ค่อนข้างจะเป็นที่แน่ชัดแล้วว่ามาจากฟาร์มหมูขนาดใหญ่ของบรรษัทข้ามชาติอเมริกัน
ในย่าน
Xaltepec, เมือง Veracruz ประเทศเม็กซิโก

 

หมูจำนวนหลายหมื่นชีวิตถูกกักเลี้ยงไว้ในคอกที่ทั้งสกปรกและถูกพ่นยานานาชนิด
ซึ่งมีความเสี่ยง และมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งหมู ทั้งคนที่จะบริโภค
อีกทั้งมูลหมูจำนวนมากกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อได้อย่างดี
และยิ่งการเลี้ยงหมูอย่างแออัดเช่นนั้นจึงทำให้การแพร่เชื้อในหมูเป็นไปอย่างง่าย และรวดเร็ว

 

ในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
เมื่อมีข่าวการแพร่กระจายเชื้อไข้หวัดใหญ่นี้เกิดขึ้น
ส่งผลให้อุตสาหกรรมปศุสัตว์โดยเฉพาะเนื้อหมูจากเม็กซิโก
เกือบจะเป็นอัมพาตทั่วโลกเลยทีเดียว

มีการห้ามนำเข้า ส่งออกเนื้อหมูจากเม็กซิโก มีการระงับเที่ยวบินออกมาจากเม็กซิโก
เพื่อจะควบคุมการกระจายของเชื้อไวรัส
ทั้งนี้มันได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงหมูทั่วโลกเช่นกัน


คำถามสำคัญจึงเกิดขึ้นท่ามกลางการควบคุมการแพร่เชื้อว่า
แล้วจะควบคุมป้องกันอย่างไร ไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยขึ้นอีกครั้ง
??

 

บรรษัทข้ามชาติ Smithfield Corporation
ถือเป็นบรรษัทผู้ผลิตเนื้อหมูรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา
ขณะนี้ทางบรรษัทยังปฏิเสธถึงความเชื่อมโยงใดๆ ของการเกิดและแพร่ระบาดของไวรัส
กับการดำเนินการในฟาร์มของบรรษัท

 

อย่างไรก็ดี...
ด้วยสภาพการที่อุตสาหกรรม หรือบรรษัทขนาดใหญ่ในโลก
ดำเนินการผลิตที่เข้มข้น ผลิตในปริมาณมาก (
mass production)
ที่พยายามจะป้อนอาหารให้คนทั้งโลกตลอดหลายทศวรรษมานี้

 

องค์การอนามัยโลกก็เคยออกมาเตือนอยู่ทุกปีแล้วว่า
การเกิดโรคระบาดสายพันธุ์ใหม่ๆ นี้เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ไม่สามารถเลี่ยงได้เลย หากสภาพการณ์ยังคงดำเนินต่อไปอย่างนั้น

 

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาในปี 1997
Smithfield เคยถูกปรับถึง 12.6
ล้านดอลลาร์
เนื่องจากละเมิด พระราชบัญญัติน้ำของรัฐมิซซูรี
และขณะนี้ยังอยู่ภายในใต้กระบวนการตรวจสอบของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐ
ต่อการใช้สารพิษที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม-แหล่งน้ำจืด หนองน้ำ
ซึ่งก็มาจากการปนเปื้อนสารพิษ
ที่มาจากของเสีย มูลสัตว์จากฟาร์มของบริษัทนั้นเอง
ในเพนซิวาเนีย สหรัฐอเมริกา

 

ไม่เพียงเท่านั้น...
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า
Smithfield
ครองอันดับหนึ่งด้านปศุสัตว์สุกร
และยังเป็นบรรษัทที่กล่าวได้ว่ามีอิทธิพลมากที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐด้วย
ด้วยมูลค่าทางการตลาดกว่า 1.4 พันล้านดอลล่าร์


จำนวนหมูมากกว่า
1 ใน 3 ที่ถูกฆ่าเป็นของบรรษัท Smithfield
นับรวมถึงจำนวนหมูในฟาร์มสาขาที่เมือง Xaltepec และอีก 7 แห่งในทวีปอเมริกา

 

ณ ที่ Xaltepec...
ที่หมูกว่า 15,000 ตัวถูกเลี้ยงอยู่ในสภาพแออัดสกปรก ในฟาร์มของ Smithfield
ที่ซึ่งชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบ
ก็ประท้วงมาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมากลับไม่เป็นที่สนใจ

 

จนเมื่อเชื้อไวรัสเกิดขึ้นและระบาดข้ามทวีป
โดยเหตุเริ่มขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เมื่อชาวบ้านในบริเวณนั้นเกิดเจ็บไข้ขึ้นมา
แต่ทางรัฐก็แจ้งเพียงเบื้องต้นว่าเป็นไข้หวัดปกติ ตามฤดูกาล
ต่อมาในเดือนเมษายน เจ้าหน้าที่อนามัยต้องปิดเมืองทั้งเมือง และพ่นยาเคมีฆ่าเชื้อเป็นการใหญ่
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ จึงผลสืบเนื่องอย่างมีเหตุมีผล ไม่ใช้อยู่ๆ ก็เกิดขึ้นมา

 

ทอม การ์เร็ตต์ นักนิเวศวิทยา กล่าวว่า
บรรษัท
Smithfield
ทำให้เกษตรกรรายย่อยต้องตกขอบหรือหลุดออกไปจากวงจรธุรกิจปศุสัตว์
และยังก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

 

บรรษัทมองหาสองสิ่งเท่านั้นในการลงทุนตั้งฟาร์ม คือ
แหล่งน้ำ และชุมชนท้องถิ่น ที่ไม่พยายามจะต่อกรกับพวกเขา
จนกว่าพวกเขาจะได้ขูดรีดทรัพยากรจากที่นั่นเสียก่อน.

 

ข้อมูลจาก:

http://www.avaaz.org/en/swine_flu_pandemi

http://www.avaaz.org/en/swine_flu_pandemic

http://www.independent.co.uk/life-style/health-and-wellbeing/health-news/for-la-gloria-the-stench-of-blame-is-from-pig-factories-1675809.html

http://www.independent.co.uk/life-style/health-and-wellbeing/health-news/for-la-gloria-the-stench-of-blame-is-from-pig-factories-1675809.html

 

…………………….

 

 

 

ขอบคุณที่มาของข้อมูล

Website : ประชาธรรม (www.newspnn.com)
คอลัมภ์ "เหตุเชื้อไวรัส จากหมูหรือจากบรรษัท?"

10 พฤษภาคม 2552
เรื่องโดย : สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์

 

 

หมายเลขบันทึก: 261990เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2009 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ แวะมารับความรู้ค่ะ

โรคใหม่เกิดขึ้นเยอะมากเลยนะค่ะ

มนุษย์เราจึงต้องศึกษาและพัฒนายามารักษาให้ทันกับโรค ไม่อย่างนั้นก็คงตายอย่างเดียว  แย่เลยนะค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • P
    1. ตุ๊กตา
    สวัสดีค่ะ แวะมารับความรู้ค่ะ

    โรคใหม่เกิดขึ้นเยอะมากเลย..............

ยินดีค่ะ...โรคใหม่ๆ มักเกิดจากการทำลายธรรมชาติของมนุษย์ค่ะ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท