ทางเลือกในการผลิตข้าว "เมื่อการทำนา คือ การลงทุน ที่ไม่รู้ผลตอบแทน"


การทำนาคือการลงทุนรูปแบบหนึ่ง ในพื้นที่นาอันจำกัด ดินฟ้าอากาศเเปรปรวน และราคาไม่สามารถควบคุมได้

 

เมื่อการทำนา คือการลงทุน ที่มีความเสี่ยง 

และชาวนาส่วนใหญ่ ไม่สามารถกำหนดราคาข้าวเปลือกเองได้

 

วันนี้ มีอยู่ 2 ทางเลือก ในขั้นตอนการผลิตข้าว ....



ทำนาหว่าน..........
1.ระยะเวลาการลงทุน ประมาณ 100-120 วัน
2.ผลตอบแทน ไม่สามารถกำหนดได้


แต่มีเงื่อนไข ต้องจ่ายเงินเป็นระยะดังนี้


ควักเงินก้อนแรก
ซื้อเมล็ดพันธุ์ 3 ถัง ต่อไร่ (ประมาณ 700 บาท)
หว่านข้าวลงนา ข้าวกับหญ้าโตพร้อมกัน

ควักเงินก้อนที่สอง
ฉีดยาฆ่า ยาคุม (200 บาท ต่อไร่)
ฉีดไป หญ้าตาย ข้าวเหลือง เฉา

ควักเงินก้อนที่สาม
อัดปุ๋ย ให้ข้าวกลับมาเขียว ( 1- 2 กระสอบต่อไร่ 800-1600 บาท) ต้นข้าวหลอกเจ้าของนา และเพื่อนบ้านกดดัน ดูแลนายังไงให้ข้าวเหลือง

ควักเงินก้อนที่สี่
ซื้อยาฉีด กำจัดโรคเเมลง (ประมาณ 400 บาท ต่อไร่)
ข้าวแน่น แย่งอาหารกัน ต้นข้าวอ่อนแอ โรคเเมลงลง
ถ้าเป็นเพลี้ย ก็ไม่ต่างกับกางร่มให้เพลี้ยอยู่อาศัย

จ่ายเงินไปล่วงหน้า ประมาณ 2,000-3,000 บาท ต่อไร่
ไม่รู้ว่าข้าวราคาเท่าไหร่แต่จ่ายเงินไปแล้ว ถ้า
1.น้ำท่วม
2.ฝนแล้ง
3.เพลี้ยลง

ขาดทุนตั้งแต่ยังไม่เก็บเกี่ยวครับ

เงินก้อนที่ห้า
ที่จ่ายเเพงที่สุด ต้นทุนสุขภาพเจ้าของนา


ทางเลือกที่ 2.ทำนาดำ...........

ประหยัดการลงทุนดังนี้

ก้อนแรกประหยัดเมล็ดพันธุ์
จาก 3 ถังต่อไร่ เหลือเพียง 1 ถังต่อไร่ (มีเงินเก็บ 500 บาท)

ก้อนที่สองประหยัดยาคุม ยาฆ่าหญ้า (มีเงินเก็บ 150 บาท)
เจ้าของนา กำไรอายุ ต้นกล้า อนุบาลก่อนลงนา 18 วัน
ข้าวโตไปหนึ่งคืบ หญ้าเป็นเมล็ด ใช้น้ำคุมหญ้า

ก้อนที่สาม ประหยัดปุ๋ย (มีเงินเก็บ 400-1,200 บาท)
เนืองจากข้าวนาดำ มีพื้นที่ว่าง รับแสงได้เต็มที่ สามารถแตกกอ ออกราก หาอาหารได้เอง ใช้ปุ๋ยประมาณ 1/2 ลูก

เทคนิค :ต้องเเกล้งข้าว ให้อดตาย จะได้ออกรากหากินเอง
(ตั้งแต่ ข้าวอายุ 2 สัปดาห์ ถึง สัปดาห์ที่ 8 ) น้ำ 3 วัน-เเห้ง 7 วัน ให้หน้าดินแตก รากข้าวจะได้รับอากาศมากขึ้น
ไม่อิ่มน้ำจนเกินไป ทำให้ระบบรากข้าว สามารถทำงานได้เต็มที่หากินแทนเจ้าของนา

กรณีมีหญ้าขึ้น ให้พรวนหญ้าในร่องนาดำ ช่วย 2-3 ครั้ง จะช่วยเพิ่มผลผลิตข้าว เนื่องจากดินมีความร่วนซุย


ก้อนที่สี่ ประหยัดยาฆ่าแมลง
เนื่องจาก ต้นข้าวได้รับแสงเต็มที่ อากาศถ่ายเทได้ดี มีความเเข็งแรง ต้านทานโรคเเมลง กรณีต้องฉีดยา สามารถเข้าถึงตัวเเมลงได้มากกว่า
กรณีเพลี้ยลง อัดน้ำเข้าเเปลงนา เพื่อไล่เพลี้ยขึ้นข้างบน ก่อนฉีดพ่นยา


ก้อนที่ห้า ประหยัดต้นทุน การรักษาสุขภาพเจ้าของนา

"เมื่อทำนา ไม่ทำลายธรรมชาติ ธรรมชาติก็ไม่ลงโทษ "

ทำนาดำ มีเงินเก็บก่อนเก็บเกี่ยว ประมาณ 2,000-3,000 บาท ต่อไร่ ไม่ต้องรอลุ้นราคาข้าว ครับ

มีเงินเก็บมากขึ้น ก็ซื้อที่นาเพิ่มได้ 


ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้การเกษตรบ้านเราไม่พัฒนาเท่าที่ควรก็เรื่องของ

 "กรรมสิทธิ์ที่ดิน" ขาดความเป็นเจ้าของนา

"คนทำนา" ไม่ใช่ "เจ้าของนา" (เคยเป็นแต่ขาย แล้วเช่าทำ พบมากในเขต ภาคกลาง และเหนือล่าง)

"เจ้าของนา" ไม่ใช่ "คนทำนา"

จึงไม่เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำนา

เพราะต่างฝ่ายก็มีผลประโยชน์คนละทาง

เจ้าของนาอยากได้ค่าเช่า

คนทำนาก็ต้องรีบทำ เร่งการผลิต อัดปุ๋ย อัดยา พันธุ์ข้าวอายุยิ่งสั้นยิ่งดี(75 วัน 90 วันบ้าง ข้าวไม่มีคุณภาพ) เพื่อให้ทันจ่ายค่าเช่า เอาไวเข้าว่า  ครับ

 

 

ปล.ก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ ผลตอบแทนอยู่ที่การพิจารณด้วยสติ ... 

จะ "นาหว่าน" หรือ "ทำนาดำ" มันเป็นทางเลือกนะครับ ลองพิจารณาด้วยเหตุและผล

 

หมายเลขบันทึก: 404456เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2010 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

มีประโยชน์มากครับ ขอให้นำเสนอบ่อยๆครับ

If farmers and growers can "set the price of their produce" like manufacturers and traders can...

Manufacturers and traders can set the price [ = (cost of goods + costs of sale + profit margin) ].

Farmers must set the price [ = (costs of production + costs of sale + costs of land and soil degradation + Remote Area Living Allowance + profit margin) ]

We can see that farmers and growers have to burden at least 2 extra costs: land and soil conservation, and remote area living. These costs are substantial and have follow-on effects on familes and children.

But as you say the fact is "they can't set the price" they have to accept greedy traders' offer. Sigh.

จริงอย่างต้นกล้าว่าครับ เมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว บรรพบุรุษของผมทำนาดำมาตลอด จนระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมาผมเห็นว่านาหว่านลดขั้นตอนการดำนาได้ แต่เอาเข้าจริงเป็นการเพิ่มขั้นตอนอย่าต้นกล้าว่าจริงๆ ผมเลยกลับมาเห็นว่านาดำนั่นแหละคุมได้ทุกอย่าง แต่ติดปัญหาที่เราดำเองไม่ได้ แรงงานถอนกล้าและดำนาหายากมาก อีกทั้งเป็น"เกษตรกรฮอลิเดย์" เลยมีเวลาเฉพาะวันหยุดราชการ ตัดสินใจซื้อรถดำนาครับ ปีที่แล้วหาซื้อแกลบดำไม่ได้ ปีนี้วางแผนเผาแกลบดำเอง ปีนี้เป็นปีแรกที่จะลงมือดำนาด้วยเครื่อง ได้ผลอย่างไรเดี๋ยวคอยมาเล่าสู่กันฟังครับ

ก่อนอื่นผมเห็นด้วยกับคุณต้นกล้า

ก่อนที่ผมจะเริ่มหัดทำนา ผมมีโอกาสได้คุยกับคนทำนาที่เป็นอาชีพมากกว่าผม

เขาคุยอวดกันที่ผลผลิต มากกว่าคุยกันเรื่องการลดต้นทุน

ข้อมูลแบบนี้ ต้องช่วยกันส่งเสริมให้ชาวนาทำบัญชีควบคู่ เขาจะได้รู้ต้นทุน

ขอบคุณ sr เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ การผลิตภาคการเกษตรต้องสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงเข้าไปด้วย

ต้องรวมต้นทุนค่าเสียโอกาส ต้นทุนสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วยครับ

ขอบคุณ คุณชนันท์ เอาใจช่วยให้ผ่านวิกฤติน้ำท่วมใต้ ให้ผ่านพ้นโดยไว

ขอบคุณ อ้ายต๋อง ใจ๊หัวออกแฮง บัญชีครัวเรือน ช่วยให้เห็นทางสว่างได้ครับ

ขอบคุณครับ

เมื่อก่อนปู่ย่าผมก็ทำนา

ตอนนี้ พ่อแม่ผมไม่ทำนา แต่เก็บค่าเช่า

ขอยอมรับแบบซื่อๆเลยครับว่า เป็นอย่างที่ คุณต้นกล้า กล่าวไว้จริงๆ

อย่างไรก็ตามการทำนา นั้นเป็นเรื่องยากที่จะ ทำการจัดการความเสี่ยง พูดง่ายๆเหมือนเล่นการพนันเลยทีเดียว

น้ำไม่ท่วมก็รอดไป น้ำท่วมหมดตัว ไม่มีน้ำ ข้าวก็แห้งตายอีก

บ้างที่น้ำไม่เคยท่วม ปีนี้ก็ท่วม เห้ย เห็นใจชาวนา นะครับ

ขอบคุณ คุณ อภิชิต ครับ

เราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง "กับธรรมชาติ"

แต่สามารถเรียนรู้ "ความเป็นจริงของธรรมชาติได้"

การทำนาก็เช่นเดียวกัน ถ้าคาดการณ์ว่า "ภัยธรรมชาติยิ่งรุนแรงขึ้น" ต้องปรับตัวอย่างไร???

-ประชากรเพิ่มขึ้น อาหารผลิตได้น้อยลง = เเย่งชิงทรัพยากรอาหาร

-ทำนาในแต่ละครั้งต้องทำให้ได้ผลผลิตเต็มที่ ดีที่สุด ต้องคิดว่าไม่มีรอบแก้ตัว

-แนวโน้มอาหาร (ข้าวสาร) ไม่เพียงพอต่อการบริโภค -->>เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกก็ต้องขาดเเคลนด้วย ถ้ายังทำนาหว่าน ใช้สิ้นเปลือง

-ราคาอาหารเพิ่มขึ้น--> ข้าวเปลือกหน้าโรงสีราคาเพิ่มขึ้น --> ราคาปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น = ต้นทุนในการทำนายิ่งเพิ่มขึ้น

- ถ้าไม่รีบ ลดต้นทุนการทำนา ช่วง ศก.ขาลง จะไปรอลด ช่วง ศก.ขาขึ้น ก็จะไม่ได้อานิสงค์ของ ราคาที่เพิ่มขึ้น % กำไรไม่ได้เพิ่มขึ้น ตามราคาตลาดที่เพิ่มขึ้น แต่ลดต้นทุนรอ ก็มีโอกาส ทำกำไร มากกว่า

อย่างนี้แล้ว ชาวนาที่ปรับตัวก่อน ได้เปรียบครับ

ติดตามตัวอย่างเกษตรกรสู้ชีวิต ได้ใน

http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/122301.html

ปราชญ์เดินดิน เสาร์นี้ ประยูร แตงทรัพย์ เผยเคล็บลับซื่อสัตย์สร้างผลผลิตเยี่ยม -------------------------------------------------------------------------------- วันเสาร์ ที่ 30 ต.ค. 2553 Photo 12 ถ้าเราทำของเราให้ดี เดี๋ยวก็มีคนมาซื้อของเราเอง...คำพูดที่หนักแน่นของประยูร แตงทรัพย์ ชาวนาสายเลือดนครสวรรค์ ผู้ซื่อสัตย์ต่ออาชีพ จนสามารถปลูกข้าวพันธุ์ โดยที่โรงสีรับซื้อแบบไม่ต้องตรวจสินค้า พร้อมทั้งให้ราคาสูงกว่าท้องตลาด เขาเป็นชาวนาธรรมดาเหมือนคนอื่นทั่วไป ที่ทำนามาตั้งแต่เด็ก เพราะปฏิเสธอาชีพที่บรรพบุรุษมอบให้ไม่ได้ แต่เขาก็ทำด้วยหัวใจ พยายามศึกษาหาข้อมูล เพื่อพัฒนาอาชีพของตัวเองให้ได้ผลผลิตที่ดี เป็นประโยชน์และสามารถกำหนดราคาข้าวเองได้ เขาแบ่งปันชุมชน ด้วยการรวมกลุ่มชาวบ้านทำสัญญาประกันราคาข้าวกับโรงสี โดยมีส่วนราชการมาเป็นพยาน เพื่อป้องกันความอยุติธรรม สิ่งที่เขาพิสูจน์ให้เห็นว่า ข้าวของเขามีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ ทั้งจากชาวนาด้วยกันเอง และจากเถ้าแก่โรงสี กระบวนการทั้งหมดนี้ จะประสบความสำเร็จไม่ได้เลย หากขาดคำว่าซื่อสัตย์ ครั้งนี้ เขาจะมาบอกทุกขั้นตอนของการทำนา เคล็บลับวิธีการทำนาให้ได้ผลผลิตที่ดี ตามชมมุมมองความคิดซื่อๆ ของผู้ชายคนนี้ได้ ในรายการปราชญ์เดินดิน ตอน ชาวนาผู้ซื่อสัตย์ วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคมนี้ เวลา 12.30 น. ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี

ขอบคุณครับ

เห็นด้วยกับวิธีการข้างบนครับ ...ตอนนี้ผมมาดำลืมนาหว่านไปเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท