รวมกลุ่มทำนาดำ "แบบสวยเลือกได้" ผลิต "เมล็ดพันธุ์ดี บริสุทธิ์ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้


โอกาสของกลุ่มเกษตรกร ในการพัฒนาคุณภาพข้าว จาก การผลิตข้าวทั่วไป ขายพ่อค้า > มาผลิตเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ เพิ่มมูลค่าผลผลิต เพิ่มรายได้ สร้างอำนาจต่อรอง

หลังจากห่างหายไปหลายสัปดาห์

เดินทางไกลไปหลายจังหวัด ในภาคเหนือ

เห็นทั้งวิกฤต และโอกาส เกษตรกรไทย ขอ review แค่ 2 ก่อน

 

1.วิกฤต เมล็ดพันธุ์ข้าวบริสุทธิ์มีแนวโน้มขาดแคลน -นายทุนใหญ่เข้าสู่ตลาด : โอกาส ผลิตเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ ควรเป็นของกลุ่มเกษตรกร

 

2.วิกฤต ที่ดินทำกิน - นายทุนเล็ก ใหญ่ ออกเก็บพื้นที่นา ไร่ เป็นเเปลงใหญ่ผืนเดียว 500-1,000 ไร่ เพื่อการจัดการที่ครบวงจร รองรับธุรกิจ อาหารและพลังงาน : โอกาส เกษตรกรรายย่อยต้องรวมกลุ่ม ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต รักษาพื้นที่การเพาะปลูก และรักษามาตรฐานการดำรงชีวิต

ทางเลือก 1.จะเป็น "ผู้ผลิตในระบบเศรษฐกิจ" เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กำหนดทิศทางเองได้ มีมรดกตกทอดให้ลูกหลาน สืบทอดได้

ทางเลือก2. หรือจะเป็น "แรงงานในระบบเศรษฐกิจ"

เป็นเจ้าของแรงงานตัวเอง มีรายได้จากการ

"รับจ้าง"หรือ "เช่า" บนพื้นที่นา ไร่ ที่เคยเป็นเจ้าของ รายได้ที่ได้มา >หมดไปกับการเป็น

"ผู้บริโภคในระบบเศรษฐกิจอีกทอด" ไม่สามารถกำหนดทิศทางเองได้

อนาคตลูกหลาน จะเป็นเช่นไร ความมั่นคงในชีวิต???

 

ต้องร่วมกันคิด ร่วมกันทำครับ ...

 

บันทึกนี้ เริ่มที่ วิกฤตแรก ก่อนครับ

ตามไปอ่าน หลักการผลิตเมล็ดพันธุ์ดี ก่อนได้ครับ

 

ว่ากันด้วย หลักการและเหตุผล ก่อนครับ

 

โลกนี้ไม่อะไรฟรี ...

ไม่มีความสำเร็จใดได้มา ด้วยความสบาย


   การผลิตเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ก็เช่นเดียวกัน

ต้องปราณีต เก็บรายละเอียดในเเปลงนา

ดูแลอย่างพิถีพิถัน...

ที่ต้องรวมกลุ่ม ก็เพื่อเเบ่งปันความชำนาญ มีเพื่อนสมาชิกไว้ปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยน ร่วมแรง ร่วมใจ เพิ่ม scale และผลผลิตในระดับที่ต่อรองกับตลาดได้

ดีกว่าทำย่อย ๆ ตัวใครตัวมัน เป็นเบี้ยหัวแตก 

ผลลัพธ์เป็นเช่นไร ก็รู้ๆกันอยู่

 

ตามไปดูบันทึกตัวอย่างกลุ่มเกษตรกร ได้ที่บันทึก

 Rice is life-2 : จากเกษตรกรรายย่อยสู่การรวมกลุ่ม - ตัวอย่างกลุ่มเกษตรกร บ้านช้างมิ่งสามัคคี อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 419203เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2011 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

สวัสดีค่ะน้องต้นกล้า

  1. เพิ่งแวะเข้าไปหน้าประวัติ  โอ้  เด็กประจวบ นี่นา  สามร้อยยอด  ปราณ  หัวหิน บ้านพี่อิงทั้งนั้น เป็นทั้งเด็กวัง  เด็กพรหม  มาก่อน  ขั้นเทพฯ  55555555+  พี่อิงบ้านอยู่หน้าวังไกลกังวล  ตอนหลัง มาอยู่ข้างแม็คโครปราณบุรี ค่ะ ตอนนี้หนีมลพิษมารับอากาศสบาย ๆ อยู่ทับสะแกค่ะ  เราคนประจวบด้วยกันนะนี่
  2. อ่านบันทึกน้องต้นกล้าแล้ว  น่าเป็นห่วงวิกฤติชาวนา นะคะ  อะไร ๆ ก็จะเป็นของนายทุนหมดแล้ว วิกฤติที่นา น่าห่วงมาก  จริง ๆ แล้ว พี่อิงมองว่ามันน่าจะเกี่ยวโยงกันนะคะ เมื่อชาวนาเจอวิกฤติเมล็ดพันธุ์  ทำนาไม่ได้ผลผลิตเท่าที่ควร ไม่คุ้มกับรายจ่ายที่ลงทุนไป  ปีใดเกิดวิกฤติเรื่องดินฟ้าอากาศด้วยหล่ะก็ ถอดใจ แน่ ๆ  เกิดวิกฤติเหล่านี้ขึ้นมาก็จะส่งผลให้ถอดใจ  ขายที่นาให้นายทุนไปโดยปริยาย  สุดท้ายก็ผันตัวเองเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม หรือไม่ก็ แสวงโชค ด้วยการทิ้งทุ่งนาไปทำงานรับจ้างในเมืองใหญ่ ๆ  อย่างกรุงเทพฯ เป็นต้น
  3. คำถาม เราจะทำอย่างไร ที่จะให้ชาวนา ได้เป็น "ผู้ผลิตในระบบเศรษฐกิจ"  มากกว่าเป็น "แรงงานในระบบเศรษฐกิจ"

 

ที่ไหนได้พี่ครูอิง  กลายเป็น "คนบ้านเดียวกัน"

ต้องไปหาเพลง ของ ไผ่ พงศธร มาเปิดครับ จะได้อารมณ์มาก  

แลกเปลี่ยน คำถาม ในข้อ 3. เราจะทำอย่างไร ที่จะให้ชาวนา ได้เป็น "ผู้ผลิตในระบบเศรษฐกิจ"  มากกว่าเป็น "แรงงานในระบบเศรษฐกิจ

 

ขอเอาความเห็นที่ต้นกล้า ได้ตอบ คุณนายดอกเตอร์ ไว้ในบันทึก

 ข้าววัชพืช เป็นวิกฤติชาติ - ชาวนาไทย : ทำนาปี นาปรัง มีแต่หญ้า ยา ปุ๋ยเคมี

ศาสตร์เรื่องของการปลูกข้าว ของญี่ปุ่น น่าทึ่งมาก ครับ ว่ากันด้วยพัฒนาอย่างเป็น ระบบ ระเบียบ และความปราณีต เอาใจใส่ทุกขั้นตอน ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม

พัฒนาคน : มีคุณภาพ มีการศึกษา มีจิตวิญญาณของเกษตรกร ห่วงใยสิ่งแวดล้อม

พัฒนาพันธุ์ :ให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคเเมลง รสชาตถูกปากผู้บริโภค

พัฒนาเครื่องจักร: รองรับแรงงานภาคเกษตรที่หายไป ซึ่งปัจจุบันเหลือประมาณ ร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด

ตั้งแต่เครื่องมือ

การเพาะกล้า-เป็นระบบสายพานลำเลียงผลิตแผ่นกล้า ใช้เมล็ดพันธุ์ จำนวนที่เหมาะสม มีการอนุบาลก่อนลงเเปลง ต้นกล้าข้าวไม่ต้องลงไปโตแข่งกับหญ้าในแปลงนา 

เตรียมดิน -ให้เรียบเสมอ  ลึกในระดับที่เหมาะสม 12-18 cm.พร้อมสำหรับการปักดำ

ปักดำ - เป็นแถวเป็นแนว มีระเบียบ มีช่องว่างให้อากาศผ่าน แสงแดดส่องถึงพื้น การจัดการดูแลในเเปลงนาก็ง่ายขึ้น

ดูแล -ใช้เครื่องพรวนหญ้า (weeder)ลดการใช้ยาปราบวัชพืช และเครื่องชักร่องน้ำ ระบายน้ำได้ น้ำไม่ท่วมขังเเปลงนา

เก็บเกี่ยว -ใช้ระบบนวดเฉพาะคอรวง ใช้พลังงานในการนวดนวดน้อยลง ได้ข้าวที่มีความชื้นต่ำ เนื่องจากไม่ต้องเอาต้นข้าวเข้าตู้นวด (ซึ่งบริเวณโคนต้นข้าวมีความชื้นสูง) ประหยัดพลังงานในการอบลดความชื้น หลังการเก็บเกี่ยว

การจัดเก็บ -ไซโล ขนาดเล็ก เก็บข้าวที่โรงนาเกษตรกร ไว้ทยอยสีขายทั้งปี สีเป็นข้าวกล้อง และข้าวขาว หรือบรรจุเป็นข้าวเปลือกใส่ถุง กระดาษรีไซเคิล

การสี - มีตู้สีข้าวหยอดเหรียญตามชุมชน เพื่อผู้บริโภคได้สารอาหารครบถ้วน กรณีซื้อข้าวเปลือกมาไว้ที่บ้าน แล้วต้องการบริโภคข้าวกล้องเเบบสีสดๆร้อน

เพราะ เปลือกข้าวเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ดูแลคุณภาพข้าวได้ดีที่สุด ...

หลังการเก็บเกี่ยว : เครื่อง กระจายฟาง รวมฟาง อัดฟาง ไว้ใช้ประโยชน์ทำปุ๋ย เลี้ยงสัตว์ต่อ   

พัฒนาระบบชลประทาน : ควบคุมน้ำ ได้ก็ประหยัดน้ำ จัดการในเเปลงนาได้ดั่งใจ ที่ระดับ 5cm. น้ำสลับเเห้ง  ข้าวก็ไม่ต้องโตยืดตัว หนีน้ำ (มีผลต่อปัจจัยการผลิตอย่างอื่นต่อ ปุ๋ย ยา การร่วงหล่น ) หรือเเห้งตาย เพราะไม่มีน้ำ 

(ตัวเลขโดยประมาณ พื้นที่ชลประทานของแต่ประเทศ ไทย 25% พม่า 50% (พม่าเคยเป็นประเทศส่งออกข้าวอันดับหนึ่ง แต่มีปัญหาการเมืองภายใน ถ้าจบได้ ก็จะกลับมาใหม่ ตอนนี้เค้าซุ่มทำอยู่ มีหลาย Project มาก ที่รู้ๆมา น่ากลัวครับ)  เวียดนาม 80% ส่วนประเทศพัฒนาแล้ว เกือบจะ 100% ของพื้นที่ ถ้าไทยจะเเข่งขันส่งออกข้าว ต้องมาพัฒนาระบบชลประทานก่อนครับ )

พัฒนาตลาด :ผ่านระบบสหกรณ์ หรือ JA ทำให้เกษตรกรได้รับส่วนแบ่งที่เป็นธรรม

และให้ "คุณค่ากับเเหล่งผลิต ว่ามาจากเเปลงนาใคร คนปลูก ดูแลอย่างไร"  ใส่ใจกันทุกขั้นตอนจริงๆ ครับ

ยืนยันคุณภาพการผลิตกันตั้งแต่เเปลงนา ผู้บริโภคก็มั่นใจ

ไม่ใช่ ทำ Marketing ข้าวบรรจุถุงขาย อย่างเดียวเหมือนบ้านเรา ที่ใครปลูกก็ไม่รู้ ปลูกดูแลกันอย่างไร ก็ไม่รู้อีก  คนกิน คนซื้อ รู้แค่ว่าข้าวยี่ห้ออะไร รู้ กันอยู่ไม่กี่ยี่ห้อ ตราห้าง... ตราร่ม... ตราหัวเรือ...  ตรา ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่  ...

 

"ชาวนาญี่ปุ่น ไม่ขายข้าวเปลือกทีเดียวหลังเก็บเกี่ยวครับ แต่จะเก็บและทยอยสีขายตลอดทั้งปี ทำ packing ติด brand เจ้าของนา brand เเหล่งผลิต ทำให้ปริมาณข้าวไม่ล้นตลาด (มี Buffer stock ที่โรงนาเกษตรกร) "

แถวข้างๆโรงเรียนพี่ชาย

ชาวนาทำนาเพื่อเป็นพันธุ์ข้าว

ปลูกข้าวสวยมากๆ เขาว่าจะได้ราคาดีด้วยนะ

ได้อ่านแล้วค่ะ ขอบคุณมากค่ะที่อธิบายได้ละเอียด เป็นการทำนาที่ใส่ใจในทุกขั้นตอน สะท้อนลักษณะของคนญี่ปุ่นที่ทำอะไรก็ทำด้วยความรัก ใส่ใจ เอาจริง มีศักดิ์ศรีรัก ภูมิใจในสิ่งที่ตนทำ

...ให้ "คุณค่ากับเเหล่งผลิต ว่ามาจากเเปลงนาใคร คนปลูก ดูแลอย่างไร"...

ครั้งหนึ่งพี่ไปพักที่โรงแรมในเมืองเซนได พบโบรชัวร์โฆษณาขายข้าวของครอบครัวหนึ่ง มีใบสั่งซื้อเสร็จ เห็นแล้วทึ่งในจุดนี้

คนปัจจุบันส่วนใหญ่ ไม่ค่อยได้มองลึกลงไป เอาแค่ได้กินอิ่ม กินอร่อย ยิ่งถูกยิ่งดี พอใจแล้ว

ชาวนาบรรพบุรุษเราทำนาแบบมีคุณธรรม มีเมตตาต่อตนเอง ต่อแม่ธรรมชาติ และต่อผู็บริโภคด้วย หากฟื้นฟูที่ใจไม่สำเร็จ ก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลง

คุณต้นกล้าพูดถึงการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ หรือ ข้าวปลูก ทำให้นึกถึง คุณเดชา มูลิธิข้าวขวัญ ผู้สอน คุณสินชัย หนุ่มชาวสวนที่กลายเป็นชาวนา จบแค่ ป. ๔ ให้ได้เรียนเคล็ดวิชาการเพาะต้นกล้าอย่างเป็นธรรมชาติทุกขั้นตอน แล้วขยายผลจนสามารถผลิตข้าวปลูกพันธุ์ดีของตนเองสำเร็จ รู้จักกันไหมคะ พี่ได้เขียนเรื่องราวของคุณสินชัยไว้นานแล้วในหนังสือปริศนาแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ว่าจะตัดตอนมาถ่ายทอดทางบล็อกก็ไม่ได้ทำสักทีค่ะ

 

Ico48 สำหรับสมาชิก ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว จะได้ราคาประมาณ +20% จากราคาตลาดทั่วไป ถือเป็นค่าตอบแทนความขยัน และใส่ใจดูแลผลผลิต ครับ  

สวัสดีค่ะ

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๔ นะคะ "ขอให้มีความสุขมาก ๆ ค่ะ"

ตอนนี้พี่คิมเป็นแฟนร้านลุงเทิงไปแล้วค่ะ  เพื่อน ๆ ติดใจกันทุกคน

ตอนที่พี่คิมอยู่โรงเรียน ชวนน้องนักเรียนทำนาค่ะ ไม่มีความรู้หรอกแต่อาศัยความรู้จากนักเกษตรในนี้ทั้งนั้นค่ะ

แบบนี้นี่เอง รุ่นน้องครอบครัวหนึ่งจะส่งลูกไปเรียนต่างประเทศแล้วกลับมาทำนาค่ะ

แวะมาอ่านคำตอบแล้วค่ะ โห ได้ความรู้มากมาย จริง ๆ แต่ก็ ฉงน อยู่

(พอดีเพิ่งฟังเพลงฉงนมา 55555555+)

ความรู้ต่าง ๆ ที่น้องต้นกล้านำมาโพสนี่หล่ะ

ทำอย่างไร ถึงจะทำให้ชาวนาเขาได้รับความรู้ตรงนี้

ชาวนาส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ เข้าไม่ถึงข้อมูล ไม่มีแกนนำ

(ถ้าเป็นการเมืองก็จะมีแกนนำ อิ..อิ..อิ..)

มองว่าหากมีการรวมกลุ่มได้ ก็จะดีมาก  เราต้องให้ความรู้ผู้นำชุมชนใช่มั้ยคะ

ทำอย่างไรให้ผู้นำชุมชน เข้มแข็ง  จะได้นำพาให้ชุมชน เป็นชุมชนเข้มแข็ง 

แบบบยั่งยืนด้วยนะคะ  ไม่ใช่แค่วูบเดียว

ขอบคุณ Ico48 มากครับที่มาร่วมเติมเต็มบันทึกอย่างต่อเนื่อง

"คุณค่า" มาพร้อมกับคำว่า "ที่มา- เมื่อเราเรียนรู้ที่มา แล้วก็ตั้งราคาหรือทำให้เชื่อว่า กว่าจะได้มามันยากเย็น ต้องใช้ฝีมือ ใช้เวลา เพียงใด

เช่น นาฬิกาสวิส ,หลุย วิตตอง,เนื้อโกเบ, รถยนต์ยี่ห้อหรู...ไวน์รสเริด วิสกี้ บรั่นดีชั้นยอด

แล้วข้าวไทย???

 

เช่นเดียวกัน "การสร้างคุณค่า ข้าวไทย" ต้องทำสองขา

คือขาแรกผู้ผลิต คือชาวนา ต้องบอกได้ว่า

กระบวนการเพาะปลูก คุณดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแลผู้บริโภค อย่างไร กว่าจะมาเป็นข้าว มีความพิถีพิถันเพียงใด

ขาที่สองคือผู้บริโภค คุณจริงใจที่จ่ายตอบแทนความพิถีพิถันของเกษตรกร หรือไม่ คุณห่วงใยสิ่งเเวดล้อม หรือสุขภาพ จริงหรือไม่ หรือแค่เย้ว ๆ กับกระแสรักษ์โลก

ผู้บริโภคต้องให้ราคา หรือ ความต่าง + รางวัล กับ "คนที่คิดถึงคนอื่นเสมอครับ" เค้าจะได้มีกำลังใจ มีพลังส่งกลับมาถึงตัวเราเอง และสิ่งแวดล้อมด้วย

มุมมองต่อ เรื่องการปฎิบัติของเกษตรกร มีอยู่สองแนวทาง  

1."ยากที่จะทำ แต่อยู่ด้วยได้ง่าย"  ->ทำปราณีต "มีเมตตาต่อตนเอง ต่อแม่ธรรมชาติ และต่อผู้บริโภคด้วย" อย่างที่ท่านว่าครับ

2."ง่ายที่จะทำ แต่อยู่ด้วยได้ยาก"     ->มั่วซั่ว ตัวใครตัวมัน เอาตัวรอด

ปล.คิดกันไปตามเรื่อง

เราท่าน ทานอาหารญี่ปุ่น หนึ่งมื้อให้คุณค่า ขั้นต่ำ set ละ 100 บาท

เราท่าน ทานข้าวราดแกง ราดกับข้าว 3 อย่าง ให้ราคา ไม่เกิน 35 บาท จ่ายเกินกว่านี้ถือว่าเเพง

Ico48 พี่คิม ครับ

แนะนำอีกร้าน ชื่อเจ๊โชค สามแยกโตโยต้าพิษณุโลก ติดกันเลยครับ อาหารปลาแม่น้ำรสจัดจ้าน ไว้ขออนุญาตพี่คิม ซักมื้อนะครับ เมื่อโอกาสอำนวย

Ico48

ความรู้จะเเพร่กระจาย ก็ด้วยเครือข่ายสังคม ออนไลน์คุณภาพ อย่าง G2K ครับ

และด้วยความตั้งใจ ของทุกท่านที่เห็นประโยชน์ครับ

เวลางาน ผมทำงานก็ส่งต่อ ถึงผู้นำหมู่บ้าน เป็นประจำครับ ต้องใช้เวลา พอสมควรทีเดียว ยอมรับว่ายาก

แต่ไม่ย่อท้อ ครับ  

ขอบคุณพี่อิง ครับ

มาอีกรอบ ขอบคุณมากมายค่ะที่ส่งเพลง คนบ้านเดียวกันให้ฟัง

แลกเปลี่ยนกันค่ะลองไปฟัง คนบ้านเดียวกัน ที่บล็อกของพี่อิงเอง มีแด๊นเซอร์

ประกอบด้วยหละ

พื้นที่เล็ก ๆ ของคนเหงา ๆ ๒๑. คนบ้านเดียวกัน

ตามมาอ่านแล้วค่ะ และเพิ่งได้ความรู้ใหม่ว่าข้าวเมล็ดพันธุ์ใช้ได้เพียง3-4 รุ่นเท่านั้น แล้วกลายพันธุ์ เหมือนเชื้อ bacteria ต้นแบบที่ใช้ cloning ของ meepole เลยค่ะ ใจเสาะ (เอหรือโลเลดี..เปลี่ยนง่าย)

ชื่นชมกิจกรรม กลุ่มคนทำนา มีสวยเลือกได้ด้วยนะคะ ส่งกำลังใจค่ะคุณน้องต้นกล้า :)

...ตามมาอ่านแล้วค่ะ ดีใจมากที่คุณต้นกล้ายังไม่หมดไฟ เห็นเงียบไปคิดถึงอยู่นึกว่าถ่านหมดซ๊ะแล้ว ตอนนี้ก็เริ่มเข้าใจในสิ่งที่คุณแนะนำมากขึ้นแล้วนะ และพยายามขยายความรู้ ความคิดของคุณให้ถึงคนอื่นรอบตัวด้วย คงต้องค่อยๆทำค่ะ ก็อย่างที่เคยบอกเปลี่ยนความคิดคนเปลี่ยนยาก แต่ถ้าเราเริ่มแล้ว มีแค่ 1 คนเห็นก็ยังดีใช่มั๊ยค่ะ...

Ico48 ตามเข้าไปชมแล้วครับ คนบ้านเฮา อยู่ดีกินดี

ไว้ รีวิว เมืองประจวบ ให้พี่น้อง G2K ไปเยี่ยมเยียนกัน

Ico48 ขอบคุณที่ติดตามมาเยี่ยมเยียนครับ

Ico48 ขอบคุณ คุณยายครับ ที่ตามมาส่งกำลังใจ ว่าแต่ดอกไม้อะไร สวยจังครับ กินได้หรือป่าว

Ico48 ขอบคุณพี่ปู ครับ รับผลไม้ไปทานด้วยนะครับ

 

สวัสดีครับ คุณต้นกล้า

ยังคงข้อมูลความรู้ด้านข้าว อย่างเข้มข้นเช่นเดิมเลยนะครับ

ขอบคุณที่แบ่งปันนะครับ

Ico48 สวัสดีปีใหม่ คุณอภิชิต ด้วยครับ สุขภาพแข็งแรง มีความสุขมากๆ ครับ

Ico48 ตามไปชม ไปเชียร์แล้วครับ น้องๆน่ารัก เก่ง ทุกคนเลย ขอชื่นชม ครับ  

Ico48 ขอบคุณ คุณยาย มากครับ รักษาสุขภาพ หายไวๆ นะครับ  

Ico48  สวัสดีปีใหม่เช่นเดียวกันครับ 

ขอบคุณมากครับ ตามมาแจ้งข่าว

รักจึงเป็นแนวทางสร้างชีวิต

เมื่อลิขิตด้วยรักจักเหมาะสม

บำรุงรักศรัทธาเหนืออารมณ์

อย่าให้คมรักบาดจนขาดใจ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท