พลิกฟื้นฝืนป่าด้วยพระบารมี


 

วันที่28-30 มีนาคม 51

กรมกิจการพลเรือนทหารบก ในนามกองทัพบก ได้จัดเสวนาในหัวข้อ “ต้นแบบความสำเร็จของแผ่นดิน” ในระหว่างวันที่28-30 เดือนนี้ ณ อาคารบันเทิง สวนลุมพินี โดยยึดแนวแนวพระราชดำริในการจัดการอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อมไว้ใน 3แนวทาง ดังนี้

1.    การอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อม

2.    การฟื้นฟูสภาพป่าและการปลูกป่า

3.    การพัฒนาเพื่อให้ชุมชนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน

มนุษย์เราดำรงชีวิตอยู่ในพื้นแผ่นดินใด ต่างก็เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพในวิถีเพื่อหล่อเลี้ยงครอบครัวและชุมชนให้อยู่เย็นเป็นสุข ประเทศไทยตั้งอยู่ในจุดธรรมชาติเอื้อต่อการเจริญเติบโตทรัพยากรธรรมชาติได้ดีที่สุดในโลก (พื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ภาษาชาวบ้านเรียกผืนแผ่นดินขวานทอง) เป็นอู่ข้าวอู่น้ำเลี้ยงพลโลกมานาน โดยเฉพาะการผลิตข้าว และโปรตีน ธุรกิจร้านอาหารเริ่มต้นที่จะสร้างชื่อว่า”ครัวโลก”

แสดงว่าประเทศเรา มีต้นทุนทางด้านทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่ามหาศาล เท่าที่มีแสงแดดที่อบอุ่น ความชื้น ฟ้าฝน ฤดูกาลอยู่ในสภาพหนุนเสริมให้ป่าไม้เจริญงอกงามทั้งปี ไม่สามารถตีราคาเป็นมูลค่าและคุณค่าได้อยู่แล้ว

เรามีต้นทุนทางภูมิปัญญาที่สร้างสมกันมาผ่านวิถีไทย ในรูปของจารีตประเพณี ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม เรียกรวมๆว่าชุดความรู้วิถีไทย ถ้าเราจะพิจารณาตั้งต้นจากจุดนี้ เพื่อนำไปสู่การขยายผล ขยายความเข้าใจไปเป็นความตั้งใจร่วมกัน ในการที่จะฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ให้กลับมาเป็นมรดกล้ำค่าคืนแก่ผืนแผ่นดินไทย น่าจะมีการพิจารณาอย่างจริงจัง

ถ้าเป็นสมัยก่อน เราสามารถเอาภูมิปัญญาไทยมาบุกเบิกในเรื่องนี้ได้ แต่ปัจจุบัน เรามีการปัญหาที่ยุ่งยากและซับซ้อนเข้ามาเป็นดินพอกหางหมู เมื่อกิเลศเป็นตัวนำ เรื่องต่างๆเชิงโลกทัศน์และวิสัยทัศน์ก็อ่อนด้อยถูกบิดเบือนไปต่างๆนานา จะเห็นว่า ถึงแม้เราจะมีกฎหมายที่ดิน กฎหมายป่าไม้ กฎหมายดูแลส่งเสริมทรัพยากรธรรมชาติ แต่ปีหนึ่งๆมีเรื่องฟ้องร้องคดีความเกี่ยวกับการบุกรุกทำลายป่าไม้และที่ดินมากมายทั่วประเทศ

กระแสสังคมขานรับเรื่องนี้อย่างไร เมื่อก่อนระดับชุมชน และหมู่บ้าน มีการดูแลดอนปู่ตา ป่าหลังบ้าน ป่าชุมชน ป่าต้นน้ำ หรือป่าอนุรักษ์ตามโครงการต่างฯ รวมทั้งป่าสงวนแห่งชาติในทุกพื้นที่

ปัจจุบันพลังกฎหมาย กับความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรป่าไม้ ไม่สามารถต้านกระแสดูแลสภาพพื้นที่ป่าไม้ได้ ในทั่วทุกภูมิภาค ยังมีการบุกรุกทำลายป่าไม้เพื่อนำมาปลูกถั่วเหลือง และข้าวโพดในภาคเหนือ ปลูกอ้อย มันสำปะหลัง ยางพาราในภาคอีสาน พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงาม ถูกยึดครองโดยนักพัฒนาการท่องเที่ยวจนเกินขีดพอดีในหมู่เกาะและเมืองท่องเที่ยวทั่วไทย

ชุดความรู้เชิงวิชาการ งานส่งเสริม งานนโยบาย งานปกป้องดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ความทั้งการเรียนรู้เรื่องคุณค่าของต้นทุนธรรมชาติในระดับต่างๆ ยังห่างไกลจากความเป็นจริง รวมทั้งกระแสขานรับจากคนไทยทุกหมู่เหล่าก็กระปริดกระปรอยเต็มที

เราควรกลับมาทบทวน ย้อนหลังสมัยผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม จากนั้นใครต่อใครก็ตีกลองประชุมกันเรื่อยมา คงมีมากมายหลายเรื่อง แต่วันนี้ขอนุญาตพูดถึงเรื่องการป่าไม้ พบว่าทุกวันนี้ เรามีสัดส่วนตอไม้มากกว่าต้นไม้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ผืนดินที่อุดมสมบูรณ์เปลี่ยนเป็นที่เสื่อมโทรม มีคนยากคนจนอยู่อาศัยเพาะปลูกทำมาหากินบนพื้นที่แห้งแล้งดินเลว สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และปัจจัยการผลิตที่มัดมือชกเกษตรกร กระบวนการตรงจุดนี้ที่นำไปสู่..

การบุกรุกแผ้วทางพื้นที่ป่ามากขึ้น

ตัวคนยากจนแร้นแค้นพื้นที่ทำกินที่อุดมสมบูรณ์ รวมตัวกันเป็นกองทัพมดรุกคืบยึดครองพื้นที่ป่าไม้ตลอดเวลา มีทั้งคนยากจนที่ถูกยืมมือให้เข้าร่วมโครงการธุรกิจการเกษตร หรือโครงการเชิงเดี่ยวต่างๆ ..วิธีตั้งต้นอันดับแรก ต้องพูดภาษาเดี่ยวกัน จูนความเข้าใจให้ตรงกัน ตีความคำว่าป่าไม้ให้ถูกต้องและเหมาะสมตามกลุ่มสภาพสังคม

ในระดับรากหญ้า ถ้าไม่มีเงินอุดหนุนอย่างในต่างประเทศ ควรแนะนำชาวบ้านปลูกไม้ยืนต้นที่ได้ผลระยะสั้นเบิกนำ เช่นไม้ผักยืนต้น ไม้ผล ไม้สมุนไพร ไม้ใช้สอย ไม้เพื่อการจำหน่าย ผสมผสานกับการปลูกไม้ติดแผ่นดิน ถ้าเอาปัญหาของชาวบ้านมาเป็นโจทย์ แนวคิดและวิธีการจะเปลี่ยนไป ต้องจำกัดจุดอ่อนให้ได้ในระดับหนึ่ง

ยกตัวอย่าง เช่น

ชี้ชวนให้ปลูกไม้ไผ่นานาชนิด ไผ่จะให้ผลผลิตเร็ว ได้หน่อกินและขายภายใน1ปี หลังจากนั้นก็ตอนกิ่งขาย ขายลำต้น นำมาใช้เป็นวัตถุดิบหารายได้ ทำบันได ทำแคร่ ทำกระต๊อบ โต๊ะเก้าอี้ สุ่มไก่ ภาชนะใช้สอยในครัวเรือน ถ้าฝีมือดีอย่างศิลปชีพ ทำผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ส่งออกไปขายทั่วโลก..

คนจนต้องปลูกต้นไม้ แล้วได้ประโยชน์ด้านต่างๆ เกิดอาหาร เกิดงานทำ เกิดรายได้ มีสภาพแวดล้อมดีขึ้น ถ้าทำอย่างนี้ คนจนจะขานรับ งานปลูกต้นไม้ เพราะเขาตอบคำถามตัวเองได้ว่า..ปลูกต้นไม้แล้วได้อะไร? ในระดับภาครัฐฯและสถาบันต่าง นอกจากส่งเสริมงานรายย่อยแล้ว ควรไปจับงานด้านปลูกและส่งเสริมป่าไม้อย่างเป็นระบบ

“เราไม่สามารถดูแลป่าให้ปลอดภัยได้

ถ้าตราบใดคนจนไส้ยังเป็นน้ำเหลือง”

เรื่องทั้งหมดนี้เกิดมาจากความยากจน จุดแก้ก็ตั้งต้นแก้ที่คนทุกระดับ รวมทั้งกระแสสังคมที่พูดถึง จึงควรทำให้คนไทยมีหัวใจสีเขียว ตระหนกและตระหนักร่วมกัน ว่าวิกฤติทางด้านทรัพยากรคือวิกฤตของชาติที่สมควรระแวดระวังอย่างยิ่งยวด สร้างเสริมค่านิยมให้เป็นวาระสังคมทุกหมู่เหล่า ไม่ใช่ทำแบบไฟไหม้ฟาง

อะไรก็ตามเมื่อไม่ทำจริง มันเป็นบาป! บาปก็คือการรับผลกรรม มีหนี้สิน หาอยู่หากินอย่างกระปลกกระเปลี้ย จะพัฒนาอะไรก็ไม่ดีขึ้น หืดขึ้นคอทุกเรื่อง สุดท้ายก็บ้านแตกสาแหรกขาด ทั้งหมดนี้คือบาปใช่ไหม? เรายังจะทำบาปต่อไปอีกหรือ รึว่าจะทำบุญ

คนไทยจะทำบุญอย่างไร?

1 คนที่มีวิชาความรู้ ช่วยเผยแพร่แนะนำ ทำการศึกษาวิจัยความรู้ประเภทติดดินให้มากกว่าเอาไปขึ้นหิ้ง ให้ความรู้มันสามารถทิ้งตัวลงในหลุมปลูกต้นไม้ แทรกไปอยู่ในต้นไม้ทุกต้น แทรกอยู่ในครัวเรือนประชาชน อยู่ในที่ไร่ที่นา ในสถาบันทดลองศึกษาวิจัย ถ้าเรารับผิดชอบ เราควรจะทบทวนวิชาการด้านการบริหารทรัพยากรของเรา ในขณะเป็นอย่างไร มีความถูกต้องมีความเหมาะสมและมีพลังพอ ที่จะต่อกรกับความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทั่วประเทศแล้วหรือยัง

2 คนที่รับผิดชอบ เป็นผู้ดูแลและส่งเสริมงานด้านทรัพยากรธรรมชาติทั้งเชิงรับและเชิงรุก ควรจะได้ทบทวนย้อนหลังว่าโครงการต่างๆที่ดำเนินการมานั้น กับวิกฤตที่เผชิญหน้า จะต้องปรับกระบวนการและวิธีการอย่างไร?

การกระจายความร่วมมือ ถือว่าเรื่องสร้างเสริมระบบนิเวศน์เป็นหน้าที่ประชาคมไทย ที่ทุกคน ต้องร่วมเป็นเจ้ารับผิดชอบร่วมกัน ไม่ใช่โยนกลองออกนอกตัว เพราะทุกคนต่างก็สูดลมหายใจ ใช้ออกซิเย่นกันทั้งนั้น

กุศโลบายให้ความรู้แก่เกษตรกร ในหลายร้อยหลายพันโครงการ ทำกันแบบเหวี่ยงแห ควรจะทบทวนวัฒนธรรมการทำงานระบบราชการ ที่นั่งนับคนรายหัว คิดเอาแต่ตัวเลข ส่วนผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรก็อ้อมแอ้มกันไป ปีหน้าก็ตั้งหน้าอบรม แจกกล้าไม้ ปลูกทิ้งปลูกขว้าง แล้วก็ตั้งหน้าสรุปงานรายเดือนรายปี ควรทบทวนว่าโครงการที่ผ่านมา เราจะนำมาปรับปรุงให้เกิดผลในทางปฏิบัติระดับครัวเรือน ระดับชุมชน ระดับองค์กร ระดับชาติได้อย่างไร? สิ่งเหล่านี้ควรมีการขานรับเชื่อมโยงเป็นระบบ ทำให้เกิดการร่วมทุกข์ร่วมสุขกันทั้งชาติ การสร้างพลังทางสังคม ทำให้เกิดบริบททางสังคม ถือเป็นวิสัยทัศน์ของชาติ ที่จะต้องร่วมกันฝ่าฟันสร้างขึ้นมาให้ได้ ไม่อย่างนั้นมีนโยบายหรือโครงการอะไรลงไปก็ ..

จ๋อม ! เหมือนโยนหินลงน้ำ

ถามว่า

น้ำลาย ปลูกต้นไม้พอได้บ้าง

น้ำใจ วางข้างหลุมยังพอไหว

น้ำจิต รดผืนป่าทั่วฟ้าไทย

น้ำพระทัย โอบแน่นแผ่นดินทอง

·         พื้นที่ปลูกป่าไม้อยู่ที่ไหน?

เราสามารถใช้พื้นที่ทำมาหากินของเกษตรกร ที่เสื่อมโทรมเพราะการตัดไม้ทำลายป่าทั่วประเทศ เป็นพื้นที่ปลูกต้นไม้แทรกเข้าไป

·         คนปลูกคือใคร?

ชักชวนชาวบ้าน ชาวไร่ชาวนา คนไทยทุกผู้ทุกนาม

·         งบประมาณสนับสนุนมาจากไหน?

เท่าที่หน่วยงานต่างๆดำเนินการอยู่ก็มากโข ถ้าชักชวนภาคเอกชนมาเป็นเจ้าภาพร่วมอย่างการจัดประชุมครั้งนี้จะมีพลังในการประชาสัมพันธ์ นับเป็นตัวอย่างที่ดี ตัวชาวบ้านถ้าเข้าใจ พื้นที่ แรงกาย ความรู้ความเข้าใจ เป๋นทุนที่สำคัญ

·         จะเสริมสร้างระบบนิเวศน์ให้สอดคล้องกับการประกอบอาชีพอย่างไร?

เรื่องนี้ยาว ต้องอาศัยเวลาอธิบาย เพราะมีหลายรูปแบบ หลายวิธีการตามความเหมาะสมและศักยภาพในพื้นที่นั้นๆ ไม่สามารถระบุ กำหนดวิธีสำเร็จรูป1-2-3 ได้

·         ใช้ยุทธศาสตร์อะไรในการดำเนินการ?

ควรเอาทิศทางการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และสังคมสมานฉันท์ รวมทั้งใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ เรียนให้รู้ว่าทรัพยากรธรรมชาติเป็นต้นทุนทุกคนในชาติ ถ้าต้นทุนอยู่ในสภาพปกติ คุณภาพของสังคมก็จะดีตามไปด้วย

แนวทางดำเนินงาน : บทบาทหน้าที่พันธกิจ/พันธมิตรวิชาการกลุ่มมหาชีวาลัยอีสาน

 

1.  จัดประชุมปรึกษาหารือเชิงโครงสร้าง ระดับนโยบาย 1 ครั้ง

-      พิจารณาจุดอ่อน จุดดี ชี้ให้เห็นความจริงและความเป็นไปได้ จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย รายการนี้ควรเชิญ เม้งเยอรมัน ท่านสิทธิรักษ์ อาจารย์ลิหุ่ย ลุงเอก สื่อมวลชน ฯลฯ ไม่จัดแบบเอาเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ แต่จะลองไปข้างหน้า ใน5ปีนี้เราจะทำอะไรได้บ้าง

2.  จัดประชุมกลุ่มนักพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติชุมชน 2ครั้ง

-      เชิญนักก่อนการเชิงรุกด้านทรัพยากรป่าไม้ ส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ในโครงการพระราชดำริ หรือหน่วยงานภาครัฐฯ เช่น ดร.แสวง รวยสูงเนิน ท่านHandy คนไร้กรอบ ทวีสิน คนชอบวิ่ง ดร.ศักดิ์พงศ์ หอมหวล ครูวุฒิโคกเพชร1 อัยการชาวเกาะ ท่านบางทราย ปาลียอน สิงห์ป่าสัก เกษตรยะลา ขจิต สายลม ฯลฯ

3.  จัดประชุมในพื้นที่กลุ่มเป้าหมายตัวอย่าง 7 กลุ่ม 7 พื้นที่

-      ตัวแทนกลุ่มที่ผ่านการอบรมเศรษฐกิจพอเพียง และกลุ่มตัวอย่างที่น่าสนใจ ประกอบด้วยพระ ผู้นำชุมชน แกนนำนักพัฒนาการงานอาชีพตามแนวทางพระราชดำริ ครูภูมิปัญญา ผู้นำธรรมชาติจากดงหลวง ฯลฯ

4.  จัดตั้งแปลงแนวคิด เรื่องปลูกไม้แบบเศรษฐกิจพอเพียง 3 แห่ง

-      แปลงเพาะกล้าไม้พันธุ์ดีชนิดต่างๆ แปลงตัวอย่างปลูกไม้ผสมผสาน รูปแบบที่เกิดความคิดจากเกษตรกร (สนับสนุน ประชาสัมพันธ์)

5.   สร้างนักจัดการความรู้เรื่องธรรมะกับธรรมชาติ 20 คน

-      ฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการด้านป่าไม้ 1 รุ่น ไว้ทำหน้าทีส่งเสริมและประสานงานพื้นที่

6. จัดตั้งชุมชนต้นแบบ ที่ทำมากินด้วยอาชีพปลูกสร้างสวนป่าตามแนวพระราชดำริ 1 แห่ง

-      จัดตั้งชุมชนตัวอย่าง บ้าน10หลัง พื้นที่ประกอบกิจกรรมแบบพอเพียง ที่เอื้อต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7.  จัดตั้งกองเลขาติดตามประสานงาน

-      ทำหน้าที่สงเคราะห์ความรู้ รวบรวมชุดความรู้ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดำเนินการเคลื่อนไหว เรื่องป่าไม้ถวายในหลวง สนับสนุนงานทางวิชาเกินและหล่อลื่นการจัดประชุมกลุ่มย่อย ออกแบบสารสนเทศป่าไม้ชุมชนในพื้นที่ตัวอย่าง เพื่อตอบคำถาม ประชาชนปลูกป่าแล้วได้อะไร?

 

เราควรตระหนักว่า ผืนแผ่นดินที่เราอยู่อาศัยนี้ มีค่าควรเมือง

ยอมรับว่าเป็นหน้าที่ของประชาชนคนไทยทุกคน

ให้ถือว่า การรักป่า ปลูกป่า ดูแลป่า

คือการถวายความจงภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เราจะนำผืนแผ่นดินไทยที่เขียวขจี

น้อมถวายเป็นของขวัญในวาระเนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ7รอบ84พรรษาในปี2554

หมายเลขบันทึก: 173183เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2008 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

มาลงทะเบียนไว้ก่อนครับ ครูฯ 

เรื่องนี้มียาวครับ

  • อ่านบันทึกนี้แล้วถูกใจค่ะพ่อ
  • ทำอย่างไรทุกคนจะมีจิตสำนึกรักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง
  • ทุกวันนี้หนูเห็นสวนป่าที่ทิ้งร้างไว้ดูต่างหน้า  แตกต่างจากวันที่มีการมารณรงค์ปลูกป่ากัน  อย่างที่พ่อบอก  ถ่ายรูปขณะกำลังปลูกป่ากัน   หนูเห็นนั่งรดน้ำกันอยู่ต้นเดียวเพื่อถ่ายรูป
  • แต่ขาดการดูแลอย่างต่อเนื่อง   ทำอย่างไรเราจะมีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป็นโจทย์ที่ทุกคนต้องช่วยกันนะคะ
  • ยังไงหนูก็ขอมาเรียนรู้จากพ่อละกันค่ะ   ว่าคนตัวเล็กๆในหน่วยงานอย่างหนูจะสามารถช่วยเหลือได้มากน้อยแค่ไหนนะคะ

P

ต้องขออภัยครับ 

พยายามขมวดให้กระชับที่สุดแล้ว เกรงใจคนอ่าน

แต่โรคแหย่ เหย้า หยิก ยิ้ม ติดเป็นสันดาน อยากที่จะสะกดใจ

P

 

พวกสาวๆปลูกต้นไม้ช่วยกันก็ยังดี

ทราบว่ามีอาจารย์วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธรที่สุพรรณบุรี

ตอนนี้ขมักขะเม้นขุดดินปลูกผัก

มาจอบเบิ่ง

พ่อสิไปกทม.อีกแล้ว

กราบสวัสดีครับท่านครูฯ

       ขออนุญาตแลกเปลี่ยนด้วยนะครับ

ก่อนจะปลูกป่า ผมว่าเราควรจะปลูกสิ่งต่อไปนี้กันก่อนนะครับ...

  • ปลูกข้อมูลจากสิ่งที่พบ ที่เห็น ที่แลกเปลี่ยนกัน เรียกว่าปลูกข้อมูล
  • ปลูกสารสนเทศ วิเคราะห์สังเคราะห์ กระบวนการ ให้ได้สารสนเทศจากข้อมูลที่ได้รวมกันมานั้น ในปัญหาเรื่องป่าไม้ ว่าทำไมต้องปลูก ไม่ปลูกเป็นไง หมดป่าเป็นไง
  • ปลูกความรู้ ปลูกความรู้ให้กับคนและต่อยอดให้คิดเป็นระบบได้ ปลูกความรู้ในสมอง ทำให้เกิดผลทางปัญญา และรู้ถึงสำนึกของการมีส่วนร่วมต่อป่า
  • ปลูกใจ ร่วมกับการปลูกต้นไม้ คิดไว้ว่าหากทำลายเมื่อใดจะเกิดผลอะไร ประมาณว่า คนต้องรู้จัก EIA ประเิมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมกันได้ทุกคน ไม่ใช่โยนให้แค่กรรมการไม่กี่คนคิดวิเคราะห์กัน บางทีโดนเงินฟาดหัวก็ยิ่งไปกันใหญ่ แล้วสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมจะเกิดครับ

หากปลูกสิ่งเหล่านี้ได้ จะปลูกอะไรก็ได้... เราเป็นกันอยู่ทุกวันนี้ ก็เพียงแค่สร้างกฏเกณฑ์กันขึ้นมา จนคนจะไม่เป็นคนแล้ว มีกฏหมายเต็มไปหมด แต่คนก็ทำบาปมากขึ้น กิเลสพองโตมากขึ้น เราแสดงหา รธน. กันจนลืมสร้างประชาธิปไตย จนเราลืมสร้างคน ปลูกคน ปลูกปัญญาในสมองคน เราถึงต้องเป็นอยู่กันแบบนี้.....

เมื่อท่านพูดคนจะฟัง เมื่อท่านทำคนจะเชื่อ........

กราบขอบพระคุณมากครับ

ขอสนับสนุนน้อง เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

ปลูกฐานจิตสำนึก

สร้างตอม่อให้แข็งแรง  แล้วเอาอะไรทูนขึ้นไปก็รับไหว

ยังอยากจะต่ออีกแล้วจะมาใหม่ครับ

 

  • พ่อครูคะ ที่สองแคว เทศบาลเมืองพิษณุโลก เรา รณรงค์ อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาชาวบ้าน ด้วย มีประเพณี บวชต้นไม้ใหญ่ ที่บริเวณสวนชมน่าน
  • Dscn5419
  • http://gotoknow.org/blog/library/135507 รายละเอียด นะคะ
  • ชอบตรงนี้มากเลยค่ะ ปลูกความรู้ ปลูกความรู้ให้กับคนและต่อยอดให้คิดเป็นระบบได้ ปลูกความรู้ในสมอง ทำให้เกิดผลทางปัญญา และรู้ถึงสำนึกของการมีส่วนร่วมต่อป่า
  • ขอบพระคุณค่ะ พ่อ

มาอีกรอบนะครับ

    ขออนุญาตเล่าเรื่องจากที่พบเจอกับคนข้างบ้าน คนข้างบ้านเคยปวดหัวหนักมาก ไปหาหมอหมอหาไม่พบว่าเกิดจากอะไร ให้ยาแก้ปวด ไปหาหมอจนหมดหนทาง เลยไปหาหมอบ้าน ดูหมอว่าถูกของอะไรไหม หมอเลยถามว่าไปทำอะไรไว้กับต้นไม้บ้าง ลุงคนนั้นก็เลยนึกออกว่าเคยเอาตะปูไปตอกไว้กับต้นไม้ใหญ่ เลยกลับไปบ้านแล้วก็ถอดออกแล้วขอขมา จากนั้นก็หายปกติ แล้วบอกต่อว่าต้นไม้ต้นนี้ ห้ามไปทำอะไรนะ เพราะจะโดนของ

    บางทีควรจะเป็นแบบนี้ต่อไป  ต้นไม้ในเมือง น่าจะโดนกันบ้างนะครับ ที่ทำลายแล้วปลูกตึกกันนะครับ  จะเอาเรื่องความเชื่อเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้กับการปลูกป่าด้วยก็ดีครับ เช่น ตอนมีคนตาย ก็เอาเถ้าถ่านของคนตายที่ได้จากการเผา ไปกองไว้ที่โคนต้นไม้ ก็ถือว่าคนนี้เฝ้าต้นไม้ต้นนั้นๆ ไปเลยครับ ใครโค่นก็โดน ก็น่าจะดีครับ เหมือนพระท่านหนึ่งท่านก็ทำแบบนี้

    เอาผ้าสีไปผูกไว้ทุกๆต้น พร้อมธูปเทียน หมากพลู...ให้ครบไปเลยครับ

หากปลูกจิตสำนึกไม่ได้ ก็ต้องศึกษากระบวนการแบบนี้ครับให้เชื่อมโยงกับฐานคิดครับในแต่ละพื้นที่ครับ ทำอย่างไรให้ใจคนละเอียดอ่อนมากขึ้นละครับ

ขอบพระคุณมากครับ

  • อ่านแล้วครับ
  • หนักใจ แต่ก็คงต้องช่วยกันต่อไป คนละไม้ คนละมือ ทั้งคิด พูด ทำ ไปในทิศทางที่ถูกที่ควร
  • เปลี่ยนความคิด เปลี่ยนจิตใจคน เป็นเรื่องทำยาก แต่ยุคนี้ ขืนไม่พยายามทำ คงได้เห็นสังคมที่รุ่มร้อนแทบลุกเป็นไฟในไม่ช้า เพราะความมืดบอดมันบัง อยากมองหาปัญญา แต่ก็มองไม่เห็น

ปลูกจิตสำนึกก็ดีครับ

เพื่อไม่ให้เสียเวลา ปลูกต้นไม้ ดีที่ซู๊ด!!

แล้วใช้จิตใจ น้ำใสใจคอ รดบ่อยๆ

จิตสำนึกจะโผล่ออกมาจากต้นไม้

โตขึ้น ออกดอกออกผล มากขึ้น เมล็ดนำไปขยายพันธุ์

จิตสำนึกต้องมีที่เกาะอาศัย

ปล่อยลอยๆไว้

หล่นตุ๊บ!  

นะขอรับ! อิอิ

เรื่องบวชต้นไม้ เห็นด้วยว่าเป็นอุบายที่ดี

อย่างน้อยก็มีการแสดงออกเชิงรูปธรรม

แต่การชี้ชวนให้ต่างคนต่างปลูกต้นไม้ที่บ้าน ที่สวน ไร่นาของแต่ละคน

ก็เป็นอุบายระดับรากฝอย ปลูกเอง ดูแลเอง รับผลประโยชน์เอง

เป็นการกระจายความรับผิดชอบ และความเสี่ยง

ผู้คนสมัยนี้มันมาจากขุมไหนก็ไม่ทราบ

นอตเสาไฟฟ้าแรงสูง ยังถอดเอาไปแลกเหล้า

พระพุทธรูปในโบสถ์ มีลูกกรงแข็งแรง จัดเวรนอนฝ้า

ยังเข้ามาลอบบั่นคอพระไปขาย

ถ้าผ้าห่มบวชต้นไม้ยังศักดิ์ก็ดี

แต่ถ้ามนต์เสื่อมวันใด เราจะใช้ผ้าอะไรไปล้อมต้นไม้แทน

คิดเผื่อไว้บ้างรึเปล่า คุณโยม อิอิ

P

ในกลุ่มคนแซ่เฮ

ต้องช่วยกันปลูกต้น อิ อิ

เพราะท่านบอกว่า ...

ปล่อยลอยๆไว้ หล่นตุ๊บ! นะขอรับ! อิอิ

จึงขอต่อว่า ...

     กิจกรรม และ การงานที่เหมาะสม นั่นแหละคือ ช่องทางแห่งการ สร้างจิตสำนึก .. การปลูก การดูแล การรับผล และการบำรุงรักษาต้นไม้ คือหนึ่งในนั้นครับ
     ใครขืนสอนจิตสำนึกบนกระดาน หรือพากันเน้นท่อง เน้นจำ .. ก็คงได้เข้าป่า แบบหาทางออกไม่เจอ เหมือนที่ระบบการศึกษาของบางประเทศกำลังประสบอยู่เป็นแน่แท้ครับ .. อิ อิ.

ช่วยกันปลูกความรู้และความเห็น

ช่วยกันแต่งประเด็นให้เหมาะสม

ช่วยกันนิดคิดกันหน่อยค่อยเกลียวกลม

ช่วยผสมวิชาการวิชาเกิน

"โลกร้อน"...เพราะเราเป็นเพียงกาฝากเกาะกินโลก ?

http://www.doctorsan.com/cgi-bin/news/newsnavigator.pl?http://www.thaisarn.com/th/ts_count_topic.php?tscode=0326080023

เอามาฝากดูเล่นๆ

กราบสวัสดีครับ

    หากเราปลูกต้นไ้ม้ เพื่อสร้างความสีเขียวในพื้นที่ ก็คงดีซิครับ แต่หากเราปลูกเหมือนเราเลี้ยงหมู ที่ขุนให้โตๆ เพื่อรอวันเชือดนะครับ ยังไงก็ขาดปราณอยู่ดีในวันหนึ่ง อย่างยูคาฯ บ้านท่านครูฯ จะกล้าโค่นไหม ต้นที่อายุยี่ิิสิบกว่าปีนะครับ กล้าโค่นไหมครับ? อิๆๆๆๆ เตรียมที่อยู่ใหม่ให้เทวดาด้วยนะครับ (ดั่งที่คนบอกว่า ยูคาฯ คืนให้กับแวดล้อมหลังอายุสิบปี แต่ปัญหามันคือจุดประสงค์ของการปลูกยูคาฯในหลายที่เพื่อโค่น และโค่นกันในวง 4-6 ปี แล้วจะเหลือตอยูคาฯ ให้คืนกลับสู่สภาพแวดล้อมได้อย่างไร? พอแตกแขนงใหม่ ก็โค่นในวงรอบเดิม...ท้ายที่สุด สาัรอาหารในดินติดลบ...อิอิ ส่วนการคืนให้สภาพแวดล้อม นั้นเหลือแต่โคนคงคืนให้บ่ได้แน่ๆ ครับ แม้ว่าอายุโคนจะเกินสิบกว่าปีก็ตาม)

    หากเราปลูกต้นไม้เพื่อต้นไม้...เหมือนล้างจานเพื่อล้างจาน...ป่าไม้ก็คงเขียวทั่วไปครับ

ต่อมาคือการวางแผนว่าจะปลูกต้นอะไร นั่นคือสิ่งที่ต้องทบทวนเช่นกันครับ การปลูกอะไร ทำอะไรในยุคทุนนี้ คนเราจะใจร้อน อยากเห็นผลไวๆ รอปลูกด้วยเมล็ดนั้น มันโตไม่ทันใจนะครับ ดังนั้นต้นไม้โตเร็ว จึงทำให้คนเห็นพลัง หากเชื่อมกับแนวทางเศรษฐกิจเข้าไปก็ไม่ธรรมดาครับ  หากมีโครงการปลูกยูคาฯ ล้านไร่ นี่ก็น่าคิดนะครับ.....

ต้นไม้ที่จะตอบเราได้ดี ในอดีตมีคำตอบอยู่ คงต้องปลุกบรรพบุรุษกันมาเข้าทรงแล้วถามกันล่ะครับ เพราะว่าหลายๆ ที่วิญญาณของต้นไม้หายไปหมดแล้ว อิอิ

กราบขอบพระคุณมากครับ

ถ้าเอาแต่พูดกันคนละครั้ง

แล้วก็นั่งจีบถ้อยอร่อยใหญ่

นึกไม่ออกว่าเม้งทำอะไร

อยู่ทำไมไม่รีบมาปลูกป่าเรา

มีความรู้ท่วมโลกเรื่องปลูกป่า

แต่ต้นไม้ก็หายหน้าไปเรื่อยๆ

โลกร้อนรนสติคนออกฟั่นเฟือน

จึงชวนเพื่อนเฮฮาเข้าป่าเอย

 

  • สวัสดีค่ะ ทุกท่านทุกอาจารย์
  • เดี๋ญวนี้เรื่องใจและจิตสำนึกเป็นเรื่องสำคัญนะคะ ไม่ว่าหน่วยการอะไรที่ไหนอย่างไร
  • หากได้ใจได้จิตสำนึกที่ดี คงไปโลดทุกเรื่องราว
  • ขอบคุณค่ะ

อยากจะชวนป้าแดงออกแรงปลูก

ต้นสำนึกลูกมันยังไงหนา

จะหาพันธุ์ที่ไหนใครเพาะกล้า

เมื่อไหร่ป้าจะมาปลูกสักที

พ่อช่อสะเดา...พ่อเถาต้นฟัก

น้องจิจะมา....ร่วมปลูกต้นรัก

ธรรมชาติสดใส..เห็นแจ้งประจักษ์

น้องจิแวะมา...จะขอกล่าวทัก

จะพลิกผืนป่า...นั้นเป็นงานหนัก

เห็นพระเสโท...ไหลจากพระพักตร์

หนูเป็นเด็กไทย..จะอนุรักษ์

ช่วยพ่อครูปลูกปัก...รักธรรมชาติเอย

* สวัสดีเจ้าค่ะ พ่อครูบา...หนูแวะมาเยี่ยมเจ้าค่ะ...รักษาสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะ เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ----> น้องจิ ^_^

กราบสวัสดีครับฯ

    อิๆๆ เข้ามายิ้มกว้างๆ...กอดคำเหน็บก่อนครับ คริคริฯ ตอนนี้ขอปลูกพื้นฐานก่อนนะครับ ตอนนี้ไม่มีผลงานใดๆ ครับผม

    เจอกันเมื่อไหร่.... เราก็กอด...(ฟังเพลงจากท่านอัยการยังครับ.. เพิ่งตื่นครับ)

 

วันนี้ เล่าฮู ชวนเจ้าหน้าที่กองทุนสิ่งแวดล้อมมาคุยด้วย ไม่แน่ใจว่าจะเป็นยังไง เพราะเขาเอาแต่เงียบๆ รับฟัง ไม่โฉ่งฉ่างเหมือนเม้ง เลยไม่สนุก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท