โออิตะ ฉบับไทยแลนด์


ถ้าเราดูสารคดีหมู่บ้านโออิตะ เจ้าตำรับโอท็อปแห่งญี่ปุ่น ที่พี่ไทยแห่แหนไปดูงานกันจนคนบรรยายบอกว่า ..มาแต่พวกข้าราชการ น่าจะให้ชาวบ้านมาดูงานบ้าง เพราะทุกอย่างเริ่มไปจากชุมชน ไม่ใช่คนนอกมาชี้นิ้วบอกให้ผลิตให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ สุดท้ายมันก็ไม่ยั่งยืนอะไร เป็นการจัดฉากเฉพาะหน้าไปอย่างนั้นเอง

ไม่รู้แง่มุมคิดนี้ เป็นอุทาหรณ์ให้นักพัฒนาฉุกคิดได้บ้างรึเปล่า ที่จริงมีแววปรากฏออกมาจากชุมชนเราเองก็ไม่น้อย ยกตัวอย่างกรณีของอำเภอดงหลวง มีตัวตนคนต้นคิดระดับเยี่ยมมากมาย ถ้าสนับสนุนให้พ่อๆทั้งหลายทำตามที่คิด ดูแลรักษาธรรมชาติ พัฒนาแบบเอื้ออาทร ปลูกผักหวาน ปลูกป่า เลี้ยงหอยภูเขา ดักหนู เผาถ่าน ทำที่ดักขี้ค้างคาว ทะนุบำรุงธรรมชาติฯลฯ สะท้อนวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับพื้นที่ ต่อไปชุมชนลักษณะนี้จะเป็นต้นแบบการสร้างวิธีพัฒนาสไตล์ไทยแท้ จะมีคนแห่ไปดูไปศึกษาไปท่องเที่ยว ไม่ต้องเอะอะวิ่งโร่ ไปเสนอเรื่องให้หน่วยงานต่างๆมาแก้ปัญหาให้

เพลี้ยลงข้าวไปแจ้ง

ไฟไหม้ฟางไปแจ้ง 

ไม่มีน้ำไปแจ้ง

อะไรๆ ขี้เยี่ยวไม่ออก ก็ไปบอกอำเภอ อย่างนั้นรึ!!

คนที่อยู่ในระบบส่งเสริมและพัฒนาของรัฐฯ ไม่ต้องคิดต้องทำอะไร รอส่งความช่วยเหลืออย่างเดียว พัฒนาแบบนี้มันก็ง่อยทั้งกะบิสิครับ ภูมิปัญญาไทยมันจึงหดหาย เราพูดกันหน้าระรื่นให้พึ่งตนเอง แต่วิธีการกลับให้วิ่งโร่ไปร้องขอความช่วยเหลือจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้งก็ไม่ช่วยตัวเอง แบบนี้รัฐฯก็แบกภาระอกแอ่นมากขึ้นๆ สิครับ

ถ้ามีการทบทวนระบบส่งเสริมและพัฒนาโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง เราอาจจะเห็นอะไรดีๆออกมาจากทักษะและศักยภาพชุมชน ตรงกับแนวทางพระราชดำริ เรื่องการพึ่งตนเองและการสร้างภูมิคุ้มกัน ในบ้านเรา มีชาวบ้านเริ่มต้นจุดประกายหลายเรื่อง เช่น

·        บ้องไฟอีสาน กลายไปเป็นจรวดสู่อาวกาศหลายประเทศ

·        ขนมข้าวโป่ง ข้าวเกรียบว่าว เป็นที่มาของขนมกุบกรอบที่ขายกันเกลื่อน

·        ผ้าไทย รำไทย นวดแผนไทย ก้าวไปเรื่อยๆ

·        ข้าวไทย กำลังมีข่าวราคา ตาโต

·        ต้มยำกุ้ง ส้มตำปาปาย่าป๊อกๆ เป็นอาหารสากลไปแล้ว

เราคิดดีแต่พัฒนากระบวนการและระบบช้ามาก

ตรงจุดนี้ต่างหากที่นักวิสาหกิจชุมชน นักพัฒนา นักวิจัย นักการตลาด

จะเข้าสมรู้ร่วมคิดกับชุมชน

ถ้าไปพิจารณากระบวนการเจ้าตำหรับโออิตะ เขามีที่ไปที่มาแบบชาวดงหลวงนี่แหละ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ฟันฝ่าอุปสรรคด้วยตนเอง พุ่งชนปัญหาอย่างทรหด ไม่ได้พัฒนากันแบบเอื้ออาทร อี๋ออ๋อกันไปทุกเรื่อง นี่ขนาดไปดูตัวอย่างเขามาไม่รู้กี่รอบแล้วนี่นะ ..ยังเซ่-เหมือนเดิม!

กลับมาเปลี่ยนแปลงหลักการที่เป็นหัวใจของญี่ปุ่นทิ้ง

พลิกแพลงเรื่องดีๆ ให้เป็นเรื่องหมาน้อยธรรมดา

พัฒนาให้ตายมันก็อยู่แค่นี้แหละ ..

ลดได้ไหม แผนพัฒนาชุมชนแบบปัญญาอ่อน?

------------------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ:

เอกสารประกอบการประชุมแผนฯระดับภูมิภาค สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

23-24 เมษายน 51 ที่จังหวัดอุดรธานี

หมายเลขบันทึก: 174512เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2008 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • เห็นด้วยว่าควรลดครับ
  • ถ้าให้ดี เลิกแบบ ถอนรากถอนโคน เลยก็ดี
  • เริ่มนับหนึ่งใหม่ก็ไม่สาย ถ้าคิดอ่านจะใช้ ปัญญา เป็นตัวนำ ครับ
  • พูดถึง Oita คิดถึงครับ .. เคยไปอยู่ที่นั่นช่วงหนึ่งประมาณ 1 สัปดาห์  นานมาแล้วครับ ตั้งแต่ต้นปี 28 เป็น Home Stay ที่อบอุ่นใจมากๆ
  • อิ อิ อิ ครับ

ใช่ครับ ครูฯ

แต่ไหนแต่ไรพวกนักปกครองปลูกฝังการ ให้ ให้ ให้ 

แต่ไม่เคยแก้ปัญหาที่แท้จริง  ให้ ให้ ให้ ถ่ายรูป ถ่ายรูป ถ่ายรูป

เป็นอย่างนี้มานาน สร้างความหวังหรอกๆเฟ้อฝัน ยิ่งพวกนักการเมืองยิ่งร้ายใหญ่  สร้างความฝันทางวัตถุ  สัญญาว่าจะให้ พัฒนา

ยิ่งนานวัน สังคมไทยยิ่งแย่ ส่งผลสะเทือนสู่ชุมชน

ตอนนี้ระบอบทุนปั่นราคาข้าวขึ้นอีก อีกหน่อยอะไรต่ออะไรก็ขึ้นตามกันไป       เข้าทางนายทุนครับ   ชาวบ้านจะไม่มีอะไรเหลือ

  • ได้มีโอกาสไป Oita มากับเขาเหมือนกัน แต่โดยทุน....สว. เองจ้า....อิอิ
  • แต่ก็ไม่ได้มีโอกาสไปดู หรือ คุยอะไรลึก ๆ อย่างที่อยากจะทำ....เพราะเวลาจำกัด....อิอิ...ฝากไว้ก่อน....คิดว่าเมืองไทยมีดีที่ควรไปศึกษาเอามาขยายอีกเยอะกว่า....ไม่จำเป็นต้องไปไกล....เหลือแต่ว่าจะไม่ได้ไปต่างประเทศเท่านั้นเอง

พระอาจารย์ที่เคยไปโออิตะ น่าเขียนเรื่องนี้ลงบล็อกนะครับ

  • โออิตะ ผมว่าสู้ โออิชิ ไม่ได้หรอก อากาศร้อนๆแช่เย็น โอยยย...สดชื่น  
  • พูดไปเล่นๆนะครับ  น้ำพวกนี้มันแพง ดื่มน้ำเปล่าบ้านเราดีกว่าครับ

P

น้ำดื่มบ้านเรา น้ำแร่ หรือน้ำหลอก ก็ไม่รู้

ชาเขียว ชาโออิชิ ราคาแพงกว่าน้ำนม และน้ำมันเสียอีก

ทั้งๆที่การลงทุน การผลิต ไม่น่าจะยากเท่าเลี้ยงปศุสัตว์

แต่เขาโฆษณาดี มีวิธีขายที่โดนใจ จึงไปโลด

ว่าแต่มีสักขวด ไหมละครับ จะลองชิมบำบัดโรคโง่กับเขาบ้าง

อิอิ

  • สวัสดครับพ่อครูบา
  • ผมเห็นด้วยครับที่เราต้องช่วยตนเองให้มากที่สุดมีปัญหาอะไรก็ต้องพยายามคิด หาวิธีแก้ไข ถ้าคิดคนเดียวไม่ได้ก็ต้องร่วมหัวกันคิดหลายคนน่าจะดีนะครับ

สมัยโน้นนนราชการเราแห่ไปดู โครงการ "แซมาเอินอัลดอง" ของเกาหลี

เราแห่ไปดู "คิบบุช" และ "โมชาร์บ" ของอิสราเอล

เราแห่ไปดู "ซาโวดายา" ของศรีลังกา

เราแห่ไปดู "PRRM" ของฟิลิปปินส์

เราแห่ไปดู "กรามินแบ้งค์" ของท่านยานุส

 

แต่ต่างชาติกลับแห่มาดูงานของในหลวง

ท่านที่เขียนเรื่อง "การพัฒนาสังคมโดยใช้แนวทางวัฒนธรรมของไทย" กลับเดินขึ้นดอยไปศึกษาระบบวัฒนธรรมความเชื่อของสังคมชาวเขาที่มีรูปแบบที่ชัดเจน แล้วเอาหลักกรอบความคิดมาอ่านสังคมไทย และได้ภาพออกมาชัดเจน

การไปศึกษาดูงานผมก็ว่าดีครับ แต่อย่าไปเที่ยวเสียมากกว่า ไปดูไปศึกดษาจริงๆแล้วเอามาคิดอ่านปรับให้เข้ากับสังคมไทยจริงๆสิ  อย่างนี้เข้าท่าครับ

แค่เราตระเวนไปในชนบททั่วประเทศ ไปซึมซับแนวคิด แนวปฏิบัติของชาวบ้านผู้ต่ำต่อย  แต่ต่อสู้กับชีวิตด้วยชีวิต และเอาตัวรอดมาได้นั้นน่ะ ไปศึกษาของดีที่มีอยู่ รวบรวมเอามาเผยแพร่ และเอาจริงเอาจังกับการเอาไปปรับใช้  แค่นี้ก็มหาศาล และยืนอยู่บนสภาพจริงของสังคมไทยด้วย  เข้ากับระบบนิเวศแบบต่างๆที่มีอยู่หลากหลายของประเทศเรา

ความสำเร็จที่ดงหลวง มิใช่ว่าจะเอาไปใช้ได้ทั่วประเทศ เพราะดงหลวงมีระบบนิเวศเฉพาะคือเป็นแบบภูเขา  พื้นที่ใดที่มีสภาพระบบนิเวศใกล้เคียงกันโอกาศที่จะเอาบทเรียนไปใช้ก็มีมาก 

แต่บทเรียนของพ่อแสนแห่งดงหลวง คือสอนให้เราคิดว่า หากเราเป็นมีความสังเกตธรรมชาติ เราก็สามารถเรียนรู้และปรับธรรมชาติมาใช้ในชีวิตจริงได้  ทุกหมู่บ้านมีสภาพธรรมชาติที่แตกต่างกัน  เราจึงต้องเข้าใจ  และทำในสิ่งที่สอดคล้องกับเขา  ก็เท่านั้นเอง ไม่ใช่ไปเอาอะไรมาจากไหนๆมากมาย  หากเอามาก็ต้องมีช่วงเวลาทดลอง พิสูจน์กันก่อน

ดังนั้นระบบการเกษตร หรือสหกรณ์แบบ แซมาเอิลอันดองของเกาหลีนั้น  หรือ คิบบุช โมชาร์บของอิสราเอลนั้นจึงไม่สามารถเอามาใช้ในปีเทศไทยได้เพราะระบบนิเวศมีนต่างกัน  เอาหลักคิดมาได้ แล้วเอาหลักคิดมาใช้บนสภาพแบบไทยๆ  นี่หมายความว่าต้องมีนักคิดนักดัดแปลง นักทดลอง แบบเอาจริงๆ  ลงมือจริงๆ เหมือนพ่อแสนแห่งดงหลวง

 

แหมเอาซะยาวเลยครับ ท่านครูบาครับ

P

8. บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)
เมื่อ อ. 01 เม.ย. 2551 @ 22:10
ขอบคุณที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาก
โดยเฉพาะเรื่องวิ่งไปดูคนอื่น แต่ไม่ยอมดูตัวเอง

ไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น?

เขียนความคิดตอบกลับช่องความเห็น

ตัวไม่เด่นลดน้อยเหมือนหอยเหี่ยว

ด้านเทคนิคปรับแก้เสียทีเดียว

ให้ตัวเรียวล่ำบึกได้ไหมเอย

เห็นด้วยด้วยค่ะท่านพ่อครูบา ตอนนี้สภาพการพัฒนามันแย่เพราะคนของรัฐไม่จริงใจในการพัฒนา รายงานเฉพาะตัวเลข ที่น่าตกใจคือคุณพ่อได้พูดเรื่องข้อมูลชุมชนแต่การขับเคลื่อนหมู่บ้านอยู่ดีมีสุขและแผนชุมชนของ พช. ตัวชี้วัดแรกคือต้องใช้ข้อมูลจาก จปฐ.เป็นฐานในการพัฒนา ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดตั้งแต่แรกแล้วเพราะข้อมูล จปฐ.กับข้อมูลชาวบ้านอันไหนจะดีกว่ากัน หากเราช่วยให้ชาวบ้านเก็บข้อมูลบ้านตนเองไว้เป็นฐานคิดของการพัฒนาได้น่าจะเป็นตัวชีวัดแรกด้วยซ้ำที่หมู่บ้านนั้นต้องผ่านเกณฑ์....ไปประชุมมาแล้วเบื่อค่ะ....แผนชุมชนที่เน้นให้ชาวบ้านแสดงเป็นกระดาษที่ไร้ค่า...แต่นักพัฒนาได้หน้ากับเจ้านาย....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท