อบรมชาวบ้าน ใครว่าง่ายก็มาลองดู


ช่วงนี้มีการฝึกอบรมวุ่นวายหลายหลักสูตร ชาวบ้านเดินทางกันให้ควัก วิ่งไปรายการโน้นเข้ารายการนี้ อบรมจนหัวปั่นแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะหลักสูตรขอให้มาฟังแนวคิดเฉย จึงกลับไปเฉยๆ โจทย์มันออกมาอย่างนี้ ผลลัพธ์มันก็เฉยชาอย่างนี้แหละ ส่วนจะได้ผลแค่ไหนไม่เกี่ยว เพราะทำตามเงื่อนไขทุกอย่าง ได้ไม่ได้ก็ต้องโยนกลองไปให้นโยบาย เพราะเป็นผู้กำหนดว่าต้องทำยังงี้ๆ ส่งรายงานมาตามที่ตีกรอบไว้ ขอแค่นี้แหละจบ อย่าไปคิดมาก ทำง่ายๆตามที่บอกนี้ก็ดีแล้ว อิ อิ ..

จะมีสักกี่หน่วยงาน ที่จะคิดและทำการศึกษาวิจัยเรื่องกระบวนการฝึกอบรมในประเทศไทย โจทย์วิจัยข้อนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด นอกจากจะช่วยการใช้งบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพในวงเงินหลายหมื่นล้านบาทต่อปีแล้ว ยังเป็นการยกระดับระบบการถ่ายทอดความรู้ในทุกระดับชั้น ที่สำคัญมันเป็นการรองรับการสร้างเสริมนิสัยการเรียนรู้ในภาคประชาคม และภาคราชการให้มีคุณภาพแข่งขันกับประเทศอื่นเขาได้

มีกี่หลักสูตรครับ ที่อบรมชาวบ้านได้สำเร็จและเป็นผลดี ผมเองทำมาหลายปี ก็ยังงมโข่งอยู่นี่แหละ มันไม่ง่ายเลยจริงๆในการที่จะอบรมคนที่ไม่อยากเรียนรู้ แต่เมื่อโจทย์มาถึงมือเรา ว่าต้องให้ความรู้กับคนกลุ่มนี้ มีเงื่อนไขและการเรียนรู้มาอย่างนี้ เราจะทำอย่างไร?

คนรับผิดชอบการอบรมต้องคิดหนักครับ ถ้าจะตอบคำถามเหล่านี้

1 เรามีวิธีตรวจสอบศักยภาพชุมชนอย่างไร?

2 เรามีข้อมูลระบบสารสนเทศชุมชนอย่างไร?

3 เราเตรียมการบ้าน รับ-รุก กับชุมชนเป้าหมายอย่างไร?

4 เรามีตัวช่วย หมายถึงวิทยากรผู้สันทัดกรณีเฉพาะเรื่อง และจัดหาอย่างไร?

5 เรามีวิธีกุศโลบายร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมทุกข์สุขกับชุมชน อย่างไร?

6 เรามีวิธีรับข้อเสนอต่างๆจากชุมชนอย่างไร?

ทั้งหมดนี้เอาเป็นบรรทัดฐานอะไรไม่ได้นะครับ เพราะยังอยู่ในขั้นการเรียนรู้ ยกตัวอย่าง เช่น กลุ่มที่เรากำลังอบรมอยู่นี้ เป็นหมู่บ้านที่รวบรวมสมุนไพรไปจำหน่ายที่กรุงเทพฯ วันนี้นำตัวอย่างมาให้ชมด้วย จุดเริ่ม..เราต้องมาตีความคำว่าสมุนไพร ในความหมายและความเข้าใจของชุมชน วิธีคิด วิธีทำ วิธีจัดการของเขาเป็นอย่างไร? ที่สำคัญเราไม่อิสระคิดและทำเท่าที่ควร ต้องอบรมภายใต้ข้อจำกัดและความไม่พร้อม ดังนั้นการที่จะหาคำตอบจากชุมชนจึงไม่ง่าย ต้องเริ่มที่..

ช่วยบอกหน่อย

-      ท่านมีวิธีเจาะเข้าไปสู่เรื่องสมุนไพรอย่างๆไร?

-      ท่านมีวิธีรวบรวมสมุนไพรอย่างไร?

-      ท่านมีวิธีอธิบายขายสมุนไพรให้ลูกค้าอย่างไร?

-      ท่านมีวิธีพัฒนาการ การผลิต การจำหน่าย การพัฒนาสินค้าอะไร?

ผ่านไปยกที่1 วันนี้ได้รับข้อเสนอจากกลุ่มสมุนไพรชุมชน ดังนี้

1.   ต้องการได้รับความรู้เรื่องสมุนไพรจาก อาจารย์สมพิศ ไม้เรียง แห่งกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ

2.   ต้องได้ใบรับรองคุณภาพสินค้า

3.   ต้องการเรียนการนวดแผนไทย

4.   ต้องการเรียนวิธีทำขนม

5.   ต้องการเรียนรู้วิธีทำนาอินทรีย์ และเลี้ยงปลาพันธุ์หมอนทอง ของเล่าฮูแสวง รวยสูงเนิน แห่งคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

-------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ:

เอกสารประกอบการประชุมแผนฯระดับภูมิภาค สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

23-24 เมษายน 51 ที่จังหวัดอุดรธานี

เอกสารประกอบ

จากเล็กดีรสโต http://gotoknow.org/blog/kapoom/174580

จาก aonjung  http://gotoknow.org/blog/aonjung/174606

จากคนไม่มีราก http://gotoknow.org/blog/nourishingsoul/174169

หมายเลขบันทึก: 174601เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2008 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

เรียน พ่อครูบา ที่เคารพและนับถือ

  • คงจำกันได้นะคะ กัญญา ค่ะ
  • ดิฉันก็สนใจเกี่ยวกับแพทย์ทางเลือกอยู่บ้างค่ะ เพราะตัวเองมีปัญหาสุขภาพ กล่าวคือ โรคอ้วน ทำงานหนัก ไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย ปัญหาส่วนใหญ่มักปวดกล้ามเนื้อ บริเวณคอ ไหล่ หลัง และ ขา  ก็จะเลือกใช้วิธีการนวดแผนไทย  ออกกำลังกาย  และใช้สมุนไพร กับอาหารเสริมบางตัว  

เกี่ยวกับธุรกิจสมุนไพร และอาหารเสริม ก็เคยเป็นสมาชิกกับเขาในหลายบริษัทเหมือนกันค่ะ ฟังเขาพูดเชิญชวนสมาชิกมีหลากหลายสไตล์ค่ะ  ส่วนใหญ่พูดถึง "เป้าหมายชีวิตของคนเราก่อน ต้องการอะไร เช่น  "มหรรศจรรย์รายได้"

"สุขภาพดี ชีวีมีสุข"

"หุ่นสวย ผิวขาว หน้าใส"

อะไรประมาณนี้ค่ะ

จากนั้นจะมีวิทยากรหุ่นดี หน้าสวย เสียงดี พูดเก่ง น่าเชื่อถือ การันตีด้วยวุฒิปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปริญญาโทด้าน MBA ผลัดกันมาบรรยายเล่าเรื่อง  

  • ปัญหาสุขภาพ อัตราเกิดโรค อัตราการเสียชีวิต การป้องกัน
  • ผลิตภัณฑ์และสรรพคุณ
  • ตบท้ายด้วยการสร้างรายได้และแผนการตลาด

แง่คิดในการทำธุรกิจ

  • แผนการตลาดของบริษัทต้องเอื้อประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ/ลูกค้า   ทำเป็นธุรกิจเครือข่าย ก็เห็นเขาทำได้สำเร็จนะคะ มีผู้สนใจสมัครใช้ผลิตภัณฑ์มากมาย 
  • แต่ถ้าธุรกิจไม่เอื้อต่อลูกค้าผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ เน้นแต่กำไร ไม่จริงใจ ไม่ปรับปรุงพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ดีอยู่เสมอ เข้าข่ายหลอกลวงกัน ไปไม่รอดบริษัทนั้นก็จบได้เหมือนกันค่ะ  

ขอเล่าประสบการณ์ไว้เท่านี้ก่อนนะคะ

  • ก็อยากกระโดดไปช่วยพ่อครูบ้างจังเลยนะคะ แต่ขอช่วยสืบค้นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรให้กับ พ่อครูบาก็แล้วกันนะค่ะ
  • คิดว่าคงได้ประโยชน์  ช่วยเหลือชาวบ้านได้บ้างนะคะ    

http://www.samunpri.com/

http://www.gpo.or.th/herbal/herbal.htm

http://www.plantgenetic-rspg.org/herbs/index.html

http://www.plantgenetic-rspg.org/herbs/herbs_200.htm

http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/herbs01.htm

http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_herbal/

http://www.thaipun.com/

http://www.geocities.com/pusitta_samunpai/

โอกาสธุรกิจสมุนไพรไทย

http://www.tistr.or.th/spa/index2.html

http://www.yordkaew.com/aboutus.php

http://www.raidai.com/modules.php?name=News&file=article&sid=89

 

เป็นโจทย์ที่น่าคิดมากค่ะ

เรื่องของสุขภาพทางเลือกที่ต้องถามว่าคุณเลือกหรือใครเลือก และกำลังถูกผลักดัน แต่ขณะเดียวกันการใช้สุขภาพทางเลือกด้วยสมุนไพร ก็ถูกเบี่ยงประเด็นไปเป็นธุรกิจความงามมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่ถ้าใช้ในเชิงการบำบัดจะทำให้เป็นทางเลือกที่อาจจะพลิกฟื้นอารยธรรมตะวันออกได้อย่างหมดจด

แต่บางทีเรื่องง่ายๆ ก็บังตา เมื่อเราวิ่งตามแรงโฆษณาโน้มน้าวจนไม่ทันหยุดคิดว่า แล้วสมุนไพรไทยที่ควรมีคุณภาพจากแหล่งผลิต ควรเป็นอย่างไร ที่จะบอกได้ว่านี่แหล่ะคือสมุนไพรไทย ....อย่างเช่นใบสะระแหน่ที่บ้านครูบา(ตอนที่ไปคราวก่อน)สังเกตว่าทำไมถึงได้ใบใหญ่กว่าที่เชียงใหม่และรสก็ดีกว่า ..และก็ยังคิดสงสัยๆ ว่าค่าคุณสมบัติทางการขับลมจะเท่ากันไหม...ทำให้สลสัยต่อว่าเคยมีคนบันทึกสิ่งเหล่านี้ไหม

งานวิจัยพื้นฐานแบบนี้น่าจะทำให้เราจดลิขสิทธิ์ทางปัญญาได้อีกเยอะ เยอะกว่าการที่จะกระหน่ำปลูกกระหน่ำผลิตแล้วไปตกม้าตายที่ล้นตลาดหรือว่าขาดคุณภาพเทียบของฝรั่งไม่ได้

....ไม่เคยจัดประชุมให้ชาวบ้านค่ะท่านครูบา...เลยขอคิดไปเรื่อยแบบคนมองอยู่ก็แล้วกันค่ะ

สวัสดีค่ะ พ่อครูบา

ปุจฉา : จะมีสักกี่หน่วยงาน ที่จะคิดและทำการศึกษาวิจัยเรื่องกระบวนการฝึกอบรมในประเทศไทย

วิสัชนา(ก็ไม่เชิง) : การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการฝึกอบรม มีเยอะค่ะ แต่ที่ทำกับชาวบ้านจริง ๆ จะไม่ค่อยมีค่ะ  ไม่ค่อยเห็น ที่เห็นเยอะ ๆ จะเป็นการทำการศึกษา การอบรมขององค์กรใหญ่ ๆ มากกว่า  ... เป็นได้ว่าไม่ค่อยมีใครเห็นประโยชน์จาก ตรงนี้ ..

แต่ที่เห็นหลัก ๆ จะเป็นการรูปแบบของการใช้ประโยชน์จากการฝึกอบรมไปซะมากกว่า เอ๊ะ พูดอะไรออกไป

พ่อครูบาสบายดีนะคะ อากาศเพี้ยน ๆ รักษาสุขภาพด้วย

สวัสดีครับ พ่อครูบา

กระผมแวะมาดูการอบรมครับ กลุ่มนี้ก็น่าสนใจดีนะครับเรื่องสมุนไพร ในชีวิตประจำวันของคนอีสานต้องเจอกับสมุนไพรทุกวันเลยก็ว่าได้ และสมุนไพรนั้นก็มีประโยชน์ต่างๆมากมาย ผมอยากให้พ่อครูพักผ่อน และดูแลสุขภาพให้มากๆนะครับ เดี๋ยวถ้ามีโอกาสผมจะกลับไปที่สวนป่าอีกครั้งอย่างแน่นอน ขอบคุณครับ

อิอะ น้องเทพ สัญญาแล้วนะ นี่รุ่นนี้มีอะไรมันมันกว่ารุ่นที่ผ่านมาเยอะเลย ไงๆแวะมาช่วยกันหน่อยนะ พ่อไอมากถึงมากมากมากเหมือนเดิมจ้ะ ครูน้อย

P

1. กัญญา
เมื่อ อ. 01 เม.ย. 2551 @ 18:53
ขอบคุณครับ เป็นข้อมูลที่นำเข้าสู่การอบรมได้ดีมากๆ
ถ้ามีเวลาขออีกๆ

P

เรื่องสมุนไพร ระดับชุมชน พอคุยลึกๆแล้ว เขาถึงทางตัน
เพราะเกี่ยวข้องกับคุณภาพ และเทคนิคการจัดการที่สำคัญ
แต่เขาไม่ได้รับการฝึกอบรมเรื่องนี้ ทำกันไปตามมีตามเกิด
เมื่อไม่พัฒนางาน ก็อยู่ไม่ได้ จะปลูกเองขายเอง ก็ไปไม่ตลอด
2-3 วันนี้ จะลองแกะร่องรอยดู

P

3. coffee mania
เมื่อ อ. 01 เม.ย. 2551 @ 20:16
เห็นภาพเจ้าหอยโข่งแล้ว ดูมีความสุข แข็งแรงมาก

P

4. เทพ
เมื่อ อ. 01 เม.ย. 2551 @ 21:00
ขอให้เขียนบล็อกไปเรื่อยๆ

ไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น?

เขียนความคิดตอบกลับช่องความเห็น

ตัวไม่เด่นลดน้อยเหมือนหอยเหี่ยว

ด้านเทคนิคปรับแก้เสียทีเดียว

อักษรหายลีบเรียวได้ไหมเอย

  • สวัสดีครับพ่อครูบา
  • อิอิ...ผ่านไปยกที่ 1 เห็นข้อมูลจากยกที่ 1 ใช่เลยครับต้องออกมาจากข้างในอย่างนี้ก่อนพอมีหวังครับ 
  • ส่วนมากจะไม่ได้หาความจำเป็นเหมือนแบบที่พ่อครูบาทำนี้
  • กลับไปก็เลยเฉยๆ...อิอิ 

สวัสดีตอนสาย ๆ ค่ะครูบาที่เคารพ

  • เรื่องหน่วยงานที่จะตอบโจทย์ในเรื่องการฝึกอบรม โดยเฉพาะการฝึกอบรมคนที่เรียกว่า ชาวบ้าน นั้น ต้องขอเวลาค่ะ เท่าที่ทราบก็มีอยู่บ้าง แต่มักเน้นหนักไปในทางการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มผลผลิตประสิทธิภาพทางธุรกิจเสียมากกว่า จะลองสอบถามและตรวจสอบให้นะคะ

ประเด็นนี้ไม่แสดงความเห็นไม่ได้

แต่ขออนุญาตหน่อย ระบบยังไม่นิ่ง ยังวิ่งอาศัย internet cafe อยู่เลยครับ

สวัสดีครับ ครูบา ที่เคารพ

อย่างที่อาจารย์นะครับ อบรมมีมาก เหมือน ทีตานี แหละ มีมากมาย มาแก้ปัญหา ช่วยกันแก้ปัญหา แต่ปัญหาก็มีอยู่เหมือนเดิม

น่าเป็นห่วงทางนี้ จริง หวังว่าการอบรมจะช่วยให้ชาวบ้านไว้วางใจมากขึ้น โดยอาศัยกระบวนการบ้างอย่าง(อะไรก้ได้ที่จะช่วยให้ปัญหาเจอทางออก)

หวังว่าคงไม่ใกล้เกินเอือมมือ

ประเด็นที่ว่า เรามีวิธีการตรวจสอบศักยภาพชุมชนอย่างไร ?

 

อันนี้เข้าหลักวิชาการเรื่องงานพัฒนาชุมชนเพ๊ะเลยครับ ท่านคณาจารย์ที่มหาวิทยาลัย ขอนแก่นเป็นกลุ่มแรกๆของโลกที่เรียนรู้เรื่องหัวข้อนี้ครับ ที่ภาษาราชการเรียก PRA หรือ Participatory Rural Appraisal หรือ Participatory Rapid Appraisal หรือเรียกว่า การประเมินสภาวะชนบทแบบเร่งด่วน  คือ การเข้าไปศึกษาหมู่บ้านให้ทราบศักยภาพใน 4 ด้านโดยสรุปสั้นๆคือ

 

  • ศักยภาพด้านกายภาพ: เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของหมู่บ้านนั้นๆว่ามีศักยภาพแค่ไหนอย่างไร เช่น ภาพรวมทางลักษณะทางภูมิศาสตร์ เส้นทางคมนาคม แหล่งน้ำ ที่ราบลุ่ม ที่ดอน พื้นที่สาธารณะ พื้นที่ป่าเขา ระบบนิเวศเป็นแบบไหน ฯลฯ พัฒนาการของพื้นที่เหล่านี้จากอดีตสู่ปัจจุบันอย่างไร โดยชาวบ้านเป็นผู้ให้ข้อมูล และมีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษาวิเคราะห์นี้โดยตลอด ผลที่ได้คือเรารู้ว่าลักษณะทางภูมิศาสตร์กายภาพของชุมชนนี้มีข้อเด่น ข้อด้อยอย่างไรบ้าง มีศักยภาพด้านนี้อย่างไรบ้าง จะต่อยอดอะไรได้บ้าง จะต้องแก้ปัญหาอะไรบ้าง หน่วยงานไหนเกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้ ฯลฯ เราสามารถจัดทำเป็นแผนที่อธิบายศักยภาพเหล่านี้ได้ทั้งแบบลูกทุ่งที่ชาวบ้านทำเองได้ และหรือใช้เทคโนโลยี่ขั้นสูงคือระบบคอมพิวเตอร์ GIS เพราะมีข้อมูลอยู่ในหน่วยงานราชการต่างๆแล้ว

 

  • ศักยภาพด้านชีวภาพ:  เป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขต่างๆของหมู่บ้าน เช่นปัจจุบันมีจำนวนคนในหมู่บ้านเท่าไหร่ ชาย หญิง หากลงละเอียดไปถึงกลุ่มอายุต่างๆ เพื่อดูศักยภาพด้านคนทำงาน ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ฯ ข้อมูลจำนวนที่ดิน ขนาดการถือครองที่ดิน เอกสารสิทธิ์ที่ดิน จำนวนและขนาดของสาธรณูปโภคต่างๆ โรงเรียน วัด สถานที่ราชการ ฯลฯ จำนวนคนที่อพยพไปขายแรงงาน จำนวนคนที่ไปเรียนหนังสือนอกหมู่บ้าน ฯลฯ

 

  • ศักยภาพด้านเศรษฐกิจ: เป็นการศึกษาเรื่องรายรับรายจ่ายของครัวเรือน ของตัวแทนหมู่บ้าน เรื่องสภาวะหนี้สิน ที่มาของหนี้สิน การลงทุนทางการเกษตร การลงทุนทางการศึกษา และอื่นๆ ระบบการปลูกพืช ฯลฯ ภาพรวมนี้ทำให้เราสภาะทางเศรษฐกิจของครอบครัวและหมู่บ้าน ศักยภาพในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ สภาพปัญหาและอุปสรรคของเศรษฐกิจ จุดเด่นจุดด้อย ฯลฯ

 

  • ศักยภาพด้านสังคม: ซึ่งหมายรวมถึงเรื่องการศึกษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย เป็นการศึกษาพัฒนาการทางสังคมของหมู่บ้านในเรื่องของ การตั้งหมู่บ้าน จำนวนคน มาจากไหน ทำไม เผ่าพันธุ์ใด มีอะไรติดตัวมา การทำมาหากิน สภาพแวดล้อม การติดต่อกับสังคมอื่น การเข้ามาของระบบทุน การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญๆของหมู่บ้าน ระบบความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณี บุคลากรที่สำคัญตามโครงสร้างเดิมของชุมชน ฯลฯ สถานภาพปัจจุบันของ ความสัมพันธ์ภายในชุมชน และระหว่างชุมชน ทั้งหมดนี้จะทราบลักษณะทุนทางสังคมอยู่ในสภาพเช่นใด ฯลฯ

 

ข้อมูลทั้งหมดนี้เราสามารถจะหาได้โดยใช้ข้อมูลที่ทางราชการหรือหน่วยงานอื่นๆมีอยู่แล้ว และทำการเก็บข้อมูลสนาม ทำการสัมภาษณ์บุคคลผู้รู้กลุ่มต่างๆในหมู่บ้านโดยการกระจายทั้งผู้ชายผู้หญิง กลุ่มอายุต่างๆ ผู้แทนกลุ่มกิจกรรมต่างๆ  การเก็บข้อมูลสนามนั้นเราจะต้องใช้ทีมงานที่มีความรู้ต่างสาขากัน และมีประสบการณ์ด้านการเก็บข้อมูลมาแล้ว ซึ่งจะต้องผ่านการฝึกอบรมก่อน ประชุมปรึกษาหารือ ทำความเข้าใจกันก่อน

 

ข้อมูลที่ได้มาจัดทำหมวดหมู่ ดัดแปลงให้อยู่ในรูปที่จะนำมาวิเคราะห์ได้ที่เรียกเครื่องมือต่างๆและทีมงานมาประชุมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยกัน แล้วจัดทำรายงาน  เราก็จะได้รายงานศักยภาพชุมชนนั้นๆในด้านต่างๆที่เราต้องการ  ทั้งหมดนี้ใช้กระบวนวิธีการวิจัยสังคม

วิธีการนี้เป็นที่นิยมกันทั่วโลกว่าเป็นวิธีที่ใช้เวลาสั้นที่สุด เชื่อถือได้มากที่สุดและสามารถนำไปใช้วางแผนต่างๆได้

 

อย่างไรก็ตามเราก็สามารถย่อรูปแบบกระบวนวิธีนี้ให้เล็กลงมาได้ตามสภาพของวัตถุประสงค์และทรัพยากรที่เรามีอยู่

 

ผมมีเอกสารพอสมควร  ปัจจุบันเวลาจะมีโครงการพัฒนาชุมชนที่ใดๆก็จะต้องใช้กระบวนวิธีนี้จัดการวิเคราะห์ก่อนครับ

 

เพื่อนๆ g2k ก็ผ่านการฝึกอบรมและทำเรื่องนี้มากันหลายท่าน โดยเฉพาะนักวิชาการทั้งหลาย

ผมขอสรุปเอาแบบคร่าวๆ สั้นๆเพียงเท่านี้ครับ

ส่วนประเด็นที่ว่านี้     เรามีวิธีตรวจสอบศักยภาพชุมชนอย่างไร?  ผมคิดว่าคนที่มีพื้นฐานการทำกระบวน "การประเมินสภาวะชุมชนแบบเร่งด่วน" สามารถใช้ประสพการณ์มาทำการแบบย่อๆได้ภายในระยะเวลาที่สั้นๆครับ

ต้องให้วิทยายุทธและชั่วโมงบินพอสมควร

1 เรามีวิธีตรวจสอบศักยภาพชุมชนอย่างไร?

ตอบแล้ว

2 เรามีข้อมูลระบบสารสนเทศชุมชนอย่างไร?

ระบบราชการเราทำ ธนาคารข้อมูลชุมชนไว้แล้ว เช่น

   - กชช 2 ค. อยู่ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ

   - จปฐ และ ฯลฯ อยู่ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ

   - แปลงที่ดิน คุณภาพดิน ฯลฯ สำนักงานพัฒนาที่ดิน สปก..จังหวัดมีแผนที่ระดับแปลงนาเลยทีเดียว

   - สถิติข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ด้านการอาชีพ การทำมาหากินหลักๆ สำนักงานสถิติจังหวัด

    - การวิเคราะห์พื้นที่ สำนักงานเกษตรอำเภอ

    - แผนที่หมู่บ้านเป็นหลังคาเรือน บ้านเลขที่ มีที่สำนักงานไปรษณีย์อำเภอ

    - ข้อมูลต่างๆเหล่านี้ ที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านก็มีเหน็บข้างฝา หรือซุกไว้ใต้กองหนังสือบ้าง

    - ฯลฯ

ข้อมูลเหล่านี้เรียกข้อมูลมือสองที่ทำการเก็บมาแล้วตามกำนดที่ทางราชการและหน่วยงานนั้นๆกำหนด ทั้งเป็นปัจจุบันและล้าหลังแล้ว  เรามีแต่ไม่ได้เอามาใช้ประโยชน์ครับ

3 เราเตรียมการบ้าน รับ-รุก กับชุมชนเป้าหมายอย่างไร?

  ปัจจุบันในวงการก็จะมีเครื่องมือแตกต่างกันตามแต่หน่วยงาน เช่นกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนก็จะใช้กลุ่มองค์กร เครือข่ายที่เขาสนับสนุนจัดตั้งขึ้นเป็นตัว รับ รุก  ราชการก็ใช้ ประชาคม ครับ

        โดยหลักการผมสนับสนุนประชาคม แต่ต้องเข้าไปพัฒนาประชาคมให้เป็นแบบของชาวบ้านอย่างแท้จริง และให้เป็นตัวแทนชุมชนแม้จริงมากขึ้น มิใช่เป็นเครื่องมืออีกตัวหนึ่งของราชการ  ทำได้ครับ

4 เรามีตัวช่วย หมายถึงวิทยากรผู้สันทัดกรณีเฉพาะเรื่อง และจัดหาอย่างไร?

         คนทำงานต้องมีรายชื่อวิทยากร ผู้สันทัดกรณีในด้านต่างๆในมือให้มากที่สุด  แค่อย่างไรก็ตามไม่มีทางที่จะครอบคลุมความต้องการได้ ก็ต้องอิงอาศัยองค์กร ต่างๆ เครือข่าย วงการ ใครกว้างขวางกว่าก็มีโอกาสมากกว่า  บ้านเราไม่มีศูนย์ข้อมูลกลางในเรื่องนี้ ที่พัฒนาชุมชนอาจจะมีรายชื่อผู้รู้ในชุมชนต่างๆ  แต่มีเพียงรายชื่อ แต่การจะไม่ได้ทำงานต่อว่า มีแล้วจะเตรียมท่านเหล่านั้นมาทำงานได้อย่างไรครับ

5 เรามีวิธีกุศโลบายร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมทุกข์สุขกับชุมชน อย่างไร?

     คนเราจะเปิดใจกันได้ก็ต้องสนิทสนมกัน เข้าใจกัน  จะเป็นดังกล่าวได้ก็ต้องไปมาหาสู่กันเป็นปกติ นานเข้าก็รู้จักกัน เชื่อใจกัน แสดงความจริงใจต่อกัน แสดงความสามารถในการสนับสนุนช่วยเหลือแก่กันตามศักยภาพ ร่วมกิจกรรมต่างๆกัน กลมกลืนกับวิถีของเขา แค่นี้ก็หมดแล้วจะเอ่ยปากอะไรล่ะ

    ทางราชการก็เอามาใช้ แต่เป็นแบบระบบมากไปคือ ผู้ว่าราชการมักจะนัดหัวหน้าส่วนราชการทุกคนมากินกาแฟทุกเช้าวันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ นัยว่าเป็นกันเอง ง่ายๆไร้รูปแบบ จะได้มีอะไรก็คุยกัน  ผมว่าได้ผลบ้างนะครับ

    แต่ชนบทนั้นต้องต้องไปหากันเลยถึงบ้าน ถึงที่นา ถึงเถียงนา ขึ้นบ้าน กินน้ำกินท่า จับเข่าจับแขนกัน คุยกันท่ามกลางของจริงนั่นแหละ คั๊ก อีหลี

    ผมเคยใช้การประชุมสภากาแฟของกลุ่มผู้เฒ่าในชุมชน  นัดเดือนละครั้ง เชิญผู้เฒ่ามาคุยกันที่บ้านใครบ้านหนึ่ง หรือสถานที่เหมาะสม ให้เกียรติท่านผู้เฒ่าในชุมชน เช่น เฒ่าจ้ำ หมอธรรม จารย์ หมอต่างๆ เจ้าโคตรตระกูลต่างๆ  หรือบุคลากรต่างๆในชุมชนที่ชาวบ้านเคารพรัก กราบไหว้  ฯลฯ คุยกับท่าน ให้ท่านเล่าเรื่องราวในอดีต ให้ท่านแสดงทัศนคติต่างๆต่อปรากฏการณ์ปัจจุบันในมุมมองของท่าน วิจารณญาณของท่าน แล้วก็กินน้ำกินท่ากันไปตามประเพณีพื้นบ้าน  โอยได้อะไรมากมายอย่างที่เราไม่เคยคิดมาก่อน  ท่านผ่านชีวิตมามาก มีประสบการณ์ชีวิตมามาก และท่านเป็นต้นทุนของหมู่บ้าน มีบทบาทเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของหมู่บ้านมามาก เมื่อนามแก่เฒ่าก็นั่งดูลูกหลานขับเคลื่อนหมู่บ้านไป แต่ท่านเหล่านี้ยังมีอืทธิพลทางความคิดมากมาย  ปรึกษาท่านซิครับ  ตั้งประเด็นปัญหาที่เรามี ให้ท้านแสดงความเห็นของท่าน มุมมองของท่าน จากสำนึกของท่าน

    คิดดูว่าหากเราเอาคนอย่างพ่อแสนมานั่งแล้วคุยกันแบบธรรมชาติถึงเรื่องราวต่างๆในการพัฒนาหมู่บ้าน แสดงทัศนคติของท่านต่อเรื่องราวต่างๆ  มันจะได้เหตุผลที่พิศดาร ต่างไปจากเราที่เป็น "คนนอก" เพราะท่านเป็น "คนใน" ผมชอบมากครับ 

6 เรามีวิธีรับข้อเสนอต่างๆจากชุมชนอย่างไร?

       เป็นเรื่องใหญ่ที่คนทำงานจะพบตลอด  เราเองมีบทบาทหน้า ความรับผิดชอบเพียง 1 ถึง 5 แต่ ชาวบ้านจะเอาสิ่งที่เป็นปัญหาของเขาทั้งหมดมาถามเรา มาเสนอเรา ซึ่งจำนวนมากๆมันเป็น 6 ถึง 10 ไม่ใช่ 1 ถึง 5 เราตอบไม่ได้  ต้องแนะนำทางออกครับ เช่นไปติดต่อที่นั่นที่นี่ อย่างนั้นอย่างนี้

       แต่เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเรานั้น ก็แล้วแต่สภาวะหากเป็นแบบปัจจุบันทันด่วนก็ตอบไปตามความรู้ความสามารถ แต่หากเรามีระบบ  ที่ผมใช้คือ นำประเด็นปัญหา ข้อเสนอนั้นๆเข้าที่ประชุมเครือข่ายองคืกรที่เราจัดตั้งไว้แล้ว ให้ถกกันให้ถึงที่สุด แล้วเราเข้าไปร่วมเสนอแนะ ให้ข้อมูล  ก็จะเป็นแบบมีสว่นร่วมและให้เขาเองช่วยกันระดมความคิดถึงที่สุดก่อน

         หากมีประชาคมที่มีคุณภาพแบบชาวบ้านจริงๆ เราก็ใช้เวทีประชาคมเป็นเวทีรับข้อเสนอต่างๆแล้วเอามาถกกันให้ตก ติดตรงไหน เราเข้าไปให้ข้อมูล แนะนำ ครับ

ข้อคิดของผมเป็นเพียงเสี้ยวสว่นของความเห็นเท่านั้นนะครับที่สามารถแสดงได้ในหน้าจอนี้ครับ

ครับท่านครูบาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท