สำโรง พืชพลังงานอีสานที่น่าสนใจ


 

สำโรงอายุ7ปี ปลูกเล่นๆ โตจริงๆ

ช่วงที่ผ่านมาน้ำมันมีราคาแพงขึ้น พวกนักวิจัยส่องสอดมองหาพืชพลังงานใหม่ๆ ปาล์มน้ำมัน สบู่ดำ มันสำปะหลัง อ้อย เป็นโจทย์เก่าที่เอามาปัดฝุ่นใหม่ ตั้งต้นตีปี๊บการปลูก ราคา อนาคต มาคุยฟุ้งด้านเศรษฐกิจว่าดีครอบจักรวาล แค่ชิมลางราคาน้ำมันพืชในตลาดก็พุ่งพรวด ป่าไม้ธรรมชาติจะย่อยยับไปเท่าไหร่?

ป้าจุ๋มเป็นนักวิชาการที่สนใจงานชาวบ้าน ลงพื้นที่ชนบททุกเดือน เอาโจทย์จากชาวบ้านไปประสานต่อกับนักวิจัยในส่วนกลาง ค้นพบเรื่องดีๆด้านสมุนไพรหลายตัว บังเอิญสังขารผมเหมาะสมที่จะทดลองยาสมุนไพรตัวใหม่ๆ ที่ผลิตจากสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และนักวิจัยมืออาชีพ ตอนนี้เจี๊ยะ บอระเพ็ดพุงช้าง ฟ้าทลายโจร ขมิ้นชัน น้ำมะพร้าว น้ำทับทิม ใบกระวานฮ๊อก ใบย่านาง เป็นว่าเล่น เมื่อวานนี้สรุปเรื่องสมุนไพรชุมชน ชาวบ้านที่ขายสมุนไพรเล่าว่า ถ้าลองกินกระชายดำจะดีอย่างนั้นอย่างนี้ โฆษณาเกินความจริง ข้อเท็จจริงคือ..

โด่รู้ล้ม นะขอรับ

ไม่ใช่หมดลมหายไปใจแล้วยังตั้งเด่ อันนั้นก็เกินไป

เท็จจริงประการใด ต้องแอบถามคนชอบวิ่ง

เห็นออกกำลังดี แข็งแรงดีโดยธรรมชาติ

จำเป็นต้องหาสมุนไพรมาค้ำให้โด่รึเปล่า

  

สำโรงเป็นไม้พื้นถิ่นอีสาน เป็นไม้เนื้ออ่อนโตเร็วขนาดใหญ่ระดับไม้ยางนา หรือนางดำ ถือเป็นไม้เรือนยอดระดับสูง คำว่าสำโรง ไปพ้องเสียงคำว่า”โลง” คนสมัยก่อนจะคะลำ คือมีข้อยกเว้น จะไม่ตัดเอาไม้ชนิดนี้มาใช้สอย ประกอบกับเป็นไม้เนื้ออ่อน จึงเป็นตัวเลือกรั้งท้ายที่ชาวบ้านจะตัด แต่สมัยนี้อะไรก็ไม่เหลือ สำโรงก็พลอยล้มหายตายตามไม้ชนิดอื่นๆไปด้วย

  

ในเม็ดสำโรงมีน้ำมันจำนวนมาก สมัยก่อนหนุ่มๆเอาไม้ไผ่เสียบเมล็ดเรียงกัน แล้วจุดไฟให้แสงสว่างพอได้อาศัยไปจีบสาวยามค่ำคืน ไม่เดินไปสะดุดพะพดว่าที่พ่อตาเสียก่อน

ป้าจุ๋มเล่าว่า บีบน้ำมันออกมาได้ถึง25% เปลือกเม็ด ฝักแห้ง เอาไปทำเชื้อเพลิงอบไก่ย่างปลาจะมีรสชาติกลิ่นหอมดี มะโรงช่วงออกฝักจวนแก่จะมีสีชมพูแดงเรื่อๆสวยมาก ฝักก็แปลกกว่าไม้ชนิดอื่น กลมๆเท่ากำปั้น เกาะกลุ่มกันเป็นแฉกๆ เพาะเมล็ดง่ายเกิดง่าย หว่านไว้ผิวดินยังงอก เราจะเห็นต้นอ่อนขึ้นรอบๆต้นแม่ในป่าธรรมชาติ

แนวคิดเรื่องสำโรงพืชพลังงานทดแทน  ผมคิดว่าถ้าเป็นไม้ยืนต้นลักษณะนี้ ชาวบ้านสามารถปลูกแทรกลงไปในพื้นที่เรือกสวนไร่นาได้ จึงวางแผนที่จะทำการวิจัยแบบไทบ้าน นั่นคือปลูกต้นสำโรงแทรกไม้อื่นทั่วไป และจับต้นไม้มาเข้าแถวอย่างที่เขาปลูกพืชเชิงเดี่ยว เมื่อต้นเอายุ2ปี เราก็ไปเอายอดต้นแก่มาเสียบ จะช่วยร่นระยะการให้ผลผลิตจาก 10 ปี ลงมาเหลือ3ปี จะมีผลผลิตให้ทยอยเก็บมากขึ้นๆ ส่วนตัวเลขข้อมูลชัดๆ คงต้องรออีก2ปีข้างหน้า ให้เราทดลองด้วยตนเองแล้วจึงจะนำมาบอกเล่าอีกทีดีไหมครับ

จุดที่น่าพิจารณาพืชพลังงานที่ชื่อว่าสำโรง

1.   ปลูกง่าย ไม่ต้องไปเสียงบประมาณแผ่นดินเป็นพันเป็นหมื่นล้าน

2.   พื้นที่ปลูก ไม่ต้องบุกรุกทำลายป่าธรรมชาติ แบบได้ไม่คุ้มเสีย

3.   ความเหมาะสม ชาวบ้านมีประสบการณ์ในระดับที่จะดำเนินการเบื้องต้นได้

4.   เมล็ดพันธุ์ หาง่ายไม่ต้องซื้อ สวนใครมีก็ไปขอมาปลูก

5.   ใช้เทคโนโลยีบีบอัดน้ำมันแบบง่ายๆที่ชาวบ้านทำเอง ไม่ต้องพึ่งพาโรงงาน

6.   ต้นสำโรงที่ปลูก ไปช่วยเสริมปริมาณต้นไม้ ที่ชาวบ้านมีส่วนร่วมด้วยช่วยกัน

7.  มีหน่วยงานไหน สนใจที่จะให้ทุนผู้น้อย ทำวิจัยเรื่องนี้ไหมครับ?

ข้อมูลเพิ่มเติม:

http://www.suanlukchan.com/discussion.php?suan_chanruean_id=35

หมายเลขบันทึก: 175525เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2008 08:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ต้นสำโรงนี่แถวทางใต้เรียกว่าอะไรสักอย่างแล้วนะครับ.... นึกไม่ออกครับ

P

ถ้าให้ชาวบ้านคิดโจทย์ และทำวิจัยในสไตล์ชาวบ้าน เราจะเห็นแง่มุม ที่ผุดพรายความคิดจากข้างล่าง
เรื่อง สำโรง แสดงว่าเป็นไม้พื้นถิ่นทั่วไป  มีอยู่ทั่วทุกภาค ถ้าปลูกกันมากๆ เราจะได้ป่า ความชุ่มชื้น และพลังงาน ทุกรูปแบบ เช่น ฟืน ถ่าน ไม้กระดาน และนำมัน ครับ

สมัยเด็กๆไปเล่นแถวต้นสำโรงยักษ์กลางนาเก็บเอาฝักและเมล็ดมาเล่น  ผู้ใหญ่ห้ามไม่ให้แคะเนื้อในมากินมันจะเมา เนื่องจากเปลือกเมล็ดจะแข็ง ก็แคะเอาเนื้อทิ้งไป เอามาเป่าให้มีเสียงดังแข่งกัน และที่เล่นพิเรนไปอีกคือ รุ่นพี่ๆ จะเอาหัวไม้ขีด หรือแก็ป อัดเข้าไปแล้วจุดให้มีเสียงดัง หรือหากอัดไม่แน่นมันวิ่งไม่มีทิศทาง เราก็วิ่งหนีกัน เป็นที่สนุกสนานของเด็กสมัยนั้น..อิอิ

เนื้อมันมีน้ำมันจริงๆ น่าสนใจ...ที่ดงหลวงไม่เคยเห็น และไม่เคยได้ยินชาวบ้านเล่าให้ฟัง

P

  • แบบนี้ต้องลองปลูก
  • จะได้เอาหัวไม้ขีดอัดในเมล็ดจุดไล่
  • วิ่งหนีตอนแก่อีกรอบ

โด่รู้ล้ม นะขอรับ

ไม่ใช่หมดลมหายไปใจแล้วยังตั้งเด่ อันนั้นก็เกินไป

เท็จจริงประการใด ต้องแอบถามคนชอบวิ่ง

เห็นออกกำลังดี แข็งแรงดีโดยธรรมชาติ

จำเป็นต้องหาสมุนไพรมาค้ำให้โด่รึเปล่า

 

 

  • เหมือนหมาก ส้มโมง บ้านเราเลยครับพ่อครูฯ
  • เคยเอาหมากมาประดิษฐ์ข้าวของขาย รูปทรงน่าสนใจดี
  • ที่สวนจัตุจักร เอาขายแบบดิบ ๆ ได้ราคาดีครับ
  • ที่กาญจนบุรี มีอยู่ที่วัดไชยชุมพลชนะสงคราม
  • เข้าใจว่าอายุหลายร้อยปี
  • เพราะต้นใหญ่มากๆๆ ข้อเสียมันคือ
  • ดอกมันเหม็นมากๆๆ
  • ถ้าปลูกในพื้นที่ไม่ได้ใช้ เพื่อมาทำเป็นน้ำมันก็น่าสนใจ
  • ปัจจุบันที่กาญจนบุรี ก็ค่อนข้างหายากแล้วครับ
  • เล่นตัดกันเสียหมดป่า
  • แต่ชอบใจที่จุ๋มเรียกฝักมันว่า   โยนีปีศาจ  อิอิๆๆ
  • ใครอยากทราบคำแปล
  • ไปถามพี่จุ๋มก็แล้วกัน
  • อิอิๆๆ
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Sterculia Foetida L.
    ชื่อวงค์ Sterculiaceae
    ชื่อสามัญ Bastard poom , Pinari
    ชื่อพื้นเมือง จำมะโฮง , มะโรง , มะโหรง , โหมรง ,โหมโลง
    ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30เมตร ผลัดใบ
          เรือนยอดรูปไข่ ถึงทรงกระบอก ลำต้นเปลาตรง โคนมีพูพอนต่ำๆ
          เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา
    ใบ ใบประกอบรูปนิ้วมือ กางแผ่ออกจากจุดเดียวกัน
          เรียงเวียนจากจุดเดียวกัน เรียงเวียนตอนปลายกิ่ง ใบย่อย5-7 ใบ รูปรี
          หรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3.5 – 6 ซม.ยาว 10 ซม.- 30ซม.
          ปลายใบแหลมหรือมีติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบหนา ใบเกลี้ยง
          เส้นแขนงใบข้างละ 17-21 เส้น ก้านใบประกอบยาว 13-20 ซม.
          ก้านใบย่อยยาว3-5 ซม.

สวัสดีครับพ่อครูบา

สำโรง หรอครับ ผมก็ไม่เคยเห็นมาก่อนเลยครับ

แต่ถ้ารู้อย่างนี้ก็น่าสนใจมากเลยครับ

เพราะอีกไม่นานน้ำมันก็คงจะไม่มีใช้

พลังงานทางเลือกก็ถูกนำมาใช้

สำโรงก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีมากครับ

พ่อครูบาดูแลสุขด้วยนะครับ ผมเป็นกำลังใจให้ครับ

ต้นสำโรง ผมไม่เคยคุ้นตามาก่อน เป็นเรื่องที่ดีมากนะครับหากเราจะมีพืชที่เป็นพลังงานทดแทนที่หลากหลาย มากขึ้น เพราช่วงนี้ถือได้ว่าวิกฤติพลังงาน

อภิสิทธิ์ เจริญกูล

ผมมาถึงที่นี่ด้วยการค้นหา ต้นสำโรง เพราะอยากจะทราบว่าเค้าเอาไปทำอะไรกันบ้าง

ขอฝากเนื้อฝากตัวเป็นศิษย์ท่านครูบาสุทธินันท์ ด้วยครับ

ผมอยู่ที่อำเภอศรีราชา ชลบุรี ครับ

ที่โรงงานของผมมีปลูกอยู่ 4 ต้น ต้นใหญ่มากแล้วเพียงแค่ปลูกมา 4 ปี โอบไม่มิดแล้วล่ะครับ ที่สำคัญลูกมันจุดติดไฟได้จริง ๆ ติดทนดีด้วย ผมปลูกเอาไว้สำหรับเอาร่มเงาครับมันดีกว่าหูกวางเพราะเวลาลูกหูกวางตกจะตกมาก ตกใส่รถเสียหายครับ ลูกหูกวางก็จุดติดไฟดีมากครับ

ผมชอบแนวทางชีวภาพ เกษตรอินทรีย์(ที่ไม่เรื่องเยอะ)มาก ผมหันหลังให้กับอุตสาหกรรมหนักที่เคยทุ่มทั้งชีวิตเป็นทาสรับใช้ฝรั่งในโรงกลั่นโรงปิโตรเคมีที่ระยองมานับสิบปี มุ่งมาเกษตรได้ก็จะสิบปีเช่นกัน ค้นพบตัวเองว่าชอบแนวนี้จริง ๆ ครับ ผมเลี้ยงตัวเองด้วยการทำสารต้านเชื้อราชีวภาพ ฯลฯ ตามแนวนักอุตสาหกรรมแต่หันมาทางเกษตรครับ

ความสุขที่สุดของผมคือเข้าป่าสำรวจพันธุ์ไม้ เก็บเมล็ดพันธุ์ ถ่ายรูป เอามาตรวจสอบกับตำราว่ามันต้นอะไรทำประโยชน์อะไรได้บ้าง ตอนนี้พื้นที่ของผมที่มี(แค่ 2 ไร่) ก็รกเต็มไปด้วยต้นไม้ที่ผมรู้จักอยู่คนเดียวเสียส่วนมาก

ท่านใดผ่านมาทางนี้ แวะพบหากันได้ครับ

พอดีปลูกไว้ที่บ้านโดยไม่รู้ ไม่ทราบว่าจะต้องทำลายอย่างไรคะ หากตัดต่อแล้วมันจะยังโตขึ้นมาอีกไหม หรื่อว่าจะมีใครอยากได้ อยู่กรุงเทพนะคะ

อ้อ หากสนใจหรือมีข้อมูลสามารถติดต่อมาที่ [email protected]

ที่บ้านปลูกต้นสำโรงไว้ต้นหนึ่ง แต่ไม่ได้กลิ่นนะครับ ตอนนี้ที่ออสเตรเลีย และอินเดีย กำลัง ฮิต ปลูกต้นหยีน้ำ ไม่ทราบว่าดีกว่ามั๊ย

ผมทำงานวิจัยเรื่องเมล็ดสำโรงปั้นดินได้ทดลองสกัดน้ำมันจากเม็ดสำโรง 1 กิโลกรัมได้น้ำมันถึง 350 กรัมโดยใช้เครื่องคั้นน้ำกะทิไปแข่งที่การประชุมวิชาการระดับชาติที่จังหวัดแพร่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้ที่ 1

วิศวะ เครื่องจักรกลเกษตร มข

ผมสนใจเรื่องนี้ครับ เพราะกำลังทำพรีโปรเจคพอดี ได้ข่าวเรื่องนี้มาเลยสนใจครับ 

 

ชัยนิยม สินทร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เป็นนำ้มันสำหรับอนาคตจริงครับ ผมได้ทำวิจัยแล้วครับเมื่อปี 2551 และทำหารวิจัยอีกหลายอย่างทั้งคุณสมบัติน้ำมันและโครงสร้างทางเคมี และได้ทำการทดสอบกับเครื่องยนต์แล้วและการรีดน้ำมันได้ผลิตเครื่อง Screw press ในการรีด ผมเก็บเมล็ดในพื้นที่ขอนแก่น เมล็ด 4.31 กิโลกรัม ได้น้ำมัน 1 ลิตร  

ภาณุพงศ์ ประทับกอง

กระผมมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่องนี้อยู่ครับ รบกวนคุณชัยนิยม สินทร ด้วยนะครับ 
ผมจะสอบถามข้อมูลเกีย่ยวกับน้ำมันเมล็ดสำโรง 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท