มุมที่ชาวบ้านมอง งานวิจัยในประเทศไทย (12)


มนุษย์อยู่ที่ใด ก็ควรจะทำให้ตรงนั้นอุดมสมบูรณ์ร่มรื่น น่าอยู่น่าอาศัย ทำให้ทุกอย่างสอดคล้องสอดประสานกัน พึ่งพากันได้ตามปกติของสังคมแห่งมวลชีวิตทุกหมู่เหล่า

 

ชาวบ้านที่ว่าไม่ใช่ใครที่ไหนหรอก เว้ากับซื่อๆก็คือผมนี่แหละ หวังว่าท่านคงจะรู้จักหมอนี่บ้างนะครับ สำหรับคนที่เคยแวะมาดื่มน้ำเย็นนั่งพักใจในป่าแห่งนี้ คงไม่ต้องอธิบายอะไรกันมาก ส่วนท่านที่หลงทางมา ถ้ามีเวลาก็ค่อยติดตามทำความรู้จักเดี๋ยวก็ยิ้มออกสำหรับท่านที่ไม่ชอบสไตส์นี้ก็ผ่านเลยไปไม่ว่ากัน.

ก่อนจะไปเมืองนอกเมืองนา เรามาสังคายนาแนวคิดเรื่องการวิจัยกันก่อน ผมมองว่างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสังคม นักวิจัยบ้านเรายังทำไม่เต็มลูกสูบ อาจจะเป็นเพราะเงื่อนไขต่างๆ เช่น แหล่งทุนไม่สนับสนุนเท่าที่ควร ระยะเวลานักวิจัยไม่เพียงพอ ทีมงานและประสบการณ์ยังไม่สันทัดจัดเจน ฐานคิดงานวิจัยยังไม่ลุ่มลึก ที่สำคัญนักวิจัยระดับอาวุโสฝีมือเชื่อถือได้แต่ละท่านแบกงานไว้เต็มบ่า ระดับวิชาการและสมัครเล่น ก็วิจัยเล่นๆเสียเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่มีแผนงานสร้างนักวิจัยมืออาชีพในประเทศนี้

ด้วยเหตุนี้เองเมื่อมีกรณีสำคัญๆ ที่ต้องใช้ผลของการวิจัยมาประกอบการพิจารณา เรามักจะหาข้อเท็จจริงมาอ้างอิงได้ยาก ยกตัวอย่าง เช่น เรื่องไข้หวัดนก เรื่องGMO. หรือแม้แต่เรื่องยูคาฯนี่ก็เถอะ ยังอธิบายกันแบบตาบอดคลำช้าง ยกตัวอย่างที่เจ้าเม้งสมาชิกก๊วนผมที่อยู่เยอรมัน ส่งข้อมูลยูคาฯทั่วโลกมาให้  ผมถือว่านี่เป็นวันประวัติศาสตร์ของชาวบล็อกไทยเลยนะครับ ที่มีการรับส่งข้อมูลมานั่งวิเคราะห์กันอย่างเป็นหลักเป็นฐานในระดับชุมชน เป็นการร่วมมือกันค้นหาความรู้มาเสริมการพิจารณาประเด็นสำคัญๆร่วมกัน ที่ถือว่าเป็นจุดพิเศษก็คือ กระบวนการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพื่อสนองการศึกษาและวิจัยอิงระบบ  ภายใต้วิธีการของKM.ธรรมชาติ ใครรู้เรื่องอะไรก็เอามาลงขันกัน ในตอนท้ายจึงจะสังเคราะห์ดูว่า บริบทของยูคาลิปตัสในประเทศไทยยืนอยู่ตรงจุดไหนของยูคาลิปตัสโลก

ในระดับชาวบ้าน ผมถือว่าคนไทยได้เรียนรู้เรื่องยูคาฯตามสไตส์พี่ไทยมาประมาณ30ปี ดังนั้นสิ่งที่ชาวบ้านคิดและกระทำต่อไม้พันธุ์นี้คงได้บทสรุปพอควร ขึ้นอยู่กับผู้รู้จะไปรวมรวมมาวิเคราะห์และสงเคราะห์ข้อมูลระดับไหนอย่างไร? ข้อมูลที่ว่านี้มาจากไหน

1.     จากการเรียนรู้แบบสะเปะสะปะของชาวบ้าน

2.     จาการเรียนรู้แบบศึกษาทดลองของชาวบ้าน

3.     จากเรียนศึกษาทดลองภายในศูนย์เพาะชำกล้าไม้ กรมป่าไม้

4.     จากการศึกษาวิจัยเฉพาะทาง เช่น งานวิจัยของจุฬาลงกรณ์ โดย(สกว.)

5.     จากงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา คณะวนศาสตร์

     มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

6.     จากงานศึกษาขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.)

7.     จากงานวิจัยของนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้

8.     จากงานวิจัยของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมป่าไม้

9.     จากกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมเฉพาะทางที่ใช้ไม้เป็นวัตถุดิบ

10. จากงานวิจัยอิสระ ไทย และต่างชาติที่มาดำเนินการในไทย

11. จากองค์กรวิจัยต่างประเทศ

12. จากข้อมูลขององค์ระหว่างประเทศ (ดังที่เจ้าเม้งส่งมาในบล็อก)

13. อื่นๆ

ถ้าพิจารณาจากข้อมูลที่เรามีอยู่  ถ้าตีบทให้แตก เราจะได้ชุดความรู้เรื่องยูคาลิปตัสฉบับสายพันธุ์ไทยไว้ถือไปเทียบเคียงกับของนานาชาติ ไม่อย่างงั้นเราก็จะมีแต่ชุดความรู้ของต่างด้าว เขาจะว่าอะไรก็ศิโรราบแบบเด็กปัญญาอ่อน งานวิจัยที่ดีต้องผ่านการทดลองในพื้นที่จริงมาแล้ว  ถึงจะเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือ ปัญหาในวันนี้ก็คือทำอย่างไรเราจะเพิ่มศักยภาพให้นักวิจัยกึ่งอาชีพหรือมือสมัครเล่นในบ้านเรา มาเป็นนักวิจัยมืออาชีพอย่างเป็นรูปธรรม บางท่านอาจจะสงสัยว่า กรณีตัวอย่างงานวิจัยที่ว่านี้มีจริงหรือ มีหลายโครงการครับ ถ้าลองไปค้นดูงานเหล่านี้ในสภาวิจัยแห่งชาติและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือในองค์กรของรัฐและภาคเอกชน แม้แต่หน่วยงานกิ๊กก๊อกอย่างมหาชีวาลัยอีสานก็เริ่มทำการวิจัยร่วมกับพันธมิตรวิชาการ  เช่น การศึกษาวิจัยหาความเป็นไปได้ในการที่จะให้ชาวบ้านเลี้ยงไก่ไข่ การวิจัยเรื่องการเลี้ยงโคพันธุ์ซาฮิวาล การศึกษาวิจัยเรื่องเห็ดเพื่อชุมชนโดยนักศึกษาบูรณาการศาสตร์ นายอุทัย อันพิมพ์

แม้แต่ตัวข้าพเจ้าเอง กำลังศึกษาวิจัยเรื่องบทบาทบล็อกกับการจัดการความรู้ระดับชุมชน ดังนั้น ผู้ซึ่งเป็นที่รักในก๊วนของผม ท่านคือนักวิจัยร่วมที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง ทุกถ้อยกระทงความ ทุกข้อมูลไม่ว่าจะเป็นภาพ ความเห็น ประเด็นแลกเปลี่ยน ข้อเสนอแนะ รวมทั้งข้อความที่จ๊ะจ๋าถึงผม และที่คุณลูกสาวทั้งหลายได้ออดอ้อนรำพันมา ล้วนเป็นจุดต่อสำคัญของการวิจัยหาอิทธิพลของบล็อก  วันที่ 6-7-8 เมษายน ที่เรามาพบกัน ผมจะเสนอเค้าร่างวิจัย ออกมาคลี่ให้ชาวเฮฮาศาสตร์ดูร่วมกันดีไหมครับ?

..มันเป็นดวงดาวที่สวยงามมาก หมุนรอบตัวเองอย่างนิ่มนวล ภายใต้แสงอาทิตย์ที่อบอุ่น ดูสงบแต่มีชีวิตชีวา ไม่มีวี่แววของสงครามให้เห็น..ไม่มีเส้นแบ่งเขตแดน ปราศจากความวุ่นวาย มีแต่ความสวยงามที่บริสุทธิ์ ..นี่คือคำบรรยายของสุภาพสตรีที่ได้ไปท่องอวกาศ ที่ทำให้ข้อคิดเห็นว่า ถ้ามนุษย์ไม่สร้างความวุ่นวายและไม่ทำลายต้นทุนของโลก พลังสติปัญญาของมนุษย์จะได้ทุ่มเทไปเพื่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์

โจทย์ชีวิต..มนุษย์อยู่ที่ใด ก็ควรจะทำให้ตรงนั้นอุดมสมบูรณ์ร่มรื่น น่าอยู่น่าอาศัย ทำให้ทุกอย่างสอดคล้องสอดประสานกัน พึ่งพากันได้ตามปกติของสังคมแห่งมวลชีวิตทุกหมู่เหล่า เพราะเขาเหล่านั้น ก็มีสิทธิ ที่จะอยู่อาศัยบนผืนโลกใบนี้เท่ากับเราทุกคน กับสถานการณ์ในชุมชน ชนบทขณะนี้กำลังคลั่งกับคำว่า "ชุมชนเข้มแข็ง" แต่ในแง่ของความเป็นจริงนั้น มันเข้มแข็งตรงไหน ในเมื่อพึ่งตนเองไม่ได้สักอย่าง ในที่สุด ชาวบ้านหรือชุมชนใดๆ ก็ต้องมาตรวจสอบประเมินตัวเองว่า เราสามารถพึ่งพาตนเองได้ในเรื่องใด ระดับใด ถึงจะไปชี้วัดได้ว่า เราเข้มแข็งหรือปวกเปียก เป็นขนมเปียกปูน!

J เคยคิดไหมครับว่า ในสมัยก่อนทำไมคนไทยสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยเองทั้งๆ ที่ไม่มีบริษัทรับเหมา ก่อสร้าง ไม่มีธนาคาร อาคารสงเคราะห์ ไม่มีบริษัทจัดสรรหมู่บ้านและที่ดิน

J เคยสังเกตไหมครับว่า ในอดีตไม่มีโรงพยาบาล ไม่มีร้านขายยา ไม่มีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เราก็ยังมี สุขอนามัย ปลอดภัยลุล่วงมาได้

J เคยตระหนักไหมครับว่า ในอดีตทำไม ทุกคนมีความรู้เพียงพอที่จะดำรงชีพเลี้ยงตัวเอง ได้อย่างมีความปกติสุข ตามควรแก่อัตภาพ ทั้งๆ ที่ไม่มีโรงเรียนสาธิต ไม่มีการสอบเอ็นทรานซ์ ไม่มีการจ่าย ค่าแป๊ะเจี๊ยะ ไม่มีใคร ออกโรงเรียนกลางคัน และไม่มีใคร กระโดดตึกเรียน ฆ่าตัวตาย

J  เคยสงสัยไหมครับว่า ทำไมในอดีตคนชนบทไม่มีใครตกงาน ไม่มีใครว่างงาน ทุกคนทุกชนชั้น มีบทบาท หน้าที่ สอดคล้องกัน อย่างเป็นระบบระเบียบ.

ที่จำต้องยกเรื่องเก่ามาเกาหลัง เพื่อให้ท่านเห็นพื้นฐานของคนที่จะไปดูงานวิจัยถึงเมืองนอกเมืองนา ที่ไปที่มาก็มาจากเจ้ายูคาที่ผมปลูกนี่แหละ ไม่ได้ปลูกเฉยๆนะสิครับ ปลูกไปโม้ไป เหวี่ยงแหเปะปะตามประสาของคนอวดโง่ มีเท่าไหร่ใช้ความโง่ยกขึ้นบังหน้าเข้าหาคนฉลาด ขอความรู้เขาไปเรื่อย จนกระทั่งมีเจ้าพ่อยูคาฯชื่อลุงเจ็ฟกับน้าจอห์นแกมาเยี่ยมผมหลายครั้ง ผมก็ซอกแซกถามลุงเรื่องยูคาลิปตัส ผมไม่พูดปากเปล่านะครับ เอาบันทึกต่างๆที่ทำไว้ให้แกดู  ลุงแกว่าน่าจะพิมพ์เป็นหนังสือ ผมก็บอกลุงว่าจะดำน้ำพิมพ์ไปได้อย่างไรในเมื่อรู้จักยูคาฯแค่หางอึ่ง ยังมีข้อเท็จจริงที่ไม่รู้ไม่เห็นอีกมาก 

ประเด็นหนึ่งที่ผมพยายามขอความเห็น เกี่ยวกับการต่อต้านยูคาลิปตัสในประเทศไทย ลุงแกไม่ยอมให้ความเห็นใดๆ แกบอกว่าเป็นเรื่องภายในของแต่ละประเทศ ว่าจะเลือกหรือไม่เลือก ปลูกหรือไม่ปลูกไม่มีใครบังคับ ซึ่งทั่วโลกเขาก็มีสติปัญญาที่จะติดสินใจได้เอง แต่ถ้าถามเป็นการส่วนตัว ลุงแกจะจับแขนผมเดินเข้าป่า หยิบใบไม้ขึ้นมาอธิบายเรื่องต่อมน้ำมันในใบ ชี้ให้ดูตอยูคาฯและหน่อแขนงที่จัดการยังไม่ถูกต้อง ลุงแกจะแนะนำยังงี้ๆๆๆ นับว่าผมโชคดีที่ได้ครูดีด้านการปลูกป่าไม้ระดับโลก  

ผมตั้งข้อสงสัยว่า ในเมื่อยูคาฯเกิดเต็มประเทศออสเตรเลีย ถ้ามันไม่ดีทำไมไม่โค่นทิ้ง แล้วหาไม้ดีๆไปปลูกแทน ตัวลุงเจ๊ฟเองเท่าที่ทราบ ก็ปลูกยูคาฯจนได้เป็นเจ้าพ่อยูคาฯโลก  ทั้งหมดนี้เป็นช่วงการขายความคิดออกไปแบบคนไม่มีดีกรีอะไรให้ต้องระวัง เรื่องขายขี้หน้าปล่อยห้าแต้มผมนี่ถนัดนัก ก็คนมันเรียนมาน้อยรู้น้อย จะไปมีอะไรยังไงอีกทำไมละ ประกาศว่าข้าโง่เสียให้มันรู้แล้วรู้รอดสบายใจดี เพราะไม่มีใครมาแย่งมาแซงมาตรฐานขั้นต่ำสุดนี้แล้วกระมัง 

หมายเลขบันทึก: 83375เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2007 05:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (47)
อ่านแล้วหลงรักคนเขียนทันทีทันใด
ปล. หลงรักเร็ว ไม่เกี่ยวกับ KM
จะขอก็รีบขอ อย่ารอให้ถึงปีหน้า หน้า หน้า

ทำไมถึงมีพลังมหาศาลขนาดนั้น

อย่าหลง เลย ขอแค่รักเฉยๆ ก็ดีใจตายแล้ว

เล่นมาแบบบุกทะลวง ต๊กกะใจ๋เกือบตกก้าวอี้!!! 

อ่านเชิงวิชาการ เกิดจิตนิยมครูบา มากๆ

ช่วยจูงไม่ให้หลงทาง กลับมาในความจริง รอบๆตัว

ไม่น่าสงสัยว่า คุณไร้นามถึงหลงรักได้รวดเร็วนัก

แถมลดความเครียด ด้วยคำตอบที่ ถึงลูกถึงคน

ขอบคุณค่ะ

 

  • กราบสวัสดีงามๆ ครับ ท่านครู
  • บทความอันนี้ยอดๆ ที่สุด อยากให้นักวิจัยระดับประเทศมาอ่านจริงๆ
  • ขอคาราวะด้วยน้ำใจเต็มเบ้าหัวใจครับ
  • สำหรับวันที่นัดเจอกันผมไม่สามารถไปร่วมได้ แต่อยากจะเห็นภาพกิจกรรมนะครับ หวังว่าคงมีซักวันที่ได้มีโอกาสช่วยเหลือและรับใช้สังคมบ้างครับ
  • กราบขอบพระคุณมากๆ เลยครับสำหรับความรู้ดีๆ ในระดับปฏิบัติการและการทำจริงอย่างต่อเนื่อง
  • รออ่านข้อความดีๆ ทุกตอนๆครับ

เห็นมะ หมอก็ยังรักเลย แต่หมอน่ะภาษาสูงจัง...จิตนิยม ..อืม ไร้นามขอยืมไปใช้หน่อยนะหมอนะ

ขอเลยละกัน ไหนๆ ผู้เขียนก็เชิญให้ขอแล้ว...ขอรักแล้วรักเลย ไม่เปลี่ยนใจล่ะนะ ...(ก๊าก)

 

รักแล้วรักเลย คล้ายกับว่า..เตลิดเตลยอันตราย

ควรติดเบรคให้หัวใจบ้าง เพราะ

  1. ค่าซ่อมแพง
  2. อู่หายาก
  3. หมอหายาก
  4. ยาหายาก
  5. หัวใจอาไหล่ ยิ่งยากกก ไปใหญ่
  6. รึ หลายใจ หลายรัก มีมากกว่า 1 ไม่ว่ากัน
P

   หลายๆ ก๊ากแต่เช้าเลยค่ะ

  •  ถ้า ก๊าก แต่เช้า วันนี้อารมณ์แจ่มใสแน่
  • บ่าย ก๊าก ยกยกหนึ่ง
  • เย็น ก๊าก อีกยกหนึ่ง
  • แต่ก่อนนอนไม่ควร ก๊าก !!!???
  • ดีใจด้วย ที่ช่วยกัน ก๊าก
  • ดีกว่า กลุ้ม..นั่งหน้าบูดเป็นนกทึดทือ

ขอบคุณครูบาค่ะ อ่านบันทึกนี้แล้วได้สติกลับมา .....

(ตอนนี้ดูทีวีช่อง 11 รายการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พูดเรื่องสู้ภัยหนี้อย่างมีสติ ...ดีมากเลยค่ะ รายการดีๆ ของนักวิชาการดีๆ ที่น่าสนับสนุนน่ะค่ะ)

P
  •  ไม่ทราบว่าจะต้องตั้งก๊วนวิชาการใหม่หรือเปล่า
  • ชวนคนที่มีอิสระทางความคิด ไม่ติดยึดกรอบจนกระดิกอะไรไม่ได้มาเรียนรู้กันตามKM.ธรรมชาติ
  • ตามไปดูช่อง11 กลายป็นเรื่องประชุมสภาฯ
  • ขี้เกียจฟังโวหารลมๆแล้งๆ
  • ที่หวังอะไรได้ยาก
  • ตราบใดที่สังคมนี้มันผิดปกติ
  • จะเดินหน้าถอยหลังก็ดูพิการพิกล
  • ทำได้อย่างเดียวคือเอาใจช่วย!!
  • ช่วยให้ประเทศนี้คิดทำอะไรจริงๆเสียที 
  • มาดูคนรักกัน  อิอิ  ดูแล้วชื่นใจค่ะ
  • แน๊...พ่อครูบา  กล่าวพาดพิงลูกๆหนิง .." จะเดินหน้าถอยหลังก็ดูพิการพิกล" ..
  • คิดถึงพ่อครูบาอย่างแรงเลยค่ะ  ตั้งใจมาอ่านอะไรๆพอให้เกิดแรงใจอีกหลายๆฮึด !!
P

เออ หนิง

โครงการสุขภาพปฐมภูมิ เขาเน้นช่วยกลุ่มงานเด็กพิการ ฝ่ายภาควิชาพยาบาลขอนแก่น เป็นเจ้าภาพ ทราบว่าทั้งอีสานมีคนส่งโครงการเข้าร่วมเกือบ 500 ราย ทำไม โครงการหนิงถึงไม่ได้เข้าร่วม ทั้งๆที่อยู่ในสายงานใกล้เคียงกัน ชาวขอนแก่นไม่ได้บอกอะไรเลยหรือ แปลกแท้ๆ

          ไม่เคยทราบเรื่องเลยค่ะพ่อครูบา  อาจจะเป็นได้ว่า  เค้าเน้นเรื่องการรักษาเน้นเรื่องในโรงพยาบาล ( สธ ) และชุมชน ( พม )  จนลืมเรียกคนในแวดวงการศึกษา( ศธ ) ผู้พิการระดับอุดมศึกษาอ่ะค่ะ

          ก่อนหนิงจะมาทำ DSS หนิงเป็นพยาบาลธรรมดาๆ  นั้นก็ไม่ได้นึกถึงการศึกษาของผู้พิการในระดับอุดมศึกษาเลยค่ะ  เราเห็นโรงเรียนการศึกษาพิเศษ เห็นโรงเรียนเฉพาะด้านความพิการ  แต่นั่นคือแค่..ถึงมัธยมศึกษา  ถึงแค่ในกระทรวงศึกษาธิการ(เดิม) ซึ่งยังไม่ได้รวมทบวงมหาวิทยาลัย (เดิม)

          ปัจจุบันเด็กพิการเก่งขึ้นและเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษามากขึ้นๆ  แต่การดูแลช่วยเหลือ  สนุบสนุนจากรัฐมีน้อยมากค่ะ  ( พอสรุปหลักๆคือ  สธ:บัตรทองผู้พิการ / พม : เดือนละ 500 บาท/ ศธ : IEP คูปองการศึกษา ปีละ 2000 บาทซึ่งไม่เคยถึงเด็ก มมส. ) 

         เด็กต้องดิ้นรนเอง  บนความช่วยเหลือของอาสาสมัครและมูลนิธิต่างๆ  น่าสังเกตว่า  คนไทยเป็นคนใจบุญ  โอบอ้อมอารี  แต่มูลนิธิที่ทำงานเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้พิการต่างๆ  กลับได้รับการริเริ่มโดยคนต่างประเทศ  เช่น มูลนิธิช่วยคนตาบอด  โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ ( แยกตึกชัยใกล้ๆอนุเสาวรีย์ )  กลับเริ่มมาจาก  มิสเจนีวีฟ คอลฟิลด์  หรือแม้แต่มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอด  ก็มีชื่อย่อว่า CFBT ( Cristian Foudation for the Blind in Thailand ) จากชื่อคงไม่ต้องบอกว่าใครเริ่มนะคะ

         การส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้พิการ  พัฒนาศักยภาพที่มีอยู่  ให้มีความรู้และทักษะชีวิต   มีงานทำ มีรายได้ที่ดี  เลี้ยงตัวตนและครอบครัวได้  สู่การดำรงชีพอิสระ IL: Indepentdent Living  เป็นการลงทุนระยะยาว  และหลากหลายกระบวนการกว่าจะเห็นผลประจักษ์  หรือได้ค่าสถิติที่วัดได้

         ทำงานด้านคนพิการเหมือนกันค่ะพ่อครูบา  แต่ไม่เหมือนกันค่ะ   ( งงมั๊ยคะ ) ทำคนละมิติ   หนิงชอบสอนให้จับปลาค่ะ  ไม่อยากให้เงินไปซื้อปลาเพราะค่าของเงินไม่เพิ่ม  แต่ค่าความรู้ไม่มีลดค่ะ

         หนิงเห็นด้วยน้อยมากกับเงินช่วยเหลือผู้พิการ รายละ 500 บาทต่อเดือน  เพราะคุณภาพชีวิตที่ดี เราไม่สามารถอยู่ได้ด้วยเงินเพียงแค่นั้น  แต่ถ้ามีความรู้  มีงานทำ มีรัฐบริการที่ดีและทั่วถึง  ไม่มีสักบาทก็อยู่ได้ใช่มั๊ยคะ

        

ถ่ายทอดของสภาเป็นรายการต่อหลังรายการนั้นจบค่ะ

ไม่ได้ดูถ่ายทอดสภาเหมือนกันค่ะ

โฮะๆ  บ่นมากไป  ไม่เกี่ยวกับที่พ่อครูบาถามมั้งเนี่ย...

เอาใหม่ๆ 

         หน่วยงานของรัฐ  มักจะลืมเรียก ลืมงานพัฒนาศักยภาพผู้พิการในระดับอุมศึกษาค่ะพ่อครูขา

        สุขภาพ ก็โรงพยาบาล ( สธ )  กับ ชุมชน ( พม ) ส่วนการศึกษา ( ศธ ) เขาก็เรียกแต่ศูนย์การศึกษาพิเศษ  หรือโรงเรียนเฉพาะด้านความพิการซึ่งดูแลมาถึงมัธยมศึกษา   หนิงเคยได้ยินบ่อยๆค่ะ  ว่า ..มหาวิทยาลัยรวยแล้ว  อย่ามาแบ่งงบเลย .. 

        เฮ้อ...บ่นอีกแล้ว  หัวอกคนทำงานพัฒนาศักยภาพผู้พิการในมหาวิทยาลัย   ไม่ใช่แค่ที่ มมส. หรอกค่ะ  DSS หลายๆมหาวิทยาลัย ก็ประสบชะตากรรมเดียวกัน 

       แม้แต่คนในมหาวิทยาลัย  ( สกอ )  สังกัดเดียวกันก็ยังลืมเรา  ลืมดูว่ามหาวิทยาลัยของตนมีเด็กพิการเรียนมั๊ย  ลูกๆในบ้าน:เด็กพิการที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยตัวเองนั้นเรียนหนังสือกันอย่างไร  มีใครช่วยดูแลบ้าง

      จะว่าไปแม้แต่  อะไรเรียกว่าพิการและความบกพร่องที่ต้องดูแล  นี่เขายังแบ่งไม่เหมือนกันเลยค่ะพ่อครูขา  สธ.กับ พม.  จะแบ่งเป็น 5 ประเภท  ศธ จะแบ่งเป็น 9 ประเภทค่ะ  มีบวกหนึ่งอีกด้วย

 เฮ้อ  ฟังแล้วเหนื่อยแทน

ประเทศนี้เขาทำอะไรกัน

P

 ถ้ามีรายการทีวี ดีๆอาจารย์โทรบอกด้วยครับ

  081-760-1337 ถ้าไม่ติดไม่ว่าง ฝากข้อความไว้ก็ได้ครับ

ผมจะได้ให้เด็กอัดเทปไว้

คนบาป มีทีวีรอบบ้านก็ไม่ได้ดู มีหนังสือก็ไม่ได้อ่าน มีสนามแสววแดดอ่อนก็ไม่ได้เดินออกกำลังเท่าที่ควร

ยังยุ่งยากเรื่องบริหารเวลา ทั้งที่ตัดรายการประชุมออกไปมากแล้ว ก็ยังไม่ลงตัว

  • มาสวัสดีตอนเย็นครับ ท่านครู และทุกท่านครับ
  • J เคยคิดไหมครับว่า ในสมัยก่อนทำไมคนไทยสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยเองทั้งๆ ที่ไม่มีบริษัทรับเหมา ก่อสร้าง ไม่มีธนาคาร อาคารสงเคราะห์ ไม่มีบริษัทจัดสรรหมู่บ้านและที่ดิน

    XXX ผมว่าคนเราธรรมชาติสร้างสมองมาให้ใช้และบริหารกัน รู้จักเรียนรู้และพัฒนาการได้เร็ว คนเราเกิดมาได้ไม่กี่หมื่นปีเองครับ เราก้าวมาได้ระดับนี้แล้ว ไม่อยากจะจินตนาการว่าต่อไปอีกหมื่นปีพันปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร

  • เคยสังเกตไหมครับว่า ในอดีตไม่มีโรงพยาบาล ไม่มีร้านขายยา ไม่มีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เราก็ยังมี สุขอนามัย ปลอดภัยลุล่วงมาได้

    XXX
    คนอยู่กับธรรม ธรรมชาติหรือเปล่าครับ คนรักษ์ธรรมชาติ ธรรมชาติรักษ์คน เกื้อกูลกัน ตอนนี้เราปล้นธรรมชาติ และธรรมชาติกำลังปล้นคนอยู่ครับ

    J เคยตระหนักไหมครับว่า ในอดีตทำไม ทุกคนมีความรู้เพียงพอที่จะดำรงชีพเลี้ยงตัวเอง ได้อย่างมีความปกติสุข ตามควรแก่อัตภาพ ทั้งๆ ที่ไม่มีโรงเรียนสาธิต ไม่มีการสอบเอ็นทรานซ์ ไม่มีการจ่าย ค่าแป๊ะเจี๊ยะ ไม่มีใคร ออกโรงเรียนกลางคัน และไม่มีใคร กระโดดตึกเรียน ฆ่าตัวตาย

    XXX
    ประชากรมากขึ้นคนก็หลากหลายขึ้นครับตามหลักของการสับเปลี่ยนและความหลากทางความคิด สิ่งที่ไม่มีก็จะมี สิ่งที่ไม่เกิดก็จะเกิด ภัยธรรมชาติก็เช่นกันครับ สิ่งที่ไม่เกิดก็จะเกิดครับ เว้นแต่ว่าเราจะอยู่ในยุคไหน เมื่อปัจจัยมาอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาเราก็คงได้เจอ

    เคยสงสัยไหมครับว่า ทำไมในอดีตคนชนบทไม่มีใครตกงาน ไม่มีใครว่างงาน ทุกคนทุกชนชั้น มีบทบาท หน้าที่ สอดคล้องกัน อย่างเป็นระบบระเบียบ.

    XXX
    คนน้อย ทุนนิยมไม่เข้ามาครองหัวใจ ไม่วัดกันที่สี่ล้อสองล้อ สร้อยคอเท่านิ้ว จะว่าตอนนี้คนมากก็ไม่ใช่ คนไทยมีน้อยกว่าเยอรมันยี่สิบล้านคน ทั้งๆที่ประเทศไทยใหญ่กว่าเยอรมันในขนาดพื้นที่ แต่ทำไมคนไทยใน กทม. ถึงมีตั้งสิบกว่าล้าน แต่เบอร์ลินเมืองหลวงมีแค่สี่ล้าน ทำไมหรือครับ การกระจายตัวของคน การบริหารคนให้อยู่ดีมีสุขในแต่ละพื้นที่ การกระจายตัวของการศึกษา การทำงาน และอื่นๆ ไม่กระจาย เราเลยได้เมฆหมอกควันแทนเมฆที่น่าเชยชมลอยอยู่ให้เห็นตามเมืองใหญ่ไงครับ

  • อิๆ ตอบแบบน้ำท่วมครับ เก็บผักบุ้งไปขายครับ ยินดีสำหรับข้อคิดเห็นเพิ่มเติมและข้อคิดเห็นแย้งครับ

  • ขอบคุณมากครับ

โอ้ย โย๋ โดนนายเม้งตัดหน้า

               มารายงานตัวค่ะพ่อครูฯ หายไปหลายวัน ไปทำกิจกรรมนี้มาค่ะ เรียนเชิญพ่อครูฯ อ่านค่ะ

               ตอนนี้ หูอื้อ ปวดหู อาการหวัดเล่นงาน พาลทำให้หงุดหงิด เพราะฟังคนอื่นไม่รู้เรื่อง และพูดไปก็กลัวเขาจะไม่ได้ยิน

              อ้อ  เบอร์ข้างบน  ขออนุญาต บันทึกไว้ด้วย ได้ไหมค่ะ พ่อครูฯ

               รับรองว่า จะรบกวน เมื่อถึงเวลาจำเป็นเท่านั้น

  • ถึงพี่สาวรัตติยาคนสวย
  • ขอแนะนำครับ ดื่มน้ำเยอะๆ นั่งสมาธิ ปรับความดันอากาศในหูและภายนอกให้เท่ากันสมดุล โดยใช้การหายใจในการควบคุมครับ แล้วพี่จะหายและดีขึ้นครับ
  • ขอให้หายไวๆ นะครับ
  • พ่อครูคะ

ได้รับเมลจากเพื่อน เห็นว่าเป็นเรื่องดี ๆ จึบนำมาฝากใน blog พ่อครูค่ะ 

 

ทุกวันนี้เรามีตึกระฟ้า และถนนกว้างขวาง แต่คนเรากลับโมโหง่าย และมีความคิดที่แคบ เราใช้จ่ายอย่าฟุ่มเฟือย แต่ใช้ประโยชน์น้อย เรามีบ้านหลังใหญ่ แต่ครอบครัวกลับเล็กลง เรามีเวลาประนีประนอมมากมาย แต่ให้เวลาน้อยเกินไป เรามีความรู้มากมาย แต่ด้อยดุลพินิจในการตัดสินใจ เรามียารักษาโรคมากมาย แต่สุขภาพไม่ค่อยดีนัก เราถือครองทรัพย์สินมากมาย แต่กลับลดคุณค่าของตัวเราลง เราพูดมาก เราให้ความรักน้อย แต่กลับเพิ่มเกลียดมากขึ้น เราไปถึงดวงจันทร์ แต่พบว่ามีปัญหาการข้ามถนนเพื่อไปพูดคุยกับเพื่อนบ้าน เราประสบความสำเร็จในการชนะห้วงอวกาศ แต่กลับพ่ายแพ้ภายในโลกของเราเอง เรามีรายได้มากขึ้น แต่ศีลธรรมกลับน้อยลง เรามีอิสระเสรีมากขึ้น แต่กลับร่าเริงน้อยลง เรามีอาหารมากขึ้น แต่กลับมีโภชนาการแย่ลง ทุก ๆ วันชีวิตคู่ต่างก็หารายได้เข้าบ้าน แต่การหย่าร้างก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บ้างก็มีความสงบสุขในบ้านมากมาย  แต่ก็มีไม่น้อยที่ครอบครัวแตกแยก ตั้งแต่นี้ไป คุณไม่ควรเก็บอะไรก็ตามไว้ในโอกาสพิเศษ เพราะว่าชีวิตที่คุณอยู่ทุกวัน คือวันพิเศษ ค้นหาความรู้ อ่านให้มาก นั่งที่ริมระเบียงแล้วชื่นชมกับทัศนียภาพ โดยไม่ต้องสนใจถึงความต้องการใด ๆ ใช้ชีวิตกับครอบครัวให้มากขึ้น ทานอาหารในสิ่งที่ตนชอบ เที่ยวสถานที่ที่คุณโปรดปราน ชีวิตคือห้วงเวลาของการอยู่อย่างรื่นรมย์ ไม่ใช้ดิ้นรนเพื่ออยู่รอด จงเลิกใช้คำศัพท์ สักวันหนึ่ง หรือ บางวัน   เรามาเริ่มใช้คำว่า วันนี้ในหลาย ๆ วัน บอกกับครอบครัวและเพื่อนพ้องว่า เรารักพวกเค้ามากแค่ไหน อย่าได้รีรอที่จะเติมเสียงหัวเราะเพื่อความสุขของชีวิต ทุก ๆ วัน ทุก ๆ ชั่วโมง ทุก ๆ นาที  มีความสำคัญ 

เพราะคุณไม่ทราบเลยว่า เวลาสิ้นสุดของคุณจะมาถึงเมื่อไร

 

 

  
P

      ขยันทำการบ้านอย่างนี้

  • เป็นตัวอย่างที่ดี
  • แอบยกตัวอย่างให้นักศึกษาโข่งฟังเสมอ
  • ว่าการเรียนด้วยความคิด จะเกิดความคัน
  • เกาไปเกามา,,สะเก็ดความรู้ก็จะร่วง
  • สะเก็ดเก่าร่วง สะเด็ดใหม่ก็จะเกิด
  • พื้นที่ความรู้ก็จะเปลี่ยน ไม่ขี้นรา
  • วิชาการก็จะไม่บูด ไม่เน่า
  • ถ้าให้ดีควรถามตนเองว่า
  • วันนี้เราอยู่กับความรู้อะไร
  • อ้าว!! ทะลึ่งไปสอนสังฆราชเสียแล้วเรา
  • ขอโทษที สองที สามที อามิตรพุทธ,,

 

รักพ่อครูฯ รักลูกสาว และลูกชายในก๊วนพ่อครูฯ ทุกคน รักเพื่อน ๆ ใน gotoknow และ รักครอบครัว และรักพี่อึ่งฯ ค่ะ

หน้าแดง

มีคนบอกรัก ผ่าน blog พ่อครู

อิอิ

P

ช่วยบอกเพื่อนด้วย

  • ที่เขาคิดได้ เขียนมายาวยืดนั้น

คนชื่อ สมพร เพื่อนคุณเอง ทำจนเป็นเรื่องปกติธรรมดา

  • ยิ้มชื่น กินข้าวคลุกเสียงหัวเราะ
  • ไปฟังเพราะร้องเพลง เอ๊ย พระสวดมนต์
  • ตักบาตรทำบุญ
  • เลี้ยงหมา จนหมาหลงรัก  
  • ว่างเมื่อไหร่ส่งใจไปให้ทานความสุข
  • เย้าให้คนอารมณ์ดีทั้งปีทั้งชาติ
  • มองชีวิตให้ทะลุ ..
  • ความสุขก็หมอบอยู่ข้างๆเก้าอี้นี้เอง
  • เหมือนผมตอนนี้ อยู่ไกลแค่ไหนก็รักคนชื่อสมพร
  • มาเมื่อไหร่จะจับให้ออกมาเล่าเรื่องขำขันหน้าห้อง เอ้าพวกเราเตรียม 1-2-3 อิ อิ ๆๆๆ  
  • ขอบคุณธรรมะและข้อคิดดีๆ จากท่านครูครับผม
  • ดีใจที่ได้รับความปรารถนาดีเสมอมาครับ
  • ผมส่ง SMS ไปทำให้ตกใจเล่น ไม่ทราบว่าได้รับไหมครับ หวังว่าไม่ทำให้เนื้อที่ SMS ของท่านครูเต็มนะครับ เพราะมีลูกสาวๆ หลายๆ คนส่งไปให้ อิๆ ดีแล้วครับ ได้กระชุ่มกระชวยครับ และขอโทษด้วยครับที่ไม่ขออนุญาตส่งก่อน หากขอก่อน ก็ไม่ซะไปรส์แฟนต้า โคคาโคลา น่าจะมี น้ำมะอึก น้ำมะยม น้ำลูกพลับพลา บ้างนะครับ เพราะไม่นิยมน้ำอัดลมพวกนี้
  • วันนี้เราอยู่กับความรู้อะไร
  • อ้าว!! ทะลึ่งไปสอนสังฆราชเสียแล้วเรา
  • ขอโทษที สองที สามที อามิตรพุทธ,,
  • อนุญาตให้ดีได้เต็มที่ครับ สำหรับความรู้ตอนนี้ไม่รู้เหมือนกันครับ ว่าอยู่กับอะไร สับสนเหลือเกินครับ เหมือนยืนอยู่ระหว่างเขตแดนยังไงยังงั้น จะทำไงให้กำแพงนี้มันหายไปซักทีหนอ จะได้บูรณาการให้มันเข้ากันได้ครับ
  • ขอบคุณครับ ที่ทำให้เกิดรอยยิ้มในบทความครับ

ครูบาขา...ตอนนี้ KPI คุณภาพของการวิจัยคือ การตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการต่างประเทศค่ะ... เคยคิดเหมือนกันค่ะว่า แล้วความรู้หรือผลงานวิจัยนั้นจะกลับมาสู่ชุมชนอย่างไร .... ยังมีเงื่อนไขอื่นๆ อีกนะค่ะ...แต่ไม่เขียนดีกว่าค่ะ.....

 

คุณเม้งส่ง SMS แต่พี่โทรศัพท์ค่ะ...แต่ไม่ติด สงสัยครูบาปิดเครื่องหลังบอกเบอร์โทร....อิอิอิ....รึไม่ก็สายพันกันยุ่งไปหมด โทรเข้าไม่ได้ค่ะ......
P

 ดีแล้วที่อาจารย์ไม่เขียนต่อ

คิดในมุมกลับ ทำไมฝรั่งไม่ตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการของเขากับเราบ้างละ

  • แสดงว่าเราไม่เชื่อกันเอง
  • ไม่มีมาตรฐานที่แม้แต่พวกกันเองก็รับรองกันเองไม่ได้
  • ทั้งๆที่มันไม่ใช่อย่างนั้นสักกะหน่อย
  • ผลงานดีๆมีเยอะไป
  • แต่การที่วางระเบียบวิธีไว้อย่างนั้น
  • มันก็ทำให้ห่าง ห่าง จนไม่รู้จะทำฉันใด
  • ผมจึงเริ่มที่ยอมรับตัวเองก่อน
  • บางทีก็เผลอไปดูคล้ายกับยกหางตัวเอง
  • แต่รู้ตัวเสมอว่าไม่ได้เจตนาอย่างนั้น
  • บางทีก็จำเป็นต้องใช้วิชาหมั่นไส้ศาสตร์ เพื่อให้คนอื่นเผลอหันมาคุยกับเราบ้าง
  • ถ้าคุยสักครั้งไม่เข้าท่า ก็บ๊ายๆ บายกันไป
  • หากไม่ถึงงั้นต้องเปลี่ยนความหมายเป็น Small Mind Service แทนครับส่งผ่านสายใยแทนครับ
  • ผมไม่รู้จักเท่าไหร่ครับ KPI ผมเลยอ่านสิ่งนี้ว่ากะปิ เพราะผมใช้ตำน้ำพริกเสมอครับ ที่นี่ใช้ KPI ตราตาชั่ง แต่ไม่แน่ใจว่า KPI ในมหาวิทยาลัยจะชั่งกันอย่างไรครับ รบกวนบอกด้วยนะครับ
  • หากให้คนที่เขียนวารสารตีพิมพ์ต่างประเทศแล้วให้เขียนให้คนไทยอ่านได้ด้วย เผยแพร่ในเมืองไทย ย่อยให้แต่ละระดับฟังและเข้าใจได้ตามประโยชน์และโทษก็คงดีไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ก็ตาม แม้ว่าจะไม่ง่ายก็ตามครับ
  • เด็กอังกฤษตัวเลข เค้าเริ่มเรียนภาษาจีนกันแล้วครับ เมื่อไหร่จะมีคนมาเรียนภาษาไทยบ้างหนอ เขียนก็ยาก ออกเสียงได้หลายระดับเสียง ก็ยาก ชวนให้น่าศึกษายิ่งนัก ผมว่านี่แหล่ะเสน่ห์ของภาษาไทย ไม้ไม่ไหม้ (ฝรั่งมึนครับ)
  • ขอบคุณครับผม

          555  พ่อครูขา...เย็นนี้พ่อครูบา ทำให้หนิงขำกลิ้งอีกแล้วค่ะ

          ขอบพระคุณค่ะ ^__*

  • ตามมารายงานตัว
  • ระบบวิจัยตั้งค่า Impact ค่าโน่น ค่านี้มากมาย
  • สงสัยเหมือนกันว่าชาวบ้านจะได้เอางานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้ไหมท่าจะจริง หลายงานก็อยู่บนหิ้ง เสียดายจัง
  • แวะมาทักทายพ่อและพี่ๆครับผม
  • ถึงน้องหนิงผ่านครูบาครับ
  • สิ่งที่ DSS ทำและมีปัญหาอยู่นั้น  พี่คิดว่าน่าที่จะทำบางสิ่งบางอย่าง แม้ว่าแสงจะริบหรี่ก็คือ สรุปประเด็นปัญหาแล้วส่งให้น้องลูกหว้าใส่ลงไปในการระดมความคิดเห็นร่างรัฐธรรมนูญ
  • ให้เขาบรรจุอยู่ในหมวดใดหมวดหนึ่ง
  • เผื่อในโลกนี้จะมีปาฏิหารย์ออกมาบ้างก็ได้
  • มันต้องแหกปากดังๆ พูดค่อยๆไม่มีใครได้ยินหรอก  หรือไม่ก็เชิญท่านครูบาเป็นหัวแถว แล้วพวกเราเดินตามตูด  ไม่ใช่ดูตูดท่านครูบานะครับ แต่เดินไปไหนสักแห่งหนึ่ง......อิ อิ
  • ใจบุญแท้ๆเลย ชาติหน้าเกิดมา มีข้าทาส บริวารเต็มบ้านเลย
  • ยังมีมุมอื่นในบล็อกอีกไหมครับ มองงานวิจัยในประเทศไทย
  • เช่นมุมจาก นักวิชาการปฏิบัติการ นักวิชาการในท้องที่ นักวิชาการในห้องแอร์ มองจากผู้บริหาร มองจากต่างประเทศที่มองไทย มองจากเอกชน ธุรกิจ มองจากพ่อค้าแม่ขาย มองจากคนพิการ มองจากคนจน คนรวย หรือมุมอื่นๆ ผมว่าคงได้แนวคิดหลากหลายครับ จะได้บูรณาการเข้าหากัน
  • คงได้แนวทางมากมาย แล้วก็ทำงานร่วมกันจากหลายๆ มุมมอง การวิจัยในไทยก็อาจจะเข้าถึงทุกอาชีพ ทุกสาชา ทุกชนชั้น ทุกสังคม
  • ขอบคุณครับ
P
 ข้อเสนอ มุมที่มอง มองมุมที่ควรมอง มองการวิจัยเชิงโครงสร้าง ถ้าชัดแต่แรก ก็จะไม่ตกหลุมเสียเวลาขึ้นแม่แรง บ้านเราเหนื่อยตรงที่เสียเวลากับเรื่องไม่เป็นเรื่อง เม้งสะท้อนจุดนี้มานับว่าชัดเจน ชัดๆ เห็นได้ เห็นด้วย อย่างยิ่ง
P
  • บางทีก็เสียเวลาในการทำข้อมูลเตลิด
  • ไม่อย่างนั้นก็จะไม่ครบสูตร ขึ้นหิ้งไม่ได้
  • รึต้องวิจัยวิธีลงหิ้งอีกทอดหนึ่ง

อรุณสวัสดิ์ ค่ะพ่อครูฯ

            หลับไปยาวเลยค่ะ  พยายามดูแลสุขภาพ  เพราะถ้าอยู่เฉย ๆ โดยไม่ทำอะไรจะดูเหมือนเป็นคนไร้ค่า 

           ขอบคุณน้องเม้งนะคะที่ช่วยแนะนำ  จะทำตามค่ะ

         ขอบคุณพ่อครูฯ นะคะ  ที่แวะเวียนไปให้กำลังใจถึงบ้าน

           ขอบคุณพี่อึ่งฯ ที่เพียรโทรมาสม่ำเสมอ เพื่อเตือนให้พักผ่อน เตือนให้ทานยา เตือนให้นอน และฯลฯ

คนอื่นเตือนไปหมดแล้ว ขอเตือนให้ยิ้มก็แล้วกัน
สวัสดีครับ ผมพอดีผมเคยประสบกับปัญหาหูอื้อ เพราะว่านั่งเครื่องบินจาก เยอรมัน ไปโปแลนด์ แบบว่าพอบินขึ้นแล้วไม่นานก็บินลง บินขึ้นลงอยู่นั่นหล่ะครับ สองรอบ ไปกลับสี่รอบ เครื่องบินเล็กด้วยครับ กลับมาบ้านหูอื้อของเกือบอาทิตย์ครับ เลยใช้วิธีการปรับความดันเอาเอง โดยการกลื่นน้ำลายด้วย แล้วก็หายใจเข้าไปเพื่อจะพยายามปรับความดันในหูกับข้างนอกให้เท่าๆ กัน ผมคิดว่าคนเราสามารถให้ลมออกทางหูได้ครับ แต่ว่าคงจะเทียบกับลมออกทางจมูก คงไม่ได้ครับ อิๆๆ
  • กราบสวัสดีค่ะ
  • หายไปหลายวัน แต่มีของมาฝากพ่อครูตามสัญญา......สายันห์ ค่ะ อาหารใต้งัย.........ย รบกวนคลิกที่นี่ค่ะ
  • ดีใจที่มีวันนี้...
  • ขอบพระคุณค่ะพี่บางทราย  ( อยากจะขออนุญาต  เรียก พี่บู๊ท  จังเลยค่ะ  อยากขอหนิดหนมๆ ^__* )
  • แวะมาบอกว่า...วันนี้คุณนายไม่สายนะคะ  คุณนายกำลังเตรียมเอกสารให้เด็กๆอยู่  อิอิ
P

ทีมเสน่ห์ปลายจวัก โปรดทราบ

คณะจากภาคใต้ท้าดวลเดิมพันตะหลิวแล้วนะครับ

ภาคเหนือ  ภาคกลาง ภาคอีสาน จะสู้หรือจะถอย

  • คงได้บูรณาการอาหารกันนะ ข้าวเหนียวจิ้มแกงไตปลา น่าหร๊อยดีนะคะ....พ่อครู
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท