บุญผะเหวดฟังเทศน์มหาชาติ : บ้านผำวัฒนธรรมงดงาม


อานิสงส์จะดลบันดาลให้ไปเกิดในศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งเป็นดินแดนแห่งความสุข สงบ แต่ในทางกลับกันหากตั้งเครื่องคายไม่ถูกต้อง ก็จะดลบันดาลให้เกิดอาเพศต่าง ๆ นานา

        ประเพณีบุญผะเหวดของจังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับการฟื้นฟูให้เป็นประเพณีประจำจังหวัด โดยเริ่มในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ จัดขึ้น ณ บึงผลาญชัย สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์

 

กำหนดจัดวันเสาร์และอาทิตย์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปี โดยกำหนดการไว้ว่า วันศุกร์ แห่พระอุปคุต / วันเสาร์ ขบวนแห่ ๑๓ กัณฑ์ / วันอาทิตย์ ฟังเทศน์มหาชาติและแห่กัณฑ์หลอน

 

ซึ่งหมายถึง จตุปัจจัยที่ชาวบ้านร่วมกันทำเป็นขบวน ถวายแด่พระที่กำลังเทศน์อยู่ในขณะนั้น และ แห่กัณฑ์จอบ ซึ่งหมายถึง จตุปัจจัยที่ร่วมกันทำขึ้น เพื่อเจาะจงถวายแด่พระที่ศรัทธาซึ่งเทศน์ในวันนั้น

 

ส่วนที่บ้านผำปีนี้ กำหนดให้วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๒ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันที่มีการแห่ขบวนรอบหมู่บ้าน(เอิ้นผะเหวด) จะมีพระสงฆ์ ชาวบ้านทุกเพศ ทุกวัย แห่รอบหมู่บ้าน เพื่อปกป้องคุ้มครองมิให้เกิดภัยพิบัติและให้ทำมาค้าขึ้น

   วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ตอนเช้ามืดมีพิธีแห่ข้าวพันก้อน (ข้าวเหนียวปั้นเล็กๆ จำนวน ๑,๐๐๐ ก้อน) รอบศาลาการเปรียญ จากนั้นจะเป็นการรับฟังการเทศน์มหาชาติทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ตลอดทั้งวัน มีบริการขนมจีน (ข้าวปุ้น) ให้รับประทานฟรีตลอดงาน ช่วงสายๆ จะมีขบวนแห่ถวายต้นดอกไม้เงินหรือ กัณฑ์หลอน ของมหาชนทั่วสารทิศเพื่อนำมาถวายพระภิกษุภายในวัดบ้านผำใหญ่

 

งานบุญผะเหวดเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชาวอีสาน เป็น ๑ ในประเพณี ฮีต ๑๒ ซึ่งนิยมทำกันทุกหมู่บ้าน ด้วยความเชื่อกันว่าหากได้ฟังเทศน์บุญผะเหวดครบ ๑๓ กัณฑ์ จบภายในวันเดียวและจัดพิธีตั้งเครื่องคาย (บูชา)ได้ถูกต้อง

 

อานิสงส์จะดลบันดาลให้ไปเกิดในศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งเป็นดินแดนแห่งความสุข สงบ แต่ในทางกลับกันหากตั้งเครื่องคายไม่ถูกต้อง ก็จะดลบันดาลให้เกิดอาเพศต่าง ๆ นานา

 

การจัดงานบุญผะเหวดแต่ละครั้งเป็นงานบุญสำคัญที่ทุกคนในหมู่บ้านต้องมาร่วมกัน นอกจากการฟังเทศน์มหาชาติแล้ว ประเพณีนี้ยังแฝงด้วยความเชื่อหลายประการเข้าไว้ด้วยกัน ที่สำคัญได้แก่ ความเชื่อเรื่องพระอุปคุต ซึ่งเป็นพระผู้รักษาพิธีให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น

 

        ภายในบริเวณวัดบ้านผำใหญ่ รอบศาลาการเปรียญมีการประดับธงผ้าสีต่างๆ นำไม้ไผ่ทั้งลำมาทำเป็นเสาสูงปลายเสาผูกธงผะเหวดห้อยลงมา ปลิวไสวยามต้องสายลมสวยงามยิ่ง นอกจากนั้นเสาไม้ไผ่ต้นนั้นยังนำ ขันกะหย่อง ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่มาผูกติดไว้สูงจากพื้นดินประมาณ ๑.๕๐ เมตร เพื่อให้ประชาชนร่วมกันใส่บาตรข้าวพันก้อน

 

 

        ส่วนผู้ที่ต้องการรับฟังการเทศน์มหาชาติทั้ง ๑๓ กัณฑ์ สามารถขึ้นบนศาลาการเปรียญได้เลย บนศาลามีการตกแต่งไว้อย่างสวยงาม มีการนำข้าวตอก ดอกไม้ มาร้อยเป็นมาลัย แขวนไว้รอบๆ ศาลาการเปรียญ 

 

        บนศาลาการเปรียญประดับประดาตกแต่งสถานที่ ทั้ง ๔ ด้านของศาลาการเปรียญ โดยนำเชือกมาขึงทั้ง ๔ ด้านสูงจากพื้นศาลาประมาณ ๓ เมตร นำสิ่งประดิษฐ์เป็นดอกไม้หลากสีมาร้อยเป็นพวงแล้วผูกห้อยลงมาเป็นสายห่างจากพื้นศาลาประมาณ ๕๐ เซนติเมตร

 

        การนำใบตาลสีเขียวเหลืองอ่อนมาสานเป็นรูปนก ตั๊กแตน ปลาตะเพียน ดอกไม้ สีขาวได้จากการร้อยเมล็ดดอกลิ้นฟ้า และเมล็ดข้าวสาร สีแดงได้จากดอกสะแบง ด้ายสีต่างๆ นำมาประดิษฐ์เป็นใยแมงมุมหลากสี นำมาร้อยเรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปหาขนาดเล็ก บางอันทำเป็นโมบาย ประดับประดารอบศาลาการเปรียญสวยงามมาก ผลงานแต่ละชิ้นผ่านการบรรจงสร้างขึ้นอย่างปราณีตจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่หาดูได้ยากในสังคมยุคปัจจุบัน ควรค่าแก่การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันดี มีคุณค่าสำหรับเยาวชนรุ่นหลังเหมาะแก่การศึกษาหาความรู้เป็นอย่างยิ่ง

 

นอกจากนั้นยังแสดงออกถึงการนำศิลปวัฒนธรรมอีสานสมัยเก่ามาผสมกลมกลืนกับศิลปวัฒนธรรมสมัยใหม่ อาทิเช่น การนำขนมอบแห้งมาร้อยเป็นมาลัยประดับสถานที่ ผลไม้ที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น มะม่วง มะนาว หรือแม้กระทั่งแตงโมขนาดเล็กที่หาได้ตามท้องไร่นา ถูกนำมาตกแต่งสถานที่ได้อย่างลงตัว

 

        อย่างไรก็ดี รอบศาลาการเปรียญด้านบนติดกับฝ้าเพดาน มีการนำภาพเขียนบนผืนผ้า บันทึกเรื่องราวพระเวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ขึงรอบศาลาการเปรียญไว้ให้ศึกษาด้วย

 

การนำต้นกล้วยขนาดกลางมาประดิษฐ์ตกแต่งเสริมด้วยเครื่องถวายไทยทานพระสงฆ์ อาทิเช่น ดอกไม้เงินตามกำลังศรัทธา สมุด ปากกา ดินสอ ฯลฯ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงกัน ร่วมกันสร้างต้นผ้าป่าสามัคคีขึ้น ที่เรียกว่า ต้นกัณฑ์หลอนหลังจากประดับประดาตกแต่งอย่างสวยงามแล้ว ก็จะมีการ แห่กัณฑ์หลอน จากหมู่บ้านไปยังวัดบ้านผำใหญ โดยมีวงดนตรีอีสานประยุกต์ เพชรตาลเดี่ยวร่วมบรรเลงเพื่อสร้างความสนุกสนานรื่นเริง

         พอถึงภายในวัด จะแห่รอบศาลาการเปรียญ ๓ รอบ หลังจากนั้นก็จะทำการถวายแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์สวดมนต์ ให้ศีล ให้พร ทุกคนรับศีล รับพร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร บุพการีที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นอันเสร็จพิธี

 

        นอกจาการร่วมทำบุญในครั้งนี้แล้ว ยังเป็นการรวมกลุ่มเพื่อน พี่ น้องสมัยเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านผำด้วย การสอบถามข่าวคราว สารทุกข์สุขดิบกัน คุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แถมยังได้ทำหน้าที่ของประชาชนที่ดีในการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านแทนคนเก่าที่มีวาระครบ ๕ ปีอีกต่างหาก

 

จบจ้อย!!...

(THE END)

 

 

สุเทพ ธุระพันธ์

๑๕ มีนาคม ๒๕๕๒

 

อ้างอิง

 

http://travel.sanook.com/trip/trip_10270.php (๑๕ มีนาคม ๒๕๕๒)

หมายเลขบันทึก: 248615เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2009 18:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)

สวัสดีค่ะ

  • อ่านและดูรูปกำลังเพลิน ๆ..จบจ้อย
  • เรื่องเล่าแบบนี้ควร..ทำต้นฉบับไปให้เด็กน้อยในโรงเรียนบ้านผำด้วยนะคะน้องชาย
  • เป็นวิทยาทานค่ะ
  • ตามไปดูคนป่าเข้าเมือง คนเมืองเข้าป่าค่ะ

สวัสดีค่ะ น้องชาย

  • มาอ่านเรื่องดีดี  ภาพสวยๆๆ 
  • ขอบคุณมากค่ะ

เจริญพร โยมไทบ้านผำ

เข้ามาดูพิธีบุญผะเหวดเทศน์มหาชาติทางภาคอีสาณบ้าง

ซึ่งพิธีจะแตกต่างไปจากทางใต้แต่ความมุ่งหมายเหมือนกัน

เจริญพร

แวะมาอ่านเรื่องดีดีที่อยู่ใกล้บ้านค่ะ

สวัสดีครับพี่สาว คุณครูคิม

@ เขียนไปเขียนมานึกอะไรไม่ออก...จบจ้อย

@ ได้แนะนำบันทึกนี้กับนักเรียนบางส่วน

@ ให้แวะมาเยี่ยมชมศึกษาเมื่อมีโอกาส

@ ขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำดีดีครับ

สวัสดีค่ะน้องรัก

สวัสดีพี่สาว คุณครูอ้อย แซ่เฮ

@ เป็นเรื่องเล่า วิถีชีวิต ประเพณีของชาวชนบท(บ้านนอก..ความหมายเดียวกัน)

@ ขอบพระคุณครับ

สวัสดีค่ะ

* แวะมาเบิ่งงานบุญค่ะ

* วิถีไทอีสานม่วนแท้น้อ

*สุขกายสุขใจนะคะ

กราบนมัสการ ท่านพระปลัด

@ แตกต่างแต่พิธี ทำแต่สิ่งดีดี

@ จะดลบันดาลให้ไปสถิตย์ในดินแดนแห่งความสุข สงบ

@ นมัสการครับ

สวัสดีครับท่าน ศน.add

@ ๑ ใน ฮีต ๑๒ ของชาวบ้านเฮาเนาะ

@ สุขซำบายดีครับ

 

สวัสดีครับพี่สาว คุณครูคิม

@ ขอแสดงความชื่นชมยินดีด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ

สวัสดีครับ คุณครูนาง พรรณา ผิวเผือก (ไม่มีชื่อกลาง)

@ แห่กัณฑ์หลอน ม๊วน..ม่วน

@ ไปเอาบุญผะเหวด ได้บุญมาฝากด้วยครับ

@ สุขกายสบายใจเช่นกันนะครับ

 

  • สวัสดีค่ะคุณไทบ้านผ่า
  • แวะมาอ่านเรื่องราวของงานบุญผะเหวด ของชาวร้อยเอ็ด
  • เนื้อหาสาระแน่น ภาพเยอะสวยดีค่ะ
  •  ขอบคุณนะคะ
  • "งานบุญผะเหวดเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชาวอีสาน เป็น ๑ ในประเพณี ฮีต ๑๒ ซึ่งนิยมทำกันทุกหมู่บ้าน ด้วยความเชื่อกันว่าหากได้ฟังเทศน์บุญผะเหวดครบ ๑๓ กัณฑ์ จบภายในวันเดียวและจัดพิธีตั้งเครื่องคาย (บูชา)ได้ถูกต้อง"
  • ยังไม่เคยฟัง อยากจะฟังค่ะ

สวัสดีครับ คุณเอื้องแซะ

@ เสียดายเครื่อง mp3 ขัดข้อง

@ จึงไม่สามารถนำเสนอผ่านบันทึกนี้ได้

@ ขอบพระคุณครับ

สังแมนเอ้ถะมาด(ธรรมาสน์)เทศน์ผะเหวดงามคักแท้น้อ

ขอเสริมคายคาถาพันที่ใช้ในการเทศน์ผะเหวดนะครับมีสองส่วน คือ

1. ครุพัน คือ เครื่องบูชาอย่างล่ะ 1000 ได้แก่

ธูป

เทียน

ดอกไม้(พยอม, ก้านของ,)

บัวหลวง

บัวทอง

บัวแบ้

หมาก

เหมี่ยง

บุหรี่

ทุง

ทุกอย่างมัดรวมกันแล้วใช้ไม้ขนุนเป็นแกนเอาผ้าห่ออีกครั้ง(การห่อครุพันก็มีหลายแบบ วันหลังจะเอารูปมาฝากเด้ออ้าย)

2. คายพัน ที่วางใส่ขันกระหย่อง

มีคล้ายกับครุพันเพียงแต่เพิ่มข้าวพันก้อยนเท่านั้น

นานแล้วนะคะ ที่ไม่ได้แวะเข้ามาเยี่ยมชม งานคราวนี้สุดยอด ไปเลย

ชุมชนบ้านผำรวมน้ำใจเป็นหนึ่งเดียวจริงๆเลย เห็นแล้วนึกถึงสมัยตอนเด็กๆ

จำได้ว่าแห่กัณฑ์หลอนม่วนสุดๆ งานนี้ ทำให้เห็นถึงความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่ง ใจเดียวกันจริงๆ อยากให้หมู่บ้านอื่นๆ มีความสามัคคีแบบนี้จัง..

สวัสดีครับ อาจารย์พิมล มองจันทร์

@ การเอ้ถะมาด(ธรรมาสน์)เทศน์ผะเหวด ที่ว่างามงาม นั่นคือ ผลงานพ่อใหญ่ แม่ใหญ่จากบ้านผำครับ

@ ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมยามครับ

สวัสดีครับ อาจารย์พิมล มองจันทร์

@ ขอบพระคุณเป็นครั้งที่สอง

@ สำหรับคายคาถาพันที่ใช้ในการเทศน์ผะเหวดทั้งสองส่วน

@ ช่วยเติมเต็มให้บันทึกนี้มีความครบถ้วน สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

@ ขอบพระคุณครับ

สวัสดีค่ะ

  • วันนี้ได้รู้ตัวตนอย่างจริงๆเลยค่ะ
  • เห็นน้อง ๆคร่ำเคร่งกับการนำเสนอผลงานเพื่อไปสอบบรรจุ
  • จึง..นึกไปตลอดทั้งวันว่า
  • อยาก..ลาออกแล้วค่ะ
  • รัฐบาลจะได้จ้างคนใหม่มาแทน
  • พักผ่อนอยู่กับบ้านก็ทำงานให้กับสังคมได้สะดวกกว่าค่ะ

สวัสดีครับพี่สาว คุณครูคิม

@ กำลังทบทวนเรื่องเมื่อวันก่อนๆ ที่ว่าพี่สาวไม่ผ่านการประเมินฯ (ตอบตัวเองไปว่าไม่อยากเชื่อ)

@ พอเมื่อวานได้ร่วมแสดงความยินดีกับการผ่านการประเมินฯ และยังมีอีก ๒ หมื่นกว่าคนที่ยังไม่ผ่านการประเมินฯ

@ วันนี้ได้รู้ว่าพี่สาว(แค่คิด)ว่า..อยากลาออก

@ น้องชายคนนึงหล่ะ ที่ไม่เห็นด้วย

@ ทำไมเหรอ ก็ระดับพี่สาวแล้ว

@ การพักผ่อนอยู่กับบ้านก็ทำงานให้กับสังคมได้สะดวกกว่า..ใช่ผมมิบังอาจเถียงครับ..

@ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พี่สาวทำอยู่ผมกลับมองว่าเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าซะอีก

@ สอนคนไม่ยากแต่สอนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ยากกว่า

@ ฝากความคิดถึงและกำลังใจไปหาพี่สาว คุณครูคิมครับ

สวัสดีค่ะ

  • ตอนที่ทำส่ง อาจารย์ ๒ ตรวจที่จังหวัดค่ะ  มีความบกพร่องไม่ผ่านการประเมิน แต่ปรับปรุงไปส่งใหม่ค่ะ
  • ส่วนอาจารย์ ๓ สมัยนั้นตรวจที่กรุงเทพ..ผ่านค่ะ ไม่แก้เลย
  • กรรมการเขาคงนึกสงสารว่า..ยายครูคนนี้ทำอะไรมาส่งหนอ..ดูประวัติสอนอยู่บ้านนอก บนดอยก็คงเห็นใจ
  • ฮิ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ

สวัสดีครับพี่สาว คุณครูคิม

@ คณะกรรมการตรวจผลงาน มีเกณฑ์ที่ชัดเจนในการให้คะแนน

@ ไม่อยากบอกพี่สาวเลยว่าเพื่อนๆ กันก็เป็นกรรมการอ่านด้วย แต่บอกแล้ว..อิ อิ

@ ความสงสารคงจะน้อย ว่ากันตามเนื้อผ้า

@ ขอแสดงความยินดีด้วยอีกครั้งครับ

สวัสดีครับ คุณ Pala

@ ไม่เจอะเจอกันตั้งนานคิดถึงจริงจริง

@ อากาศทางโน้นเป็นอย่างไรบ้าง

@ ร้อนเหมือนที่เมืองไทยเปล่าครับ

@ ความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่ง ใจเดียวกัน

@ ภาพที่ปรากฏต่อสายตา เกิดจากความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่ช่วยกันสืบสานศิลปะวัฒนธรรมอันดี

@ พร้อมทั้งความเป็น "คนของชุมชน" ที่ทุกคนมีส่วนร่วม มีนิสัยใจคอชอบความสนุกสนานรื่นเริง

@ ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมและฝากความคิดถึงไปยังครอบครัวด้วยครับ

 

สวัสดีค่ะ

  • เห็นน้องชายอยู่ในบล็อก
  • ก็อยากคุยด้วยค่ะ
  • เมื่อคืน....หาคำตอบให้ตัวเองทะลุได้ทุกข้อ
  • ตื่เช้าขึ้นมา....รู้สึกว่ามีความสุขมากค่ะ
  • ที่ได้โล่งอกโล่งใจ...บอกไม่ถูกค่ะ

สวัสดีครับพี่สาว คุณครูคิม

@ ปีติสุข ที่เห็นพี่สาวมีความสุข

@ บางครั้งการพักผ่อนที่เพียงพอ

@ ภายหลังจะทำให้สมองคิด คิดอะไรดีดี ได้ตั้งหลายอย่าง

@ อย่างน้อยตัวเราก็รู้สึกเป็นสุขกายใจ เบา สบาย

@ ฝากความคิดถึงและกำลังใจไปหาครับ

 

สวัสดีครับ พี่ไทบ้านผำ

ขอบคุณที่นำสิ่งดีๆมาให้ชม

งานเป็นตามวนเนาะ

บุญบ้านเรา ยังคึกครื้นเหมือนเดิม

พี่น้องสามัคคีร่วมมือกันอย่างดี

คิดถึงอยากกลับไปเยี่ยมบ้านครับ

สวัสดีน้อง Nazz

@ งานเป็นตามวนเนาะ..มวนคัก!

@ พี่ไทบ้านผำขอเป็นกำลังใจสำหรับคนไกลบ้าน

@ ขอบคุณหลายที่แวะมายามครับ

สวัสดีครับ

ขอบคุณพี่มากนะครับ

ที่นำอารูปสวยๆๆมาให้ชมนะครับ

เป็นสิ่งที่ดีมากครับ

ซำบายดีเด้ออ้าย

คิดฮอดบ้านเฮาคักแท้

สวัสดีครับน้องหนูนา

@ ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตคนใหม่

@ ขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมยาม

@ ขอส่งกำลังใจไปหานำเด้อ...ครับพี่น้อง!!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท