KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 592. ตารางแห่งอิสรภาพ


 ตารางแห่งอิสรภาพ (Self-Assessment Table) เป็นเครื่องมือ KM ตัวแรกๆ ที่ สคส. นำเข้ามาทดลองใช้ในสังคมไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ มีการนำไปใช้กับชาวบ้านที่พิจิตร และ มน. นำไปใช้เพื่อประเมินภาพเคลื่อนไหวรายปี ในการพัฒนาขีดความสามารถด้านการพัฒนาคุณภาพและด้านการวิจัยของหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ผู้มีประสบการณ์ในการใช้เครื่องมือนี้คือ คุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ แห่งมูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร และ ผศ. ดร. วิบูลย์ วัฒนาธร รองอธิการบดี มน.

สคส. ได้เครื่องมือนี้มาจากคณะทำงานเรื่อง AIDS Competence    และในช่วง ๒ ๓ ปีที่ผ่านมา สคส. ไม่ค่อยได้ใช้เครื่องมือนี้โดยตรง

แต่ตอนนี้เรากำลังจะเอาตารางแห่งอิสรภาพไปให้ สช. ใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนระบบสุขภาวะของชาติ   ผ่านกระบวนการธรรมนูญระบบสุขภาพแห่งชาติ   เพราะคิดว่าเป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องราวที่มีความซับซ้อน    และต้องตีความเองโดยผู้ปฏิบัติ    จึงนำเอาเอกสารเกี่ยวกับเรื่องนี้มาเผยแพร่

·        เอกสารบันทึกการนำ ตารางแห่งอิสรภาพ ไปใช้กับเครือข่ายชมรมเกษตรกรรมธรรมชาติ จ. พิจิตร  ๑๐ ๑๑ ธ.. ๒๕๔๗    อ่านได้ที่นี่

·        เอกสารขั้นตอนการทำตารางแห่งอิสรภาพ   อ่านได้ที่นี่

·        เอกสาร ตารางแห่งอิสรภาพของการเกษตรปลอดสารพิษ   อ่านได้ที่นี่ 

ตารางแห่งอิสรภาพ เป็นเครื่องมือ ลปรร. อย่างอิสระ   และอย่างมีกรอบแนวคิดร่วมกัน    เมื่อใช้ตารางแห่งอิสรภาพและเครื่องมือชุดธารปัญญา ทั้งชุด ไประยะหนึ่งสมาชิกจะเกิดทั้ง Systems Thinking, Personal Mastery, Mental Models, Team Learning และ Shared Vision ครบองค์ ๕ ขององค์กรเรียนรู้ไปโดยอัตโนมัติ

วิธีใช้โดยละเอียดอ่านได้จาก หนังสือ การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ  โดยวิจารณ์ พานิช  หน้า ๑๔๘ ๑๕๑   แต่การฝึกหัดใช้จริงๆ ต้องฝึกปฏิบัติ    หรือที่เรียกว่าการประชุมปฏิบัติการ    และ สคส. มีบริการจัดการฝึกปฏิบัติให้แก่องค์กรที่สนใจ    ในเร็วๆ นี้เราจะจัดให้แก่ สช.

 

วิจารณ์ พานิช

๖ ต.. ๕๑

หมายเลขบันทึก: 216891เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2008 07:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อะไรครับที่จะให้อิสระภาพกับเราได้

อะไรครับที่จะให้อิสระภาพกับเราได้ http://sampan.exteen.com/

-เรียนท่านอาจารย์

-สนใจเรื่องการทำตารางอิสรภาพ จึงเข้ามาเรียนรู้ พบว่าการเรียนรู้ตามแนวนอน การจับคู่ลลปร ระหว่างผู้สนใจ กับผู้มีความรู้ ก่อให้เกิดความรู้และองค์ความรู้ที่รู้สึก ความพึงพอใจ และความสำเร็จของงาน ความสุขในความสำเร็จจากเนิ้องานที่ทำด้วยความสุข จะติดตามเติมเต็มให้ตนเอง จนกว่าจะเข้าใจอย่างแท้จริง

-ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท