ชีวิตที่พอเพียง : 632. ระบบสุขภาวะ มองระดับโลก (๓)


ระบบสุขภาวะ มองโลก  ตอนที่ ๑ , ตอนที่ ๒

 

ช่วงบ่ายของวันที่ ๒ ของการประชุม (๒๙ ต.ค. ๕๑) เป็นการประชุมกลุ่นย่อย เพื่อเสนอกลไกเชิงสถาบัน เพื่อทำหน้าที่เชื่อมระหว่าง Demand-side กับ Supply-side ในการสร้าง ผู้เชี่ยวชาญเชิงระบบ ของระบบสุขภาวะ

กลไกเชิงสถาบันแบบนี้ เขามองว่า ทำหน้าที่ Knowledge Brokerage (KB)  ซึ่งในมุมมองของผม เรียกว่าเป็น Learning Facilitator

หมอสุวิทย์ ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด งัดเอาโมเดล สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา มาใช้   และบอกว่าสถาบัน KB ทำหน้าที่เชื่อมโยง ๓ ส่วนหรือ ๓ มุม ของสามเหลี่ยม    ฝรั่งชอบมาก

 

ผมกลับมา AAR กับตัวเองที่ห้องพัก ว่า ประเทศไทยน่าจะรับทำหน้าที่จัดสถาบัน KB ด้านการพัฒนาระบบสุขภาวะในระดับประเทศและระดับภูมิภาคได้   โดยผมสามารถเอาประสบการณ์การทำงาน ADRF เป็นเวลา ๕ ปี    มาให้คำแนะนำได้   โดยเราอาจตั้งชื่อว่า East Asia Health Systems Learning Facilitator Institute   ใช้ KM เป็นเครื่องมือในการทำงาน   สถาบันนี้อาจตั้งที่สถาบันสาธารณสุขอาเซียน  หรือที่สถาบันวิจัยประชากรและสังคม  หรือที่ สวรส.  หรือ IHPP   อาจมีคนทำงานเพียง ๒ คน คือ ผอ. ที่ทำงานครึ่งเวลา กับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเต็มเวลา    กับมี Steering Panel สัก ๓ ๔ คน    โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก RF ช่วงแรก เป็นเวลา ๑๐ ปี    โดยมีการประเมินเป็นระยะๆ และหยุดโครงการได้เสมอ

 

ช่วงเย็น เป็นการประชุม ลปรร. กับกลุ่มที่มาประชุมเรื่อง Global Survey on Health Systems จัดโดย WHO  ผู้จัดชื่อ Clara   เขาบอกว่า World Health Report 2000 จัดกลุ่มประเทศตามความเข้มแข็งของ Health Systems   ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์เรื่องเกณฑ์ในการบอกความเข้มแข็งของระบบ   เขาจึงตั้งกลุ่มทำงานเรื่องนี้ต่อ   ในกลุ่มนี้มีหมอภูษิตจากประเทศไทยมาร่วมด้วย

 

ผมมองว่าความรู้จากกลุ่มนี้น่าจะเพียงพอที่จะนำมาสร้าง เครื่องมือวินิจฉัยความเข้มแข็งของระบบสุขภาพ ได้    ในภาษา KM นี่คือแนวทางในการทำตารางแห่งอิสรภาพ    สำหรับให้แต่ละประเทศ  หรือแต่ละแคว้นของประเทศ  นำมากำหนดตารางแห่งอิสรภาพสำหรับใช้ประเมินความเข้มแข็งของระบบสุขภาพของตนเอง    เราก็จะใช้เจ้าตารางแห่งอิสรภาพนี่แหละเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้เชิงระบบ    เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบสุขภาพของแคว้นของตนเอง หรือของประเทศของตนเอง

 

วิจารณ์ พานิช

๓๑ ต.ค. ๕๑

ห้อง CA 4  ศูนย์ประชุม มูลนิธิ ร็อกกี้เฟลเล่อร์ เบลลาจิโอ

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 224027เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2008 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท