ชีวิตที่พอเพียง : ๘๕๙. ข้อคิดเห็นเรื่องนโยบายวิทยาศาสตร์ของประเทศ ๒. ทำอย่างไรจึงจะเพิ่มงบประมาณของประเทศด้านการวิจัยได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ


ตอนที่ ๑
 
          วันที่ ๔ พ.ย. ๕๒ ที่ปรึกษา รมต. วิทย์ จะระดมความคิดกันว่า ทำอย่างไร งบประมาณวิจัยของประเทศจึงจะเพิ่มจาก 0.25% GDP  ไปเป็น 1% GDP   ท่านหัวหน้าทีมที่ปรึกษา ดร. สันทัด โรจนสุนทร มอบหมายให้ผมคิดการบ้านไปล่วงหน้า     ผมจึงทำการบ้านเอาส่ง บล็อก ก่อน    เพื่อขอความเห็นจากแฟนานุแฟนด้วย
 
 ขยับที่ demand-side  มากกว่าที่ supply-side   หมายความว่า หาทางส่งเสริมให้เพิ่มการลงทุนวิจัยโดยฝ่ายผู้ใช้ผลงานวิจัยให้มากขึ้น    มากกว่าการลงทุนโดยให้เงินสนับสนุนที่ฝ่ายผู้สร้างผลงานวิจัย

  กำหนดให้ mega project ต้องมีเงิน 0.5 – 1 % เป็นเงินวิจัยเพื่อสร้างความรู้ ให้มีผลระยะยาวต่ออุตสาหกรรมหรือกิจการนั้น    รวมทั้งการสร้างนักวิจัยสาขาที่เป็นประโยชน์ต่อกิจการ 

  ลงเงินที่การวิจัย และในขณะเดียวกัน มีการสร้างคน (นักวิจัย) สร้างวัฒนธรรมวิจัยที่มีคุณภาพ    คือต้องระมัดระวังไม่ให้เงินวิจัยล้นคน    อันจะนำไปสู่สภาพที่งานวิจัยด้อยคุณภาพ

  สื่อสารสร้างความเข้าใจในสังคมวงกว้าง ให้เห็นคุณค่าของการลงทุนวิจัย     ให้เห็นว่าเป็น investment  ไม่ใช่เป็น expense

  หาทางทำให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงบประมาณทุกระดับ   และให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา  เข้าใจว่างบประมาณแผ่นดินด้านการวิจัยเป็น investment เพื่อความเข้มแข้งของประเทศในระยะยาว    ไม่ใช่เป็น expense ที่มองผลระยะสั้น  

  กวดขัน ไม่ให้มีการนำเงินวิจัยไปถลุงเล่น    หรือเอาไปจัดสรรแบบชุ่ยๆ     ซึ่งจะทำให้ผู้คนไม่เห็นคุณค่าของการลงทุนวิจัย

  จัดการเงินทุนวิจัยอย่างระมัดระวัง   จัดงบประมาณแผ่นดินด้านการวิจัยผ่านหน่วยจัดการงานวิจัยตามผลงาน    ไม่ใช่จัดตามความเป็นพวกพ้อง 

  เงินลงทุนวิจัยภาครัฐ เน้นที่ ๓ อย่าง  (๑) การวิจัยพื้นฐาน  (๒) การสร้างคน (นักวิจัย)  (๓) การจัดการงานวิจัย 
 
  เงินวิจัยเพื่อนำผลไปใช้ประโยชน์ต้องเน้นให้ผู้ใช้เป็นผู้ลงทุน

  อื่นๆ (โปรดแนะนำ)
 

วิจารณ์ พานิช
๑๑ ต.ค. ๕๒

                     
หมายเลขบันทึก: 306088เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2009 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 00:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาจาย์หมอครับ

ผมเห็นด้วยกับการที่เน้นด้าน demand side มากกว่า supply side การจะทำให้เกิดการหมุนวนของการวิจัยอย่างมีพลังจะสามารถผลักดันได้อย่างดีถ้ากระแสของ demand side มาเป็นแรงขับครับ ผมขอยกตัวอย่างตอนสงครามโลก จะเห็นว่าการก้าวหน้าของการวิจัยด้านเทคโนโลยี่ไปเร็วมาก หรือแม้แต่ตอนสงครามชิงการเป็นเจ้าอวกาศระหว่างสหรัฐกับโซเวียตก็ทำให้วิทยาศาสตร์หมุนไปอย่างเร็ว เทคโนโลยี่เหล่าถูก spin off ออกมาเป็น commercial หลายอย่างเช่น กะทะเทฟล่อน เครื่องไมโครเวฟ ไฟฉายแบบ LED

สิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตุ และที่สัมผัสคือ นักวิจัยของเราเอาเรื่องที่เค้าถนัดเป็นเวลานาน มาเป็นโจษย์ มันมีทั้งข้อดีและข้อด้อย ข้อด้อยที่ผมเห็นก็คือนักวิจัยยังไม่ค่อยบริหารจิตนาการให้กว้างขั้น ผมเคยเสนอหัวข้อบางอย่างแก่อาจารย์ จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ซึ่งสุดท้ายไม่ workout ด้วยเหตุผลเพียงเพราะว่าเรื่องนั้นออกจาก confort zone ของอาจารย์

อีกประการหนึ่งคือ การทำวิจัยประเภททำตามเพื่อ copy โดยไม่มี value added เป็นงานวิจัยที่ผมไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เช่น หลายปีมาแล้ว ผมเคยเห็นการวิจัยชิ้นหนึ่งที่บอกว่า สามารถ ออกแบบ CPU แบบ intel 8088 ด้วยคนไทยเองทั้งหมด ผมไม่รู้ว่าผมควรยินดี หรือเสียใจดี เพราะ intel ทำ CPU นั้นออกมาขายเมื่อกว่า 25 ปีก่อนหน้านี้

ดำรง ลีนานุรักษ์ ม.แม่โจ้

ทำอย่างไร งบประมาณวิจัยของประเทศจึงจะเพิ่มจาก 0.25% GDP ไปเป็น 1% GDP  ด้วยนี่เป็นโจทย์สำหรับระดับนโยบาย ผมว่าโจทย์นี้ไม่เป็นประโยชน์เท่าที่ควร ประเด็นที่สำคัญที่จะมีน้ำหนักต่อการให้ระดับนโยบายเพิ่มเพดานงบวิจัยน่าจะอยู่ที่ว่า  เราให้ข้อมูลที่solidได้ไหมว่า "งานวิจัยส่วนใหญ่มีผลเกิดimpactต่อเศรษฐกิจและสังคมได้จริงวัดค่าวัดผลได้" ผลการลงทุนของรัฐในงบวิจัยหนึ่งส่วนสามารถวัดได้ว่ามีผลทำให้ GDP เพิ่มกี่ส่วนในแง่S&T หรือตัวชี้วัดอื่นๆที่เป็น intangible สำหรับศาสตร์อื่นๆ หรืออย่างน้อยให้ประเมินออกมาให้ได้ว่า กี่%ที่เป็น research for the sake of research หรือวิจัยเพื่อแก้ปัญหา(ในศาสตร์นั้นๆ)ที่ผู้วิจัยติดใจเอง หรือเคยชิน หรือไล่กวดชิงความเป็นผู้นำของศาสตร์นั้นๆที่ตัวเคยทำตอนเรียนเมืองนอก หรือทำป.โทเอกในเมืองไทยก็ตาม โดยไม่ได้มีส่วนถูกปรับใช้ต่อบ้านเราเลย หรือไม่เกิดผลที่ตอบปัญหาของประเทศเราเลย  ถ้าเราไม่มีข้อมูลตรงนี้ วงการวิชาการคงตอบประเทศชาติไม่ได้หรอกครับว่า กี่%ของGDPที่ว่าเหมาะสม   ผมมีนิทานเรื่องหนึ่งที่พอจะสะท้อนภาพตัวตนและอุปทานที่แรงและเห็นยากของ Proud Researcher คนหนึ่งมาเล่าให้ฟัง

ดังนี้ครับ // มีอาจารย์ในมหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ที่ก่อนไปเรียนนอกได้ทำงานวิจัยร่วมกับอาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่านและมีผลงานตีพิมพ์ทั้งในและนอกประเทศหลายเรื่อง ทั้งนี้ตั้งแต่ก่อนไปเรียนโทและเอก เขามีความภูมิใจมากและตั้งเป้าไว้ว่าจะเป็นศาสตราจารย์ที่มีอายุน้อยที่สุดของสาขา ตอนไปเรียนโทเอกยิ่งได้ไปอยู่ในlab.ที่กำลังทำงานวิจัยในแนวที่กำลังฮิตของสาขา เขายิ่งทุ่มเททำงานวิจัย อีกทั้งด้วยไปจากประเทศกำลังพัฒนาจึงพยายามสร้างตัวเองให้มีความลุ่มลึกในวิชาการอย่างใฝ่รู้ แบบว่าเองรู้แค่ไหนข้าก็รู้ได้ไม่แพ้เอง เขาได้มีส่วนพัฒนาแนวการวิจัยและมีส่วนในการตั้งโจทย์ที่อาจารย์ที่ปรึกษายอมรับ หลังจบงานส่งเล่มวิทยานิพนธ์ หัวหน้าภาควิชาทราบก็ได้บอกprofessorของเขาว่าให้พาเขาไปพบที่ห้อง ท่านจะเปิดแชมเปญเลี้ยงฉลองให้ ในขณะที่คุยกันไปมา หัวหน้าภาคฯซึ่งเป็นauthorityที่เด่นคนหนึ่งของสาขาวิชาการนั้นๆในโลก ได้ถามเขาว่า เขาจะกลับไปจะทำอะไรที่เมืองไทย ชายหนุ่มก็ตอบไปอย่างสมความภาคภูมิที่ได้สั่งสมวิชาการและเรียนรู้เทคนิคการวิจัยที่เป็นแนวหน้าของโลกว่า "ผมจะกลับไปทำงานวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำนมของวัวนมในเมืองไทยให้ให้นมสูงขึ้น" หัวหน้าภาคฯส่ายหัวเค่นเสียงออกทางจมูก(แบบผู้ดีอังกฤษ)แล้วพูดว่า คุณไม่เห็นจะต้องไปวิจงวิจัยอะไรเลยถ้าต้องการเพิ่มน้ำนมวัวในบ้านคุณ แค่ให้วัวมันได้กินตามความต้องการ(ตามความต้องการโภชนะ ซึ่งเป็นความรู้ที่เราสอนเด็กป.ตรี)ก็นมเพิ่มแล้ว เด็กหนุ่มคนนั้นนั่งตลึง และเกิดตกผลึกทางความคิดขึ้นมากับตัวเองว่า ยิ่งเรียน ยิ่งรู้ ตีนยิ่งไม่ติดดิน วัวทั้งประเทศอยู่ในสภาพให้ผลผลิตภายใต้สภาพmalnutrition แค่bottom lineของการผลิตเรายังทำให้เกิดไม่ได้เลย จากวันนั้นโลกทรรศน์ของหนุ่มคนนี้ก็เลยเปลี่ยนไป ปลดอุปทานในศาสตร์ออกได้ และใช้เวลาครึ่งชีวิตในการฝึกทำในระดับฟาร์มกับมือ และนำความรู้ที่มีไปสอนอบรมชาวบ้านให้เลี้ยงวัวให้ถูกต้อง นั่นคือ"ให้มันกินให้พอกับความต้องการ อย่าปล่อยให้วัวผอมหลังคลอด"  เพราะประสบกับตัวเขาเอง จึงเข้าใจเพื่อนนักวิชาการบางคนที่ตกเป็นเยื่อเป็นทาษของอุปทานหมายมั่นในศาสตร์ตามประสพการณ์และความเคยชินของแต่ละคนอย่างไม่รู้เท่าทัน และเขาก็ไม่ไปทะเลาะหรือเถียงเชิงlogicกับใครเพราะเขารู้ว่าประสพการณ์ตรงที่ได้รับ อธิบายยากด้วยlogicที่ใช้กันอยู่ // จากตัวอย่างเด็กหนุ่มคนนี้ผมว่าเรามีงานวิจัยที่ไม่เป็นประโยชน์หรืออ้างได้ว่าเกิดองค์ความรู้ แต่อาจเป็นองค์ความรู้ที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย และหรือได้ตีพิมพ์ในวารสารเด่นๆที่มี impact factor สูงๆแต่ไม่เกิด impact ต่อเศรษฐกิจและสังคมเลยอยู่มาก และเราเองก็เหมือนจะรู้ๆกันอยู่ว่างานวิจัยของเราส่วนใหญ่อยู่หิ้ง ถึงจะพยายามหาทางโปรโมทกันให้เกิดการเอามาใช้ ตีปี๊บกันไปมา สุดท้ายก็หลอกตัวเองกันทั้งนั้น เพราะมันไม่เป็นเหตุปัจจัยกัน สุดท้าย แล้วเราจะดึงความจริงตรงนี้ออกมาให้กำหนดรู้ให้เห็นชัดๆได้อย่างไร นี่เป็นโจทย์ข้อที่หนึ่งที่ต้องการคำตอบ แล้วจึงจะได้มีจุดเริ่มต้นในการบริหารหรือทำให้ทุนวิจัยที่จะจัดให้แต่ละโครงการ เป็นงานวิจัยที่ตอบปัญหาชาติหรือต้องมีผลต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างแท้จริงจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมก็ตามอีกหนึ่ง ดังนั้นจะให้งบวิจัยของชาติเป็นกี่%ของGDPจึงใช่เรื่องสำคัญครับ อีกทั้งหลังจากใช้เงินกู้ที่ว่าเอามาแก้วิกฤตหมดแล้ว เราก็จะหน้าเขียวกันถ้วนหน้าครับ เพราะงบประมาณ โดยเฉพาะงบวิจัย มีแต่จะลดลงครับ ยิ่งหาคำอธิบายฝ่ายการเมืองไม่ได้ ว่างบวิจัยมีผลต่อการเพิ่มหรือขยายตัวทางเศรษฐกิจตรงไหนอย่างไร เผลอๆเขาตัด รูดลงโดยไม่ดู%หรอกครับ /เคารพและนับถือ ดำรง  

     

สวัสดีครับ

ผมไม่มีผลงานวิจัยอะไรดีเด่นพอที่จะ comment ในฐานะผู้ทำวิจัย แต่ขอแสดงความคิดเห็นในฐานะครูอุดมศึกษาคนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น "demand side"

ผมคิดว่าเป็นเรื่องของ "วัฒนธรรมการแก้ปัญหา" ของคนไทย

งานวิจัยก็คือการตั้งคำถาม_หาคำตอบ ที่มีหลักการ เหตุผล และการคิดวิเคราะห์ เชื่อมโยง ที่ลึกซึ้ง เป็นขั้นเป็นตอน เป็นบูรณาการของฐานความคิด เข้ากับฐานกายและฐานอารมณ์ สิ่งเหล่านี้เป็นทั้งความรู้ ทักษะ และเจตนคติ

rote learning ที่เกิดจากการทำซ้ำ ท่องซ้ำ อาจจะทำให้เกิดความชำนาญ ความจำ แต่นั่นยังไม่ได้เพาะบ่ม "ฉันทะ" ในการคิดใคร่ครวญ และผมคิดว่าการเปลี่ยนแปลงในเชิงวัฒนธรรมของสังคม เป็นมหภาค ที่ต้องอาศัยการขับเคลื่อนหลายฝ่าย เป็นเรื่องใหญ่พอที่จะใช้ "สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา" ของอาจารย์ประเวศมาเป็นเครื่องยนต์กลไกได้เลยทีเดียว

จากประสบการณ์ส่วนตัวในการสอน ซึ่งอาจจะ generalize ได้ไม่มากเท่าไหร่ แต่กระบวนการคิดนั้นเราไม่ค่อยสร้างสรรค์เท่าไหร่เลย ทั้งๆที่ขนาดใน field medicine ที่การท่องจำอย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะต้่องใช้ clinical judgement ด้วยนั้น แต่กระแสแห่งการทำงานตาม map, guidelines และ pre-set answers นั้นรุนแรงมาก การอ่าน journals แทนที่จะอ่านแบบ critical analysis ก็ยังอ่านแบบหาข้อสรุปที่ conclusion, summary ไม่ค่อยชอบอ่านตรง intro และ methodology

การสอน evidence-based ผิดๆ ที่มี judgmental attitude และอคติต่อ evidence-based level 5 คือ personal experiences นั้น ทำให้คนไม่อยู่กับ "ปัจจุบัน" ไม่สังเกต สังกา เป็นอุปสรรคต่อ R2R2R หรือ routine to research อย่างยิ่ง และ judgemental attitude นี้มีอยู่ในทุกวงการ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องนี้เรื่องเดียว จะเรียกเป็น culture ก็ได้ แต่เป็น culture เชิงลบ

การแก้ปัญหาโดยใช้กฏ ระเบียบ ข้อบังคับ ก็เหมือนกัน จะ empower health promotion ก็ออกกฏหมายใส่หมวกกันน็อค จะให้นักเรียนเข้าห้องเรียนก็บังคับเซ็นชื่อ หักคะแนน จะให้คนทำงานในที่ทุรกันดาลก็อัดฉีดเงินแต่ในขณะเดียวกันก็ใช้เป็นที่ "เนรเทศ" หรือทำโทษคนทำงานไม่ดีจากที่อื่นให้ไปอยู่ในที่นั้นๆ มันมี sense ของการ "ตัดสิน value" ที่ผิดอยู่เต็มไปหมด

แต่ไม่เป็นไร และไม่ได้ทำอะไร

ตรงนี้ที่เป็นอุปสรรคแห่งการเกิด "คำถาม (วิจัย)" ที่ดีและการวิจัยที่มี impact ต่อชีวิตจริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่ต่อตำแหน่งทางวิชาการของผู้ทำวิจัยเท่านั้น

สื่อมวลชนสนทนากันด้วยภาษาที่เต็มไปด้วยฝ่าย ด้วยการตัดสิน โดยใช้อารมณ์ การทำงานจริงๆที่ไม่มีความชัดเจน หรือวางบนเหตุผล อาทิ การแต่งตั้งตำแหน่งนายตำรวจ เราก็ยังไม่สามารถทำให้เห็นได้ว่ามาจาก meritocratic หรือวางอยู่บนหลักการอะไร เป็นอะไรที่อึมครึม เต็มไปด้วยการพยักเพยิด wing-wing ขยิบหูขยิบตา นี่เป็นบรรยากาศที่ไม่ส่งเสริมการทำงานด้วยหลักการ แต่เป็นการส่งเสริมการทำงานที่เน้นพรรคพวก ผลประโยชน์

ที่กฏออกมากี่ฉบับๆ ก็จะไม่แก้อะไร

ผมจึงคิดว่าสมุฎฐานของเรื่องนี้ อาจจะลึกกว่า KPI บางประการจะแก้ไขได้ในตอนนี้ครับ

ด้วยความเคารพ

 

กราบเรียนอาจารย์วิจารณ์

ขอเสนอในส่วนของผู้เคยทำวิจัยและพัฒนาให้บริษัทหนึ่งมาก่อนนะครับ

เนื่องจากต้นทุนการทำวิจัยมีค่อนข้างสูง  ทั้งวัตถุดิบที่ใช้ในงานวิจัย ที่มีความสูญเสียสูงมากตั้งแต่ขั้นตอนการทำ Pilot Project กว่าจะไปถึงขั้น Implimentation จริง  ค่าแรงงาน  ค่าเครื่องจักรและค่าเสียโอกาสจากการทำลองทำในสายการผลิตจริง  โรงงานที่ต้องแบกรับภาระการวิจัยจะเสียความรู้สึกมากเมื่อมีคนเอาไปลอกเลียนแบบออกมาได้ในราคาถูก  (เพราะไม่มีต้นทุนไม่เสียเวลาทำวิจัย)

  1. ควรจะมีมาตรการรับรองผลงานที่ถูกวิจัยแล้ว  ไม่ให้ถูกลอกเลียนแบบ 
  2. เร่งรัดกระบวนการตีความเอาผิด  ฟ้องร้องค่าเสียหายกับผู้ลอกเลียนแบบให้เร็วกว่านี้  ปัจจุบันกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการใช้เวลานานเป็นปี  บางอย่างต้องห้ามการผลิตจนกว่าจะตัดสินเสร็จสิ้น  ผู้พัฒนาตัวจริงก็เสียหายมากอยู่ดี
  3. ลดภาษีให้กับเอกชนที่มีผลงานด้านการวิจัย  หรือให้ทุนสนับสนุนหรือชดเชยทุนวิจัยกับเอกชนที่มีผลงานวิจัย  (ใครๆ ก็อยากทำวิจัยถ้ารัฐสนับสนุน)
  4. จัดมหกรรมให้เอกชน  คนทั่วไปที่ทำวิจัยเอง (งานวิจัยในครัวเรือน) นำผลงานของตนออกมากแสดง  ถ้าอันไหนเป็นประโยชน์  องค์กรที่เข้ามาชมงานก็จะติดต่อเอาผลงานไปต่อยอดเอง  เหมือนนำผู้ต้องการใช้กับผู้มีผลงานมาพบกัน  อย่างที่ในต่างประเทศบางประเทศทำ

ขอบคุณครับ

อภิชา

กราบเรียนอาจารย์วิจารณ์

ขอเสนอในส่วนของผู้เคยทำวิจัยและพัฒนาให้บริษัทหนึ่งมาก่อนนะครับ

เนื่องจากต้นทุนการทำวิจัยมีค่อนข้างสูง  ทั้งวัตถุดิบที่ใช้ในงานวิจัย ที่มีความสูญเสียสูงมากตั้งแต่ขั้นตอนการทำ Pilot Project กว่าจะไปถึงขั้น Implimentation จริง  ค่าแรงงาน  ค่าเครื่องจักรและค่าเสียโอกาสจากการทำลองทำในสายการผลิตจริง  โรงงานที่ต้องแบกรับภาระการวิจัยจะเสียความรู้สึกมากเมื่อมีคนเอาไปลอกเลียนแบบออกมาได้ในราคาถูก  (เพราะไม่มีต้นทุนไม่เสียเวลาทำวิจัย)

  1. ควรจะมีมาตรการรับรองผลงานที่ถูกวิจัยแล้ว  ไม่ให้ถูกลอกเลียนแบบ 
  2. เร่งรัดกระบวนการตีความเอาผิด  ฟ้องร้องค่าเสียหายกับผู้ลอกเลียนแบบให้เร็วกว่านี้  ปัจจุบันกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการใช้เวลานานเป็นปี  บางอย่างต้องห้ามการผลิตจนกว่าจะตัดสินเสร็จสิ้น  ผู้พัฒนาตัวจริงก็เสียหายมากอยู่ดี
  3. ลดภาษีให้กับเอกชนที่มีผลงานด้านการวิจัย  หรือให้ทุนสนับสนุนหรือชดเชยทุนวิจัยกับเอกชนที่มีผลงานวิจัย  (ใครๆ ก็อยากทำวิจัยถ้ารัฐสนับสนุน)
  4. จัดมหกรรมให้เอกชน  คนทั่วไปที่ทำวิจัยเอง (งานวิจัยในครัวเรือน) นำผลงานของตนออกมากแสดง  ถ้าอันไหนเป็นประโยชน์  องค์กรที่เข้ามาชมงานก็จะติดต่อเอาผลงานไปต่อยอดเอง  เหมือนนำผู้ต้องการใช้กับผู้มีผลงานมาพบกัน  อย่างที่ในต่างประเทศบางประเทศทำ

ขอบคุณครับ

อภิชา

ดำรง ลีนานุรักษ์ ม.แม่โจ้

"อภิสิทธิ์" เปิดงาน 50 ปี วช. บอกผลักดันและขับเคลื่อนงานวิจัยให้พัฒนาไม่ได้ หากสังคมไม่เห็นความสำคัญ ระบุไทยมีทรัพยากรจำกัด ต้องกำหนดทิศทางวิจัยเพื่อตอบโจทย์สังคม อีกทั้งงานวิจัยยังกระจัดกระจายและไม่ถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมกันมองโจทย์วิจัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานสภาวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงาน วันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ครบรอบ 50 ปี ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 ต.ค.52 พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "การวิจัย นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท