กลุ่มร้อยรสบทกวี : ลีลาภาษากลอน๑


                      

          ในการแต่งกลอนสุภาพ มิใช่เพียงนำคำมาเรียบเรียงตามฉันทลักษณ์(แบบแผน) เท่านั้น หากยังมีกลวิธีที่ถ่ายทอดและพัฒนามาจากครู-บาอาจารย์รุ่นแล้วรุ่นเล่า ผู้เขียนจึงขอถ่ายทอดตามประสบการณ์การอ่าน การเขียน การเก็บเกี่ยวระหว่างการเดินทางในประเด็นต่าง ๆดังนี้

 

  • สัมผัสนอก  สัมผัสใน  สัมผัสใจ สัมผัสความ

  • สัมผัสเลือน ชิงสัมผัส

  • เสียงเสนาะเพราะวรรณยุกต์ 

  • วรรคสุดท้ายใช้นำทาง

  •  เก็บแรงบันดาลใจใส่กลอน

  • ชื่อเรื่องเท่ เสน่ห์นำ 

  • แนวคิดสื่อสารผ่านคำ

  • วรรคทองต้องใจ

  • เรียนรู้กลอนครู-บูรพาจารย์

   

  • สัมผัสนอก 

       ความหมายก็คือสัมผัสนอกวรรคและนอกบท เป็นเสียงสัมผัสสระที่บังคับระหว่างวรรคและระหว่างบท

        จากแผนผัง คำสัมผัสนอกประกอบด้วย   คำสุดท้ายของวรรคสลับ สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๕ ถ้ามี  ๙คำ ก็ ๓ หรือ ๖ (เลือกสัมผัสเพียง ๑ ตำแหน่ง) ในวรรครับ  คำสุดท้ายของวรรครับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครอง   และคำที่ ๓ หรือ ๕ ถ้ามี  ๙คำ ก็ ๓ หรือ ๖ (เลือกสัมผัสเพียง ๑ ตำแหน่ง)    ในวรรคส่ง  คำสุดท้ายของ วรรคส่ง สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครับในบทต่อไป ร้อยเรียงเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ

 

     ***  กรณีที่หาคำสัมผัสระหว่างบท (คำสุดท้ายของวรรครับมาสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคส่งในบทต้นไม่ได้)  ให้เปลี่ยนคำสุดท้ายของวรรคส่งหาคำใหม่ที่สอดรับกับคำสุดท้ายในวรรครับแทน   ไม่เช่นนั้นกลอนจะติดไม่สามารถแต่งต่อได้

                        

ตัวอย่าง

      

 

  • สัมผัสใน  

     สัมผัสในหมายถึงเสียงสัมผัสคล้องจองภายในวรรคเดียวกันประกอบด้วยเสียงสระและเสียงพยัญชนะ  ช่วยทำให้กลอนมีความไพเราะรื่นหู   ไม่ได้บังคับไว้ในฉันทลักษณ์ กลอนของสุนทรภู่จะมีลักษณะโดดเด่นในเรื่องสัมผัสในมากที่สุด ผู้รู้ตั้งข้อสังเกตว่ากลอนสุภาพที่โดดเด่นด้านสัมผัสในนี้ได้รับอิทธิพลมาจาก "ปัฐยาวัตตฉันท์" ของภาษาบาลีและรวมกลบทเรื่อง "กลบทศิริวิบุลกิติติ์" ของ หลวงศรีปรีชา(เซ่ง)

ตัวอย่าง

  

 

      เหลือรอยร้าวหลบเร้นเห็นรูร่อง          ยามฝนสาดแดดส่องต้องความหนาว

สายลมแรงซาดซัดที่พัดพราว                เสียงเกรียวกราวกรวดทรายลอยสายลม

                                            (โสภณ เปียสนิท : ต้นหญ้าบนรอยแยก)

 

 

           คิดครอง คิดครอบ กอบและโกย      หิวและโหย หวนและหา ใบหน้าหมอง
ดิน-ฟ้า-น้ำ รำร่าย ใส่ทำนอง                     ยืนจดจ้อง รอเวลา พาสู่ดิน...

                                                   (-ปณิธิ ภูศรีเทศ-น้ำของข้า ฟ้าของฉัน)

 

  • สัมผัสใจ

       สัมผัสใจในที่นี้หมายถึงการเขียนกลอนให้สัมผัสถึงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้อ่าน ผู้ฟัง  กลอนจะสัมผัสใจได้ต้องมีองค์ประกอบที่เด่น ๆ หลายส่วนด้วยกันดังแผนภาพ

                          

ตัวอย่างการใช้อุปลักษณ์(เปรียบความคิดอย่างหนึ่งโยงไปสู่อีกอย่างหนึ่ง) ตัวอย่าง

 

   คือน้ำผึ้งคือน้ำตาคือยาพิษ      คือหยาดน้ำอำมฤตอันชื่นชุ่ม
คือเกสรดอกไม้คือไฟรุม             คือความกลุ้มคือความฝันนั่นแหละรัก  

                                           (รยงค์  เวนุรักษ์ :ไฟรัก ไฟชัง ไฟลา)

ตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์
      อาจเป็นความหนาวในราวป่า          เมื่อพบว่ารอยเท้าก้าวถลำ
และอ้อมแขนความมืดมีเพียงสีดำ         ในช่วงคืนแห่งค่ำร่ำอวยพร

                                                   (ชนิดา  เดชาฤทธิ์)

     สีดำ  แทนความมืด  ความลี้ลับและความตาย

 

 

ตัวอย่างการตั้งชื่อน่าสนใจ   และตัวอย่างการใช้อุปลักษณ์  

 

          เราจะเป็นแสงตะวันด้วยกันไหม     ส่องทางให้เยาวชนพ้นปัญหา

ได้เริ่มต้นเดินทางสร้างชีวา                     เป็นคนมีค่าของแผ่นดิน

               ..........................................................................

เราจะเป็นแสงตะวันด้วยกันไหม   ส่องดวงใจด้วยรักอีกสักหน

ช่วยกันฉุดดึงเหล่าเยาวชน                      ให้รอดพ้นจากภัยในสังคม

                    (สันติสุข สันติศาสนสุข :เราจะเป็นแสงตะวันด้วยกันไหม)

เป็นแสงตะวันเป็นคำอุปลักษณ์ 

 



  ตัวอย่างการใช้คำอุปมาของกลุ่มร้อยรสบทกวี

        

        ฝนโปรยมา ดังว่า น้ำตาหลั่ง            คนสิ้นหวัง ร้างลา น้ำตาร่วง

คนห่างไกล หัวใจ ร้าวทั้งดวง                    คนถูกลวง  ช้ำหนัก  เมื่อรักลา

                                                           (ครู ป.1 : ฤดูฝนกับคนเหงา)
 
                                                                                    
  • สัมผัสความ

     คำว่าสัมผัสความในที่นี้หมายถึง  การเรียบเรียงเนื้อหาและแนวคิดเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เป็นเนื้อเดียวกัน จากวรรค ๑ สู่วรรค ๒ วรรค ๓ วรรค ๔
และส่งไปยังบทต่อ ๆ ไป ขณะเดียวกันก็สอดรับกับชื่อเรื่องที่ตั้งไว้  ตัวอย่าง
กลอนใช้คำสื่อความของศิลปินแห่งชาติ

 

 

                                          สึนามิตร

           สึนามิเพรียกหาสึนามิตร           
โลกถึงกาลวิกฤตจะล่มสลาย
มวลมนุษย์ทั้งโลกจะมอดมลาย              
อารยธรรมวอดวายวูบดับวับ

        "อานนท์หนุนดินดานสะท้านสะเทือน      
สะบัดตัวพลิกเคลื่อนเขยื้อนขยับ"
ปวงธาตุทั้งหลายถล่มทับ
ถั่งทลายไปกับกาลเวลา

         โอ้ว่าอาทิตย์อุทัยสมัย                         
ลูกอาทิตย์อุทัยท่าวทบหล้า
ปฐพีพิโรธประลัยนภา                          
โอ้ว่าอนิจจาชีวามนุษย์

        ยิ่งจะเจริญยิ่งจะร่วงกระนั้นหรือ            
ยิ่งจะยื้อยิ่งจะเร่งให้โลกหยุด
ยิ่งสูงส่งเท่าไรยิ่งใกล้ทรุด                    
ฤๅดาวโลกใกล้จะหลุดลงหลุมดำ


        สึนามิเพรียกหาสึนามิตร                      
ทุกชีวิตทุกวัยเหมือนใกล้ค่ำ
มาเถิดมิตรเผชิญหน้าชะตากรรม          
ร่วมเช็ดน้ำตาช่วยด้วยน้ำมิตร ฯ

         เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์

 

                                   

ตัวอย่างบทประพันธ์ที่สัมผัสความจากกลุ่มร้อยรสบทกวี

        บทประพันธ์ของ ผศ.โสภณ เปียสนิท ถอดบทเรียน "ประโยชน์ของGotoKnow" ในรูปแบบร้อยกรองได้อย่างครอบคลุม
                               
           โกทูโนว์เดินทาง “เพื่อสร้างโลก”           บันทึก “โศก” “โชคสุข” ไปทุกแห่ง
บรรจงถ้อยร้อยคำนำแสดง                               เสาะแสวงสิ่งใดย่อมได้การ
          .........................................................................................................
           จึง “ข้ามพ้นเวลา” “ทุกภาวะ”                 “เชื่อมพันธะ” “ระยะทาง” ที่กางกั้น
“เชื่อมจิตใจ” “ไมตรี” มีทุกวัน                          “เชื่อมความฝัน” “ความจริง” ทุกสิ่งเอย
                               (โสภณ  เปียสนิท: ประโยชน์ของโกทูโนว์)

 

                                                

         และคุณธรรมทิพย์ ได้ถอดบทเรียน ประเด็น "ลีลาภาษากลอน" ได้อย่างครบถ้วนทุกกระบวนความเช่นกัน

 

            ให้หัวข้อ "ลีลาภาษากลอน"          มีขั้นตอนหลายอย่างทางปรุงแต่ง
ฉันทลักษณ์สำคัญยิ่งอย่าเปลี่ยนแปลง       ไม่พลิกแพลงยึดตำรับกระชับคำ

           ..................................................................................

เรื่องคำซ้ำสัมผัสเลือนเตือนใจนิด                ชิงสัมผัสล้วนผิดจิตสับสน
เพิ่มโวหารภาพพจน์ดั่งเพิ่มมนต์                  เสน่ห์ดลด้วยวรรคทองต้องตาใจ



อันกวีที่ดีมีตาสาม                                   อย่ามองข้ามสิ่งเล็กเล็กล้วนยิ่งใหญ่
ทั้งอารมณ์นั้นหนามิเหมือนใคร                   ช่างอ่อนไหวสร้างสรรค์มิหวั่นทรวง


                              (ธรรมทิพย์ : กลุ่ม ร้อยรสบทกวี หัวข้อ ลีลาภาษากลอน)

 

 

                            

        
          สัมผัสเลือนคือสัมผัสสระที่ต้องห้าม ไม่ถูกต้องตามฉันทลักษณ์  กล่าวคือ นำ สระเสียงสั้นมาสัมผัสกับสระเสียงยาว เช่น 
เสียง   ไอ ใอ อัย กับ เสียง อาย     เสียงอัน  กับ เสียง  อาน   เสียง อัง กับ เสียง อาง
ในการแต่งกลอนถือว่าสระเสียงสั้นกับสระเสียงยาวคนละหน่วยเสียงกัน
ดังนั้นเมื่อแต่งกลอน ต้องไม่ใช้คำสัมผัสดังที่กล่าวมา

 

                            

  

       

 ชิงสัมผัส คือการแย่งตำแหน่งสัมผัสบังคับ ก่อนถึงตำแหน่งสัมผัสเช่น คำสุดท้ายของวรรครับต้องสัมผัสกับคำสุดท้ายในวรรครอง   แต่ผู้แต่งกลับไปใส่

เสียงสัมผัสนั้นในตำแหน่งคำอื่นๆ อาจจะเป็นคำที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕  ๖ หรือ ๗
ก่อนถึงตำแหน่งนั้น  เหมือนกับการแย่งซีนนั่นเอง ทำให้กลอนไม่ไพเราะ
เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน
 

   ตัวอย่างกลอนที่มีคำชิงสัมผัส

         กรรณิการ์กลีบขาวดุจดาวแจ่ม       เผยกลีบแย้มโปรยกลิ่นถิ่นพฤกษา
คราค่ำคืนชื่นจิตให้นิทรา                       ตื่นเช้ามากลีบร่วงล่วงสู่ดิน
เปรียบดอกไม้คล้ายเป็นเช่นมนุษย์          มีสูงสุดต่ำตกล้วนผกผิน
มีกลิ่นหอมกำจายให้ยลยิน                    มีหมดกลิ่นโรยร่วงตามบ่วงกาล

      คำที่ถูกขีดฆ่าคือคำที่ชิงสัมผัส

 

    

     การลงเสียงวรรณยุกต์ท้ายแต่ละวรรคตามประเพณีนิยม เป็นอีกกลวิธีหนึ่งที่ทำให้กลอนนั้นมีความไพเราะรื่นหู

 

    วรรคสลับ แต่โบราณ วรรคนี้จะไม่นิยมลงท้ายด้วยเสียงสามัญ  แต่ปัจจุบันนิยมลงทุกเสียง
    วรรครับ  นิยมลงเสียง เอก เสียงโท และเสียงจัตวา  การลงด้วยเสียงจัตวาเป็นเสียงที่ไพเราะที่สุด  และมีข้อสังเกตว่า หากลงเสียงจัตวาก็จะไม่ใช้คำจัตวาที่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ
   วรรครองและวรรคส่ง  นิยมลงเสียงวรรณยุกต์สามัญและตรี

                           

  ตัวอย่างเสียงสามัญ    พอ  เพลิน   ใจ  เธอ    แวว    ดี     ชม     คอย
  ตัวอย่างเสียงเอก       เกิด    แผ่ว    โศก    ผิด     หวาด   แจก   บาป   เสก
  ตัวอย่างเสียงโท        พ่อ    วาด     บ้าน    แลก    ข้อง    รีบ    เพรียก   เมฆ
  ตัวอย่างเสียงตรี        นุช     รึ       น้อง    แล้ว      จ๊ะ    พลิก    รัก     พิศ
   ตัวอย่างเสียงจัตวา    หรือ   สมหมาย    ปรารถนา    สวรรค์   ผิวเผิน   ขาน

  

    ตัวอย่างคำประพันธ์

         ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์             มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร                 จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา

                                                           (สุนทรภู่)

  

  ศักดิ์  เสียงวรรณยุกต์เอก      จิต  เสียงรรณยุกต์เอก                       

  มิตร   เสียงวรรณยุกต์ตรี       จา  เสียงวรรณยุกต์สามัญ   

                                                                        

   

        เมื่อเรามีแรงบันดาลใจ มีข้อมูล มีเนื้อหา พร้อมที่จะเขียน  เพื่อไม่ให้กลอนที่เขียน ยาวเยิ่นเย้อไร้ขอบเขต ไม่สะเปะสะปะ  ผู้เขียนก็อาจจะกำหนดวรรคสุดท้ายไว้ล่วงหน้า ว่าจะจบอย่างไร  จะทิ้งท้ายอย่างไร 

 

       กระบวนการในการเขียนอาจจะเริ่มต้นอย่างนี้
       ๑. มีแรงบันดาลใจ มีอารมณ์กระทบ มีข้อมูล อยากจะเขียน
       ๒. ปิ๊งชื่อเรื่อง   และคิดว่าจะลงท้ายวรรคอย่างนี้....อย่างนั้น
       ๓. เริ่มขึ้นวรรคแรก แต่งไปทีละบท  เนื้อหาอยู่ในกรอบของชื่อเรื่องและเป็นยาน พาไปสู่บทสุดท้าย ที่สอดรับกับวรรคสุดท้ายที่เขียนรอไว้ในตอนต้น
 
      ตัวอย่างกลอนที่เกิดจากแรงบันดาลใจและเขียนตามกระบวนการที่กล่าวมา
   แรงบันดาลใจจากข้อความที่กระทบอารมณ์
      "ผู้หญิงคนหนึ่งบอกว่า สามีของเธอยังคงทำงานทั้งๆ ที่รู้ตัวว่าถูกกัมมันตภาพรังสีกระหน่ำไปทั้งตัว ในอีเมลที่ชวนใจสลายของเขาเขียนบอกภรรยาว่า “โปรดดำเนินชีวิตต่อไปให้ดี ผมยังกลับบ้านไม่ได้สักระยะ”
      คำที่มากระทบอารมณ์ และส่งให้คิดคำลงท้ายไว้ล่วงหน้าคือ ทั้งๆ ที่รู้
       และนำความหมายนี้มาเล่น เป็น ใช่ไม่รู้
  

    ดังตัวอย่าง

     บทแรก

      ใช่ไม่รู้.....                           ว่าการกู้วิกฤตพิษมหันต์

ทุกนาทีมีชีวิตเป็นเดิมพัน        ทุกก้าวมั่นทุกมือคว้ามหาภัย

                 ......................................

     บทสุดท้าย

   

           ใช่ไม่รู้...                          ว่ากอบกู้วิกฤตภัยยังไร้ผล

เพื่อปกป้องผองชีพมหาชน         ยอมพลีตนถูกฝัง...ทั้งทั้งรู้

                                       (ภาทิพ :  แด่คุณ....ฮีโร่ฟูกุชิมะ50)

        

                   คลิก >> ลีลาภาษากลอน ตอนที่ ๒

 

                                     

 

   ท่านโสภณปราดเปรื่องหลายเรื่องนัก         ครู ป.1 ซึ่งมักแต่งกลอนหวาน

คุณทิมดาบ หมออนามัยใจเบิกบาน               ภาทิพ ผ่านแวะมาคราเขียนกลอน

คุณ ✿อุ้มบุญ✿รวมก๊วนชวนถ่ายทอด           KRUDALA นั้นยอดเรื่องการสอน

ธรรมทิพย์หยิบธรรมมาเป็นอาภรณ์                  ปณิธิ กระฉ่อนกลอนภาพงาม

สันติสุข  บทกวีชี้ทุกข์สุข                            เรื่องสนุก คุณยาย ขนมาล้นหลาม

รวมสิบคนรวมกิจคิดถอดความ                      เกิดนิยาม “ร้อยรสบทกวี”  

 

 

หมายเลขบันทึก: 434363เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2011 19:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (34)

สวัสดีค่ะ

*** แวะมาทักทาย

*** เป็นสื่อที่สร้างสรรค์   ไพเราะ  และชัดเจนมากค่ะ

*** ขอยืมผลงานครูภาทิพไปใช้ด้วยนะคะ ...ขอบคุณค่ะ

  • สุดยอด.......ไปเล้ยพี่เรา....ทำได้งัยนี่.....ต้องขอคารวะ
  • ✿อุ้มบุญ✿สงสัย ว่าการบ้าน น้อยไปมั๊ง ....
  • เพิ่งกลับมาจากพาหลานๆไปเยี่ยมคุณยาย.....

 

มาร่วมเป็นกำลังใจสมาชิกคนสำคัญของกลุ่ม

เยี่ยมๆๆๆๆๆ

คำว่าอานนท์ในที่นี้ เห็นปรากฎในโคลงเก่า ลึปสูรย์ ไม่ทราบมีความหมายว่าอย่างไรครับ เพราะมาเห็นในที่นี้อีก ดังนี้

   กลับก่อ ตั้งเขตไว้ห้าพันขอบ          พระวัสสา

   อานนท์  กลืนกินหางแห่งมัน          ทะเมาไหม้

               ไพรพนังฮื้อฮาวเขา          เขียวควี

คึกใคร่       ม้างมุ่นม้วยมัวขว้า           ไขว่ขีนฯ

 

และบทกลอนสึนามิตร ของอาจารย์เนารัตน์ คล้ายๆจะมีความหมายใกล้เคียงบทนี้..

              เปรื้อนปิ่นแป้ขงขอบ       คันธเสม์

กลหน      ในคาเมมืดควัน             ธรังไหม้

ฉายา       เงางำเงื้อมพระราษี         สูญเมฆ

              จักรวาฬโคมค้าวแดนด้าว  เดืองหงายฯ

             บุผ่นพื้นเทียวท่อง             ทำฤทธิ์

             ทยานเวหาฮ่วมเฮียง           พระจันทร์แจ้ง

             ดำดินดั้นเมโฆ                  ขำเมฆ

             ผันล่วงฟ้าอิงเอื้อม              แท่นอินทร์

             แปดแผ่นพื้นพรหมวาส        วงกฏ

             ในพงไพรเดือดกระหาย       หิวฮ้อน

             อาเกียรติ์ล้อมคณานัน         เนื่องนี่

สัตว์สามมานย์  มอดเมี้ยนพระไมขั้น     ขาดแคลน-   เปฯ

 

บันทึกนี้ให้ความรู้เรื่องกลอนสุภาพ อ่านแล้วรู้สึกว่าเข้าใจดีครับ ขออนุโมทนาชื่นชมครับ ที่ว่าถอดบทเรียนใช่แบบนี้มั้ย

  • สวัสดีค่ะ  คุณครู
  • Ico48
  • งานนี้เรียกว่าตกกระไดพลอย(กระ)โจน
  • ลงเรือลำเดียวแล้ว  ถูกน้องอุ้มบุญบังคับให้พาย
  • เสื้อสวยล่อใจ  จนเผลอไผลรับคำ  อิอิ
  • ยินดีแป่งปันค่ะ   แต่โวหารภาพจน์มีมากกว่านั้น  แต่เกรงว่าจะทำให้เห็นว่ายากไปก็เลยตัดออกบ้างค่ะ
  • ขอบคุณที่แวะมาค่ะ

 

หรือจะเป็นปลาอานนท์ ในปรากฏในไตรภูมิพระร่วง

สวัสดีค่ะ น้อง

Ico48
  • แสดงว่าพี่ทำการบ้านถูกใช่มั้ยคะ 
  • บอกตามตรงน่ะ  ไม่เข้าใจหรอกที่ว่าให้ "สกัด" "ถอดบทเรียน"
  • เขียนตามที่ตนเองคิดว่าจะถ่ายทอดอย่างไรเท่านั้น  ขณะเขียนก็เกรงว่าจะยาว
  • เพราะว่าให้ "สกัด"  ในสัมผัสใจ ต้องมีมากกว่านั้น
  • อิอิ  พอแล้ว  ไม่ต้องแถมค่ะ  นี่ลัดคิวงานให้ค่ะ 

สวัสดีค่ะคุณครู

Ico48
  • ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจค่ะ
  • ถ้าไม่จี้มา  ครูภาทิพยังไม่ได้ทำหรอกค่ะ
  • ดีใจที่ได้ร่วมทำกิจกรรมด้วยกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

นมัสการพระคุณเจ้า

    ใช่แล้วค่ะ  หมายถึงปลาอานนท์ในพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่า  ช่วงหนึ่งก็จะพลิกตัว

ทำให้โลกเกิดแผ่นดินไหว

      ดังนั้นจากความเชื่อที่ปรากฏในพุทธศาสนา  ก็อาจเป็นไปได้ว่า แผ่นดินไหว

น่าจะมีมาตั้งแต่พุทธกาล

     หรือกรณีของ  พระเทวทัต ที่ถูกธรณีสูบ   ก็เป็นไปได้ว่า แผ่นดินแยกเคยเกิดมาในสมัยพุทธกาลแล้ว

 

 

ขอบคุณดอกไม้จากครูคิมมากค่ะ

 

พระคุณเจ้าเจ้าคะ

ที่จริงหัวข้อ    พุทธภาษิตกับการดำเนินชีวิต  น่าถอดบทเรียนมากเลยนะคะ

บทเรียนลักษณะนี้ยังไม่ปรากฏใน กิจกรรม  แต่....เขาปิดรับสมัครแล้ว

ขอบคุณดอกไม้กำลังใจจาก ดร.พจนาค่ะ

Ico24 ดร. พจนา - แย้มนัยนา

     ในพระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า เหตุที่ทำให้แผ่นดินไหวมีแปดอย่างนั้นส่วนนึงเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า และมีข้อนึง บอกว่าผู้มีฤทธิ์บันดาล ถ้าพิจารณาตามโคลง"ลึปสูรย์"ข้างต้นแล้ว ผู้มีฤทธิ์ปัจจุบันนี้ก็คือมนุษย์เรานี่เอง บุแผ่นพื้น ก็คือ เจาะแผ่นดิน, แหวกแผ่นดิน, ทยานเวหา- ขึ้นสู่ฟ้า จนถึงพระจันทร์  เปฯ

สวัสดีค่ะคุณ'ภาทิพ'

แวะมาชื่นชมความสามารถ'ลีลาภาษากลอน'ค่ะ

 

เรื่องถอดบทเรียนแรกๆก็เห็นอยู่ เคยเข้าไปอ่านรายละเอียด แต่ตอนนั้นยังไม่เข้าใจว่าทำอย่างไร และไม่ได้ถามใครด้วย ก็เลยไม่รู้ ไม่เป็นไรหรอกครับ อ่านของคุณครูและคนอื่นๆ ที่ทำไว้ก็ได้ความรู้มากแล้ว

นมัสการพระคุณเจ้า

    เป็นไปได้ว่า สึนามิตร  ของ อ.เนาวรัตน์  ส่วนหนึ่งถอดความตามนัยของพระพุทธศาสนา  เพราะท่านเป็นนักปราชญ์ นักอ่านย่อมเก็บเกี่ยวมาเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่นำเสนอ

    ขออนุโมทนาพระคุณเจ้าที่มีความรอบรู้ลึกซึ้งเช่นกัน

สวัสดีค่ะ

Ico48

ขอบคุณค่ะ

แต่การเขียนบรรยาย และพรรณนา ของ ดร.ยากยิ่งกว่าค่ะ

เนื้อหาละเอียดมากๆ อ่านแล้วเหมือนกับผู้อ่านอยู่ ณ สถานที่นั้นเลยค่ะ

ชื่นชมจากใจจริง

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • อาจารย์สกัดออกมาเป็นความรู้ได้ชัดเจนมากค่ะ
  • อ่านแล้วเข้าใจง่าย  ตัวอย่างประกอบดีมาก ได้ความรู้เพิ่มเติมมากมายค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณครู

Ico48
  • ขอบคุณค่ะ
  • ในสัมผัสใจ  อยากใส่ประเด็นย่อยให้ครอบคลุมมากกว่านั้น 
  • แต่เกรงว่าจะเป็นวิชาการมากไป
  • และยิ่งเขียนอาจจะทำให้เข้าใจยาก
  • จึงไม่เต็มรูปแบบนัก

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาตามไปฟังเพลงพี่นาง ศิริพร ค่ะ
  • ขอบพระคุณนะคะทีแวะไปฟังเพลงที่ "เรือนปั้นหยา"  ที่นั่นจะเป็นเพลงลูกกรุง ลูกทุ่ง เก่า ๆ ค่ะ
  • ถ้าเป็นเพลงแบบกลางเก่ากลางใหม่ ครูอิงจะรวบรวมไว้ที่นี่ค่ะ ลองฟังเพลงนี้นะคะ
  • แพ้ใจคนดี
  • เพลงของคุณไมค์ กับ คุณศิริพร และนักร้องอื่น ๆ ค่ายแกรมมี่ จะไม่ค่อยมีการเผยแพร่ในเน็ต เกรงใจเจ้าของค่ายเพลง(เรื่องลิขสิทธิ์)ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ  ครูอิงจันทร์ 

  • แวะมาชื่นชม ลีลาภาษากลอนที่ชัดเจนค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณธรรมทิพย์

  • ขอบคุณที่แวะมา
  • ดีใจที่ได้ร่วมทำกิจกรรมในกลุ่มร้อยรสบทกวีค่ะ

ขอบคุณดอกไม้กำลังจาก น้อง Ico48    ♥paula .`๏'- ที่ปรึกษาตัวน้อย.`๏'-

ขอมอบดอกไม้กลับไปเช่นกันนะคะ

เรียนคุณครูภาทิพค่ะ

อยากเสนอว่า ประเด็นข้อแรก "ลีลาภาษากลอน" 

คงต้องพึ่งคุณครูทั้งหมด ทั้ง 5 ประเด็นย่อย

  • เก็บแรงบันดาลใจใส่กลอน
  • ชื่อเรื่องเท่ เสน่ห์นำ 
  • แนวคิดสื่อสารผ่านคำ
  • วรรคทองต้องใจ
  • เรียนรู้กลอนครู-บูรพาจารย์
  • เนื่องจากสมาชิกต่างเป็นกวีสมัครเล่นไม่ถนัดด้านหลักภาษา

    ท่านหัวหน้าคงติดงานไม่มาสั่งการเลย  หวังว่าคุณครูคงยังไหวนะคะ

    เวลาจะไม่ทันค่ะ เหลือวันเดียวแล้ว

    ชื่นชอบโลโก้สุดเก๋เทห์เป็นหนึ่ง....

     

    จึงอยากให้ไปวางเก๋ๆ อวดเท่ห์ในบันทึกน้องมะปราง ที.....

    สวัสดีค่ะ

    Ico48

      คืนนี้จะลองดูนะคะ

     

    สวัสดีค่ะ

    Ico48

      จะไปส่งว่าไงล่ะ  บอกว่ามาส่งโลโก้หรือคะ  คนอื่น ๆ ล่ะจะว่าอย่างไร

    ครูป.๑ เขาเลื่อนให้ถึงวันที่ ๑๒ นะคะ 

    ขอบคุณค่ะครูภาทิพ   ตกข่าวอีกแล้ว...

    เพราะคุณสันติสุข ไปอยู่อุดรไม่ทราบจะกลับหรือยัง

    และความสารถด้านลีลาภาษากลอน คุณครูแน่นกว่าใครค่ะ

    ไม่เกินความสามารถแน่นอน  สำหรับโลโก้ขออนุญาตินำไปเสนอ

    ในลิงค์"ร้อยรสบทกวี" ของเรา  ก็ปรากฎ..แน่นอนอยู่แล้วค่ะ

    พี่ครูทั้งสอง ✿อุ้มบุญ✿อิ่มใจจริงๆ   เย็นนี้จะลุยอีก หนึ่งข้อย่อย " บทกวีที่ปลุกจิตสำนึก " นะคะ ขอจองก่อน...กลัวคนแย่งงาน..... 

    โลโก้ ทำอีกหนึ่งบันทึกสรุปความน่าจะเยี่ยมนะคะ

    และกลอนรวม........ยอดไปเลย

    แอบมาให้ดอกไม้วไว้ที่นี่อีกดอก

    ยอมเยี่ยมและฉับไวทันเวลาจริงๆ

    ครับเพื่อเป็นแนวทาง 

    สวัสดีค่ะ เจ้าสำนัก 

    Ico48

       ขอชื่นชมกับผลงานทางวิชาการค่ะ

       สำหรับครูภาทิพ แค่ ABCD  ยังท่องไม่ครบเลยค่ะ

        ขอบคุณค่ะ

    สวัสดีค่ะ ป้าแดง

    Ico24 pa_daeng ,

    ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจจากป้าแดงนะคะ

    ขอโทษด้วยนะคะ  ตอนนี้ยังไปเยี่ยมไปอ่านบันทึกของป้าแดงไม่ได้นะคะ

    เวลาของภาทิพหมดแล้ว  ไม่ได้นอนแหงๆๆๆ  ผัดงานมาหลายวันแล้วค่ะ

    อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท