การเพิ่มคุณค่างาน..ด้วย KM


CoP:IV Chemotherapy

เนื่องจากดิฉันทำหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม CoP:IV Chemotherapy ของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เราทำงานเพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเคมีบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัดอย่างปลอดภัย ถูกต้องตามมาตรฐาน

เราได้เขียนไว้ในบันทึก http://gotoknow.org/blog/copivchemotherapy

หลังจากเราทำงานร่วมกันเป็นชุมชน เราก็ได้ส่งบทคัดย่อ เพื่อเข้าร่วมนำเสนอในงานสัมมนา 'การเพิ่มคุณค่างานด้วย KM'  ของคณะแพทยศาสตร์ เราก็ได้รับเชิญเพื่อเข้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผู้ที่สนใจ ขอเชิญเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้นะคะ

ผลงานของเราค่ะ

 

 

ใบสมัครส่งผลงานเข้าประกวด

1.  ชื่อโครงการ 

ชุมชนนักปฏิบัติ: การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำ  (CoP: IV Chemotherapy)

2.  ผู้รับผิดชอบ 

อุบล จ๋วงพานิช จุรีพร อุ่นบุญเรือง*   พัชรี ประสมพืช  และคณะฯ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ  หอผู้ป่วยเคมีบำบัด5จ   งานบริการพยาบาล  คณะแพทยศาสตร์  รพ ศรีนครินทร์ 

3. ที่มาของปัญหา   

ปัจจุบันหอผู้ป่วย 5จ   ให้บริการผู้ป่วยมะเร็งที่มารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด   สถิติการให้บริการ พ.ศ. 2550 และ 2551 จำนวน  2,560, 2,625 ราย ตามลำดับ  ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดเฉลี่ยวันละ 18 -  30 ราย  ปริมาณการให้ยาเคมีบำบัดเฉลี่ยวันละ  80-100  เข็ม การบริหารยาเคมีบำบัดมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอน  จากการศึกษาของสถาบันความปลอดภัยในการใช้ยาแห่งสหรัฐอเมริกา พบว่า กลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงสุด คือ การให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำ พบร้อยละ 90  การลดความเสี่ยงจากการใช้ยามีหลายประการ  เช่น  การระบุตัวก่อนให้ยาเคมีบำบัด การให้ยาตามหลัก 6R1, 2  ผู้ป่วยมีบทบาทสำคัญในการร่วมระบุตัวให้ถูกต้อง และหน่วยงานจะต้องพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลในการบริหารยาเคมีบำบัด3  ดังนั้นหอผู้ป่วยเคมีบำบัด5จ ร่วมกับหอผู้ป่วยต่างๆภายในโรงพยาบาลศรีนครินทร์  จึงเล็งเห็นความสำคัญของการให้ยาเคมีบำบัดอย่างปลอดภัย   จึงรวมกลุ่มกันเป็นชุมชนนักปฏิบัติ (CoP): การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำ  เพื่อพัฒนาระบบการบริหารยาเคมีบำบัด ในปี พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน  เพื่อรวบรวมองค์ความรู้จากประสบการณ์การทำงานของบุคลากร เผยแพร่ในWebsite เพื่อให้ผู้สนใจเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย   และสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งเป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศต่อไป

4. วัตถุประสงค์

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การบริหารยาเคมีบำบัด   ผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัดอย่างถูกต้องปลอดภัย และพัฒนาระบบการบริหารยาเคมีบำบัด ให้ได้มาตรฐานระดับสากล

5. วิธีการดำเนินงาน

ชุมชนนักปฏิบัติประกอบด้วยสมาชิก เป็นพยาบาลประจำการหอผู้ป่วยเคมีบำบัด 14 คน     ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง(APN) 2 คน และ พยาบาลหอผู้ป่วย 3ง   5ข   3ค   OPD4   6ข  หน่วยรักษ์ประทุมและ Day Chemotherapy  7 คน รวมเป็นสมาชิกทั้งหมด 23 คน

ผู้ประสานงานจะนัดประชุมทุก 3 เดือน แบบ Face to Face มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันจากเรื่องเล่า สิ่งดีดีและสิ่งที่ทำสำเร็จให้เพื่อนฟัง (Success  Story Sharing) โดยใช้สุนทรียสนทนาและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบ Blog to blog  เรื่อง 

การบริหารยาเคมีบำบัดสร้างและทบทวนแนวปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์   

การลดอุบัติการณ์จากการให้ยาและการพลัดตกหกล้ม 

จัดทำโครงการลดการขั้นตอน การบริการ One Stop Service เป็นต้น 

มีการกำหนดดัชนี ชี้วัด  ทั้งเชิงกระบวนการและเชิงผลลัพธ์ตามคู่มือการบริหารยาเคมีบำบัด4

การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาล เรื่อง การป้องกันช่องปากอักเสบ5

การจัดการและการป้องกันการเกิด Extravasation ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด6

บันทึกเรื่องเล่าของสมาชิกใน Website  เพื่อให้สมาชิกเข้ามาอ่านและบันทึกใน Mind Manager ไว้ให้บุคลากรเรียนรู้ 

การสื่อสารกับทีม PCT อายุรกรรมและศัลยกรรม  Facilitator จะนำประเด็นปัญหาไปปรึกษาหารือกับทีม  และการศึกษาความรู้ใหม่เกี่ยวกับยาเคมีบำบัด 

จะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์และนักศึกษาของคณะเภสัชฯ ที่มาศึกษาบนหอผู้ป่วยทุกเดือน 

การจัดตั้งกลุ่มทำให้เราสามารถพัฒนางานประจำเป็นงานวิจัย (R2R)  ได้รับทุนสนับสนุนจากทุน R2R มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 เรื่อง 

ผลการดำเนินงาน 

การประเมินผลการปฏิบัติตามคู่มือการบริหารยาเคมีบำบัด ทำได้ถูกต้องร้อยละ 99.5 

การดูแลกรณีการเกิดช่องปากอักเสบ ทำได้ร้อยละ 99.23  และ

ไม่มีการเกิด Extravasation    

มีการประชุมอย่างเป็นทางการในช่วงปี พ.ศ. 2551และ 2552 จำนวน 4 ครั้งและ 3 ครั้ง ตามลำดับ  

นอกจากนี้เราจะใช้เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทุกเช้าหลังจากรับเวรหรือในการ Post conference   มีการบันทึกองค์ความรู้ใน Kmmed KKU

แลhttp://gotoknow.org/blog/copivchemotherapy  เป็นคลังความรู้  (Knowledge Assets)  เช่น

1) การบริหารยาเคมีบำบัดทางเส้นเลือดดำ  

2) เทคนิคการตรวจสอบยาเคมีบำบัดทุกขั้นตอน (Double Check)   

3) การระบุตัวคนไข้อย่างไรไม่น่าเบื่อ     

4) การให้ยาเคมีบำบัดการชั่งน้ำหนักคนไข้ต้องถูกต้อง 

5)  การให้ยาเคมีบำบัดให้ปลอดภัย..พยาบาลต้องมีสมาธิ 

6) เตรียมความพร้อมเพื่อหาเส้นเลือดในการให้ยาเคมีบำบัด

7) ลำดับการให้ยาเคมีบำบัดก็สำคัญ 

8) การประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนรับยาเคมีบำบัดก็มีความสำคัญ 

จากการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน เราได้แนวคิดสามารถพัฒนาเป็น R2R  

1)  โครงการลดอุบัติการณ์การบริหารยาเคมีบำบัด ได้นวัตกรรมคือ สติกเกอร์สีได้มาตรฐานตาม ASTM 

2)  โครงการลดอุบัติการณ์การพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยมะเร็งที่มารับยาเคมีบำบัด  ได้แบบประเมินได้แบบประเมินความเสี่ยงและนวัตกรรมป้ายติดปลายเตียง เพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม 

7.  บทเรียนที่ได้จากการดำเนินการ

บุคลากรมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้   มีความสุขในการทำงาน   ทำให้การทำงานมีคุณภาพยิ่งขึ้น  ทุกคนมีผลงานจนได้รับโบนัสระดับดีเด่นทุกคน  ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นในวันนี้   เกิดจากการที่พวกเราร่วมมือร่วมใจกันและผู้บริหารทุกระดับในโรงพยาบาลสนับสนุน ได้รับงบประมาณในการทำวิจัย   หน่วยงานได้รับความไว้วางใจจากสภาการพยาบาลให้จัดอบรมหลักสูตรการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด บุคลากรของเราได้รับรางวัลในการทำงาน  โครงการเด่นที่เราได้รับรางวัล เช่น วิจัยการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ของ สวรส    มีผู้มาศึกษาดูงานทั้งจากสถาบันมะเร็ง  และศูนย์มะเร็งชลบุรี  นอกจากนี้บุคลากรในชุมชนเของเราได้ไปนำเสนอผลงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

เอกสารอ้างอิง

1.             Schulmeister L. Patient misidentification in oncology care. Clinical Journal of Oncology Nursing2008;12(3):495-8.

2.             Institute for Safe Medication Practices. The five rights: A destination without a map.  Horsham2007; Available from: http://www.ismp.org/Newsletters/acutecare/articles/20070125.asp.

3.             สภาการพยาบาล. หลักสูตรการอบรมระยะสั้น  สาขาการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด. ขอนแก่น: งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น2551.

4.             อุบล จ๋วงพานิช, จันทราพร ลุนลุด. การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำ ขอนแก่น: งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น2551.

5.             อุบล จ๋วงพานิช, มีนา วงษ์หนองแล้ง, สุกัญญา จันหีบ. แนวปฏิบัติการพยาบาล เรื่อง การลดช่องปากอักเสบผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด ขอนแก่น: งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น2552.

6.             อุบล จ๋วงพานิช, จันทราพร ลุนลุด. แนวปฏิบัติการพยาบาล: การจัดการและการป้องกันการเกิด Extravasation ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด. ขอนแก่น: งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น2551.

หมายเลขบันทึก: 284440เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2009 06:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ตามมาอ่านก่อนนะครับ พี่แก้วขยันมากๆๆ

เชิญเยี่ยม website ของเราชาว KM คณะแพทยศาสตร์ มข ได้ค่ะ

http://kmmed.kku.ac.th/kmmednew/

 ดร ขจิต ฝอยทอง

พาน้องทำค่ะ ยินดีกับรางวัลสุดคะนึงนะคะ

มาเป็นหนึ่งกำลังใจแด่"คนคุณภาพ"ให้คุณหมอแก้วด้วยค่ะ..

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ  "การเพิ่มคุณค่างาน..ด้วย KM"

จะแวะมาติดตามอีกนะคะ

ท่าน ศน.อ้วน

ขึ้นเวทีวันอังคารค่ะ จะนำเรื่องดีดีมาเล่าให้ฟังนะคะ

ดีใจมากที่เห็นคนทำดีแล้วเผยแพร่สิ่งดีๆ เป็นกำลังใจให้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท