กระบวนการจัดการความขัดแย้งของชนเผ่า "ลาหู่" (มูเซอ) จากงานประชาเสวนา "ชาติพันธุ์ภาคเหนือฯ" ของสถาบันพระปกเกล้า ณ เชียงใหม่


กระบวนการประชาเสวนา ในหัวข้อเรื่อง "ชาติพันธุ์ภาคเหนือกับการจัดการความขัดแย้ง" เป็นขั้นตอนคั้นน้ำกะทิชิ้นงานวิจัย ของทีมวิจัยจากสำนักสันติวิธี สถาบันพระปกเกล้า ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั้งประเทศไทย เพียงแต่หากไม่ได้ใกล้ชิด ก็ไม่ทราบว่า เขาทำงานในลักษณะใดบ้าง?

การแยกกลุ่มตามชนเผ่าทั้ง 6 เริ่มขึ้นหลังทานอาหารว่าง ตอน 10.30 น. ผู้ประสานงานกลุ่ม (FA), นักศึกษาผู้ทำหน้าที่ Notetaker ผู้จดแหลกแล้วแหกค่าย และกลุ่มตัวแทนของชนเผ่าตามปริมาณที่มาจริง

ผมรับผิดชอบกลุ่ม "ลาหู่" หรือที่คนพื้นราบชอบเรียกพวกเขาว่า "มูเซอ" ซึ่งเท่าที่ผมทราบมา เขาไม่ชอบถูกเรียกว่า "มูเซอ" ที่มีความหมายเหมือนไม่ให้เกียรติเขา แต่เรียก "ลาหู่" จะดีที่สุด

ซึ่งเรื่องนี้ ในฐานะผมเป็น FA ประจำกลุ่ม ผมจะไม่ใช้คำว่า "มูเซอ" ตลอดการเสวนาเลย

ผมเป็น FA ที่ขาดความมั่นใจ แต่โชคดีได้น้องอาจารย์ฝน ผู้แอบคร่ำหวอดในวงการ Focus Group ในทางวิชาชีพจิตวิทยาคลินิคมา โดยที่ในมหาวิทยาลัยท้องถิ่นแทบไม่มีใครทราบถึงความสามารถด้านนี้ของเธอ

ถือเป็นโชคว่า ผมชวนน้องมาเรียนรู้ประสบการณ์ในฐานะ Observer แต่ตอนนี้ ขอให้เปลี่ยนสถานะเป็น ผู้ช่วย FA แล้วกันเนอะ (แต่ในความจริง ยกให้เป็น FA ไปเลย ผมขอฟังอย่างเดียว อิ อิ อู้บ่จ้าง)

 

 

วิธีการของน้องอาจารย์ฝนก็คือ ชักชวน พูดคุย ถึงเนื้อหาที่อยากทราบ พร้อมกับเปลี่ยนคำพูดเป็น Mind Map ที่ทำให้เข้าใจเรื่องราวได้ง่ายขึ้น (แต่คิดว่า คนปกติ จะเข้าใจยากอยู่ เพราะไม่ใช่นักวิชาการ)

ด้วยเหตุนี้ เราตั้งใจกันว่า หากได้ข้อมูลแล้ว จะคุยกับผู้นำเสนอประจำกลุ่ม แล้วเขียนแผนผังข้อมูลให้

 

เรื่องการคั้นข้อมูลจากชนเผ่าลาหู่นั้น ได้รับเกียรติจากทีมวิจัยว่า ตามใจ FA มีเทคนิคอย่างไรใช้ได้หมด แต่ขอข้อมูลออกมาแล้วกัน ได้ทุกวิธีการ

 

ผมจึงนำเสนอแนวคิดกับน้องอาจารย์ฝนว่า แบบนี้ดีไหม ?

 

เราจะเริ่มต้นจากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวเขาก่อน แล้วจึงค่อย ๆ เดินออกสู่ภายนอก ในปัญหาด้านความขัดแย้งทั้งปวง

 

ช่วงเช้า ...

  • ความขัดแย้งภายในครอบครัว (ระหว่างสามีกับภรรยา, พ่อแม่กับลูก)

  • ความขัดแย้งระหว่างครอบครัว (ครอบครัวกับเพื่อนบ้าน, ครอบครัวกับคนอื่น ๆ ในหมู่บ้าน)

 

ช่วงบ่าย ...

  • ความขัดแย้งระหว่างหมู่บ้าน (ระหว่างหมู่บ้านที่เป็นชนเผ่าเดียวกัน, ระหว่างหมู่บ้านที่เป็นคนละชนเผ่า)

  • ความขัดแย้งระหว่างชนเผ่ากับคนพื้นราบ

  • ความขัดแย้งระหว่างชนเผ่ากับคนของภาครัฐ

 

เราตกลงกันแบบนี้ครับ ... ;)

 

ดูหน้าตาของตัวแทนชนเผ่าลาหู่ก่อนนะครับ

 

 

 

จากซ้ายไปขวา พ่อหลวง (ผู้ใหญ่บ้าน) สมาชิก อบต.อีกตำแหน่ง แล้วก็พ่อครู ผู้อาวุโสประจำหมู่บ้าน (ฟังภาษาเราได้ แต่ตอบเป็นภาษาลาหู่) คุณสิละ นายกสมาคมชาวลาหู่แห่งประเทศไทย ส่วนขวาสุดเป็นตัวแทนชาวลาหู่จากอำเภอเทิง เชียงราย

 

 

นี่แหละ ตัวแทนชาวลาหู่จากอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

 

 

 

Notetaker ประจำกลุ่ม (เป็นลูกศิษย์อาจารย์ฝน) ส่วนพี่ผู้หญิง เป็นภรรยาของพ่อหลวง

 

 

ข้อมูลที่เราได้ส่วนใหญ่มาจากคุณสิละ นายกสมาคมลาหู่แห่งประเทศไทย แถมยังเป็นล่ามให้กับ FA อีกด้วย ชอบมาก

พ่อครู คือ ผู้ที่รู้ลึก รู้จริงที่สุดในพิธีกรรมต่าง ๆ ของหมู่บ้าน

 

แรก ๆ ก็เกร็งกันอยู่บ้าง แต่ใช้เวลาไม่นาน ก็คุยกันด้วยความสุข ความอยากที่เขาอยากให้เราทราบในหลาย ๆ เรื่อง

 

ตัวอย่างข้อมูลที่กลุ่มเราได้มา ...


กระบวนการจัดการความขัดแย้งของลาหู่ จะใช้กติกาของหมู่บ้านเป็นกฎหมายตัดสิน ไม่มีลายลักษณ์อักษร แต่ผ่านผู้อาวุโสประจำหมู่บ้าน ผู้อาวุโสประจำหมู่บ้าน ก็จะใช้พิธีกรรมความเชื่อที่เหนือธรรมชาติเป็นการควบคุมความขัดแย้ง เช่น ...

สามีทะเลาะกับภรรยา หากตกลงกันไม่ได้ ต้องให้ผู้อาวุโสประจำหมู่บ้านมาตัดสิน มีการผ่านพิธีกรรม เพื่อจะให้เกิดการปรองดอง ฯลฯ

สามีไปมีชู้ ก็ผู้อาวุโสอีก ถ้าภรรยารับไม่ได้ ต้องการจะหย่าร้างกัน จะถามชู้ว่า ต้องการผู้ชายคนนี้ไหม ถ้าต้องการให้เสียเงินค่าตัวผู้ชาย (ตามกติกาหมู่บ้านนั้น ๆ)

ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระดับใด มักใช้ผู้อาวุโส กติกาหมู่บ้าน พิธีกรรม มาจัดการเสมอ

 

แต่ความขัดแย้งที่ผมไม่ได้เสนอก่อน แต่ทางชนเผ่าลาหู่เสนอมา คือ

"ความขัดแย้งที่มีต่อคนของภาครัฐ" ... ผมว่า มีปัญหามากจริง ๆ

เขาไม่สามารถใช้กติกาหมู่บ้านมาจัดการได้ เพราะคนของภาครัฐใช้กฎหมายบ้านเมืองเข้ามาตัดสินแทน บางทีตัดสินไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ทันใช้กติกาความเชื่อของเขาเลย ทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงหลายครั้ง

 

ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการถูกรังแกจากคนของรัฐ ความไม่เข้าใจของคนพื้นราบ เช่น ...
 
การแย่งน้ำระหว่างคนพื้นราบกับชนเผ่าลาหู่ ที่หาว่า น้ำข้างล่างไม่มี เพราะหมู่บ้านลาหู่ทำไร่เลื่อนลอย แต่ชาวลาหู่บอกว่า สมัยก่อนทำไร่เลื่อนลอยมากกว่านี้อีก น้ำท่ายังบริบูรณ์ แต่ปัจจุบันหยุดทำแล้ว แต่น้ำกลับน้อยลง คนพื้นราบไม่ได้โทษความเปลี่ยนแปลงของโลก แต่มาโทษคนที่อยู่บนเขาแทน ทั้ง ๆ ที่ไม่มีการทำแบบนั้นมากเหมือนสมัยก่อน เขาอยากให้มีการวิจัยในเรื่องนี้ เพื่อตอบโจทย์ของคนพื้นราบว่า เขาถูกกล่าวหา

การเข้าตรวจค้นหาสิ่งผิดกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่เคยมีหมายค้นจากศาล แต่ค้นตามอำเภอใจ แถมเมื่อพบของมีค่า ของที่ถูกใจ ก็หยิบไปโดยไม่บอกกล่าว

เขารู้สึกว่า "เขาถูกรังแกจากคนของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น ทหาร ตำรวจ หรือฝ่ายปกครอง และไม่ทราบว่า คนของภาครัฐเหล่านี้รู้กฎหมายหรือเปล่าว่า จะตรวจค้นต้องทำอย่างไร ... หากชาวบ้านบอกรู้กฎหมาย ก็หาว่า หัวหมออีก เรียกว่า กลืนไม่เข้า คายไม่ออก"

น่าอายครับ ... ไปคิดว่า เขาไม่รู้กฏหมาย รังแกได้รังแกดี จริง ๆ แล้วลูกหลานเขา เรียนอยู่มหาวิทยาลัยพื้นราบเยอะแยะไป เขาไม่รู้จริง ๆ เหรอ

 

เรื่องนี้ ยิ่งฟังผมยิ่งรู้ว่า "อำนาจมันอยู่ที่กฎหมายและกระบอกปืน"

เพราะเวลาที่ฟังเขาพูดบางช่วง บางประเด็นเขาถามว่า ควรพูดดีเหรอ เพราะเขากลัวการให้ข้อมูลเกี่ยวกับคนของภาครัฐ

จนผมต้องบอกว่า เรามาเสวนาวันนี้ เป็นวงวิชาการ เป็นข้อมูลที่แท้จริง อีกทั้งสถาบันพระปกเกล้า คือ สถาบันที่มีเกียรติ เขาจะนำข้อมูลที่ได้เหล่านี้ไปแจ้งแก่รัฐบาลให้ได้ทราบถึงปัญหาที่แท้จริง

ผมพูดเช่นนั้นจริง ๆ

 

เขาบอกอีกว่า "เวลาที่ถูกตรวจค้น หรือถูกขโมย หรือแม้กระทั่งมีการยัดข้อหาให้คนในหมู่บ้าน ก็ทำอะไรไม่ได้มาก โวยวายไม่ได้ กลัวเขาจะยิงทิ้งเอา"

หดหู่ครับ

 

หลายครั้ง คนของภาครัฐ คนพื้นราบ มีอคติต่อคนที่อยู่บนดอยว่า ไม่ใช่คนไทย ชอบทำผิดกฎหมายอยู่ตลอดเวลา อะไรประมาณนั้น ทั้ง ๆ จริง ๆ แล้วเขามีกติกาสังคมที่ดีกว่ากฎหมายที่มาจากฟากตะวันตกนี้อีก

 

ผมได้ข้อมูลมากจริง ๆ ครับ ...

 

 

ข้อสรุปดังกล่าวนี้ ผมอาจจะได้เห็นงานวิจัยที่เป็นรูปเล่มในเร็ว ๆ นี้

 

รอเบรคอีกครั้ง เพื่อเตรียมส่งตัวแทนออกไปนำเสนอบนเวที

 

..............................................................................................

 

แต่ ...

จากการนั่งเสวนากับพวกเขา ทำให้ผมทราบว่า "เขาก็คือคนไทยกลุ่มหนึ่งที่มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารแห่งแผ่นดินไทยเมื่อหลายร้อยปีก่อน"

"เขารักประเทศไทยไม่น้อยไปกว่าที่เรา ๆ ท่าน ๆ รัก"

"เขามีความเป็นคน มีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกับเรา"

"หากวันใด เราโดนรังแกบ้าง เราตกเป็นพลเมืองชั้นสองของประเทศบ้าง เราคงจะได้รู้สึกกัน"
 

ให้ความรู้เรื่องนี้ซึ่งกันและกันเถอะนะครับ

อย่าให้ความไม่รู้ของเรา ไปเบียดเบียนคนอื่นเขาเลย

สร้างเวรสร้างกรรมกันเปล่า ๆ

 

ขอบคุณที่ติดตามครับ ;)

 


............................................................................................................

 

บันทึกที่เกี่ยวข้อง ...

  • เมื่อขัดเเย้งจัดการอย่างไร? เวทีเรียนรู้ "กลุ่มชาติพันธุ์ ๖ เผ่า" ในประเทศไทย โดย คุณเอก จตุพร
  • ชีวิตการเดินทางกลับบ้าน จาก เชียงใหม่ - ปาย ของบล็อกเกอร์เนื้อหอมกรุ่น..ละมุนละไม (เอก จตุพร) โดย ผมเอง
  • ประชุมเตรียมการประชาเสวนา เรื่อง "ชาติพันธุ์ภาคเหนือกับการจัดการความขัดแย้ง" ของสถาบันพระปกเกล้า ณ เชียงใหม่ โดย ผมเอง
  • เริ่มต้น..กระบวนการประชาเสวนา "ชาติพันธุ์ภาคเหนือกับการจัดการความขัดแย้ง" ของสถาบันพระปกเกล้า ณ เชียงใหม่ โดยผมเอง
  • กระบวนการจัดการความขัดแย้งของชนเผ่า "ลาหู่" (มูเซอ) จากงานประชาเสวนา "ชาติพันธุ์ภาคเหนือฯ" ของสถาบันพระปกเกล้า ณ เชียงใหม่ โดยผมเอง
  • การนำเสนอบนเวที ... ของงานประชาเสวนา "ชาติพันธุ์ภาคเหนือกับการจัดการความขัดแย้ง" ของสถาบันพระปกเกล้า ณ เชียงใหม่
  •  

     

    หมายเลขบันทึก: 302498เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2009 18:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (8)

    สวัสดีครับ อ.Wasawat Deemarn

    ความขัดเเย้งที่ถูกจัดการโดยชุมชน ใช้วิธีที่หลีกเลี่ยงความรุนแรง โดยมีทุนของชุมชนเช่น ผู้อาวุโส และ เเม้กระทั่ง "ผี" ก็ถูกนำมาใช้ในการจัดการความขัดเเย้งด้วย

    ผมแอบสังเกตการณ์น้อง อ.ฝน ทำกลุ่มได้ดีมากเลย ถือว่าเป็น FA.ที่เก่งมากๆครับ

    ต้องขอฝากขชอบคุณน้อง อ.ฝนด้วยครับ

    ----------------

    นอกจากได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความขัดเเย้ง กลุ่มพี่น้องลาหู่เหล่านี้ ยังทำงานด้าน สิทธิมนุษยชน ด้วย ถือว่าเราได้กลุ่มเป้าหมายที่ตรงและดีครับ

    --------------------------------------------------------

    ขอบคุณบันทึกที่ทำให้เห็น กิจกรรมในเวทีที่หลากหลายครับ

    ทางผมและน้องๆ กำลังรวบรวมข้อมูลงานชิ้นนี้อยู่

    อ.Wasawat Deemarn

    แวะมาทักทายและให้กำลัง อ่านบันทึกกระบวนการจัดการความขัดแย้งของชนเผ่า "ลาหู่" (มูเซอ) จากงานประชาเสวนา "ชาติพันธุ์ภาคเหนือฯ" ของสถาบันพระปกเกล้า ณ เชียงใหม่ แล้วทำให้ทราบความจริงที่ยังไม่รู้อีกมากมาย

    เมื่อไรอ.Wasawat จะแวะไปเยี่ยมเยือนโรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็กอีก ผอ.สมบูรณ์ รอจนลาบบูดแล้วนะ พี่ๆ ป้าก็คอยเช่นกัน

    ขอบคุณมากครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ;)

    เดี๋ยวบอกน้องอาจารย์ฝนแวะมาอ่านคำชมเสียหน่อย เพื่อจะได้เธอเขียนบันทึกกับเค้าบ้าง ... เธออยากเป็นรุ่นน้องคุณเอก แต่ถ้าไม่เขียนบันทึก มหิดลไม่รับ น่าจะดีครับ อิ อิ

    ผมอาจจะเป็น FA ที่ไม่ได้เรื่อง แต่ขอเป็นคนรักความยุติธรรม ก็น่าจะตรงกว่า ไหมครับ

    อยากอ่านงานสรุปมาก ๆ ครับ ;)

    สวัสดีครับ คุณครู พิศมัย เทวาพิทักษ์ ;)

    มายังไงครับเนี่ย เห็นว่า ลืม PASSWORD นี่นา แถมยังไปมีส่วนร่วมการพับกระดาษที่กรุงเทพฯ อีก ... มีความสุขไหมครับ ;)

    ท่าน ผอ.สมบูรณ์ คิดถึงหรือครับ อิ อิ แหม ... ขอข้าวหน้าเป็ดดีกว่าครับ 555

    ฝากคิดถึง ท่าน ผอ. และป้า ๆ ทุกคนด้วยครับ ;)

    ตอบพี่อาจารย์ wassa นะคะว่า อำเภอที่มาจากเชียงรายคือ อำเภอเทิงค่ะ

    ทุกคนที่เข้าร่วมการ focus group ครั้งนี้ให้ความร่วมมือดีมากเลยค่ะ

    ฝนได้เรียนรู้ในกระบวนการ socialization ที่แตกต่าง และความละเอียดอ่อนของการบริหารจัดการความขัดแย้งที่ต้องกระทำอย่างรัดกุม ได้มองเห็นความเป็นกลางของสังคมเล็กๆที่ให้เกียรติเพศหญิง ไม่ล่วงลำสิทธิผู้อื่นถ้าเขาไม่อนุญาติ

    ดูๆแล้วเป็นประชาธิปไตยเต็มใบมากกว่าประเทศสารขันฑ์อีกนะคะเนี่ย

    ส่วนเรื่องที่ชนเผ่าถูกเลือกปฏิบัติแบบสองมาตรฐานนั้นฝนมองว่า คนไทยทำสิ่งนี้จนรู้สึกเคยชินกับมันไปแล้วซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายต่อความมั่นคงของสังคมโดยรวมอย่างมาก เพราะ Bias นั้นเป็นสาเหตุแรกๆเลยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้น โดยผู้ที่ถูกกระทำเสมอนั้นมักจะมีการระบายความคับข้องใจที่เก็บกดมาโดยตลอด ทำให้เรื่องราวบานปลาย เพราะธรรมชาติของคนย่อมปกป้องตนเองและอยากเป็นอิสระจากการบีบคั้นกดดัน (โบราณบอกว่าอย่าทำให้หมาจนตรอก เพราะเขาจะสู้ยิบเลย)

    ขอบคุณอาจารย์พี่เอกด้วยนะคะที่กล่าวชม แต่หนูขอรับไว้แค่ครึ่งเดียวนะคะ ไม่ได้เก่งขนาดนั้นผิดพลาดเยอะเหมือนกันค่ะ

    ดีใจจริงที่น้องอาจารย์ peefone ได้ออกมาจากหลืบแล้ว ... เขียนบันทึกแบบนี้เลยน้อง

    ชอบขนาด ... ;)

    แจ้งข่าว  ประกาศ  โฆษณา เรื่องราวที่เกี่ยวกับลาหู้ได้  ฟรี  (เป็นภาษาลาหู่)

    ที่  www.lahuyahui.com

    ขอบคุณครับ คุณอำนวย จะลอ ;)...

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท