เมื่อขัดเเย้งจัดการอย่างไร? เวทีเรียนรู้ "กลุ่มชาติพันธุ์ ๖ เผ่า" ในประเทศไทย


ข้อมูลการวิจัย รวมถึงโมเดลการจัดการความขัดแย้งในกลุ่มชาติพันธุ์ ๖ เผ่า ทางทีมวิจัยกำลังวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อจะสรุปผลงานวิจัยในเร็วนี้ๆ ขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลา...แต่ผมคิดว่าอีกไม่นาน เราจะมีผลงานวิชาการที่เป็นชุดความรู้เกี่ยวข้องประเด็น Conflict management ของกลุ่มชาติพันธุ์ของประเทศไทยเราทั้ง ๖ กลุ่ม ...ม้ง,ปกาเกอญอ,อาข่า,เมี่ยน ,ลีซู และ ลาหู่ นำออกมาเผยแพร่เร็วๆนี้ครับ
เขาอยู่กันอย่างไร? เขามีภูมิปัญญาอะไรในการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชุมชน ?  และ แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยมีกระบวนการจัดการความขัดแย้งอย่างไร? สุดท้ายคำถามที่เราคิดเชื่อมโยงว่า กระบวนการจัดการความขัดแย้งในกลุ่มชาติพันธุ์ ๖ กลุ่ม ในประเทศไทย สามารถประยุกต์ใช้ในสังคมไทยได้อย่างไร บทเรียนเหล่านี้ ให้แง่คิดอะไรบ้างกับการจัดการความขัดแย้งระดับประเทศ ?

IMG_2744 by you.

โครงการศึกษาการจัดการความขัดแย้งในกลุ่มชาติพันธุ์ภาคเหนือของประเทศไทย  เป็นโครงการวิจัยของ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ผมเองไปเกี่ยวข้องโดยการเป็นที่ปรึกษาของโครงการนี้ รวมไปถึงประสานงานเครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ทางภาคเหนือไปด้วย ในเวทีก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำกระบวนการ (Facilitator) ในการถอดบทเรียนต่างๆ

 

โดยระยะเวลาการดำเนินโครงการนี้ เราเริ่มต้นทำงานราว ๖ เดือน เพื่อเก็บข้อมูลเบื้องต้นทั้ง ๖ กลุ่มชาติพันธุ์ มีดังนี้ กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอญอ,ม้ง,ลีซู,ลาหู่,เมี่ยน(เย้า),อาข่า  ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนภูเขาสูงทางภาคเหนือของประเทศไทย  ผมค่อนข้างจะคุ้นเคยกับวิถีชีวิคคนบนดอย งานวิจัยชิ้นนี้จึงเป็นงานวิจัยที่ผมรู้สึกมีความสุขอีกชิ้นหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นช่วงการเก็บข้อมูลในหมู่บ้าน และการทำเวทีย่อยๆในชุมชน และเวทีล่าสุดเราเชิญ แกนนำ คณะกรรมหมู่บ้าน อันประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน,ส.อบต.,หมอผี,ผู้อาวุโส,แม่บ้าน ที่เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการบริหารชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์ละ ๖ – ๑๐ คน รวมแล้ว ๖ กลุ่ม หมายถึงว่า เมื่อรวมกับ ทีมทำงานของพระปกเกล้า และทีมงานที่เป็นผู้ช่วย Facilitator ที่ผมเซ็ตขึ้นเพื่อให้เวทีการเรียนรู้ ๒ วันที่เชียงใหม่ราบรื่นนั้น รวมแล้ว ๘๐ กว่าชีวิต

โดยการจัดเวทีเรียนรู้ ผมให้ข้อเสนอแนะทางทีมวิจัยว่า เมื่อเราเก็บข้อมูลมาทั้งหมดแล้ว ในระยะเวลา เกือบครึ่งปี ผมเข้าใจว่าเมื่อเราสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อหารูปแบบ รวมไปถึงบริบทการจัดการความขัดแย้งในชุมชนทั้งหมด เป็นข้อมูลที่เราเก็บมาจากชุมชนโดยตรง เมื่อเราเรียบเรียงข้อมูลพบว่าเราขาดประเด็นสำคัญอีกหลายๆประเด็น รวมไปถึงประเด็นบางประเด็นที่ต้องลงลึกให้เห็นภาพของการจัดการ และที่สุดผมเองก็หวังว่าเราจะได้ โมเดลการจัดการความขัดแย้งของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง ๖ กลุ่ม ออกมา เป็น จุดแข็ง ที่น่าสนใจของรายงานวิจัยเล่มนี้

การจัดเวทีเรียนรู้ครั้งนี้ ผมออกแบบเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และตรวจสอบข้อมูลที่นักวิจัยเก็บมาไปในตัวด้วย ดังนั้นบรรยากาศจึงให้ความสำคัญกับการ ถอดบทเรียน พร้อมกับตรวจสอบบทเรียนที่เราได้จากการเก็บข้อมูลก่อนหน้านี้แล้ว

IMG_2779 by you.

กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่จาก อ. แม่อาย จ.เชียงใหม่

 

ผมได้ช่วยทีมงาน ช่วยกันออกแบบกระบวนการดังนี้ 

♣ กระบวนการแรก

เป็นการแนะนำโครงการวิจัย นำเสนอภาพรวมของการศึกษาวิจัย ที่ทีมงานวิจัยไปเก็บข้อมูลตามชุมชน ของจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย รวม ๖ กลุ่มชาติพันธุ์ ขั้นตอนนี้ Out put ของข้อมูลงานวิจัยชุดแรกถูกย่อยออกมาให้ผู้เข้าร่วมเวทีได้ร่วมแลกเปลี่ยน และตรวจสอบข้อมูลไปในตัวด้วย

กระบวนการที่สอง

แบ่งกลุ่มออกเป็น ๖ กลุ่มชาติพันธุ์ ขั้นตอนนี้เราใช้กระบวนการ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้” แต่ทำแบบกลายๆ เป็นแบบ Focus Group discussion ไปด้วย โดยFacilitator เป็นผู้นำกระบวนการ เราใช้ Facilitator หลัก ๖ คน  และ คนจดบันทึก ๖ คน เช่นเดียว หมายถึงว่าเราใช้คนทั้งหมด ๑๒ คน  ให้เวลากับกระบวนการนี้สองในสามของกระบวนการครับ

กระบวนการที่สาม

การเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นเวทีใหญ่ โดยผมทำหน้าที่เป็น Facilitatorให้ ชาวบ้านออกมาเล่าเรื่องราวตนเอง ส่วนหนึ่ง เล่าผ่านโมเดลการจัดการความขัดแย้ง ประมาณกลุ่มละ ๑๐ – ๑๕ นาที

IMG_2755 by you.

ลาหู่

IMG_2748 by you.

ปกาเกอญอ

IMG_2775 by you.

อิ้ว - เมี่ยน

IMG_2741 by you.

กลุ่มลีซู ทดลองให้ชาวบ้านออกนำเสนอให้เพื่อนๆในกลุ่มฟัง

IMG_2729 by you.

การดำเนินกระบวนการเวที เป็นไปด้วยความสนุกสนาน ผมต้องให้เครดิตผู้นำกระบวนการ ทั้ง ๕ ท่านที่ทำหน้าที่ บริหารบรรยากาศได้เป็นอย่างดี สังเกตว่าวงคึกครื้น กันดี...นี่ถือว่าเป็นความสำเร็จตลอดระยะทางของการจัดการความรู้ในเวทีนี้

IMG_2803 by you.

ผมขอถอดบทเรียนเชิงกระบวนการ สำหรับเวทีนี้ดังนี้... 

การเตรียมการ..

ต้องยกให้ทางเจ้าหน้าที่ นักวิชาการของสถาบันพระปกเกล้าที่ประสานงาน ทั้งคน ทั้งสถานที่ ทำให้เราได้กลุ่มเป้าหมายที่ครบถ้วน และเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เป็น Key informant จริงๆ

กระบวนการในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

โครงสร้างการถอดบทเรียน ชัดเจน ว่าเราจะถอดบทเรียนเรื่องไหน ประเด็นอะไร ต้องการ out put อะไรบ้าง? จากการเตรียมการของนักวิจัย และ การทำ BAR.(Before action review) ก่อนเริ่มเวที

โครงสร้างคำถามที่ ลดความเป็นทางการ เป็นคำถามง่ายๆ สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย  เป็นคำถามที่เอื้อต่อการยั่วยุและได้มาซึ่งคำตอบที่เราต้องการ

บรรยากาศ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ และเน้นความสะดวกสบายของผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยน ตรงนี้ยกความดีความชอบให้กับ Facilitator ทั้งทีม

เวลา มีการบริหารเวลาที่ดี ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ ผมคิดว่า เราผ่านเรื่องของเวลาได้ โดยที่ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นจนจบ

คนทำงาน 

ผู้นำกระบวนการการ (Facilitator) เป็น นักวิชาการจากสถาบันพระปกเกล้าที่มีทักษะเป็นกระบวนการประชาเสวนา ทำให้บรรยากาศการแลกเปลี่ยน สนุกสนาน ได้ประเด็น และเรามี Facilitator เสริมจาก มหาวิทยาลัยในพื้นที่อีก ๒ ท่าน มาช่วย

ผู้จดบันทึก (Notetaker) เป็นนักศึกษาปกติ ของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ทั้งหมด ๖ คน  ซึ่งผมคิดว่าเวทีนี้เป็นทั้งการฝึกการทำงานของพวกเขาด้วย อย่างน้อยการได้รู้ ได้เห็น เป็นการเรียนนอกห้องเรียนที่มีคุณค่า

กลุ่มเป้าหมาย 

เราได้กลุ่มเป้าหมายที่เป็น ตัวจริง เสียงจริง ทำให้ประเด็นที่เราถอดบทเรียน เราได้บทเรียนที่เป็นภูมิปัญญาที่น่าสนใจ เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลการศึกษาวิจัย ประเด็นการจัดการความขัดเเย้ง (Conflict management)  ที่ผมคิดว่าเป็นข้อมูลที่เมืองไทยยังไม่มีการทำการศึกษาวิจัยในประเด็นนี้

IMG_2745 by you.

สำหรับข้อมูลการวิจัย รวมถึงโมเดลการจัดการความขัดแย้งในกลุ่มชาติพันธุ์ ๖ เผ่า ทางทีมวิจัยกำลังวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อจะสรุปผลงานวิจัยในเร็วนี้ๆ ขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลา...แต่ผมคิดว่าอีกไม่นาน เราจะมีผลงานวิชาการที่เป็นชุดความรู้เกี่ยวข้องประเด็นการจัดการความขัดเเย้ง (Conflict management) ของกลุ่มชาติพันธุ์ของประเทศไทยเราทั้ง ๖ กลุ่ม ...ม้ง,ปกาเกอญอ,อาข่า,เมี่ยน ,ลีซู และ ลาหู่ นำออกมาเผยแพร่เร็วๆนี้ครับ

 บันทึกที่เกี่ยวข้อง

 

 

ภาพบรรยากาศเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่โรงเเรมแกรนด์เฮอริเทค

จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๕ - ๑๖ ก.ย.๕๒

IMG_2731 by you. 

นั่งฟังอย่างตั้งใจ

IMG_2729

click here to add a description

 

IMG_2729IMG_2743IMG_2748IMG_2778IMG_2796IMG_2742
IMG_2731IMG_2744IMG_2755IMG_2779IMG_2803IMG_2775
IMG_2741IMG_2747IMG_2763IMG_2787IMG_2810IMG_2745
 

 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

เชียงใหม่

๑๖ กย.๕๒

หมายเลขบันทึก: 299659เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2009 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (41)

ผมต้องขอบคุณ หลายท่านที่ร่วมด้วยช่วยกัน ในเวทีครั้ง ด้วยกัลยาณมิตรและขอบคุณมากครับ

คุณหมอมังกร และ อาจารย์Wasawat Deemarn เพื่อนทั้งสองของผมที่ช่วยเหลือเป็นอย่างดี

ขอบคุณน้อง อาจารย์ฝน และ นักศึกษาทั้ง ๖ คนที่มาช่วยเป็น ผู้จดบันทึก

 

ความตั้งใจในการเขียนบันทึกถอดบทเรียนเรื่องนี้ขึ้นมา ก็เนื่องจากแรงบันดาลใจที่ไป บรรยาย + แลกเปลี่ยน สถาบันพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน) : สรพ.  ในวันนี้ ที่ นนท์นที รีสอร์ท  ในวันนี้ งานก็สำเร็จและมีความสุขกันดีครับ

จริงๆ การถอดบทเรียน กระบวนการทำงานแบบนี้ ผมคิดว่าเราควรบันทึกไว้เพื่อเป็นบทเรียนการทำงาน เพื่อนการเรียนรู้และยกระดับการทำงานของทีมงาน ในอนาคต

ดังนั้นเป็นการ AAR ที่เป็น Learning by doing (Learn before-Learn during - leran after)ผมคิดว่าจำเป็นอย่างยิ่ง เมื่อไหร่ก็ตามเราย้อนกลับมาดูวิธีการทำงานของเรา ดู out put ของเราเมื่อเวลาผ่านไป หรือหลายท่านอาจประยุกต์ใช้บทเรียน(Generalization) เหล่านี้

เรียนเชิญทุกท่านเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

 

โยม จตุพร

อนุโมทนาสำหรับการถอดบทเรียนที่ดีๆ มาฝากพวกเรา อาตมามีประสบการณ์ดีๆ ที่เชียงใหม่เช่นกัน

๑. ใช้พื้นที่ลุ่มน้ำตาช้าง เป็นกรณีศึกษาในระดับปริญญาเอก เรื่อง รูปแบบการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี: ศึกษกรณีลุ่มน้ำแม่ตาช้าง จ.เชียงใหม่ เมื่อห้าปีที่แล้ว

๒. ได้มีโอกาสเข้าไปทำ Focus Group ชาวเขาเผ่าม้ง กลุ่มต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ได้เห็นภาพดีๆ มากมายในขณะอยูที่นั่น ๑ ปี

๓. ขอเชิญร่วมแลกเปลี่ยนในเนื้อหาวิทยานิพนธ์ได้ที่ http://www.mcu.ac.th/site/thesisdetails.php?thesis=254818

เจริญพร

นมัสการ.../\...ท่าน MCUKM (ผศ.ดร.พระมหาหรรษา นิธิบุญญากร)

ขอบพระคุณท่านมากครับ กระผมนำทีมของสถาบันพระปกเกล้า เดินทางไปเหนือคราวนี้กว่า ๗ - ๘ เดือน เราได้พบเห็นเรื่องราวดีๆที่เป็นภูมิปัญญามากมายครับ สิ่งเหล่านี้เองเป็น "ทุน" ที่สำคัญของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ ผมคิดว่าหากงานวิชาการแบบนี้ มีการค้นคว้า สังเคราะห์ ขึ้นมาในสังคมไทย ไม่ว่าประเด็นไหนก็ตาม ผมมองว่า พลังของภูมิปัญญาของบ้านเรา มากมายมหาศาล อีกทั้งมีพลังในเชิงของการขับเคลื่อนสังคมเราไปได้

สำหรับลุ่มน้ำแม่ตาช้าง เป็นงานที่ผมอ่านผ่านมามาครั้งหนึ่ง ดีใจมากครับ ที่ท่านได้เเนะนำให้ไปอ่านพร้อม link ผมเองก็อยากจะหาเอกสารเหล่านี้ให้กับ ทีมวิจัยได้ดูเป็น review พร้อมกับเเนวทางที่เกิดขึ้น

จริงๆ ทางสำนักสันติฯ สถาบันพระปกเกล้า เราก็ค้นหาพื้นที่ที่มีการขัดเเย้ง ไม่ว่าเป็นประเด็นเรื่องไหน (อาจจะประเด็นไม่ใหญ่มาก) คือ ทางนักวิชาการฯ อยากจะลงในภาคปฏิบัติในสนามจริงๆ  เพื่อให้งานวิชาการเขาแกร่งมากขึ้น ท่านพอจะเเนะนำพื้นที่ได้บ้างไหมครับ???

หลังจากเสร็จงานผมพาทีมงานไป นมัสการพระเจ้าเก้าตื้อในวัดสวนดอก ด้วย หากทราบว่าท่านอยู่ที่มหาจุฬาฯ ผมจะได้พาทีมน้องๆไปนมัสการท่าน และขอคำแนะนำครับ

กราบขอบพระคุณท่านมากๆครับ

 

จตุพร

อ่านบันทึกนี้แล้วเกิด "หิริ โอตัปปะ" อย่างแรงครับ อิ อิ

ยังทำหน้าที่ของครูในปลายเทอมอยู่ครับ ยังไม่ได้ช่วยเขียนเรื่องราวนี้ในมุมมองของผมเลย

แต่ ... แหม เห็นภาพแล้วเสียวสันหลังนะครับ ว้าว ๆๆๆๆ เสียว ๆ

ทีมแข็งแกร่งมากครับ ผู้เข้าร่วมก็เยี่ยมมาก

ขอบคุณมากครับ ;)

เอกครับ

ที่พูดคุยแล้วถามถึงงานวิจัยผมเมื่อเย็น...

จริง ๆ ผมอยากจะะเอามารีไรท์ใหม่ เพราะเห็นบางประเด็นมีคุณค่าต่อสังคมมาก

ผมทำวิจัยการจัดการความขัดแย้งของชุมชนปกาเกอะญอ

ดูรูปแบบความขัดแย้งต้ังแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ดูระบบคุณค่า กลไก และวิธีการในการจัดการความขัดแย้งต้ังแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเช่นกัน

งานวิจัยนี้ผมได้คุยกะบพะตีจอนิ โอโอเชา จนสนิทกัน

งานที่ทำออกมายังไม่ดีเท่าไร เพราะเขียนลวก ๆ พอให้เสร็จ ๆ

แต่นึกไปนึกมาเสียดายครับ จึงอยากจะรื้อขึ้นมาเขียนใหม่

สวัสดีครับพี่เกียรติศักดิ์

ดีใจครับที่มีผู้ที่เคยทำวิจัยประเด็นนี้มาเเลกเปลี่ยนอีกท่านหนึ่ง เท่าที่ผมพยายาม Literature Review ไม่ค่อยมีงานเหล่านี้ในกลุ่มชาติพันธุ์ครับ  ต้องขอบคุณ gotoknow มากๆที่เป็นเวทีให้เกิดการเเลกเปลี่ยน สิ่งที่ยากกลับกลายเป็นง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ

ผมได้ตามไปอ่าน งานของ ท่าน MCUKM ผศ.ดร.พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยา) ที่ท่านกรุณาส่ง link มาให้ ที่สำคัญมี เอกสารฉบับเต็มให้ download ด้วย ตาม link นี้ครับ

ต้องขอเรียนรู้กับพี่หนานเกียรติด้วยครับ เป็นไปได้อยากของานวิจัยฉบับเต็มให้ทีมวิจัยของเราได้ศึกษาด้วยครับ

ขอบคุณมากๆครับ

*** พื้นที่ศึกษาวิจัยของกลุ่มชาติพันธุ์ ปกาเกอญอ ผมอยู่ที่ บ้านแม่กลางหลวง ดอยอินทนนท์ ไม่ไกลจากบ้านของพ่อจอนิ ครับ

อ.Wasawat Deemarn

ให้กำลังใจในการทำงานนะครับอาจารย์ สู้ๆ

อ.Wasawat Deemarn

ให้กำลังใจในการทำงานนะครับอาจารย์ 

ดูภาพจากด้านหลัง ดูเป็นคนหนักเเน่นมากๆครับ :)

เออ คือว่า คงจะตัวหนัก (แน่น) น่ะครับ 555

อ.Wasawat Deemarn ขอยืนยันว่าทั้งหนักและเเน่นจริงๆครับ

จะรออ่านถอดบทเรียนของ อ.วัส นะครับ คิดว่าน่าจะเห็นอีกมุมมองหนึ่งของคนร่วมงาน

ขอบคุณล่วงหน้าครับผม :)

สลามัต ฮารีรายอ ครับน้องเอก

คงได้เห็นบทเรียนดีๆมาเป็นแนวการแก้ปัญหาความขัดแย้งครับ

เหอ เหอ ... ถอดไม่เป็นครับ ... แต่พอจะเขียนได้นิดหน่อยครับ ;)

ขอบคุณ บังวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- ครับ...

ส่วนของ เอกสารรายงานวิจัย หากเสร็จผมลุ้นให้ทางสถาบันฯ ผลิตออกมาเป็นหนังสือ คิดว่า งานนี้เราต้องการเผยแพร่สาธารณะ

ข้อมุ,ในเวทีน่าสนใจมากๆครับ

อ.Wasawat Deemarn  กระผมรอติดตามงานเขียนดีๆของอาจารย์อยู่ครับ :)

  • แวะมาอ่านหลายครั้งและเป็นกำลังใจให้กับคนทำงานด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบค่ะ
  • หนุ่มไฟแรงผู้เปลี่ยนแปลงโลกทั้งใบ (ได้เลย)

อ.Sila Phu-Chaya

ต้องขอบคุณกัลยาณมิตรมากครับ สำหรับการทำงานร่วมกัน บนวิถีของการทำงานเพื่อสังคม ผมคิดว่า ผมโชคดีที่ได้เรียนรู้ร่วมกับ อาจารย์ครับ

ผมไม่อาจเปลี่ยนโลกทั้งใบได้ครับ เราต้อง synergy กัน ร่วมมือกัน เอื้ออาทรกัน งานที่หนักที่สุด กลับกลายเป็นงานที่เบาสบาย เบิกบาน

วันจันทร์ อังคาร หน้าลุยงานชิ้นต่อไปด้วยกันอีกครับ อาจารย์สู้ๆนะครับ :)

คุณเอกเป็นไอดอลของลูกๆป้าเลยนะรู้คิงป่าว...สามีป้าคนเชียงใหม่เลยอู้จ้าง

ป้าเหมียว

คำว่า "ฮู้คิง" นี่เป็นคำที่ผมชอบพูดในวงสนทนา ชุมชน งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเลยนะครับ

"กว่าจะฮู้คิง แม่น้ำปิง ปอแห้ง"

กว่าจะรู้ตัว แม่น้ำปิงก็เเห้งเหือด

 

งานวิจัยทำให้เราเรียนรู้ตัวเอง เรียนรู้ "ทุน" ภายในของตัวเอง เพื่อนำทุนเหล่านั้นมาพัฒนาชุมชนของเขาต่อ หากไม่รู้ตัวเอง ก็พัฒนาลำบากครับ

เขียนไปเขียนมาเป็นวิชาการ ซะงั้น

ขอบคุณครับ ป้าเหมียว

เอกครับ

ว่าจะโทรหาพรุ่งนี้แต่เช้าครับ เรื่องที่คุยกันไว้ปรากฏผมเคลียร์คิวไม่ได้ เสียดายมาก ๆ

...

เรื่องงานวิจัยของผม

ข้อมูลจำนวนมากดีมาก ๆ แต่การวิเคราะห์แย่มาก โดยรวมแล้วงานไม่มีคุณภาพครับ

ผมกำลังหาเวลาน่ังรีไรท์ใหม่ ตอบแทนชาวบ้านที่นั่น ที่ทนรำคาญตอบคำถามโง่ ๆ ของผม

ผมเสียดายความรู้ครับ มานั่งทบทวนแล้วน่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมที่ความขัดแย้งเริ่มปะทุรุนแรง

สวัสดีครับผม

ไม่เป็นไรครับผม ไม่ต้องโทรก็ได้

เอาเป็นว่าผมรับทราบผ่านทางบันทึกนี้เเล้ว

เรื่อง งานวิจัย conflict managment ที่เป็น thesis หากได้เชื่อมกับงานที่ผมกำลังทำ จะดีมากเลย ของกลุ่ม ปกาเกอญอ ก็เป็นหนึ่งใน ๖ กลุ่มที่ผมเก็บข้อมูล...ยังไงผมขอฝากด้วยครับ

ตอบคำถามโง่ๆ หมายถึง อะไร??? ..หมายถึง ตอบคำถามจาก งาน thesis เหรอครับ ผมยังไม่ค่อยเข้าใจ..

ใช่ ๆ ตอบคำถามตอนไปทำวิจัย

ตอนนั้นต้ังใจจะเค้นเอาแต่ข้อมูล พยายามเร่ง ๆ ทำให้เสร็จ

เป็นเพราะเขาเกรงใจเราจึงต้องตามใจ

ยังรู้สึกผิดอยู่เลยครับ

ตรงนี้เป็น "บทเรียน" ที่ดีเลย

ว่ากันว่า  "life can only be understood backward " ครับ  ผมคิดว่าน่างาน thesis น่าจะเห็นปรากฏการณ์อะไรบ้าง? ตอนนี้ผมกับทีมกำลังดูข้อมูลกันอยู่ ในส่วนของปกาเกอญอ เอามาเเลกเปลี่ยนกันครับ :)

งานเวที HEC2 ที่ รามาการ์เด้นส์ อีกไม่กี่วันนี้ ผมโชคดีครับ ที่มีคุณซวง เข้ามาเสริมทีม งานนี้ เป็น "การถอดบทเรียน" อีกเวทีหนึ่ง ที่น่าสนใจมากๆครับ ผมเพิ่งทำ กรอบโครงสร้างของการคิดให้เห็นภาพทั้งหมดในเวที ส่งให้ทีมงานผมทุกคน เสียดายครับ หากมีโอกาสก็เข้าไปเรียนรู้ด้วยกันได้..

ยังไงก็ให้เป็น ธรรมะจัดสรร นะครับ

 

สวัสดีค่ะ

  • มาแอบดูน้องชายสองคนคุยกัน
  • ก็สนใจ...เรื่องที่น้องคุยนะคะ
  • เป็นกำลังใจให้ทั้งสองคนค่ะ

สวัสดีครับ..พี่ครูคิม

ผมมาทบทวนเอกสารที่จะนำเสนอวันนี้ช่วงเช้า อดไม่ได้ที่จะมาเยี่ยม gotoknow

งานที่ทำกับกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะ conflict managment  หาไม่ค่อยเจอครับ นี่ผมก็โชคดีครับ ได้อ่านงานของ ท่าน MCUKM (ผศ.ดร.พระมหาหรรษา นิธิบุญญากร)และยังทราบว่ามีงานของ หนานเกียรติ อีกท่านหนึ่ง ในประเด็นที่ใกล้เคียงกัน

ช่วงที่เรา review งาน เราหารายงานวิจัย ไม่ค่อยเจอนะครับ (โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์)

ประเด็นที่คุยกันก็เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน gotoknow เอื้อให้ได้เเลกเปลี่ยนกัน โดยเฉพาะความรู้ เราได้มิตรภาพดีๆแถมมาด้วยเสมอ..

สวัสดีค่ะ

หันหน้าเข้าหากันได้ ความขัดแย้งคงค่อยๆลดลงเรื่อยๆ จนหายไปในที่สุดนะคะ

แวะมาชื่นชมบทเรียนที่ลึกซึ้งและให้กำลังใจครับ

ผมคิดว่าสติปัญญาแท้ (ทางธรรม) และเทียม (ทางโลก)ต้องคู่กันไปครับ

ถ้าเกิดสติปัญญาแท้ทางธรรมเราจะไม่ทำร้ายใคร มีแต่ความเมตตา แล้วค่อยๆ transform ถอดเป็นบทเรียนมาใช้ทางโลกเหมือนที่คุณพี่เอกกำลงังทำอยู่อย่างต่อเนื่องนะครับ

น้องคนนี้ให้กำลังใจนะครับ

พี่ณัฐรดา

ในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์ ใช้วิธีนี้เลยครับ "หันหน้าเข้าหากัน" ไกล่เกลี่ยเเละพูดคุยกัน ผ่านสภาผู้อาวุโส และวิถีวัฒนธรรมที่เข้มเเข็ง

ข้อมูลงานวิจัยชิ้นนี้น่าสนใจมากทีเดียวครับ :)

ข้อบันทึกดีมากคะ

กำลังเป็นประเด็นในความสนใจระหว่างชาติสากลด้วยนนะคะ

  • โอโหน้องเอก
  • ได้ข้อมูลครับเลยครับ
  • ทุกๆๆท่านตั้งใจมาก
  • ประเด็นไหนบ้างครับที่เป้นความขัดแย้งกันมากๆๆ
  • รออ่านอันนี้ครับ
  • การวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อจะสรุปผลงานวิจัย

สวัสดีครับ ครูจุฑามาศ ไพลินรักษ์

สวัสดีครับ อ.ดร.ขจิต ฝอยทอง

หลากหลายดีครับ โดยเฉพาะการ ลปรร.ในเวที ผมคิดว่าข้อมูลเหล่านี้ น่าสนใจมาก ตอนนี้ทางทีมวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล กำลังทำงานกันอย่างหนักเลย

คิดว่างานจะออกมาเร็วๆนี้ครับ..ติดตามได้ครับ

น้องPhornphon  ต้องขออภัยครับ ข้ามความเห็นน้องมา พอดีช่วงกลางวันผมติดภารกิจบางอย่าง และอยากจะเขียนหลายเรื่องแลกเปลี่ยนกับ Phornphon ครับ ผมเห็นด้วยครับว่าสติปัญญาแท้ (ทางธรรม) และเทียม (ทางโลก)ต้องคู่กันไป

โดยเฉพาะกระบวนการKM ที่ผมใช้ โดยเนื้อเเท้ของ KM คือ ธรรมะ + ธรรมะชาติ หากเราเรียนรู้ตรงนี้เเล้ว KM จะเป็นกระบวนการที่เเนบเนียนที่สุด ต่อการนอบน้อมกับความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียม

ต้องขอขขอบคุณ น้องPhornphon มากครับ ที่มาให้ข้อติดเห็นที่ผมสะดุดหลายคำ

ผมคุยกับเพื่อนร่มงานเสอมว่า คนเป็น Fa.ต้องเป็นคนที่เต็มคนก่อน ต้องเป็นคนที่สุขเต็ม เต็มพอที่จะ ส่งความรู้สึกดีๆนั้นต่อไปยัง paticipants ครับ

มีโอกาสคงได้คุยกัน

วันอาทิตย์ช่วงบ่าย ผมมีนัดทายอาหารกับ ดร.ยุวนุช อ.ศิลา ครับ หากมีโอกาสไปเจอและทานข้าวด้วยกันครับ :)

ขอบพระคุณนะครับสำหรับคำเชิญหลายต่อหลายครั้ง

ยังคงไม่สะดวกและยังคงอยู่นิ่งๆแถวชลบุรีครับ

อย่างไรถ้ายังไม่เจอกัน face to face ก็แลกเปลี่ยนกับพี่เอกได้เสมอครับที่ G2K

ด้วยความเคารพครับ

ท่องไว้ๆๆๆๆๆ ในใจ และนำไป Learn before-Learn during - leran after

"Learning by doing.......ผมคิดว่าจำเป็นอย่างยิ่ง เมื่อไหร่ก็ตามเราย้อนกลับมาดูวิธีการทำงานของเรา

ดู out put ของเราเมื่อเวลาผ่านไป หรือหลายท่านอาจประยุกต์ใช้บทเรียนGeneralization) เหล่านี้......"

ห่างหายไปนาน..ขอเติมพลังหน่อยนะคะ

  • สงสัยว่าการจัดการความรู้คืออะไร ตั้งแต่เริ่มอ่านและมาบันทึกที่นี่(G2K) โดยมิได้ศึกษาที่ไหนเพิ่มเติม เพราะไม่ค่อยสนใจอยู่แล้ว แต่พออ่านไปๆ ประโยชน์เยอะเลย โดยเฉพาะบันทึกนี้ ค่อนข้างจะอ๋อ!(พอเข้าใจแล้ว) kmเรียนรู้จากความสำเร็จ วิจัยเรียนรู้จากปัญหา และยิ่งเห็นประโยชน์ครับ
  • ผู้ดำเนินการต้องพร้อมมากๆ ตั้งคำถาม สร้างบรรยากาศการพูดคุย จับประเด็น และสรุปเก่งๆ เขาเรียกกันว่า ถอดบทเรียน
  • หากเข้าใจผิด และพูดมากเกินไป(ปกติไม่ค่อยพูด) ช่วยกระตุกด้วยครับ(ฮา) 
  • ขอบคุณความรู้ดีๆครับ

สวัสดีครับ น้องPhornphon

หากมีโอกาสก็เรียนเชิญครับ อย่างน้อยก็ได้แลกเปลี่ยนกัน ใน g2k ก็สะดวก มีประเด็นไหนที่จะเเลกเปลี่ยน ต่อยอด ยินดีครับ มีบันทึกที่เกี่ยวข้อง ที่ อ.วัส เขียน ลองไปอ่านดูครับ เรื่องเดียวกันมุมมอง วิธีเขียนคนละแบบ

http://gotoknow.org/blog/university-of-foothills/301276

ผมเองก็อยู่แถวๆมหิดล ครับ มีเวลามาเเวะได้..;)

ขอบคุณ มหาบัณฑิตหมาดๆ คุณ นกกา ^-^ นกกา ^-^

สบายดีนะครับ ...วันนี้มีเวลามาเยี่ยมผมถึงบ้านเลย..

;)

ครู ธนิตย์ สุวรรณเจริญ    ครูเข้าใจถูกเเล้วครับ

แบบพูดอีกก็ถูกอีกครับ

สำคัญทีสุดคือ บรรยากาศการเรียนรู้ต้องมีความสุขด้วยนะครับ

 

ขอบคุณ อ.เอก กะ อ.วัสมากนะคะ สำหรับโอกาสที่หยิบยื่นให้

ได้รู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้มากมาย (ถือเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าจิงๆค่ะ)

มีความสุข และสนุกสนานมากค่ะ อยากให้มีงานแบบนี้อีกนะคะ

โอกาสหน้ายินดีเสมอค่ะ

ป.ล. เวลาเอารูปลงปรึกษานีส.......นึงนะคะ คือมุมนี้รับไม่ได้จิงๆ 5555+

ครั้งหน้าจัดขึ้นที่ไหนอีกหรือครับ อยากร่วมฟังด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท