013 : ชวนดู 'เมฆหางเครื่องบิน'


 

เชื่อว่าพวกเราคงจะเคยเห็นเส้นสีขาวๆ ที่วิ่งพาดผ่านท้องฟ้า

ที่ดูเหมือนออกมาจากเครื่องบินที่บินผ่านไปนั่นล่ะครับ

ฝรั่งเรียกว่า contrail,  condensation trail หรือ vapor trail ก็มี

แต่ชื่อ contrail นี่เห็นกันบ่อยๆ ที่สุด

ภาษาไทย ราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้เรียกว่า แนวเมฆ หรือ แนวไอน้ำกลั่นตัว ครับ

ส่วนผมอยากเรียกว่า เมฆหางเครื่องบิน มากกว่า ;-)

 

มีคำอธิบายอย่างน้อย 2 แบบครับ 

แบบแรก ว่าเกิดจากการที่ไอน้ำที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง

เมื่อออกมาเจออากาศเย็นๆ ก็เกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเล็กๆ

หยดน้ำเล็กๆ เหล่านี้ เมื่อเรามองภาพรวม ก็จะเห็นเป็นทางยาว

อีกแบบก็ว่า ผงฝุ่นที่เกิดจากการเผาไหม้ ทำตัวเป็นแกนกลางให้ไอน้ำมากลั่นตัว

แกนกลางนี้ภาษาอุตุนิยมวิทยาเรียกว่า แกนกลั่นตัว (condensation nucleus)

จนเกิดเป็นไอน้ำเม็ดเล็กๆ จำนวนมาก

 

คำอธิบายสองแบบนี้ไม่ได้ขัดกันครับ แต่เสริมกัน คือ เป็นได้อย่างมากกว่า เกิดขึ้นทั้งสองแบบนั่นแหละ

 

ส่วนแถวๆ นี้ เส้นคอนเทรลเยอะจัง

สงสัยจะใกล้สนามบินหรือเปล่าหนอ?


ไปดูเมฆแบบอื่นๆ กันดีกว่า


หมายเลขบันทึก: 187802เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2008 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (38)
  • สวัสดีครับอาจารย์ชิว  ขออนุญาติประชาสัมพันธ์เรื่อง ประกวดภาพถ่ายชีวิตและงานบริการปฐมภูมิ  ในหัวข้อ “สุขภาพใกล้ตัว บริการใกล้บ้าน”@187804 
  • เครื่องบินยาม เคลื่อนคล้อยผ่านฟากฟ้า ได้ฝากรอยเมฆ คอนเทรล (contrail) เอาไว้ฉันใด
  •  เมื่อเธอผ่านเข้ามาในชีวิตของฉัน เธอก็ได้ฝากร่องรอยแห่งความทรงจำ(อันเจ็บปวด) เอาไว้ฉันนั้น
  • พอใช้ได้มั้ยครับ อิๆ..

นี่เลยค่ะ มัทถ่ายเอง

ภาพแรกถ่ายจากบนเครื่องบินระหว่างทางจากซานฟรานกลับมาแวนคูเวอร์ เหมือนกระแสนำ้ หรือ ธารน้ำแข็งเลย เคยเห็นครั้งแรกและครั้งเดียวในชีวิต

http://farm1.static.flickr.com/53/183057031_489c381054.jpg?v=0  http://farm1.static.flickr.com/64/183056648_cb5a854adc.jpg?v=0

ส่วนภาพนี้ถ่ายระหว่างทางขับรถเที่ยวจาก Nanaimo ไป Tofino ที่แคนาดานี้เอง

http://farm1.static.flickr.com/12/18095944_e71c49cf7e_m.jpg

สวัสดีครับ น้อง กวิน

      "เครื่องบินยาม เคลื่อนคล้อยผ่านฟากฟ้า ได้ฝากรอยเมฆ คอนเทรล (contrail) เอาไว้ฉันใด

      เมื่อเธอผ่านเข้ามาในชีวิตของฉัน เธอก็ได้ฝากร่องรอยแห่งความทรงจำ(อันเจ็บปวด) เอาไว้ฉันนั้น"

       แหม! แสดงว่าช่วงนี้ยังคงมีบาดแผล (ใจ) อยู่จริงๆ ด้วย แต่ยังมีต่อครับ บอกไม่หมด คือ เจ้าเมฆคอนเทรลนี่ เมื่อเวลาผ่านไป ม้นจะค่อยๆ กระจายออกด้านข้าง และสลายไปในที่สุด

ดังนั้น

      "แม้เธอจะฝากร่องรอยแห่งความทรงจำ (อันเจ็บปวด) ไว้ให้ฉัน

แต่เวลาจะเยียวยาร่องรอยนั้น จนหายไปในที่สุด"

ครับกระผม ;-)

มั่วไหมครับนี่...

สวัสดีค่ะ

* มาดูเมฆหางเครื่องบิน...สวยมากค่ะ...ที่บ้านเห็นแทบทุกวันแต่ไม่งามเท่า...ใกล้สนามฝึกบินของกำแพงแสนค่ะ

* ขอบคุณคุณมัทณาด้วยค่ะ...ที่เข้าเพิ่มให้มากขึ้น...สวยๆ ทั้งนั้น

* เจ้าเมฆจานบินนี่หรือเปล่าคะ...ที่หลายคนคิดเห็นว่าเป็นจานบิน.....บางบ้านบ้านจานบินเยอะ(บ่อย) ค่ะ

* อิอิ

สวัสดีครับ อาจารย์มัท

ภาพเมฆสวยจังครับ น่าประทับใจมาก มีภาพใหญ่กว่านี้ไหมครับ (อยากเห็นรายละเอียด)

สวัสดีครับ อาจารย์พรรณา

        แถวๆ สุพรรณนี่ท้องฟ้าน่าจะสวยดีนะครับ

        ส่วนจานบินที่บินอยู่ในบ้านนี่ จะให้ดีต้องหลบครับ ไม่งั้นหัวแตกได้ ;-)

สวัสดีครับ คุณ เกษตร(อยู่)จังหวัด

      เรียกซะเห็นภาพเชียว

      แต่จริงๆ แล้ว เมฆคอนเทรลนี่ออกมาจากเครื่องยนต์นะครับ ไม่ใช่ก้นของเครื่องบิน....555

ภาพขนาดใหญ่ดูได้ที่นี่ค่ะ แล้วก็ที่นี่

แล้วก็ที่นี่ค่ะ : )

สวัสดีครับ อาจารย์มัท

        สวยงามจริงๆ ครับ ผมกำลังค้นอยู่ว่า เมฆลายธารน้ำแข็ง นี่เรียกว่าอะไร & ที่น่าสนใจไม่น้อยกว่านั้นก็คือ เกิดขึ้นได้อย่างไรครับ

สวัสดีค่ะอ.บัญชา

  • นำภาพเมฆมาฝากค่ะ
  • ดูไปน่าจะคล้ายปีกนกที่กำลังสยายปีก กำลังจะบิน หรือ..จะเหมือน...อารมณ์ที่กำลังเกรี้ยวโกรธ...หรืออะไรคะ
  • ฝากดูหน่อยค่ะ...^_^...
  • ขอโทษค่ะ จะใส่ภาพแต่มือกดไปแล้ว
  • เอาใหม่ค่ะ

สวัสดีครับ คุณ คนไม่มีราก

       ขอบคุณสำหรับภาพเมฆสวยๆ ที่นำมาฝากนะครับ ^__^

       เฆมแบบนี้มีชื่อว่า ซีร์รัส (Cirrus) ครับ มีลักษณะเป็นเส้นๆ ยาวๆ อยู่ระดับสูงประมาณ 10 กิโลเมตร คือ ระดับเดียวกับเครื่องบิน

       เนื่องจากความสูงระดับนี้อากาศจะเย็นจัด ("ยิ่งสูง ยิ่งหนาว" ในบรรยากาศชั้นล่างสุดที่ติดพื้นดิน) ทำให้องค์ประกอบของเมฆซีร์รัสเป็น "น้ำแข็ง" ครับ

       ลักษณะที่เห็นเป็นเส้นๆ นั้นบ่งบอกถึงทิศทางของกระแสลมในระดับความสูงที่เมฆนี้อยู่ และกระแสลมที่แรงจะพัดให้เมฆเคลื่อนที่ไป แต่เราเห็นเมฆอยู่ค่อนข้างนิ่ง เพราะว่าเมฆอยู่สูงและไกลมากนั่นเอง

       ลืมบอกไปว่า บางครั้งเมฆซีร์รัสอาจมีลักษณะคล้ายขนนก ซึ่งจะเรียกว่า เมฆขนนก ก็ได้ เดี๋ยวผมจะหาโอกาสบันทึกเรื่องนี้อีกทีครับ

      

สวัสดีครับ พี่ชิว นำรูปถ่ายเมฆ มาให้ชมครับ เมฆเป็นรูปตะปุ่มตะป่ำ คล้ายหินงอกหินย้อยเลยนะครับ

อ่า...อาจารย์ กวิน น้องรัก

       ชักจะเริ่มทะลึ่งนิดๆแล้วรู้ไหม? ;-)

       เพราะภาพที่นำมาให้ชมใน comment #14 นี้ ฝรั่งเขาเรียกว่า mammatus แปลว่า เมฆทรวงอก ครับ...อิอิ

       เมฆนี้มักจะยาน เอ้ย! ห้อยอยู่ใต้ปีกบนของเมฆฝนฟ้าคะนอง (cumulonimbus) โดยสิ่งที่น่ากลัวก็คือ อาจจะมีฟ้าผ่าแบบบวก (positive lightning) อันทรงพลังออกมาจากแถวๆ เมฆแบบนี้แหละ

       เอาไว้พี่จะหาโอกาสเขียนถึงในเร็ววัน...ตอนนี้ขอไปตอบในบันทึกอื่นก่อนคร้าบ

สวัสดีครับ...

ชอบเรื่องเมฆของท่านอาจารย์มากครับ จะรอบันทึกเรื่องเมฆอีกครับ...

สวัสดีครับ อาจารย์ นาย ศิลป์ชัย เทศนา

       ด้วยความยินดี จะพยายามหาแง่มุมที่น่าสนใจมานำเสนออยู่เรื่อยๆ ครับ

       สำหรับเรื่องแนววิทยาศาสตร์อื่นๆ อาจารย์ลองแวะไปที่นี่ก็ได้นะครับ : http://gotoknow.org/blog/science/toc

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • ใจง่ายตามอาจารย์แล้วนะคะ
  • เริ่มจะหลงรักก้อนเมฆตามอาจารย์มากขึ้นๆ แล้วค่ะ
  • ลูกและหลาน ชื่อ ต้นฝน น้ำฝน ฟ้าใส ถ้ามีลูกมีหลานได้อีกจะให้ชื่อ เจ้าเมฆ เลยนะคะ
  • มีเมฆบางจ๋อยกับใครเขาเหมือนกัน แต่ไม่เห็นว่าจะมีเครื่องบินบินผ่านเลยค่ะ จะเป็นเมฆอะไรคะแบบนี้
  • ชอบมองเมฆเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เท่านั้นเองค่ะ ไม่ค่อยจินตนาการเป็นอย่างอื่นสักที

สวัสดีครับคุณ ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี

         ดีจังครับที่มีคนชอบดูเมฆเพิ่มขึ้นอีก ผมว่าถ้าเราเชื่อมโยงเรื่องหนึ่งๆ กับเรื่องอื่นๆ ได้ ก็มักจะสนุกเสมอ 

เพิ่งเข้ามาครั้งแรก เลยเพิ่งรู้ว่ามีคนศึกษาเมฆด้วย

ผมเองพยายามสังเกตและศึกษาเมฆมามากกว่าสิบปี แต่เนื่องจากเมฆเป็นระบบซับซ้อนมาก จึงไม่ค่อยก้าวหน้าเท่าที่ควร ต่อไปคงใช้ที่นี่เป็นแหล่งศึกษาหนึ่ง

มีวิชาที่สาบสูญไปของขงเบ้ง คือ การทำนายสภาพฟ้าดินล่วงหน้า โดยอาศัยการสังเกต ลม แดด ลักษณะความชื้น และเมฆ แล้วสามารถพยากรณ์สภาพอากาศล่วงหน้าได้นานหลายๆวัน

ที่ผมพยายามทำคือ สังเกตเมฆ ทั้งชั้นต่ำ กลางสูง ดูรูปร่าง ดูขนาด ดูสี ดูทิศทางการเคลื่อนที่ แล้วพยามยามจับแบบแผนว่า ถ้าเช้าเป็นอย่างนี้ บ่ายจะเป็นอย่างไร ถ้าเย็นเป็นอย่างนี้ เช้าพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร (ณ พื้นที่ของผู้สังเกต) พยายามทดสอบไปเรื่อยๆ (โดยไม่พึ่งกรมอุตุ)ผลที่ได้ตอนนี้ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างเท่าใดนัก

สวัสดีครับ

อย่างนี้ต้องเรียก ท่านเมฆินทร์ ;)

สวัสดีครับ คุณตรี

      ว้าว! ศึกษาเมฆด้วยหรือครับ

      ดูเมฆบ้านเรา พอจะทำนายได้บ้าง แต่ถ้าเป็นบริเวณพื้นที่ซึ่งมีมวลอากาศ (air mass) ขนาดใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา จะสามารถทำนายได้เป็นฉากๆ เลย ว่าเมื่อไรจะมีเมฆแบบไหนเกิดขึ้น หรืออาจจะมีฝนฟ้าคะนองตามมา

      ผมมีแผนภาพเหล่านี้อยู่ในหนังสือเล่มหนึ่งจัดพิมพ์โดย นสพ. USA Today เอาไว้จะหาโอกาสนำมาให้คนรักเมฆได้ชมกันครับ

      อ้อ! วิชาดูเมฆแล้วทำนายนี่ คนไทยเรียกว่า วิชายกเมฆ ครับ (ความหมายเดิม - แต่ตอนนี้กลายเป็นว่า ยกเมฆ = มั่วข้อมูล)

      ส่วนของฝรั่ง การศึกษาเมฆอย่างเป็นระบบมีชื่อเรียกว่า nephology อาจจะพอแปลว่า เมฆวิทยา ได้กระมัง เป็นส่วนหนึ่งของวิชา meteorology หรือ อุตุนิยมวิทยา ครับ

 

สวัสดีครับ อ.หมู ธ.วั ช ชั ย

         เมฆินทร์ = เมฆ + อินทร์

         แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งเมฆทั้งปวง อ้ะเปล่า? (แปลมั่ว :-P)

สวัสดีค่ะ อ. นำภาพที่ ร.ร.มาให้ดู ไม่ใช้เมฆหางเครื่องบินแน่ ๆ ค่ะ เพราะไม่มีเครื่องบินผ่าน ตอนนั้นก็ไม่มีการจุดพลุด้วยนะค่ะ ดูให้ดี ๆ ทิศทางเหมือนจะพุ่งลง พอเวลาผ่านไป รูปร่างเมฆเหมือนควงสว่านเลยค่ะ เกิดจากอะไรคะ

สวัสดีครับ

       เป็นเมฆหางเครื่องบิน (contrail) นั่นแหละครับ แต่บินผ่านไปนานแล้ว และเนื่องจากเครื่องบินอยู่สูง ราว 10 กิโลเมตร (สูงขนาดนั้น อากาศเย็นจัด เมฆเป็นเม็ดน้ำแข็ง)

       ส่วนรูปร่างเกลียวควงสว่านนี่ ขอเวลาไปค้น + คิด นิดหนึ่งครับ

       เอ้า! พวกเราใครรู้ ช่วยบอกที เดาก็ได้ ;-)

ถ่ายใกล้ๆสนามบิน SEATAC ที่ Seattle ค่ะ

http://photos-b.ak.facebook.com/photos-ak-sf2p/v295/193/106/728270582/n728270582_1030225_2110.jpg

http://photos-a.ak.facebook.com/photos-ak-sf2p/v295/193/106/728270582/n728270582_1030224_8066.jpg

http://photos-d.ak.facebook.com/photos-ak-sf2p/v295/193/106/728270582/n728270582_1030227_6693.jpg

ภาพสุดท้ายห่างออกมาจากสนามบินมากกว่าสองภาพแรก แต่เห็นว่าก็แปลกดีเลยถ่ายมาให้อ.ช่วยวิเคราะห์ค่ะ : )

 

สวัสดีครับ อ.มัท (มัทนา)

       ขอบคุณมากครับสำหรับเมฆหางเครื่องบิน (contrail) ทั้งสองภาพ

       ภาพล่างสุดนี่น่าสนใจจัง อาจารย์มีภาพใหญ่กว่านี้ไหมเอ่ย จำนำไปค้นคว้าดูว่ามันคือ เมฆอะไร เกิดขึ้นในเงื่อนไขไหน และอื่นๆ 

สวัสดีค่ะ อ. นำภาพ "เมฆปีกเครื่องบิน" มาฝากค่ะ

สวัสดีครับ

        แหม! คุณครู รถตุ๊ก...ตุ๊ก มีอารมณ์ขันจังครับ ^__^

สวัสดีค่ะ ดิฉันชอบถ่ายรูป เมฆ ท้องฟ้า เหมือนกันค่ะ แต่ไม่เคยสนใจสักทีว่าเป็นมาอย่างไร ... วันนี้ได้ความรู้เต็มๆเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

นำเมฆ มาฝากอีกค่ะ

สวัสดีครับ คุณ NuiErnik

          ภาพที่ส่งมาให้นี่องค์ประกอบภาพเยี่ยมจริงๆ ท้องฟ้าก็สวยงามมากด้วย เมฆก้อนที่เห็นเป็น คิวมูลัสที่บ่งบอกว่าอากาศดี (cumulus of fair weather) ครับ

          ดูรายละเอียดเกี่ยวกับเมฆคิวมูลัส (cumulus) ได้ในบันทึกต่อไปนี้


สวัสดีค่ะอ. P  บัญชา ธนบุญสมบัติ 
        เห็นเมฆหางเครื่องบินบ่อยๆ..แต่ถ่ายภาพไม่ทันส่วนใหญ่จะอยู่บนรถเอาภาพเมฆอื่นมาฝากค่ะ.....

 

สวัสดีครับ คุณ nussa-udon

       ดูเหมือนคุณ nussa-udon จะเดินทางบ่อย

       ขอบคุณมากครับสำหรับภาพท้องฟ้าแสนสวย ถ่ายที่ไหนหรือครับ

สวัสดีครับ หนุ่ย

        ภาพนี้องค์ประกอบงามจริงๆ ท้องฟ้าก็สวยสดใส ^_____^ <-- ยิ้มแป้น

สวัสดีค่ะ

  • พี่คิมมีบล็อกเมฆ..ค่ะ
  • แต่ฝีมือยัง..สะสมอยู่ค่ะ
  • http://gotoknow.org/blog/kimmek

สวัสดีครับ

สวยครับ ท้องฟ้า ก้อนเมฆ ธรรมชาติ

สวัสดีครับ ครูคิม

        ได้แวะไปชมอย่างรวดเร็วก่อนหน้านี้แล้วครับ เดี๋ยวจะไปละเลียดชมภาพอ่านเรื่องอีกครั้งครับ

สวัสดีครับ อ.เพชรากร

          หากสนใจดูอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ก็ขอเชิญที่นี่ครับ

                     ชมรมคนรักมวลเมฆ

              http://portal.in.th/cloud-lover

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท