015 : ชวนดู ภูเขาแบ่งโซนฝนตก


 

หลายพื้นที่บนโลกกลมๆ ใบนี้

ภูเขาอาจทำหน้าที่แบ่งแยกดินแดนออกเป็น

บริเวณที่มีฝนตกชุก & บริเวณอับฝน (เรียกว่า rain shadow)

ทำไมนะรึ? ลองดูภาพแอนิเมชันนี่สิครับ

ลมที่พัดมาจากทางซ้ายมือ หอบเอาความชื้นมาด้วย

พอเจอสันเขา ความชื้นก็ถูกบังคับให้ไต่ขึ้นสูง

ถึงจุดหนึ่ง ก็เกิดเป็นเมฆ ซึ่งจะตกกลับลงมาเป็นฝน

ฝนนี้ตกเฉพาะฝั่งที่ลมปะทะกับภูเขา (ซ้ายมือ) ส่วนอีกด้านจะแห้ง ไม่ค่อยมีฝน (ขวามือ)

นักอุตุนิยมวิทยาเรียกฝนแบบนี้ว่า orographic rain ครับ

 

เรื่องนี้ไม่ใช่เล่นๆ เชียว ดูตัวอย่างเทือกเขาแอนดีส (Andes) ในอเมริกาใต้

ซึ่งกั้นประเทศเปรู (ทางซ้าย - พื้นที่ชุ่มชื้นสีเขียว)

กับประเทศอาร์เจนตินา (ทางขวา - พื้นที่แห้งแล้งสีน้ำตาล)

 ที่มาของภาพนี้


หมายเลขบันทึก: 188363เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2008 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • แล้วในประเทศเรามีที่ไหนบ้างครับ
  • จะได้ไม่ไปอยู่ 555+++

สวัสดีครับ

         เทือกเขาบรรทัด และเทือกเขาจันทบุรีนี่ก็ทำตัวอย่างนี้ครับ (ทราบจากคนที่กรมอุตุฯ บอกเอาไว้) คือ เคยมีเหตุการณ์ที่ว่า ทางจันทบุรีฝนตกหนัก แต่ทางชลบุรี & ระยอง กลับแล้งฝน

สวัสดีค่ะ

ถูกใจบันทึกนี้ที่สุดเลยค่ะ ตรงใจพอดี ที่ฮาวายที่อยู่ตอนนี้อยู่ ด้าน windward ค่ะ จะอากาศเย็น มีTradewind  ชุ่มฉ่ำเขียวขจีมากๆเลยค่ะ อีกฝั่ง Leeward จะแห้งและร้อนกว่ามากๆเลยค่ะ แปลกดีจริงๆค่ะ

ขอบคุณนะคะ

  • สวัสดีครับอาจารย์
  •  เทือกเขาบรรทัด และเทือกเขาจันทบุรีนี่ก็ทำตัว อย่างนี้ครับ (ทราบจากคนที่กรมอุตุฯ บอกเอาไว้) คือ เคยมีเหตุการณ์ที่ว่า ทางจันทบุรีฝนตกหนัก แต่ทางชลบุรี & ระยอง กลับแล้งฝน
  • เพิ่งทราบนะครับความรู้ใหม่ๆๆๆๆ ขอบคุณนะครับ

สวัสดีครับ คุณ a l i n_x a n a =)

        รู้สึกดีใจที่บันทึกนี้มีประโยชน์นะครับ

        ถ้ามีภาพบริเวณที่กล่าวถึง ก็อาจนำมาโพสต์ให้เพื่อนๆ ชมกันหน่อยนะครับ 

สวัสดีครับ อาจารย์กวิน

       ที่อ้างถึงนั่นมาจากเจ้าหน้าที่กรมอุตุฯ ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังนะครับ ช่วงนั้น แถวๆ ชลบุรี และระยอง แล้งฝนมาก ถึงขนาด รมต. จะมีโครงการผันน้ำไปช่วยอุตสาหกรรมเลยทีเดียว (เอากันใหญ่)

สวัสดีค่ะ

* ตอนเด็กได้เรียนแบบใช้จินตนาการ...ไม่มีโอกาสได้เห็นลักษณะการเกิดที่ชัดเจนอย่างนี้

* นับว่าช่วยให้เข้าถึงการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นนะคะ

* ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ตามบันทึกของอาจารย์อยู่ค่ะ ตั้งแต่อาจารย์เกริ่นแนะนำลิงค์การเกิดพายุต่างๆ add เก็บไว้ในเบราเซอร์ด้วย ยังแนะนำเด็กๆ ให้เข้าไปศึกษานะคะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ

     คุณครู นาง พรรณา ผิวเผือก (ไม่มีชื่อกลาง) : ใช่แล้วครับ ภาพแอนิเมชันนี่ช่วยได้เยอะทีเดียว แต่ถึงกระนั้น ผมว่าถ้าได้ใช้จินตนาการบ่อยๆ ก็จะทำให้เห็นแง่มุมอื่นๆ ได้เหมือนกันครับ

     คุณครู ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี : ไม่แน่ใจว่ามีโอกาสได้อ่านเรื่อง พายุนาคเล่นน้ำ (waterspout) หรือยังครับ มีคลิปใน อีกบันทึกหนึ่งด้วยครับ

 

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • ตามไปชมภาพพายุมาค่ะ น่ากลัวมาก ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นในบ้านเรา เมื่อไม่กี่วันได้ยินคนพูดถึงพายุนี้ใช่ไหมนะคะ ไม่ได้ติดตามข่าวต่อค่ะ
  • แต่ใน clip YouTube เสียดายค่ะ ดูจากที่บ้านไม่ได้เพราะใช้บริการ TOT จะไปเปิดชมที่ทำงานค่ะ ส่วนอีกลิงค์ดูได้ค่ะ
  • ส่วนตัวนี้ลิงค์ไม่พบค่ะ พายุ 'นาคเล่นน้ำ' : สะพานเชื่อมนภา & วารี (อยากชมค่ะ)
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ

         บันทึกเรื่อง พายุ 'นาคเล่นน้ำ' : สะพานเชื่อมนภา & วารี อยู่ตามลิงค์ที่ให้ไว้ครับ (แต่เข้าใจว่าจะไปอ่านมาแล้ว)

อาจารย์คะที่นี่เคยเห็นฝนตกแบ่งครึ่งทุ่งนาค่ะ แต่ไม่มีภาพนะคะ เคยดูกับนักเรียนในหน้าฝน เดากันว่าจะตกมาถึงเรามั๊ย

สวัสดีครับ อ.ทราย

       แสดงว่าอยู่ตรงขอบเมฆฝนพอดีครับ! โชคดีจริงๆ ^__^

ประเทศที่ติดกับอาร์เจนตินา น่าจะเป็น ชิลี รึเปล่าครับ ส่วนเปรูจะอยู่เหนือขึ้นไปอีก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท