แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

ชีวิตและความตาย ; "เรียนอะไร ในชีวิตและความตาย" (๓)


 

เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ"

บทที่ ๑ 
ได้ตายก่อนตาย ก่อนเรียนชีวิตและความตาย

บทที่ ๒ 
"กล้าพอไหม ที่จะเรียนวิชาชีวิตและความตาย"

บทที่ ๓ 
"เรียนอะไร ในชีวิตและความตาย"

บทที่ ๔.๑ 
"เทอม ๒ ในวิชาชีวิตและความตาย"

บทที่ ๔.๒ 
"ออกไปสัมผัสผู้คนด้วยวิชาชีวิตและความตาย"

บทที่ ๕
"ห้องเรียนแห่งความเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต"

บที่ ๖
""เข้าใจความเป็นจริงของชีวิตจากความตาย"

 บทที่ ๓
"เรียนอะไร ในชีวิตและความตาย"

ดล เกตน์วิมุต (ครูดล)
(เข้าอ่านงานเขียนทั้งหมดของครูดลได้ที่นี่)

โยคะสารัตถะ ฉบับเดือน มกราคม ๒๕๕๒

 

การศึกษาในช่วง Course Work แบ่งเป็น ๓ เทอม กับ ๑ Summer และวิทยานิพนธ์ เทอมแรกมี ๔ วิชาด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นเทอมที่หนักที่สุด 

ชีวิตและความตายในพระพุทธศาสนา 
Life and Death in Buddhism

          ศึกษาหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและความตายทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน โดยเน้นศึกษาโลกทัศน์และชีวทัศน์ของพระพุทธศาสนาต่อชีวิตและความตาย เช่น เรื่องขันธ์ ๕, ไตรลักษณ์, กรรม และสังสารวัฎ ตลอดจนวิธีการปฏิบัติต่อชีวิตและความตาย เช่น หลักความไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต หลักการเตรียมตัวตายอย่างมีสติ แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นมาของชีวิตในอดีตชาติ ชีวิตใกล้ตาย ชีวิตหลังความตาย การเตรียมตัวตาย วิธีการดูแลรักษาผู้ป่วย รูปแบบการตายที่ดี ประเพณีเกี่ยวกับความตาย และวิธีการปลอบโยนให้กำลังใจแก่ผู้ประสบความสูญเสีย

จิตวิทยาแห่งชีวิตและความตาย
Psychology of Life and Death
          ศึกษาจิตวิทยาว่าด้วยชีวิตและความตายของมนุษย์ให้ครอบคลุมทั้งมิติทางด้านชีววิทยา (Biological) ด้านสังคมวัฒนธรรม (Socio-Cultural) ด้านจิตวิทยา (Psychological) และด้านจิตวิญญาณ (Spiritual) โดยเน้นแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางจิตของผู้ปรับตัวได้และปรับตัวไม่ได้ เพื่อเผชิญหน้าต่อความเปลี่ยนแปลงความตายและภาวะใกล้ตาย เช่น ปฏิกิริยาของผู้ป่วยที่เยียวยารักษาไม่ได้ ๕ ขั้น คือ ขั้นปฏิเสธ-แยกตัว ขั้นโกรธ ขั้นต่อรอง ขั้นซึมเศร้า และขั้นยอมรับ รวมทั้งแนวปฏิบัติต่อผู้ป่วยระยะสุดท้ายและญาติ

จิตวิทยาแห่งความงอกงาม 
Growth Psychology

          ได้รับความรู้จากอาจารย์ ดร.โสรีย์ โพธิแก้ว และคณะทีมคณาจารย์ ถ่ายทอดความงามของชีวิตที่พัฒนาในระดับต่าง ๆ ของผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดีและสมบูรณ์แบบตามหลักพุทธจิตวิทยา ทฤษฎีจิตวิทยาตะวันตกและจิตวิทยาตะวันออก ในบริบททางสรีรวิทยา สังคมวัฒนธรรม และบริบททางจิตวิทยา เพื่อให้เข้าใจลักษณะ ประเภท และขั้นตอนการพัฒนาการรับรู้ ความจำ กระบวนการคิด การเข้าใจ อารมณ์ การตัดสินใจ การใช้เหตุผล แรงจูงใจ บุคลิกภาพ พฤติกรรม การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตนเองและสถานการณ์แวดล้อม การแก้ปัญหา ป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพจิต โดยการนำผลค้นคว้าวิจัยและทฤษฎีต่าง ๆ มาวิเคราะห์เปรียบเทียบและประเมินเพื่อประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมกับการเผชิญกับชีวิตและความตาย และที่สำคัญเป็นวิชาที่ฝึกให้มีสติรู้เท่าทันตำแหน่งที่วางของใจตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Toxic & Tonic ที่เห็นได้อย่างชัดเจน

จิตวิทยาพื้นฐาน
Fundamental of Psychology

          ศึกษาพื้นฐานแนวคิดทางจิตวิทยา ความหมาย ประวัติ และขอบข่ายของวิชาจิตวิทยา พฤติกรรม และสาเหตุของพฤติกรรม แรงจูงใจ การรับรู้ การเรียนรู้ เชาวน์ปัญญา เขาวน์อารมณ์ บุคลิกภาพ ความขัดแย้งในใจและการปรับตัว สุขภาพจิต และการปรับตัวในสังคม การนำวิชาจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ โดยศึกษาควบคู่ไปกับแนวคิดทางจิตวิทยาของพระพุทธศาสนา
          ในเทอมแรกนี้เองมีกิจกรรมพิเศษที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสนิมนต์พระนิสิตและนำเืพื่อนนิสิตเข้าร่วมงานสัมมนา ๑๐๑ ปีชาตกาล ท่านพุทธทาส ที่ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร ทำให้พวกเราได้มีโอกาสทำความรู้จักบุคลากรในสายจิตวิญญาณมากมายทั้งในและต่างประเทศ ได้สื่อสารนำเสนอในบริบทของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในทุกมิติขององค์รวม เช่น มรณานุสรณ์ของ คุณสุภาพร พงษ์พฤกษ์, สู่ความสงบที่ปลายทาง เป็นต้น ซึ่งล้วนมีประโยชน์มากในการเผยแพร่ ในกระบวนการฝึกอบรมของเครือข่ายชีวิตสิกขาเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในปัจจุบัน
          นอกจากนั้น มีโอกาสได้นิมต์พระนิสิตและชักชวนเพื่อนนิสิตอีกครั้งเพื่อเข้าร่วมโครงการอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่โรงพยาบาลศิริราชในโครงการของอาจารย์สุมาลี จนสืบเนื่องเป็นโครงการพิเศษเพื่อผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย "คลีนิคพระคุณเจ้า" ที่ศิริราชในปัจจุบัน
          ประกอบกับที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นจิตอาสาในโครงการโรงพยาบาลมีสุขของมูลนิธิกระจกเงา ซึ่งนับว่าทั้ง ๓ กิจกรรมพิเศษที่หาเพิ่มจากภายนอกล้วนมีประโยชน์เกื้อกูลต่อการเรียนรู้ในวิชาชีวิตและความตายเป็นอย่างมาก

 

(ติดตามอ่าน บทความในฉบับถัดไป)

 

 

 


 
ภายใต้มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1  ถนนรามคำแหง  แขวงหัวหมาก  
เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  10240  
โทรศัพท์  02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744 ; 
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

 .....

 

 


หมายเลขบันทึก: 252988เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2009 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท