แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

ชีวิตและความตาย ; "ห้องเรียนแห่งความเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต" (๕)


 

เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ"

 


บทที่ ๑ 
ได้ตายก่อนตาย ก่อนเรียนชีวิตและความตาย

บทที่ ๒ 
"กล้าพอไหม ที่จะเรียนวิชาชีวิตและความตาย"

บทที่ ๓ 
"เรียนอะไร ในชีวิตและความตาย"

บทที่ ๔.๑ 
"เทอม ๒ ในวิชาชีวิตและความตาย"

บทที่ ๔.๒ 
"ออกไปสัมผัสผู้คนด้วยวิชาชีวิตและความตาย"

บทที่ ๕
"ห้องเรียนแห่งความเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต"
บที่ ๖
""เข้าใจความเป็นจริงของชีวิตจากความตาย"

บทที่ ๕
"ห้องเรียนแห่งความเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต"

เขียนโดย ; ดล เกตน์วิมุต (ครูดล) 
(เข้าอ่านงานเขียนทั้งหมดของครูดลได้ที่นี่) 

โยคะสารัตถะ ฉ.; เม.ย.'๕๒

 

หากเราถูกถามว่า ห้องเรียนอะไรคือห้องเรียนที่ดีที่สุด หลากหลายภาพในความทรงจำคงค่อย ๆ ผุดขึ้นมาภายในห้องสี่เหลี่ยมบ้าง สนามในโรงเรียนบ้าง อาจเป็นภาพครูฝึกสอนใจดีในวิชาศิลปะ, ภาพในห้องทดลองชั่วโมงวิทยาศาสตร์, ภาพตอนได้เรียนรู้วัฒนธรรมกับนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ, ภาพตอนเล่นชิงช้าในสนามเด็กเล่น, ภาพในสนามฟุตบอลชั่วโมงพละศึกษา ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นความทรงจำที่ดี นึกแล้วพาให้ยิ้มไป ขำไป ทำตาพริ้ม ๆ อย่างสุขใจ เพราะห้องเรียนที่ดีที่สุดของเราเหล่านั้นล้วนซุกซ่อนความประทับใจหลากหลายความทรงจำจนจดจำได้ไม่ลืมเลือน อาจเป็นเพราะเราได้เกรดดีในวิชานั้น เราได้พบเพื่อนซี้ตอนที่เรียนวิชานี้ คุณครูให้คะแนนเราเป็นที่หนึ่งของห้อง แต่ก็ยังเป็นอะไรที่ถูกจำกัดอยู่ในห้องหรือสนามรูปทรงเรขาคณิต 

กับบางคนที่ผ่านหนาวผ่านฝนมาหลายฤดูหรืออาจด้วยประสบการณ์ชีวิตที่มากขึ้น อาจพาให้นึกไปถึงห้องเรียนนอกกรอบเหลี่ยม ๆ ที่เกริ่นไว้ข้างต้น ก็คือห้องเรียนชีวิตในชีวิตประจำวันต่าง ๆ อาจเป็นในที่ทำงาน, บนรถไฟฟ้า, ในโรงหนัง, โรงพยาบาล, ห้องเรียนโยคะ วัด หรือแม้แต่ในบ้านของเราเอง ก็ล้วนแล้วแต่เป็นที่ที่เราสามารถเรียนรู้และเก็บความทรงจำที่ดีไว้จนรู้สึกว่านั่นแหละตอนนั้นเองที่เป็นห้องเรียนที่ดีที่สุดของเรา

และกับบางคนห้องเรียนที่ดีที่สุดน่าจะเป็นห้องเรียนที่อยากเปิดใช้เมื่อไรก็ใช้ได้ทุกเมื่อ เป็นห้องเรียนที่เราเป็นเจ้าของเอง สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ให้ความรู้ได้ต่อเนื่อง ไม่ต้องลงทะเบียนเรียนเสียค่าหน่วยกิต มีขนาดไม่ใหญ่โตนักพกพาไปได้สะดวก ซึ่งเราทุกคนต่างก็มีห้องเรียนที่ดีที่สุดอันประกอบไปด้วยคุณสมบัติที่ดีเลิศทุกอย่างข้างต้น แต่น่าเสียดายเหลือเกินที่ห้องเรียนเหล่านั้นมักจะถูกปิดตายไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า อาจเป็นเพราะด้วยความเคยชินที่มันอยู่กับเราตลอดเวลา มันอยู่ข้างใน ขี้เกียจรื้อออกมา หรือขนาดมันเล็กเกินไป

เพราะมีคำเปรียบเทียบเรื่องขนาดของห้องเรียนนี้ว่ามีขนาดแค่ หนาคืบ กว้างศอก ยาววา แค่นั้นเอง ห้องเรียนที่ดีที่สุดที่ว่าเป็นห้องเรียนที่ชื่อว่า "ร่างกาย" นั่นเอง ซึ่งภายในประกอบไปด้วยจิตใจ หรือตรงตามบัญญัติในทางพระพุทธศาสนาว่า "ขันธ์ 5" (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) 

หากพิจารณากันในเชิงลึกดีดี ด้วยองค์ประกอบทั้ง 5 ล้วนแล้วแต่ประกอบด้วยตัวทุกข์ทั้งสิ้น เราจึงละเลย ปฏิเสธที่จะเรียนรู้ ทำความรู้จักกับมันจริง ๆ เพื่อนำไปสู่การตกผลึกของความรู้อันแท้จริงว่า ทุกข์ไม่ได้มีไว้ให้ยึด ไม่ได้มีไว้ให้เป็น แต่ทุกข์มีไว้เพียงแค่ให้เราเป็นผู้เห็น มีไว้ให้เราเป็นผู้ดู อย่างที่มันเป็น นั่นก็คือหาสาระแก่นสารในทุกข์ไม่ได้เลย มันเกิดขึ้นมา เพื่อตั้งอยู่ และเพื่อดับไป ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ยิ่งเห็นบ่อย ยิ่งดูบ่อย ก็วิ่งปล่อยวาง คลายจากความยึดมั่นถือมั่นมากเท่านั้น ให้ความรู้สึกของใครหลาย ๆ คนที่เคยฝึกเจริญมรณานุสติในท่าศพ ที่มีสติรู้เท่าทัน ไม่หลงเคลิบเคลิ้ม เผลอหลับไป ในทางกลับกันหากทุกข์เกิดขึ้นมา เราเข้าไปเป็น เข้าไปยึดไว้โดยรู้ไม่เท่าทันมัน ก็ยิ่งทุกข์มากขึ้น

จากการที่ข้าพเจ้ามีความรู้ในศาสตร์ของโยคะแห่งสติ จึงเป็นเหตุปัจจัยที่เกื้อกูลต่อการเรียนรู้ความเป็นจริงของชีวิตมากขึ้น เพราะเมื่อฝึกท่าอาสนะเพื่อสร้างสมดุล เช่นคันไถครึ่งตัวที่ทำแล้วรู้สึกบีบคั้นกับความไม่สบายทางกายที่อยู่ในสภาวะที่ทนอยู่ได้ยาก

 ดังนั้นขณะที่กำลังฝึกอาสนะนั้นถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดช่วงหนึ่งในการเรียนรู้แบบจำลองชีวิต ที่มีทั้งความรู้สึกทุกข์ สุข เฉย ๆ โดยใช้ร่างกายที่เคลื่อนไหวไปในอาสนะต่าง ๆ พร้อม ๆ ไปกับการรับรู้การเคลื่อนไหวของจิต โดยใช้ใจเป็นผู้ดู เป็นผู้เห็น โดยไม่เข้าไปแทรกแซง ไม่เข้าไปปรุงแต่ง ไม่เข้าไปเป็น ค่อย ๆ ฝึกตามรู้เท่าทันให้เห็นการวางตำแหน่งของใจตามความเป็นจริง แล้วนำไปสู่ใจที่วางแล้วที่มีความเป็นกลางมากขึ้น ๆ ตามลำดับ เห็นความเชื่อมโยงของจังหวะลมหายใจที่อยู่ระหว่างกายกับใจในสถานการณ์ต่าง ๆ เมื่อนั้นพลังแห่งการปล่อยวางในขณะที่เราอยู่กับปัจจุบันจะปรากฎให้เห็นเด่นชัด ไม่เพียงแต่ความรู้สึกทุกข์เท่านั้นที่ปล่อยวางได้ แม้แต่ความสุขที่ไม่ใช่สุขแท้ เป็นสุขที่เราอยากได้เพิ่ม แม้ไม่ได้ก็ทุกข์ นั่นคือสุขเทียม ก็ไม่สามารถพันธนาการกับจิตใจของเราได้

เราอาจทดสอบพลังแห่งการปล่อยวางในห้องเรียนที่ดีที่สุดด้วยตัวเองในวิธีง่าย ๆ โดยการใช้มือซ้ายกำข้อมือขวา แล้วรับรู้ความรู้สึกเปรียบเทียบตอนที่มือขวากำอยู่ (ยึดมั่น ถือมั่น) กับตอนที่มือขวาค่อย ๆ กางมือเหยียดนิ้วคลายออก(ปล่อยวาง) แล้วรับรู้ความรู้สึกจากมือซ้ายว่าตอนไหนเรารับรู้ว่ามีพลังมากกว่ากันระหว่างพลังแห่งการยึดมั่นถือมั่น หรือพลังแห่งการปล่อยวา

 

 (ติดตามอ่านบทความ ฉบับถัดไป)

 


 


ภายใต้มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1  ถนนรามคำแหง  แขวงหัวหมาก  
เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  10240  
โทรศัพท์  02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744 ; 
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

 .....

หมายเลขบันทึก: 257264เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2009 12:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท