ถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์(5)


 ตอนนี้ผู้เขียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนนะครับ ขอเขียนต่อจากบันทึกนี้

 

คำถามจากการวงเสวนา

              ผู้ใหญ่ชูชาติ  วรรณขำ  จะมองหมู่บ้านน้ำทรัพย์ในมุมไหน   พัฒนาการของหมู่บ้าน

-การพัฒนาไปข้างหน้าไม่อยู่ในความคิดอย่างไร   สูงสุดก็การเป็นกำนัน  ต้องการแยกตำบลออกมาเป็นอีกส่วนหนึ่ง   การผลักดันแยกตำบลไม่เกิด   ต้องยก อบต. เป็นเทศบาล  จุดมุ่งหมาย   ช่วยเหลือชาวบ้าน  แก้ปัญหาของชาวบ้านน้ำทรัพย์  คือวางทิศทางของหมู่บ้านอยากให้ชาวบ้านมีที่ที่อยู่ตลอดไป  และเรื่องแหล่งน้ำ  มีที่อยู่โดยไม่ขาย  มีที่โดยไม่ต้องเสียพื้นที่ไปและได้พื้นที่สีเขียวกลับคืนมา

ผอ.ขวัญใจ : ถามว่าผู้ใหญ่ชูชาติ  วรรณขำ  เคยท้อแท้ไหม  เคยท้อแท้เรื่องยาเสพติด  บางสิ่งบางอย่างมีเสียงสะท้อนออกมา   เรื่องมุ่งหมายถึงชีวิต  ที่รับรองว่าข้อมูลไม่รั่ว    แต่รั่ว     ทั้งเรื่องป่าไม้  และเรื่อง ผู้มีอิทธิพล

ผู้ใหญ่ชูชาติ  วรรณขำ:ปี  พ.ศ.  2548  มีตำรวจ พ.ต.ท.  สมยศ  ฉิมพาลี    แจ้งข่าวว่าจะมีคนมาทำร้าย  เรียกไปคุยโดยการเปิดใจ

ปี  พ.ศ.  2549 – 2551  โดยร้องเรียนเรื่องเอกสารสิทธิ์ที่ดิน  ที่อยู่ในเขตป่าสงวน  โดยจับกุมผู้บุกรุกที่ดิน

 

ในที่ประชุมมีผู้ถามว่า :ท้อแท้ทำอย่างไร     ไม่รายงานเป็นลายลักษณ์อักษร  มีกำลังใจจากชาวบ้าน  ไม่รายงานและชาวบ้านให้กำลังใจ

 

ลุงบุญส่ง  ให้กำลังใจ  ผู้ใหญ่ชูชาติ  วรรณขำ  ทำเพื่อชาวบ้านไม่ทำเพื่อส่วนตัว

ลุงบุญส่งบอกว่า: อยู่ไปเถอะ

 

นายวรวิทย์   กิตติคุณศิริ : ได้มอง  คิดบวก  ชีวิตบวก  ถ้าเจอปัญหาเราต้องคิดเชิงบวก  คนเราถ้าคิดอะไร  บางคนเคยบวชมาก่อน  เป็นผู้นำ  ตัวกระตุ้นอะไรที่ทำให้เกิดทำอย่างนี้

ผู้ใหญ่ชูชาติ  วรรณขำ :

1.เห็นความลำบาก  อยากแก้ไข  และตัดคำว่าต้องทำได้และมีความตั้งใจสูงอยู่แบบพร้อมหน้าพร้อมตา   ได้ประสานงาน  ช่วยพ่อตลอด  มีความจริงจัง  จริงใจ   ถ้าเป็นแล้วไม่ทำ  ก็ไม่ต้องเป็น   ถ้าเป็นแล้วต้องทำ  เป็นเพื่อบรรลุสิ่งที่ตั้งไว้    สิ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จ   คือชาวบ้าน  เพราะทำคนเดียวไม่ได้  โดยการเลือกหรือกำหนด

2. พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพรบรมราชินีนาถ  มีชาวบ้านช่วยกันทำและได้เข้าเฝ้าในหลวง  และพระราชินีนาถ

3.ได้เป็นหมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติ

4.ได้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  ทำความดีต่อในหลวง  ก็เท่าที่เขาทำอยู่

 

ผู้ใหญ่ชูชาติ  วรรณขำ: กล่าวว่าต้องมี

1.หลักการ  วิชาการ

2.งบประมาณ

3.มีต้นแบบ  เช่นการทำบัญชีครัวเรือน  เป็นสุดยอดของต้นแบบ

4.แรงสนับสนุนเชิงนโยบาย  สนับสนุนจากเบื้องบน  ตัวกำหนดในการออกนโยบายของคนอยู่ในป่ามีการจัดงบประมาณลงมา

 

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านน้ำทรัพย์(เสื้อลาย)มาอบรมเรื่องมะนาว คนเสื้อเขียว คุณสามารถ(หมอมะนาว)

 

ผู้เขียนพาไปกินสเต็กเป็นที่ติดใจของชาวบ้าน ต่อไปอาจมีสเต็กปลาบ้านน้ำทรัพย์ก็ได้ ฮ่าๆ

ผอ.สุนันทา  การะเวก :  เราต้องมีข้อมูลชัดเจนของงาน  ก็จะประสบความสำเร็จ  ซึ่งเป็นต้นแบบ  กศน.  ร่วมกันในเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้  ทำอย่างไร  ถ้าจะมีข้อมูลหลากหลาย  งบประมาณ  ส่วนหนึ่งช่วยเข้ามาส่งเสริม  เช่น  บัญชีการทำงานของครู กศน.  เป็นลักษณะแบบนี้ก็จะดี   เราพยายามที่จะเก็บเกี่ยวความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้

ผู้เขียนเองนั้นเห็นความตั้งใจของชุมชนและความพยายามของชุมชนที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเอง  ผู้เขียนชอบความคิดเห็นของพี่ยุวนุชหรือคุณนายดอกเตอร์ที่บอกว่า

 

สนับสนุนค่ะว่าคำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน ต้องค้นหาทุนหลากหลายที่มีอยู่ในชุมชนของตัวเองให้เจอ คนนอกเป็นเพียงสิ่งสนับสนุน หรือช่วยเหนี่ยวนำให้เขาได้ค้นพบ เห็นปัญหา อยากแก้ และแก้ที่ตนเองก่อน

 

  

    ผู้เขียนขอบคุณทุกๆๆท่านมากครับ ที่เข้ามาอ่าน เหลือกระบวนการผลการถอดบทเรียน ของแต่ละกลุ่ม ในวันที่ 4 สิงหาคม 2553 และเรื่องภูมิปัญญาในท้องถิ่นอีกครับ รออ่านนะครับ…

หมายเลขบันทึก: 391507เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2010 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:29 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (56)

นำอาหารมาเสริมแรง ครับ

  • ขอบคุณท่านอาจารย์หมอ JJ
  • เห็นแล้วหิวข้าวเช้าเลย
  • ฮ่าๆๆ
  • สบายดีไหมครับ

เรียน ท่าน แอ๊ด พอไหว ครับ ปลายอาทิตย์ ไป หัวหิน ครับ

  • โอโหท่านอาจารย์หมอ JJ
  • น่ากินมาก
  • ปลายอาทิตย์ผมอยู่ตราดครับ
  • รอดูกิจกรรมที่หัวหินครับ

สวัสดีค่ะ

เป็นกำลังใจให้ผู้ใหญ่ชูชาติ  วรรณขำค่ะ

ขอขอบคุณที่นำเรื่องดี เป็นแบบอย่างความอยู่รอดของสังคมค่ะ

อ.ขจิต มีหุ้นร้านเสต็กร้านนี้แน่ ๆ เลย อิอิ

  • ขอบคุณพี่ครูคิม
  • ผู้ใหญ่และชุมชนเข้มแข็งมากครับ
  • ขอบคุณท่านเกษตรฯ
  • เบาๆๆ เดี๋ยวคนอื่นรู้หมดว่าผมมีหุ้นลม
  • ฮ่าๆๆๆๆ

สวัสดีค่ะท่านพี่ขาหญ่าย

ชอบแนวคิดนี้ ถ้ามีที่ดิน ทำให้เป็นสีเขียว ก็จะไม่มีวันอดตาย ;)

 

ขอบคุณน้องปู จริงๆๆด้วย ถ้ามีดิน มีน้ำ ปลูกผัก ปลูกผลไม้ไม่อดตายครับ ฝนทางใต้ตกไหมครับ

        

  พี่ใหญ่ขออัญเชิญพระบรมราโชวาท มาเป็นกำลังใจแก่ผู้ใหญ่ชูชาติ และทุกคนในชุมชมบ้านน้ำทรัพย์ค่ะ...

  • ขอบพระคุณพี่ใหญ่
  • มากครับ
  • สำหรับพระบรมราโชวาท

การที่ชุมชนต่างๆ จะเจริญขึ้นได้นั้น โชคดีไปสำหรับชุมชน ที่มี ผู้นำ ที่วิสัยทัศน์  เสียสละ และมองการไกล เอาผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง  รักและหวงแหนท้องถิ่นตน อย่างเช่นผู้ใหญ่ ชูชาติ  วรรณขำ  พยายามหาข้อจุดด้อย เพื่อทำให้เป็นจุดเด่น

-การที่ต้องแยกหมู่บ้านออก เพื่อเป็นการกระจายอำนาจช่วยกันดูแล เวลางบประมาณมาถึง ก็จะได้ช่วยเหลือแบบพอดี ไม่ขาด  เช่นบ้านพี่สุ ตอนที่มีเงิน กองทุนเงินล้านเข้ามา พากันแยกออกเป็นหมู่บ้านเพิ่มออกไปอีก ตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น   เพื่อให้ได้เงินอุดหนุน มาเพิ่มเติม กระจายส่วนได้ให้พอดี

-และแยกกำนัน ออกมาเป็นเทศบาล เพราะการเป็นเทศบาล ก็จะมีรายได้มาอุดหนุนหรือเพิ่มเติมขึ้นอีก  ทางบ้านพี่สุ หลายหมู่บ้าน ก็เปลี่ยนมาเป็นเทศบาลกันเกือบหมด  เพราะจะได้รับงบช่วยเหลือเต็มที่ ในฐานะยกเป็นเทศบาล

-การเป็นผู้นำ ผู้ใหญ่ชูชาติ  วรรณขำ คงท้อบ้างหละ มันก็มีฝ่ายค้านเหมือนกัน

-ผู้นำที่ดี ไม่ต้องห่วงหรอกคะ ชาวบ้านคงจะสนับสนุนเต็มที่ ทำดี เลือกครั้งใหม่ได้เป็นอีกคะ ไต่เต้า ไปเป็นนายก อบต. หรือนายกเทศมนตรีเทศบาลไปเลย

-ลุงบุญส่ง คนขยันผู้ไม่คิดนอนตอนกลางวัน เป็นใครน้า ถึงมาให้กำลังใจ ผู้ใหญ่ชูชาติ  ให้อยู่ต่อไปเถอะ ก็ต้องให้อยู่หละคะ เป็นคนดี และตอนนี้ ผู้ใหญ่บ้านมีสิทธิเป็นผู้ใหญ่บ้านจนอายุ 60 ปี และมีเงินเดือน ๆละ 8 พันบาท ใครได้เป็นแล้วจงเป็นให้นานๆๆ เพราะเงินเดือนมากขึ้น  ถ้าไม่ดี ชาวบ้านมีสิทธิไล่ส่ง หรือไล่ออกได้คะ นับเป็นปรากฏการณ์ ผู้นำท้องถิ่น ที่จะคึกคักยิ่งขึ้น จากตำแหน่งนี้คะ

-พาผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านน้ำทรัพย์ไปกินสะเต๊ก กับหมอมะนาว ด้วยใช่ไหมคะ

-การมีส่วนร่วม ของชาวบ้าน ส่วนกลางรัฐ ผู้นำชุมชน ระดมความคิด หาปัญหา มีเรื่องอะไร ใครจะเป็นผู้มาช่วย อยู่ในแผนงานใด เร่งด่วนหรือไม่ เป็นไปได้ไหม ถ้าคิดจะทำ ทำแล้วปัญหาอะไรจะตามมา  ที่สำคัญต้องการพัฒนาด่วนหรือไม่  แล้วบางครั้งต้องมาบูรณาการ และบางครั้งอาจจะยืดหยุ่น ถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนแผน  ทุกอย่างเพื่อความยั่งยืน และประหยัดเช่นมีการขายผลิตภัณฑ์ในหมู่บ้านตนเอง จะสู้กับสินค้าราคาถูกได้ไหม เขาเข้ามาขายประจำ และคุณภาพดีไหม ส่งขึ้นห้างได้ไหม

-พี่สุว่า แผนงานที่หลวงวางมาให้ทำชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง อะไรอีกมากมาย เกือบทุกหมู่บ้าน แม้แต่ทางบ้านพี่สุก็เป็นเหมือนหมู่บ้านน้ำทรัพย์นี่แหละ  แต่สินค้าบางอย่างก็ล้มเหลว เพราะชาวบ้านไปซื้อที่ร้านค้า หรือตลาดนัดเหมือนเดิม ไม่มีสินค้าที่จูงใจ ให้เป็นโอท็อป ต่อเนื่องได้

-พี่สุมาเทียบใส่หมู่บ้านพี่สุ เปรียบเทียบกัน  ก็ไม่ต่างกัน ในรูปแบบที่หลวงสั่งมา คะ แต่จะยั่งยืนหรือไม่ สำคัญ สำคัญที่ผู้นำ ต้องทันเกมส์คะ นำมาบูรณาการคะ

-พี่สุก็มีเรื่องเขียนมากมายอีกแหละ เพราะเขาให้เป็นผู้จัดการกระบวนกวน อยู่พักหนึ่ง เกี่ยวกับหมู่บ้านนี่แหละ พี่สุก็มีเรื่องไปแบบนี้ เก็บไว้ ในบันทึก แต่ไม่นำมาเขียนเพราะมันเป็นอดีตแล้วคะ

-แต่มาอ่าน เรื่องของน้องขจิต ก็ได้ข้อคิดนะคะ  ได้แต่คิดคะ

-ที่นี่เขาเลี้ยงม้ากันหรือคะ ทำไมเขาไม่นำมาทำเรื่องเป็นจุดเด่น มีรถม้า มีอะไรที่เกี่ยวกับม้าๆๆ  

-และสวนผสมผสานของลุงส่ง น่าจะทำเป็นสวนเรียนรู้  ทำให้เป็นสวนสีเขียว รับรองไม่อดตาย พืชผักสวนครัว ปลูกเป็นรั้วกินได้ ปลอดสารพิษ

-รูป จานอาหารสะเต๊ก น่าทานเชียว  มีหมอมะนาว แล้วก็มีสวนมะนาวผู้ช่วย ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เงินเดือนก็มีแล้วนะ เดือนตุลา เดือนละ 5 พัน

-เป็นกำลังใจ ให้ผู้ใหญ่บ้าน ชูชาติ และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เต็มที่เลยคะ ไม่ให้ถอยค้า..

 

  • ขอบคุณพี่สุมากครับ
  • หมู่บ้านน้ำทรัพย์เข้มแข็งมาก
  • เลี้ยงม้าเอาไว้ท่องเที่ยวด้วยครับ
  • เดี๋ยวจะเอาไปฝากครับ

สวัสดีค่ะ

ชื่นใจกับภูมิปัญญาท้องถิ่นค่ะ

จะรอค่ะ เผื่อได้ชมสเต็กปลาบ้านน้ำทรัพย์

  • ขอบคุณพี่ณัฐรดา
  • มากครับ
  • คาดว่าได้ชมแน่ๆๆ
  • เพราะชาวบ้านบอกว่าจะลองทำดูครับ

-สวัสดีครับอาจารย์ขจิต

-เข้ามาเยี่ยมชม"บ้านน้ำทรัพย์" ครับ

-อาจารย์สบายดีนะครับ

-ผมสบายดีครับ

-กลับมาจากพิจิตรเมื่อวาน......

-"ไก่สี" ผมก็ไม่ได้เห็นนานแล้ว ครับ พอเจอก็รีบเก็บภาพมาฝากเลยหละครับ..

-ขอบคุณครับ

ขอบคุณคุณเพชรน้ำหนึ่ง ผมไม่ได้ไปพิจิตรนานมาก ตอนเด็กๆชอบเลี้ยงไก่สี นึกว่ามันจะคงสีไว้เหมือนเดิม ฮ่าๆๆ

เห็นด้วยกับคำพูดของคุณวรวิทย์ กิตติคุณศิริ : ได้มอง คิดบวก ชีวิตบวก ถ้าเจอปัญหาเราต้องคิดเชิงบวก หมู่บ้านนำทรัพย์เป็นตัวอย่างของหมู่บ้านอีกหลายหมู่บ้าน ขอบคุณที่ทำให้คนอีกมากได้เรียนการอยู่แบบพอเพียง

ชุมชนเข้มแข็ง ชาติไทยเจริญค่ะ

ตามอ่านงานของอาจารย์ขจิต ได้รับความรู้แบบละเอืยด เข้มข้น ครับ และขอเป็นกำลังให้ชาวบ้านน้ำทรัพย์ ด้วยคน

                             ***  มาชม-ให้กำลังใจ... การพัฒนาของชุมชนที่เข้มแข็งค่ะ ***

                                                                  

สวัสดึค่ะอาจารย์

*** ไปได้ทุกถิ่นที่และมีความสุขจริงนะคะ

*** ขากลับก็ขอม้าขี่กลับเลยนะคะ 555

***ฝากรูปลุกชาย 2 คน มาให้ชม และยืนยันว่าสวมชุดรีไซเคิลผู้ชายเกินครึ่งค่ะ

*** ลูกชายทั้งสองของครูกิติยา เอ็ม กับธเนศ

  • ขอบคุณพี่ครูtim
  • มากครับ
  • ท่าน ผอ จังหวัด ท่านคิดบวกครับ
  • ขอบคุณพี่เกด
  • ชุมชนนี้เข้มแข็งดีครับ
  • ขอบคุณพี่ประยุทธ
  • ที่ตามมาอ่านครับ
  • ขอบคุณพี่ครู pually
  • มากครับ
  • งานยุ่งไหมครับ
  • ขอบคุณพี่ครู กิติยา
  • ฮาตรงที่เอ็มใส่ชุดผู้หญิง
  • ทำไปได้
  • ธเนศตัวสูงขึ้นมากเลยครับ

ขอบคุณท่านพี่ฯ ว่าแต่เจ้าดุ๊กดิ๊ก เลี้ยงน้องวัว ได้จริงรึ อำรึเปล่า ... งั้นส่งเข้าประกวดเลย คล้ายในหนังเรื่อง babe ;)

น้องปู เจ้าสองตัวเป็นน้องหมา ไม่ใช่น้องหมู ฮ่าๆๆ

เห็นสเต็กจานโปรดแล้วท้องร้องจ๊อกกกก เลย...

ผมเพิ่งกลับจากดูงาน (ไปรอบที่สองแว้ว) "ชั่งหัวมันฯ" ที่เขากระปุก ใกล้ๆ บ้านน้ำทรัพย์ครับ

โอกาสหน้าอาจจะต้องรบกวนขอข้อมูลเพิ่มเติม เพราะว่ามีแผนจะนำเกษตรกรมาดูงานแถบนี้ในปีหน้าครับ

  • ขอบคุณท่านหัวหน้า
  • ด้วยความยินดี
  • ผมยังไม่ได้เข้าไปโครงการชั่งหัวมันเลย
  • ผ่านมาแล้วผ่านไป
  • ชาวบ้านนี่ สำคัญนะ ... เป็นผู้ให้กำลังใจคนทำงานได้ดีทีเดียวเลย
  • ขอบคุณนะคะ
  • ขอบคุณแม่หมอ
  • มากครับ
  • เมื่อไรจะมากินสเต็กที่ผมครับ
  • รอๆๆๆ

อาจารย์ขจิตทำไมต้องทำงานแบบนี้ด้วยเหรอค่ะ

ทำไมเป็นหลายวิชาจังเลย

คนที่เรียนจบมาสูงเค้ามองคนความรู้น้อยยังไงค่ะ

  • น้องกอครับ
  • ความรู้เรียนกันไม่หมด
  • ชาวบ้านคืออาจารย์เราครับ
  • ได้เรียนรู้จากชาวบ้าน
  • ผมเป็นเป็ดครับ ก๊าบๆๆ

-สวัสดีครับอาจารย์ขจิต....

-เมื่อวานแวะมาเยี่ยม....ดันลืมของฝากจาก "พิจิตร" น่ะครับ

-วันนี้ก็เลยขอเอามาฝากใหม่...กับ...ส้มโอ...เปรี้ยวๆ หวาน ๆ จากเมือง "พิจิตร" ครับ

สวัสดีค่ะ

แวะมาขอบคุณค่ะที่ไปเจิมให้

ที่บ้านเลยสนุกสานกันใหญ่

อบอุ่นประสาบ้านใกล้บล็อคเคียงเลยค่ะ

สวัสดีคะ

แวะดูทุกวันแต่ยังไม่มีเวลาคุย

ที่กศน.กำลังยุ่งเรื่องสรุปงานประจำปีและการทำSAR

ชอบท่าทางกวนขนมลุงส่งมากต้องเข้าไปแซวซะแล้ว

อาจารย์สบายดีนะค่ะ

อาจารย์ครับ การจัดการความรู้ภาคประชาชนนั้น มีการสื่อสารน้อยมาก ส่วนใหญ่ที่บริโภคกันนั้น ก็มาจากเวทีวิชาการ

ขอบคุณอาจารย์มากครับ

สวัสดีครับอาจารย์ เหนสะเต๊ะ แล้ว โส น้าน่าผู้ใหญ่ ไป ม.เกษตรได้กิน สะเต๊ ไป ว.เกษตร กินข้าวกล่อง (อย่าขำซ้ำ เติม)

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิต

ในเวทีชาวบ้านมีอะไรให้เรียนรู้มากมายนะคะ

(สเต็กน่ากินแท้ๆ)

  • ขอบคุณคุณเพชรน้ำหนึ่ง
  • น่ากินมาก
  • เพิ่งทราบว่าพิจิตรก็มีส้มโอ
  • ขอบคุณพี่ณัฐรดา
  • ขำน้องกอ
  • ไปก่อกวนเธอมา
  • ฮ่าๆๆ
  • ขอบคุณครูเสงี่ยม
  • เมื่อคืนคุยกับ ผอ.เดียวอยู่
  • ทำ SAR นะครับ
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงาน
  • ขอบคุณน้องปืน
  • ถ้ามีรายการดี
  • มีคนสนับสนุนให้เรื่องดีแบบนี้
  • ไปอยู่ในสื่อได้จะดีมากเลยครับ
  • น้องปืนว่าอย่างไร
  • ขอบคุณผู้ใหญ่
  • บอกแล้วให้มาที่มหาวิทยาลัย
  • อดกินสเต็กเลย
  • ฮ่าๆๆ
  • โสน่าหน้า
  • ขอบคุณพี่นาง
  • สบายดีไหมหายไปนานมาก
  • มากินสเต็กไหมครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิต ขอบคุณที่เห็นว่าความเห็นจากพี่มีสาระ ^____^

เห็นด้วยกับคุณบีเวอร์ ว่าการสื่อสารการจัดการความรู้ภาคประชาสังคมนั้นมีน้อยมาก ทั้งๆที่ความสำเร็จมีอยู่ไม่ใช่น้อย แต่ก็กระจัดกระจายอยู่ทุกทิศทั่วไทย หากได้มีการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเขาคงรู้สึกมีพลัง ไม่โดดเดี่ยวต่อสู้อยู่เพียงลำพังนะคะ น่าเห็นใจชุมชนมากเพราะต้องต่อสู้กับสองสิ่งที่ยากยิ่งคือ อิทธิพลท้องถิ่น และกิเลสตนเองที่ถูกกระตุ้นโดยกระแสทุนนิยม บริโภคนิยม รู้ไม่เท่าทันก็ตกเป็นเหยื่อได้ทันที

  • พี่นุชครับ
  • เพิ่งเอาดอกไม้ไปฝาก
  • ชุมชนไม่ค่อยมีเวที
  • ไม่ค่อยมีสื่อให้ออก
  • ถ้าชุมชนเข้มแข็ง ชาวบ้านรู้เท่าทันสังคมที่มีแต่การบริโภค
  • จะช่วยให้ชาวบ้านอยู่รอดได้ครับ
  • การมีเครือข่ายที่ดีจะช่วยเหลือชุมชนได้เช่นกันครับ

เพราะ KM เลยได้ล่วงรู้ เขาไปทุกเรื่องเรยย... อู๊ ทีนี้ได้มาเจองานชุมชนคนสมุทรสาคร ที่ อบต.นาดี สร้างเวทีให้ชุมชน พี่จะพยายามหาเวทีให้ชุมชน และ โอ้มเพี๊ยง ขอให้เจอนักแสดงคนจริง ด้วยเถิด...

พี่มดมาได้อย่างไรเนี่ย ก๊ากๆ อย่าคาดหวังมากเกินไปครับ อยากให้เวทีเป็นไปแบบธรรมชาติ แต่วางแผนดีเหมือนสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้วครับ ขอเอาใจช่วยครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • หลานน้ำผึ้งชอบสเต็กมาก
  • ขนาดพ่อยังหวงไม่ให้กิน แต่ถ้าเขาอิ่มแล้วถึงจะส่งให้ค่ะ
  • อจ.ขจิตลองนึกภาพตาม ตอนน้ำผึ้งกินไม่ไหวนะค่ะ
  • แต่เอาสเต็กหมูยัดใส่ปากเข้าไปเรื่อย ๆ ดีที่ไม่อ้วกออกมา
  • น้องเขยและน้องสาวนั่งมองตาค้างเลยค่ะ
  • ไม่คิดว่าลูกสาวจะชอบทานมากอย่างนี้
  • เพิ่งมีโอกาสเข้ามาอ่านถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์ครับ รู้สึกชื่นชมแนวคิดผู้ใหญ่ชูชาติทันทีเลย ผู้นำชุมชนสำคัญมาก โดยเฉพาะสังคมเล็กๆในชนบท
  • อาจารย์ขจิตคงสบายดีนะครับ..ขอบคุณความรู้ดีๆนี้ครับ

โจทย์ต่อมาคือ การรวมตัวของประชาชนนั้นพอเห็นและพอมี แต่ใครจะสอนเค้าสื่อสาร ^^ อาจารย์สนไหมครับ

สวัสดีค่ะ

มาเรียนรู้ด้วยคนค่ะ...เวทีนี้มีอะไรแลกเปลี่ยนเรียนรู้เยอะค่ะ....และมาชวนไปเที่ยวตลาดโก้งโค้งค่ะ...ที่http://gotoknow.org/blog/0815444794/392287?page=1

ว่างๆจะไปกินสเต็กอีกนะ..

  • ขอบคุณมากครับ
  • น้ำน้องผึ้งสีชมพู
  • ไม่รู้ว่าหลานชอบสเต็ก
  • ฮามากเลย
  • ขอบคุณอาจารย์ธนิตย์
  • สบายดีไหมครับ
  • อาจารย์หายไปนานมากๆๆ
  • ขอบคุณน้องปืน
  • สนใจมากเลย
  • เผื่อจะได้เรียนรู้เพิ่ม
  • ที่ไหนครับน้องปืน
  • ขอบคุณพี่ครูกระแต
  • ยังไมเคยไปเลย
  • ขอบคุณพี่ครูต้อย
  • ไปอ่านแล้ว
  • ดีมากเลย SWOT เบาหวาน
  • ขอบคุณพี่คนนครปฐม
  • มาเมื่อไร
  • ส่งข่าวนะครับ
  • กลัวมาแล้วไม่พบฮ่าๆๆ

สวัสดียามเช้าค่ะอาจารย์

มาเรียนรู้ด้วยคนค่ะ ชื่นชมคนทำงานค่ะ ทำด้วยใจ ทำเพื่อชาวบ้าน ท้อแท้แต่ก็ได้กำลังใจจากชาวบ้าน

สุขสันต์วันทำงานค่ะอาจารย์

  • ขอบคุณคุณถาวร
  • มากครับ
  • มาแต่เช้าเลย
  • กำลังทำงานอยู่
  • ชาวบ้านที่น้ำทรัพย์เข้มแข็งมากครับ

สวัสดีครับ อาจารย์ขจิต

ชืนชมการทำงานของอาจารย์ครับ

เป็นกำลังใจให้ครับ

  • ขอบคุณคุณครูฐานิศวร์
  • มากครับ
  • มาเขียนเรื่องการเรียนการสอนที่บุรีรัมย์บ้างนะครับ

 

  • แวะมาขอบคุณจ้า
  • รอบนี้ถือว่าไปเยือนถิ่นน้องขจิตก่อนแล้วกันไปถึงเช้าวันเสาร์ กลับเย็นวันอาทิตย์
  • รอบหน้าอาจมีโอกาสได้เจอกัน
  • แวะมาสุราษฎร์ก็ส่งข่าวบ้าง

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิตที่คิดถึง

ครูใจดีมารายงานตัวแล้วจร้า!...

ยังมีชีวิตอยู่ อิ อิ.... แต่ ร่อแล่  เลย  ฮ่าๆๆๆๆ

กำลังยุ่งงานมาๆ กับภาระงาน "ศูนย์ซ่อมคอมพิวเตอร์จังหวัดอุตรดิตถ์" ซ่อมคอมให้โรงเรียนต่างๆ ทุกวัน เร่งมากๆ  ไม่ได้เข้ามาที่ G2K เลย... ตอนนี้แว๊บมาทักทายส่งความคิดถึงไว้ก่อน..จ้า

คิดถึง ๆ มากค่ะ

 

  • ทำการบ้านต่อเรื่องถอดบทเรียนค่ะท่านอาจารย์เห็นความสำเร็จการแก้ปัญหาด้วยตัวเองยอดเยี่ยมจริงๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท