จีน - ญี่ปุ่น


หนังสือซึ่งบอกเล่า ถึงสายสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ นโยบาย ความสัมพันธ์ทางการทูต บาดแผล หนี้ทางประวัติศาสตร์ และสิ่งฝังใจในมหาอำนาจ ผู้กำหนดทิศทาง สร้างสรรค์ชะตาชีวิต และกำหนดศตวรรษแห่งเอเชีย

แนะนำหนังสือ 

จีน - ญี่ปุ่น 

  <p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p>ไชยวัฒน์ ค้ำชู</p>

ผู้เขียน 

กรุงเทพฯ : OPENBOOKS

OPENDRAGON

พิมพ์ครั้งแรก

กรกฎาคม 2548 

</span><p></p><p></p><p>คติ มุธุขันธ์ : แนะนำ  </p><p>หนังสือซึ่งวิเคราะห์เรื่องราวสัมพันธ์</p><p>แห่งประวัติศาสตร์สองชาติเอเชีย</p><p>ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแนวโน้มใหม่ของโลกเศรษฐกิจ</p><p>และชาติที่กำหนดชะตากรรมเอเชีย   </p><p></p><p></p><p></p><p></p><p>ประวัติศาสตร์เบื้องหลังความขัดแย้ง</p><p>ของสองมหาอำนาจและนัย</p><p>ต่อภูมิภาคเอเชียในศตวรรษที่ 21    </p><p></p><p></p><p></p><p>คำนำ  </p><p>การแข่งขันขับเคี่ยวกันระหว่างจีนกับญี่ปุ่น เพื่ออำนาจและอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียที่ดำเนินอยู่อย่างเข้มข้นในปัจจุบัน กำลังเป็นที่ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดจากทั้งประเทศ ที่อยู่ในและนอกภูมิภาคนี้ว่าจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกัน จนเกิดความไร้เสถียรภาพขึ้นในภูมิภาค หรือคลี่คลายไปสู่ความเข้าใจ และความร่วมมือกันในการพัฒนาเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง และสันติภาพอันยั่งยืนให้เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชีย </p><p></p><p>หนังสือเล่มนี้พยายามวิเคราะห์พัฒนาการ ของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศยักษ์ใหญ่ในภูมิภาคนี้ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคง พร้อมทั้งพิจารณาปัจจัยสำคัญๆ ที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจสองประเทศนี้ </p><p></p><p>บทบาทของจีนและญี่ปุ่น ที่กำลังเพิ่มขึ้นในทุกๆด้าน จะมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อชะตากรรมของภูมิภาคเอเชีย ศตวรรษนี้จะเป็น ศตวรรษของเอเชีย ต่อจาก ศตวรรษของยุโรป และ ศตวรรษของอเมริกา หรือไม่อย่างไรนั้น ประเทศมหาอำนาจทั้งสองนี้นับเป็นตัวแสดงสำคัญที่จะผลักดันความฝันของชาวเอเชียทั้งมวลให้เป็นจริง ความขัดแย้งกันหรือความร่วมมือกันระหว่างสองประเทศนี้ จึงเป็นเรื่องที่ชาวเอเชียควรต้องเฝ้าติดตามกันอย่างใกล้ชิด </p><p></p><p>ผู้เขียนขอขอบคุณ คุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา และ คุณวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ที่ช่วยผลักดันให้มีการพิมพ์หนังสือเล่มนี้เผยแพร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณวรพจน์ ที่ได้ช่วยดูแลต้นฉบับด้วยความเอาใจใส่อย่างดียิ่ง  พร้อมทั้งได้ช่วยเสนอแนะให้แก้ไขข้อความบางตอนของหนังสือ ให้มีความชัดเจนขึ้น ส่วนข้อบกพร่องที่อาจหลงเหลืออยู่ เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเอง  </p><p></p><p>ไชยวัฒน์ ค้ำชู</p><p>มิถุนายน พ.ศ. 2548  </p><p></p><p></p><p>สารบัญ </p><p>คำนำ</p><p>ศตวรรษของแปซิฟิก</p><p>จีน ญี่ปุ่น</p><p>การเมืองและความมั่นคง</p><p>มิติทางเศรษฐกิจ</p><p>ประเด็นและปัญหาความสัมพันธ์ด้านการเมือง</p><p>สรุป : แนวโน้มในอนาคต</p><p>เชิงอรรถ</p><p>ประวัติผู้เขียน   </p><p></p><p></p><p></p><p></p><p>ไล่ลำดับสายสัมพันธ์แห่งอำนาจ  </p><p></p><p>จุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ระหว่างสองชาติ จากปรากฏการณ์สำคัญ ซึ่งนับจากการสัมพันธ์ทางการทูต หรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายใต้การนำของรัฐบาลญี่ปุ่น ที่ดำเนินนโยบายพัวพันอย่างสร้างสรรค์ (Constructive Engagement) มีหลักสำคัญของยุทธศาสตร์ ในความเชื่อต่อหลักการพึ่งพาอาศัยกันและกันทางเศรษฐกิจ ระหว่างญี่ปุ่นกับจีน และความเชื่อในอำนาจทางพาณิชย์ ที่กำลังเติบโตขึ้นของญี่ปุ่น เป็นปัจจัยผลักดันสำคัญ </p><p></p><p>แต่สายสัมพันธ์ดังกล่าว ที่ส่งผ่านการค้า ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ และการลงทุนที่เพิ่มสูงขึ้น กลับไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ปัญหาเช่น หนี้ทางประวัติศาสตร์ ข้อพิพาทของดินแดน ปัญหาสิทธิมนุษยชน ปัญหาความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน จากนโยบายทางทหาร และความมั่นคง กลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อสายสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่เสมอ </p><p></p><p>ความหมายของสูตรสายสัมพันธ์ทางการทูต ด้วยการแยกการเมืองออกจากเศรษฐกิจ คือสิ่งที่เกิดขึ้นหลังยุคสงครามเย็น คือหนึ่งในการสถาปนาความร่วมมือ ด้วยการมองไปข้างหน้า นับความหมายจากหนึ่งจีนเดียว ระหว่างจีนไต้หวัน กับ จีนปักกิ่ง ไม่เพียงเพราะแรงกดดันจากอเมริกาที่ลดลง แต่ปัจจัยของการผลประโยชน์ทางการค้าที่ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น กลายเป็น ข้อตกลงทางการค้า อย่างไม่เป็นทางการ จนกระทั่งนำไปสู่ การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต อย่างเป็นทางการ </p><p></p><p>ยุทธศาสตร์สำคัญในสนธิสัญญาสันติภาพ ระหว่างสองชาติ กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญ เมื่อหัวใจในการอธิบายถึง การต่อต้านลัทธิครองความเป็นเจ้า คือเบื้องหลังแห่งขั้วอำนาจ ที่โดดเดี่ยวต่อต้านสหภาพโซเวียตรัสเซีย </p><p></p><p>สายสัมพันธ์อันยิ่งใหญ่ทางการเมือง มาพร้อมสถานะของประเทศจีนที่มีทรัพยากรธรรมชาติอันมากมาย และแรงผลักดันของญี่ปุ่น ที่มีบทบาทช่วยส่งเสริมจีนให้ทันสมัย ด้วยการลงทุน ช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ และเปิดตลาด ภายใต้ความยั่วยวนของผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน กลับสะดุดด้วย บาดแผลทางประวัติศาสตร์ </p><p></p><p>ด้วยความพยายามในการแก้ไขเนื้อหา แบบเรียนทางประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น ในหัวเรื่องการรุกรานจีน กลายเป็นประเด็นปัญหาใหญ่ ที่มาพร้อมรอยแผลจากนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ซึ่งเดินทางไปเยือนศาลเจ้ายาสุคุนิ เพื่อคารวะและระลึกถึงดวงวิญญาณทหารญี่ปุ่น 2.5 ล้านคนที่เสียชีวิตระหว่างสงคราม คือหนึ่งในต้นทุนระหว่างประเทศ จากบาดแผลของการข่มขืนนานกิง และสังหารชาวจีนนับล้านคนในสงคราม และหนี้ทางประวัติศาสตร์ที่สองประเทศนี้ยังคงแก้ไม่ตก </p><p></p><p>หนี้ทางประวัติศาสตร์ นำมาสู่ความโกรธแค้น กระทั่งถามถึงความบิดเบือนในแบบเรียนประวัติศาสตร์ ตามต่อด้วยสถานะปัญหาไต้หวัน ข้อพิพาทเรื่องดินแดน ก็เป็นหนึ่งในนิยามของปัจจัยตัวแปร ที่สามารถสร้างความตึงเครียดให้อย่างสม่ำเสมอ ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน โดยมีโจทย์ของการเมืองในจีน และปัญหาเกาหลีเหนือ มาพร้อมกับ ปัญหาความสัมพันธ์ด้านการทหาร และความมั่นคงระหว่างสองประเทศ กลายเป็นเรื่องที่ระอุขึ้นเสมอ เมื่อรวมกับตัวแปรของขั้วอำนาจในโลกนี้ จากทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป และรัสเซีย ที่ประกอบด้วยสนธิสัญญา การเจรจากดดัน และท่าทีที่ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ และผลประโยชน์อยู่ตลอดเวลา  </p><p></p><p></p><p></p><p>สรุป : แนวโน้มในอนาคต </p><p></p><p>แนวโน้มวันนี้ อาจจะออกมาในรูปของ ความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วน ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ซึ่งมาพร้อมกับการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นเพื่อสร้างอิทธิพลในภูมิภาคเอเชีย </p><p></p><p>ในด้านเศรษฐกิจ สองชาติยังคงต้องพึ่งพาอาศัยกัน ที่มาพร้อมความร่วมมือในด้านการทหารและความมั่นคง ซึ่งได้รับการคาดหวังว่าจะพึ่งพาเช่นกัน แต่กลับไม่มีหลักประกันใด ที่จะรองรับเสถียรภาพ จนอาจนำไปสู่วิกฤติได้ทุกขณะ </p><p></p><p>เป็นที่ชัดเจนว่า ไม่อาจทำนายแนวโน้มในระยะยาวของสองประเทศ อันเนื่องจากปัจจัยหลายอย่างที่ไม่อาจคาดเดาได้ อนาคตของสายสัมพันธ์ จึงเป็นความซับซ้อนและคลุมเครือได้มากกว่าความร่วมมือและหุ้นส่วน </p><p></p><p>อย่างไรก็ตามนิมิตหมายของการแข่งขัน และช่วงชิงอิทธิพลของทั้งสองประเทศ ล้วนส่งผลต่อความหวาดระแวงสงสัยและตึงเครียดอยู่เสมอ แต่ในขณะเดียวกัน หากสามารถผลักดันสู่ความตระหนักต่อนโยบายส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดี เพื่อสันติภาพ ความมั่นคง และความมั่งคั่ง ก็อาจเป็นทางออกได้ไม่ยากของ จีน - ญี่ปุ่น   </p><p></p><p></p><p>ประวัติผู้เขียน </p><p>ปริญญาตรี        รัฐศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปริญญาโท         เอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ซีแอตเติล สหรัฐอเมริกาปริญญาเอก       รัฐศาสตร์ (สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การเมืองเปรียบเทียบ ทฤษฏีการเมือง และญี่ปุ่นศึกษา) มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ซีแอตเติล</p><p>การทำงาน         ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   </p><p></p><p></p><p>ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือ </p><p>ปีที่พิมพ์             :           กรกฎาคม 2548 - พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก </p><p>ชื่อหนังสือ          :           จีน - ญี่ปุ่น</p><p>ประเภท             :           วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ</p><p>ชื่อผู้เขียน           :           ไชยวัฒน์ ค้ำชู</p><p>บรรณาธิการ       :           ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา    </p><p></p><p></p><p>เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ</p><p>ISBN 974 93144 3 3 </p>

หมายเลขบันทึก: 105302เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2007 02:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หนูกำลังเรียนอยู่สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ. ปี3

ซึ่งตอนนี้หนังสือเล่มนี้มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับสาขาที่หนูกำลังศึกษาค่ะ.

หาซื้อได้จากที่ไหนค่ะ...

ศูนย์หนังสือ ม.จุฬามีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท