The Ballad of the Columnist


งานรวบรวม กลั่นกรองประสบการณ์ และชั่วโมงบินในการทำงานเขียน โดยเฉพาะมุมมองต่อการเขียนคอลัมน์ ด้วยธรรมชาติ บทเริ่มต้น อุปสรรค์ และหนทางสู่การเขียน

แนะนำหนังสือ 

The Ballad of the Columnist 

 

วิรัตน์ โตอารีย์มิตร

ผู้เขียน 

กรุงเทพฯ : a book

พิมพ์ครั้งแรก

ตุลาคม 2548  

 

คติ มุธุขันธ์ : แนะนำ  

ลำดับเรื่องราวจากประสบการณ์

ที่นำเราทำความเข้าใจในความหมาย

ในนามนักเขียนคอลัมนิสต์

ด้วยการทำงานและความตั้งใจ

คู่มือแหกคอก

สำหรับการใช้ชีวิตเป็นคอลัมนิสต์

หนังสือเล่มเดียวที่บอกเล่าชีวิตจริงของการทำอาชีพ

ซึ่งคนรุ่นใหม่ใฝ่ฝัน ... อาชีพ คอลัมนิสต์

โดยคนเขียนหนังสือที่มีผลงานเขียนคอลัมน์

ต่อเดือนมากที่สุดในประเทศไทย

  

คำนำจากสำนักพิมพ์

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บ่ายวันหนึ่งในฤดูฝนพรำ ผมเดินทางไปจังหวัดอุทัยธานี เพื่อพบกับ วิรัตน์ โตอารีย์มิตร ผมไม่เคยมาอุทัยธานีมาก่อน นี่เป็นครั้งแรกในชีวิต</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แค่ได้เห็นผมก็นึกชอบทันที อุทัยธานีเป็นเมืองเล็กๆ ที่สงบ เรียบง่ายทว่ามีเสน่ห์ เหมือนหญิงสาวผมยาวที่แต่งหน้าเพียงบางๆ ผมนึกขอบคุณในใจ ที่การมาเยี่ยมเยือน เพื่อนรุ่นพี่ ที่กลับมาลงหลักปักฐานในบ้านเก่าอีกครั้งในคราวนี้ ทำให้ผมได้รู้จักกับเมืองที่น่าอยู่เพิ่มขึ้นอีกเมืองหนึ่ง</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ก่อนหน้านี้ บางคนเรียก วิรัตน์ โตอารีย์มิตร ว่านักวิจารณ์ อาจเพราะเห็นจากงานวิจารณ์ดนตรี ที่เขาเขียนมายาวนาน (โดยเฉพาะในนิตยสาร สีสัน) บางคนที่ไม่รู้จักดีอาจเรียกเขากว้างๆ ว่า เป็นนักเขียน ส่วนตัววิรัตน์เองเคยเรียกตัวเองว่าเป็น คนทำนิตยสารอยู่พักใหญ่ แต่หลายปีให้หลังมานี้ คำเรียกที่ดูจะตรงกับตัวเขา (และตัวเขาเองก็ดูจะพึงพอใจ) มากที่สุดก็คือ คอลัมนิสต์</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">นับถึงวันนี้ วิรัตน์เป็นคอลัมนิสต์มาได้เกือบสองทศวรรษแล้ว แรกๆ เขาทำงานเขียนคอลัมน์ควบคู่กับการทำงานเป็นกองบรรณาธิการ ผู้ช่วยบรรณาธิการ และบรรณาธิการบริหาร ต่อเมื่อ 7 8 ปี ที่แล้วหลังจากหันหลังให้กับการทำนิตยสารในลักษณะ งานประจำ อย่างสิ้นหวัง วิรัตน์ก็ยึดอาชีพ ฟรีแลนซ์ เป็นคอลัมนิสต์มาโดยตลอด</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ที่ร้านกาแฟเล็กๆ ซึ่งวางตัวอยู่ในซอยเงียบๆ ของเมืองอุทัยธานี ผมกับวิรัตน์นั่งคุยกันถึงเรื่องราวสัพเพเหระของชีวิตที่เป็นอยู่ รวมไปถึงเรื่องราวเก่าๆ ในอดีต เมื่อครั้งทำงานอยู่ที่บริษัทเดียวกันเมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว มีรอยยิ้มและเสียงหัวเราะเกิดขึ้นเป็นระยะๆ เมื่อหัวข้อสนทนาของเราไล่เรียงไปถึงเรื่องราวน่าขบขันต่างๆ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ในฐานะของคนเขียนหนังสือ ทำหนังสือรุ่นน้อง วิรัตน์ โตอารีย์มิตรเป็นรุ่นพี่คนหนึ่งที่ผมชื่นชม ผมคิดว่าวิรัตน์มีฝีมือมากในเรื่องเขียนหนังสือ เขามีสำนวนของตัวเอง มีภาษาของตัวเอง มีจังหวะการเขียนที่กระชับและเท่ เรื่องที่เขาเขียนผ่านการจัดวางถ้อยคำและรูปประโยคอย่างคนที่ชำนาญการ วิรัตน์ ยังเก่งมากในการเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน และผมมักพบเจอความคิดคมคายแทรกแซมอยู่ในตัวหนังสือของเขา</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ไม่ต้องบอกก็รู้ ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นทักษะที่จู่ๆ ก็เกิดขึ้น หากมันต้องเกิดจากการฝึกฝนและการพัฒนา</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ขอสารภาพโดยไม่อายว่า ครั้งหนึ่ง ผมเคยพยายามที่จะเขียนหนังสือให้เหมือนวิรัตน์ หากสุดท้ายก็ทำได้แค่พยายาม (และภายหลังก็พบว่าการทำเช่นนั้นไม่ฉลาดเท่าใดนัก) ทุกวันนี้ สิ่งที่ผมทำได้ก็คือ ติดตามอ่านงานเขียนของวิรัตน์ ซึ่งไม่ยากเพราะวิรัตน์เขียนลงหนังสือหลายเล่มเหลือเกิน</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">จากการพูดคุยกัน ผมได้ทราบเรื่องที่น่าทึ่งว่า วิรัตน์เคยเขียนงานถึง 32 ชิ้นต่อเดือน โดยเขียนให้นิตยสาร 13 ฉบับ ด้วยกัน แม้ทุกวันนี้จำนวนที่ว่าจะลดลงจากเดิมเล็กน้อย หากเท่าที่เหลืออยู่ก็เพียงพอแล้วที่จะเรียกวิรัตน์ว่า เป็นคอลัมนิสต์ที่เขียนคอลัมน์ต่อเดือนมากที่สุดในประเทศไทย</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">การที่คอลัมนิสต์คนหนึ่งถูกเชื้อเชิญให้ไปเปิดคอลัมน์ในนิตยสารเป็นสิบเล่มนั้น นอกจากเรื่องของฝีมือ ยังมีองค์ประกอบต่างๆ อีกมากมายที่คนจำนวนมากอาจไม่รู้ ซึ่งทั้งหมดถูกถ่ายทอดลงในคอลัมน์ The Ballad of the Columnist ซึ่งเคยตีพิมพ์เป็นตอนๆ ในนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ ระหว่างปี 2547  - 2548  และถูกนำมาจัดพิมพ์เป็นพ็อกเก็ตบุ๊ก    ในชื่อเดียวกัน โดยสำนักพิมพ์   a book</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">หลายปีมานี้ อาชีพทำหนังสือและเขียนหนังสือ กลับกลายเป็นอาชีพยอดนิยมอย่างน่าประหลาดใจ การเป็นคอลัมนิสต์ก็เป็นหนึ่งความใฝ่ฝันของคนหนุ่มสาวร่วมสมัยจำนวนมาก เหตุผลอาจเพราะมันดูอิสระ ดูโก้ รายได้ดี ได้แสดงความคิดเห็น ได้มีตัวตนและชื่อเสียง ฯลฯ ซึ่งนั่นไม่ผิดหรอกหากใครจะคิดเช่นนั้น หนังสือเล่มนี้ก็พูดถึงความฝันสวยงามที่ว่า ทว่าในอีกด้าน มันก็บอกเล่าถึงโลกของความเป็นจริงอีกจำนวนมาก ความเป็นจริงที่ไม่น่ารื่นรมย์เท่าใดนักของการเป็นคอลัมนิสต์</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ดังนั้น เป็นไปได้ว่าเมื่ออ่านหนังสือ The Ballad of the Columnist เล่มนี้จบแล้ว มันอาจจะกระตุ้นให้คุณตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ลาออกจากงานประจำแล้วไปประกอบอาชีพเป็นคอลัมนิสต์เต็มตัว หรือไม่ก็เลิกคิดฝันถึงอาชีพนี้ไปเลย</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์</p><p></p><p>    </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ประเทศคอลัมนิสต์</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผมอ่าน The Ballad of the Columnist ตอน ต้นฉบับกลับบ้าน แล้วก็รู้สึกอิจฉา อ้วน ที่ปั่นต้นฉบับอยู่บ้านนอก ดำรงชีพด้วยการเขียนคอลัมน์ส่งตามนิตยสารต่างๆ มีนักเขียนอิสระน้อยคนนักที่จะทำได้อย่างนี้</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สิบกว่าปีที่แล้ว  ผมทดลองเป็นนักเขียนอิสระ นั่งทำต้นฉบับอยู่ที่บ้านเกิด พร้อมตั้งปณิธานไว้กับใจตัวเองว่าจะไม่ทำงานประจำกองบรรณาธิการหนังสือฉบับใด</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สุดท้ายก็ต้องเลือกเป็นมนุษย์เงินเดือน ในกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายสัปดาห์ฉบับหนึ่ง เสพติด งานประจำ เสพติด เงินรายเดือน จนลืมเรื่องนักเขียนอิสระไปแล้วละครับ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แต่เมื่อได้อ่านงานเขียนชุดนี้ของ อ้วน ก็หวนคิดถึงความฝันเดิมๆ อยากกลับมานั่งทำงานที่บ้านเกิด</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สมัยนั้น เวทีของนักเขียนอิสระถูกจำกัดอยู่ในนิตยสารไม่กี่ฉบับ หนังสือพิมพ์ไม่กี่ฉบับ ผมเคยมีประสบการณ์เลวร้ายอยู่หลายครั้ง เกี่ยวกับการปฏิบัติการติดตาม ค่าเรื่อง จากหนังสือพิมพ์บางฉบับ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">จะว่าเป็นความผิดของพวกเขาเสียทั้งหมดก็ไม่ได้หรอกครับ เพราะเวลานั้น เวทีสำหรับ นักเขียนนอก ไม่ต่างอะไรกับเวทีกลางแจ้งที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงออก แต่ไม่มีค่าตอบแทนให้</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">คอลัมน์ประจำในนิตยสารดัง ในหนังสือพิมพ์ใหญ่ จึงเป็นเสมือนที่ทางของบุคลากรผู้มากประสบการณ์ในด้านต่างๆ คนนอกโนเนมไม่มีโอกาสเบียดแทรกเข้าไปได้ ผมจึงต้องไปเริ่มต้นที่นิตยสารเล็กๆ 2 3 ฉบับ แลกกับค่าเรื่องตอนละ 200 500 บาท</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">วันนั้นผมมองไม่เห็นอนาคตในชีวิตนักเขียนอิสระ แม้เดือนหนึ่งๆ ผมจะส่งต้นฉบับให้นิตยสารการเมืองรายสัปดาห์ 2 ฉบับอย่างต่อเนื่อง และนิตยสารการเกษตร นิตยสารวรรณกรรมรายเดือนอีก 2 ฉบับ เขาจ่ายให้ชิ้นละ 500 บาท แต่รายรับก็แค่เดือนละ 2,000 บาท โดยประมาณ จึงทำให้ผมตัดสินใจเลือกที่จะทำงานประจำ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">จวบจนถึงวันที่หนังสือพิมพ์ธุรกิจต้นสังกัดของผมเติบโต เปิดที่ทางให้คนนอกเข้ามาขีดเขียนมากขึ้น พร้อมจ่ายค่าเรื่องให้สูงมาก ส่งผลให้หนังสือพิมพ์ฉบับอื่นๆ ต้องปรับตัว ไม่มีการเขียนฟรีอีกต่อไป</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">มนุษย์ที่ชื่อ คอลัมนิสต์ เริ่มเดินเพ่นพ่านไปบนถนนสายข่าวสาร ส่วนใหญ่จะมาจากสายนักวิชาการ นักธุรกิจการตลาด เนื่องจากมีเวทีเพิ่มขึ้นเกือบ 3 4 เท่าตัวจากยุคที่ผมริอ่านเป็นนักเขียนอิสระอยู่พักหนึ่ง</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แทบไม่น่าเชื่อว่า วันนี้ มนุษย์คอลัมนิสต์จะกลายเป็น บุคคลสำคัญ ของนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ และคอลัมนิสต์ก็เป็นโครงสร้างที่สำคัญของหนังสือ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ขนาดนักศึกษาสายนิเทศบางกลุ่ม พอยื่นใบสมัครกับกองบรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์ ก็กรอกในใบสมัครทันทีว่า ขอเป็นคอลัมนิสต์ โดยไม่คิดจะเริ่มต้นที่การเป็นนักข่าว</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ในอดีต ภาพของคอลัมนิสต์คือ ผู้รู้ในแขนงต่างๆ มีความน่าเชื่อถือ มีอิทธิพลทางความคิดแก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ปัจจุบัน มีหนังสือพิมพ์และนิตยสารใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย มีเนื้อหาเฉพาะด้านมากขึ้น เราจึงมีคอลัมนิสต์ควาย คอลัมนิสต์ไก่ คอลัมนิสต์หมา คอลัมนิสต์ปลา คอลัมนิสต์หมอผี คอลัมนิสต์หวย (บนดิน-ใต้ดิน) คอลัมนิสต์ต่างๆ คอลัมนิสต์โจร ฯลฯ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ฟังดูเหมือนเลวร้ายมากนะครับ จริงๆ แล้วมันก็ไม่ถึงขนาดนั้นหรอก เพียงแต่ตลาดหนังสือมันขยายตัวไปตามกลไกเศรษฐกิจทุนนิยม จึงปฏิเสธความหลากหลายของสินค้าข่าวสารไม่ได้</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แต่ The Ballad of the Columnist ที่ อ้วน เขียนติดต่อกันมาหลายเดือน น่าจะทำให้ผู้อ่านได้รู้ว่า กว่าจะเป็นคอลัมนิสต์ มันต้องมีต้นทุนอะไรบ้าง มีวิธีการทำงานอย่างไรบ้าง </p><p>  ที่แน่ๆ ผมยังฝันถึงอาชีพคอลัมนิสต์ และกำลังหาทางเลิกเสพติดความเป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่ครับ </p><p>แคน สาริกา</p><p>11 กันยายน 2548   </p><p> </p><p> </p><p>ไล่เรียงทำนอง   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">วิรัตน์ โตอารีย์มิตร นำเสนองานเขียน ซึ่งลำดับเรื่องราวในรายละเอียดของการทำงาน จากขั้นตอน สู่ธรรมชาติของเรื่องราว จนนำมาสู่ความจริงในชีวิตคนทำงาน ด้วยรูปแบบงานขั้นพื้นฐานการเขียน การนำประเด็นเรื่องราวที่พบเห็น มาสู่การนำเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่เป็นวินัยการทำงาน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>รายละเอียดตามรายทาง ไม่ใช่เพียง การนำเสนอว่าแต่ละวัน เรื่องราวดำเนินไปเช่นไร แต่เป็นการร้อยด้วยลำดับชีวิต คำตอบที่ได้จากการปฏิบัติ อารมณ์ส่วนตัวของวิรัตน์ที่ได้สัมผัส ความคาดหวัง และความจริงภายหลังต้องทำให้เกิดขึ้นจริง  </p><p> </p><p>งานลำดับความเข้าใจ จากชั่วโมงบินของมืออาชีพเล่มนี้ บอกเราให้เข้าใจถึงบางช่วงบางตอนของชีวิต อาจผสมกลมกลืนด้วยธรรมชาติในชีวิตของวิรัตน์ แต่ก็พอจะทำให้เรารับรู้ ถึงขีดจำกัดและเงื่อนไขบางอย่างที่คนในวิชาชีพนี้ ต้องก้าวผ่านและผ่านกรอบอันจำกัด เพื่อไปสู่การสร้างงานให้เกิดขึ้นให้ได้ ในแต่ละวัน แต่ละเดือน</p><p>   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">นอกจากนั้น เสน่ห์อันล้ำค่าคือข้อเสนอจากการรวมหลักการเหตุผล เข้ากับธรรมชาติและความรู้สึกในการทำงาน ที่สำคัญคือการมองหา ถึงลายพิมพ์นิ้วมือแห่งสำนวนงานเขียน ซึ่งแต่ละคนต่างต้องค้นหา นำเสนอ ทดสอบ และพิสูจน์ความงดงาม จนกลายเป็นที่จดจำของผู้อ่าน ซึ่งคือบทนำเสนอ ที่วิรัตน์ โตอารีย์มิตร พยายามบอกเล่าให้เราได้ร่วมรับรู้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p></p><p>สารบัญ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เกริ่น ทำงานอยู่กับบ้าน บรรณาธิการ เริ่มจากการอ่าน มืออาชีพ สนามขวัญเรือน นักวิจารณ์ สไตล์ ต้นฉบับกลับบ้าน นักแสดง ไม่ลากิจและไม่ลาป่วย ฟรีแลนซ์ วัตถุดิบ เรื่องที่อยู่รอบตัวและเรื่องที่อยู่ในตัว เพื่อนและมิตรภาพ โลกของคอลัมนิสต์ ได้จากงานประจำ วัยหนุ่ม โทรทัศน์ คอนเนคชั่น ความผิดพลาด การตั้งอยู่ ก็แค่อาชีพหนึ่ง คอลัมนิสต์เชยๆ เรื่องที่ต้องเขียนถึง การสร้างร็อคโทเปีย - ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง - การตั้งชื่อ อาศัยคนเก่ง สิ่งที่เขียนไม่ได้และเขียนได้ ราคาที่ต้องจ่าย (แน่ๆ) ตัวเอง ตัวตน และคนอื่น ปลายทางของคอลัมนิสต์ (บทสมทบส่งท้าย) โรงเรียนครูสมศรี…ปิดแล้ว</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือ </p><p>ปีที่พิมพ์             :           ตุลาคม 2548 - พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก </p><p>ชื่อหนังสือ          :           The Ballad of the Columnist </p><p>ประเภท             :           วารสารศาสตร์  </p><p>ชื่อผู้เขียน           :           วิรัตน์ โตอารีย์มิตร </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บรรณาธิการ       :           วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>ข้อมูลบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ</p><p>วิรัตน์ โตอารีย์มิตร           </p><p>เดอะบัลลาด ออฟ เดอะ คมลัมนิสต์  (The Ballad of the Columnist)            </p><p>- - กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2548            </p><p>228 หน้า            </p><p>1. วารสารศาสตร์. I.ชื่อเรื่อง</p><p>070 </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ISBN 974 93549 6 6 </p><p>  </p><p>เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ</p><p>ISBN 974 93549 6 6 </p>

หมายเลขบันทึก: 107823เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2007 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

P

นักวิชาการก็เป็นคอลัมนิสต์ได้ดีนะคะ เพื่อนดิฉัน เขีนนเป็นประจำให้แก่หนังสือพิม์ฉบับหนึ่งทุกวันอาทิตย์ ตอนนี้กำลังจะรวมเล่ม

เขามีวัตถุดิบมาก เพราะเขาเป็นอาจารย์และนักวิจัย ได้ทุนไปทำวิจัยดีๆที่ประเทศต่างๆ มีผลงานเป็นที่เชื่อถือ ทำงานอยู่กับบ้าน ไม่รับงานบริหารใดๆทั้งสิ้น บอกว่าเครียด ไม่คุ้มกับสุขภาพ

นอกจากนักวิชาการแล้ว คุณคติว่า คอลัมนิสต์จะมาจากอาชีพใดอีกคะ ที่มีอะไรให้เขียนเยอะๆ และมีคนรับไปพิมพ์

เพื่อนดิฉันบอกว่า อยู่ที่Profileของคนนั้นๆมากที่สุด

  • สวัสดีครับ คุณ
    P
  • คิดว่าประเด็น และพื้นที่ของนักเขียนรุ่นใหม่ หรือนักเขียนที่จะเขียนในรูปคอลัมนิสต์ปัจจุบัน เปิดกว้างขึ้นเยอะนะครับ
  • เปิดกว้างตามความสนใจ และความต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายจริงๆครับ
  • เห็นด้วยในส่วนของ Profile
  • เพราะเท่าที่ทราบในระยะเวลา เกือบ 10 ปีที่ผ่านมา มีงานเขียนรูปแบบใหม่ๆ ที่เราได้เห็นฝีมือนักเขียนหน้าใหม่ และงานเขียนในแนวทางใหม่เพิ่มอย่างมากมายครับ
  • ที่สำคัญ วัตถุดิบ ล้วนออกมาจากประสบการณ์ ชั่วโมงบิน ความสนใจ ความชื่นชอบ และตัวตนของผู้เขียน
  • ไม่ว่าจะเขียน เรื่องการชอปปิ้ง ว่าต้องมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง
  • การเขียนถึงการเดินทาง ในดินแดนต่างๆทั่วโลก
  • การเขียนถึงรายละเอียดของงาน ในแต่ละวิชาชีพ ซึ่งผู้คนไม่ได้รับรู้ ก็มีมากมายหลายสาขานะครับ
  • ผมคิดว่า กระแสความสนใจของผู้คน ทำให้ทุกสาขาอาชีพ และทุกความชำนาญ นำมาเป็นเนื้อหาในคอลัมน์ หรือเป็นส่วนสำคัญให้เกิดคอลัมนิสต์รุ่นใหม่ๆ ได้อีกเยอะครับ
  • ผมว่า ตอนนี้ ไม่ว่าอาชีพอะไร ก็ล้วนเป็นคอลัมนิสต์ได้ครับ
  • ขึ้นอยู่ที่ประเด็น การเรียบเรียง และความเข้าใจต่อจังหวะของตลาดหนังสือในบ้านเราครับ
  • สนับสนุนให้มีนักเขียน จากแวดวงวิชาชีพต่างๆเยอะๆครับ
  • บ้านเราจะได้มีงานเขียนที่หลากหลาย และมากมาย เพื่อรองรับความสนใจ และกระตุ้นให้เกิดความสนใจในโลกการอ่านครับ
  • ขอบคุณมากครับ สำหรับความคิดเห็น ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคอลัมนิสต์ในอาชีพต่างๆ น่าสนใจมากครับ
  • ขอบคุณครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท