ความสำเร็จของเว็บ 2.0 ทำได้ ทำไม่ได้ หรือไม่ได้ทำ


ความมหัศจรรย์ของท้องทะเลแห่งอินเทอร์เน็ตได้แผ่วงกว้าง ขยายตัวออกไปเรื่อยๆ เป็นโครงสร้างทางสังคมที่เชื่อมโยงปัจเจกชนเข้าด้วยกัน

มีคนบอกว่า "อีเมล์" เป็น killer application แรกสำหรับอินเทอร์เน็ตในยุคเริ่มต้นที่ยังคงใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้ เทคโนโลยีนี้เกิดขึ้นจากความ คิดที่จะแก้ปัญหาการสื่อสารในด้านระยะทางและเวลาของมนุษย์ ขอแค่เพียงเราสามารถ connect เข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ เราก็สามารถติดต่อกัน ได้ตลอดเวลา ความสะดวกสบายจากการใช้อีเมล์จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตขยายวงกว้างออกมาจากสหรัฐอเมริกาสู่ผู้ใช้งาน ทั่วโลก ส่วนในยุคเว็บ 2.0 ยุคซึ่งไม่มีใครให้คำนิยามที่ชัดเจนว่ามันคืออะไร? ประโยชน์และโทษของมันมากน้อยแค่ไหน? แต่คนส่วนใหญ่เชื่อว่า killer application ในยุคนี้คือ "social network software"

หลายคนในที่นี้อาจจะคุ้นเคยกับการเป็นผู้เขียนบล็อก(blogger) และอีกหลายคนก็มีส่วนร่วมในฐานะผู้อ่าน สำหรับ blogger ในขณะที่เรากำลังผลิตเนื้อหา เราก็กำลังบริโภคเนื้อหาของผู้เขียนคนอื่น และเกิดปฏิ สัมพันธ์จากการแสดงความคิดเห็น หรือการมีส่วนร่วมอื่นๆ ในเนื้อหานั้นๆ ก่อให้เกิดสังคมออนไลน์ที่คนหนึ่งคนสามารถรู้จักคนได้เป็นร้อยเป็นพัน โดยที่ไม่ต้องเจอหน้ากันเลย ความมหัศจรรย์ของท้องทะเลแห่งอินเทอร์เน็ตได้แผ่วงกว้าง ขยายตัวออกไปเรื่อยๆ เป็นโครงสร้างทางสังคมที่เชื่อม โยงปัจเจกชนเข้าด้วยกัน ด้วย ความเชื่อ, ความรู้, ความสนใจ, และความสัมพันธ์ที่แตกต่างจากโลกของความเป็นจริง

Second Life เป็นตัวอย่างหนึ่งของสังคมออนไลน์ในยุคเว็บ 2.0 ที่ทำได้ โดยบริษัทแห่งหนึ่งในซานฟรานซิสโก มันไม่ใช่แค่เกม 3 มิติ ที่ผู้คน เข้ามาเล่นเพื่อความสนุกสนานแต่เพียงอย่างเดียว ภายในโลกเสมือนใบนั้นมีระบบเศรษฐกิจเป็นของตัวเอง ในปัจจุบันเงินกว่า 1.7 ล้าน US dollar ถูกใช้ไปในแต่ละวันโดยผู้เล่นกว่า 7 ล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าสู่ Second Life ได้โดยการดาว์นโหลดโปรแกรมไปติดตั้ง แล้วลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ หลังจากนั้นเค้าจะได้ร่างเสมือน (avatar) กับเสื้อผ้าพื้นๆ ชุดหนึ่ง และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการซื้อขายแลกเปลี่ยน สินค้าและบริการและการเชื่อมโยงโอกาสภายในโลกเสมือนใบนั้น

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเว็บไซต์ที่พยายามจะสร้างปรากฏการณ์ Social network ให้เกิดขึ้น แต่ทำไม่ได้ หรือ ยังดีไม่พอ สาเหตุหนึ่งอาจจะเป็น เพราะความสัมพันธ์ระหว่างคนในเว็บไซต์ บางเว็บไซต์เน้นสร้างผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่มหรือ niche market โดยเดินตามระเบียบปฏิบัติเดิมๆ ที่ คาดหวังว่ามีคนน้อยแต่แน่นหนาดีกว่ามีคนมากๆ ตรงกันข้ามด้วยทฤษฎีของ Socail network เครือข่ายที่เล็กและแน่นแฟ้นนี้มีประโยชน์น้อย กว่าเครือข่ายขนาดใหญ่ซึ่งผูกกันหลวมๆ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันแค่ภายในวงเพื่อนที่ทำอะไรร่วมกันคุ้นเคยกันดีไม่อาจเทียบได้กับการได้ รับข้อติชมเสนอแนะจากคนอื่นๆ นอกกลุ่มของเรา โดยเฉพาะคนส่วนใหญ่มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและไม่เปิดรับความแตกต่างจากภายนอก การบริ หารเว็บไซต์ก็เช่นเดียวกันหากเว็บมาสเตอร์ไม่สามารถเชื่อมโยงกลุ่มย่อยๆ ภายในเว็บเข้าหากันได้ ภาพใหญ่ของสังคมในเว็บนั้นก็จะไม่มีทางเกิด ขึ้น

สุดท้าย ผมเชื่อว่ามีหลายคนคิดแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำเว็บในฝันให้ประสบความสำเร็จ บางคนอาจกำลังสงสัยว่าทำเว็บแล้วจะอยู่รอดได้ไหม และอีกหลายคนกำลังลังเลว่ามันเหมาะกับ สังคมไทยที่นิยมบริโภคแต่เทคโนบันเทิงหรือเปล่า ด้วยเทคโนโลยีและเทคนิคหลายๆ อย่างที่เอื้ออำนวย ตั้งแต่ AJAX, RSS, API ไปจน กระทั่งถึงเครื่องมืออันทันสมัยอย่าง Adobe Flex, MS Silverlight ทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์หลายคนสนุกกับการสร้างสรรค์งานในระดับ องค์กรหรือภายในท้องถิ่น แต่เรายังไม่ค่อยได้เห็นผลงานที่มีคุณภาพในระดับสังคมมากนัก ความรู้จะไม่เกิดถ้าไม่ได้แบ่งปัน ความสำเร็จก็เช่นกัน มันคงจะเป็นไปไม่ได้ถ้ายังไม่ได้ทำ ทุกวันนี้มีคนเก่งแทรกตัวอยู่ในสังคมไทยอีกเยอะ ยุคเว็บ 2.0 จะเป็นเวลาและโอกาสที่เหมาะสมให้พวกเขาเหล่านั้นได้แสดงความสามารถออกมาอย่างเต็มที่ได้หรือไหม อะไรคือปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ขาดอยู่ คนไทยร่วมมือกันไม่เป็นจริงหรือ และอีกหลายคำถามที่รอคอยการพิสูจน์ แล้วคุณหละคิดอย่างไร How do u think?

หมายเลขบันทึก: 111470เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2007 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ต้องดูประกาศฯ ที่จะตามพรบ.ความผิดคอมฯ​มา.  ผมคิดว่าเรื่องน่าจะมีผลกระทบต่อ web 2.0 ที่ผู้ให้บริการเป็นคนไทยมาก. 

มีผลกระทบแน่นอนครับ มันเป็นหน้าที่ของพลเมืองไทยที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ผมว่าดีนะครับ ที่เราจะสามารถช่วยเจ้าหน้าที่ให้สืบสวนสอบสวนได้สะดวกขึ้น (ยามเมื่อเกิดเหตุไม่ปกติ)

แต่อย่างที่ คุณ P บ่าววีร์ บอก ผู้ให้บริการภายในประเทศคงจะเดือดร้อนมากๆ จาก พรบ. ตัวนี้

ที่เห็นคุยกันเยอะ มีอยู่ 2 เรื่องคือ

1. identification (การระบุตัวตนผู้ใช้งาน)

2. log file (ภาระที่ต้องเก็บข้อมูลมากขึ้น และปรับปรุงโปรแกรมเพื่อสนับสนุน)

ผมเชื่อว่าผู้ร่างกฏมีเจตนาดี เพื่อช่วยให้ผู้คุ้มกฏสามารถทำงานได้ง่าย แต่ไม่แน่ใจว่าลืมมองโลกของความเป็นจริงไปหรือเปล่า?

เว็บ 2.0 จะสร้างข้อมูลจำนวนมหาศาลขึ้นบนเซิร์ฟเวอร์ แต่นอกจากข้อมูลที่ดี มันก็มีขยะอยู่ไม่น้อย แล้วการที่จะไปเก็บการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างที่เกิดขึ้น ก็เหมือนกับบอกให้เราเก็บขยะทุกชิ้นใส่ลิ้นชักไว้ให้ดีแทนที่จะเอาไปทิ้งถังขยะ (เพราะเผื่อว่างๆ จะมีคนอยากจะขอดูบ้าง) แล้วทำไมคนที่อยากได้ขยะกองนี้ไม่มาเก็บไปเองหละครับ

สุดท้ายหากไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ขึ้นกับข้อบังคับตัวนี้ มันก็คือปราการด่านใหญ่ที่จะสกัดกั้นผู้ให้บริการรายเล็กๆ ให้ออกไปจากระบบ ให้คงเหลือไว้แต่คนมีเงิน แต่ถ้าคนมีเงินหมดเงินก็ให้เลิกทำเว็บกันซะเลยดีกว่า ไปใช้บริการเว็บไซต์เมืองนอกกันเลย มีเงินเท่าไรก็เอาไปจ่ายให้เว็บดังๆ ต่างประเทศกันให้หมด

ก็เป็นกำลังใจให้คุณ P [ minisiam ] สู้ต่อไปนะครับ

ใครว่างๆ ผมแนะนำลองอ่านเนื้อหาข้างล่างดูครับ

 

 

ไม่รู้ว่าเพราะความบังเอิญหรือป่าว

web app ที่ผมทำ ผมมักจะทำ logfile ไว้ด้วย ด้วยฟังชั่นง่าย ๆ แต่มันค่อนข้างมีประโยชน์ เพราะผมเองจะได้รู้พฤติกรรมของคนที่เข้ามาในเว็บผม รู้ว่าเค้าทำอะไรบ้าง นอกจากแค่รู้ว่ามาจากไหน หน้าไหนไปหน้าไหน หรืออะไรที่นอกเหนือจาก webstat ทั่วไปจะมี

 ^__^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท