BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

สืบ นาคะเสถียร กับการกระทำเหนือหน้าที่ ๔


สืบ นาคะเสถียร กับการกระทำเหนือหน้าที่ ๔

จาก ( สืบ ... หน้าที่ ๓ ) เมื่อมองจากความเห็นของไฟน์เบอร์ก การกระทำของสืบ นาคะเสถียร อาจเป็นการกระทำเหนือหน้าที่ หรือไม่เกี่ยวกับหน้าที่และเหนือหน้าที่ก็ได้ เพียงแต่เป็นการกระทำที่มีคุณธรรมเท่านั้น... ปีค.ศ. 1961 ชิสโฮลม์ (Chisholm, Roderick M.) ได้นำเสนอบทความชื่อ Supererogation and Offince : A Conceptual Scheme for Ethics) ซึ่งมีมุมมองต่างออกไปจากเอิร์มสันและไฟน์เบอร์ก...

ชิสโฮลม์ได้เริ่มต้นความเห็นด้วยการยกตัวอย่างการกระทำ ๔ กรณีดังนี้

  1. การรักษาสัญญาของตนเพื่อคืนหนังสือ เช่น เมื่อเรายืมหนังสือจากห้องสมุดแล้วไปคืนตามกำหนด...
  2. การเสียสละชีวิตของตนในการดำเนินการตามหน้าที่ เช่น ตำรวจทหารขณะปฏิบัติหน้าที่แล้วเสียชีวิต...
  3. การช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ ด้วยการให้ยืมหนังสือ เช่น เพื่อนๆ อาจารย์ หรือศิษย์ ช่วยเหลือให้ยืมหนังสือบางเล่มที่เขามีความจำเป็นต้องใช้....
  4. การเสียสละชีวิตของตนในการช่วยชีวิตของผู้อื่นที่มิใช่หน้าที่่ เช่น การช่วยคนที่กำลังถูกรถชนให้รอดชีวิต แต่เราต้องเสียชีวิตแทน....

ชิสโฮลม์ได้นำการกระทำ 4 ข้อ ตามตัวอย่างข้างต้น มาประเมินค่าดังนี้

  • 1. และ 2. จัดเป็น หน้าที่ี่
  • 3. และ 4. จัดเป็น การกระทำเหนือหน้าที่
  • 1. และ 3. จัดเป็น เรื่องเล็กน้อย
  • 2. และ 4. จัดเป็น แบบแห่งวีรบุรุษหรือผู้ยิ่งใหญ

..........

เมื่อนำแนวคิดของชิสโฮลม์มาวิเคราะห์การกระทำของสืบ จะเห็นได้ว่าไม่ชัดเจนว่า การกระทำของสืบจะเป็นการกระทำเหนือหน้าที่หรือไม่? ... เพราะเราไม่สามารถกำหนดได้ว่า ขอบเขตของหน้าที่ในการเป็นเจ้าพนักงานรักษาป่าของสืบเป็นอย่างไร ? ... และการเสียสละชีวิตของสืบอยู่เหนือขอบเขตแห่งหน้าที่ออกไปหรือไม่ ? ... ซึ่งประเด็นนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับกรอบความคิดของคำว่า เหนือหน้าที่

เพราะคำว่า การกระทำเหนือหน้าีที่ ผูกโยงอยู่กับคำว่า หน้าที่ .... ถ้าจะเข้าใจว่าการกระทำนั้นเป็น การกระทำหน้าที่ี่ หรือไม่ ก็จะต้องเข้าใจคำว่าหน้าีที่ ก่อน... ประมาณนี้

ความหมายของ หน้าที่ มีนัยแตกต่างกันออกไปตามแนวคิดต่างๆ... และเมื่อนำมาวิเคราะห์การกระทำของสืบก็ย่อมแตกต่างกันไปตามความเห็นนั้นๆ ซึ่งผู้เขียนจะนำมาเสนอในตอนต่อไป.....

อย่างไรก็ตาม การกระทำของสืบเป็นการกระทำแบบวีรบุรุษอย่างแน่นอน........

............

ตามที่นำเสนอมาเป็นแนวคิดบางส่วน จาก ๓ บทความแรกของแนวคิดการกระทำเหนือหน้าที่ในจริยศาสตร์ร่วมสมัย โดยผสมผสานไปกับการวิเคราะห์การกระทำของสืบ... 

เมื่อล่วงพ้น ๓ บทความนี้แล้ว ความหมายของการกระทำเหนือหน้าที่ ถูกประมวลไว้กว้างๆ จากหนังสือทั่วๆ ไปว่า

  • เป็นการกระทำที่เลือกได้โดยสมัครใจ ไม่มีกรอบบังคับไว้
  • เป็นการกระทำเชิงอุดมคติส่วนบุคคล
  • เป็นการกระทำที่มีคุณค่าสูงทางศีลธรรม ควรแก่การยกย่องสรรเสริญ
  • เป็นการกระทำแบบวีรบุุรุษ

เมื่อมาพิจารณาการกระทำของสืบ นาคะเสถียร จะเห็นได้ว่าคล้อยตามความหมายเหล่านี้...

และเมื่อมองการกระทำของสืบ ผ่านทางทฤษฎีจริยศาสตร์แต่ละสำนัก กล่าวคือ ประโยชน์นิยม ลัทธิคานต์ คุณธรรม และรวมทั้งพุทธจริยศาสตร์ตามมุมมองของผู้เขียนด้วย (ในฐานะผู้เขียนเป็นพระภิกษุ) จะมีความเห็นอย่างไรบ้าง... ผู้เขียนจะนำมาเสนอในตอนต่อไป....   

 

หมายเลขบันทึก: 124102เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2007 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท