บันทึกประสบการณ์ : เครื่องนับเซลล์อัตโนมัติกับเชื้อมาเลเรีย


เรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่น
บันทึกนี้ได้จากการอ่านวารสาร Ann. Hematol (2005) 84:400-402 เป็นรายงานวิจัยของ Jungwon Huh และคณะ เรื่อง "Pseudoeosinophilia associated with malaria infection determined in the Sysmex XE-2100 hematology analyzer" พี่เม่ยเห็นว่าน่าสนใจและมีความต่อเนื่องกับประสบการณ์ของตนเองที่ได้เขียนไว้ที่ บันทึกนี้ จึงนำมาเขียนไว้เป็นซีรี่ส์เดียวกันค่ะ...
เรื่องของเรื่องก็คือ ผู้วิจัยได้สังเกตเห็นว่าผลการทดสอบแยกชนิดเม็ดเลือดขาวด้วยเครื่องนับเซลล์อัตโนมัติรุ่น Sysmex XE-2100 (ที่เขาใช้เนี่ยหลักการเดียวกับของเราเปี๊ยบเลยค่ะ เพียงแค่ต่างรุ่นกันนิดหน่อยเอง ) จากเลือดคนไข้  16 รายที่เป็นมาเลเรียพบค่าเม็ดเลือดขาวชนิด eosinophil สูงกว่าค่าจริงที่ได้การตรวจนับด้วยกล้องจุลทรรศน์  เมื่อไปสังเกต scattergram จากเครื่องก็พบว่ามีกลุ่มเซลล์กลุ่มหนึ่งที่เพิ่มขึ้นมาจากปกติ
จากภาพ a จะเห็นกลุ่มสีแดงๆนั่นคือ eosinophil ในคนปกติค่ะ  ส่วนในภาพ b  จะสังเกตเห็นกลุ่มสีแดงสองกลุ่มอยู่ใกล้ๆกัน สีแดงกลุ่มบนนั่นแหล่ะค่ะตัวปัญหา!!! ที่ทำให้เจ้าเครื่องนับเซลล์เข้าใจผิดคิดว่าเป็นเม็ดเลือดขาวชนิด eosinophil จึงนับรวมเข้าไปทำให้ค่าร้อยละของ eosinophil สูงกว่าความจริง
 
สมมติฐานของผู้วิจัยก็คือ ความจริงแล้วเม็ดเลือดขาวกลุ่มนี้คือ neutrophil ที่จับกินเชื้อมาเลเรียเข้าไปย่อยสลาย เหลือตะกอนชนิดหนึ่งสีน้ำตาล วาว สะท้อนแสง เรียกว่า hemozoin ค้างอยู่ในไซโตปลาสซึม เจ้า hemozoin นี้จะหักเหแสงได้ดี ทำให้การวัดด้วยเครื่องแยกกลุ่มเซลล์ออกมาอยู่ในโซนของ eosinophil ไปเสียแล้ว
 
 นี่ไงคะ  หน้าตาของ neutrophil ที่มีตะกอน hemozoin
ตกค้างอยู่ในไซโตปลาสซึม
จึงเป็นเหตุให้ค่าร้อยละของ eosinophil สูงกว่าความเป็นจริง ซึ่งถ้าผู้ปฏบัติการสังเกตให้ดีก็ควรจะทราบได้ว่าเป็นความผิดพลาดของเครื่อง และควรส่งตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ซ้ำอีกครั้งหนึ่งด้วย
ประสบการณ์ของคณะวิจัยกลุ่มนี้ทำให้พี่เม่ยจับประเด็นมาใช้กับการทำงานของเราได้ 2 เรื่องค่ะ คือ...
  1. หากพบลักษณะ scattergram แบบนี้เมื่อไร นั่นคือ pseudoeosinophilia จะรายงานผลการตรวจนับจากเครื่องไม่ได้ ต้องส่งดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อย่างแน่นอน
  2. และที่ควรระมัดระวังต่อไปก็คือ อาจพบเชื้อมาเลเรียจากเลือดผู้ป่วยรายนั้นได้ ต้องตรวจหาเชื้อมาเลเรียด้วยถึงแม้แพทย์จะไม่ได้สั่งตรวจก็ตาม
บันทึกนี้ได้ความรู้จากประสบการณ์ของคนอื่น  นำมาประยุกต์ใช้กับงานของตัวเอง....
...และอีกไม่นานเราก็คงจะได้มีประสบการณ์ในทำนองเดียวกันนี้เป็นของตัวเองบ้างก็ได้
คำสำคัญ (Tags): #eosinophil#experience#fa#sysmexxtseries
หมายเลขบันทึก: 146922เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2007 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

น่าสนใจมากค่ะ  scatteregram นี่  หากเราเก็บรวบรวม pattern ต่างๆ ที่ผิดปกติไป แล้ววิเคราะห์กับการอ่านด้วยกล้องจุลทรรศน์  อาจให้ความรู้อะไรใหม่ๆ ได้ไม่น้อยนะ

ดีจังค่ะ ที่พี่เม่ยนำเรื่องแบบนี้มาบอกกล่าวกัน  

please send me the information in english

thank

ขอบคุณครับ ที่ให้ความรู้ดีๆ แก่เพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท