คัมภีร์ "โพสะราดและสังคะปะกอน" (2) "ผู้ใหญ่ที่กำอำนาจในมือ ให้มีมโนธรรมประจำใจ"


บ่ฮู้จักเอาเลื่องอันใดมาเว้า และเว้าพาสาลาวแบบใด

สำลิด  บัวสีสะหวัด  ผู้ปริวรรตคัมภีร์ "โพสะราดและสังคะปะกอน" จากภาษาลาวโบราณมาเป็นภาษาลาวบัจจุบัน กล่าวถึงความสำคัญของการดำเนินงานครั้งนี้ในบทนำว่า เอกสานบูฮานบ่ว่าด้านใดใช้เป็นข้อมูนได้ทั้งนั้น  ย้อนว่ามันขึ้นอยู่กับการวิไจวิจาน  ค้นคว้าตีราคาของเฮาเองที่รู้จักไจ้แยกและเลือกเฟ้น

    

ก่อนหน้าการปริวรรตคัมภีร์โพสะราด และสังคะปะกอน เป็นเวลา  5  ปี  มูลนิธิโตโยตาได้อุปถัมภ์การจัดพิมพ์กฎหมายโบราณลาวมาแล้ว  5  ฉบับ  คือ

1)  คัมพีมูละตันไต  (มูลตันไต) มีลักษณะสำคัญ  3  ประการ คือ เป็นตำนานนิทานเกี่ยวกับคดีถ้อยความ  เป็นปริศนาปัญหา  และตัวอย่างพิจารณาอรรถคดีโบราณ (Ancien  Verdict) เว้าง่าย ๆ แม่นแนวทางกานบอลิหานปะเทด  หลืลัดถะสาดบูฮานมีหลายตัวย่างของกานแก้ปันหาแบบบัวบ่ได้ช้ำน้ำบ่ได้ขุ่น

2)  คัมพีทำมะสาดหลวง (ธรรมศาสตร์หลวง)  เป็นกฎหมายแม่มีทั้งหมด  431  มาตรา  จารในใบลาน  7  ผูก  แต่หายไปผูกที่  6  จำนวน  60  มาตรา  ยู่ห้องปานาติบาด  ข้าพะเจ้าได้ซอกหามัดอื่น ๆ มาแก้ไขเกือบทั่วปะเทด  แต่บ่เห็นเป็นอันจนใจ  ได้มาสะบับหนึ่งจากเชียงใหม่เป็นอักสอนไท  ขาดไป  60 มาดตาเช่นเดียวกัน  และในนั้นบอกไว้ด้วยว่าได้ต้นสะบับไปจากลาว  ชาวชาวยี่ปุ่นนำไป... มีหลักถานพอยั้งยืนได้ว่าแต่งในสะไหมพะเจ้าสุริยะวงสาทำมิกะราด  มีลักสะนะพิเสดเหดว่าอาไสสีนห้า (ศีลห้า)  หรือปันจะสีลาเป็นหลักในการจัดหมวดหมู่   มี  5  หมวด คือ

                 2.1)  ห้องปานาติบาด  ว่าด้วยการตีฟันรันแทง  ทุบตีวิวาท

                2.2)  ห้องอะทินนาทาน  ว่าด้วยการลักขโมย  การโลภการฉ้อฉล  การปล้นจี้ทรัพย์สิน (กานปุ้นจี้ซับสินเงินคำ)

                2.3)  ห้องกาเมสุมิดสาจาน  ว่าด้วยการผิดประเวณี  คบชู้สู่สาว  การสร้างครอบครัว  จารีตผัวเมีย (ฮีตผัวคองเมีย)  การอย่าร้าง (ปะฮ้าง)  การแบ่งปันทรัพย์สิน

                2.4) ห้องมุสาวาด  ว่าด้วยการโกหก (กานตัวะ  กานล่าย  การพางส้อสนส่อเสียด  การก่าวคำยาบช้าไร้สาระ  และตัวะยัวะ) 

                2.5)  ห้องสุราเมละยะมัดชะ ว่าด้วยการกินเหล้าเมายา สิ่งเบื่อเมา เสพติดต่าง ๆ

3.  คัมพีส้อยสายคำ  (สุวรรณสังวาลย์ : ผู้เขียน) เป็นคัมภีร์ขนาดสั้น  30  กว่าแผ่นใบลาน  เนื้อหาว่าด้วยการนำหลักการองค์พระภิกขุปาติโมก  227  สิกขาบทเป็นพื้นฐานในการเปรียบเทียบ  และบัญญัติไว้ละเอียดเกี่ยวกับจริยธรรมสังคม กานคอบคัวเฮือนชานเป็นส่วนหลาย  ที่นับว่ามีลักสะนะพิเสดคืบอกย่างชัดเจนว่าแต่งในรัดชะกานพะเจ้าโพทิสาระราด  ปะมานสะตะวัดที่ 14” 

<h4 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="justify">4.  คัมพีสุวันนะมุกขา  (สุวรรณมุข) มีลักษณะเป็นประมวลกฎหมายโบราณลาว(The  code  of  Lao  Customary  Law) กล่าวถึงหลักใหญ่โดยทั่วไป  มักยกนิทานภาษาบาลีและสันสกฤติมาอ้างประกอบ  เช่น ชาดกนิทานนางตันไต  นิทานเวตาน  เป็นต้น”</h4><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="justify">5.  ราชะสาด (ราชศาสตร์) ว่าด้วยพระจริยธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์  เช่น  ทศพิศราชธรรม  อปริหานิยธรรม  โลภะธรรม  จารีตบ้านเมือง  มุ่งหนักใส่ผู้ใหญ่ที่กำอำนาจ  ในมือให้มีมโนธรรมประจำใจ... บ่ควรใช้อำนาจในทางผิดศีลธรรมนำใช้ราชทรัพย์  และทรัพย์สินของชาติ  เพื่อบรรเทาทุเลาทุกข์  และซุกยู้ส่งเสริมบำรุงสุขของประชาชนพลเมือง   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                         <h5 class="firstHeading">                                      พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (วิกิพีเดีย)</h5> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="justify">สำลิด  บัวสีสะหวัด กล่าวว่าในส่วนของ สังคะหะปะกอนกับโคสะราด ที่ลวมกันยู่ในปึ้มกดหมายบูฮานหัวที่  5  ของโคงการนี้นั้น  มีลักสะนะไปอีกแบบหนึ่ง (จะขอกล่าวถึงในตอนต่อไปครับ... และสังเกตุการเรียกชื่อคัมภีร์ตัวเอนในวรรคนี้ของท่านสำลิด จะต่างกับชื่อเรื่องซึ่งผมยกมาจากเล่มเดียวกัน)</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="justify">มพยายามจะให้ได้อรรถรสในการอ่านไทย แบบสำเนียงลาว  และบางแห่งที่อาจเข้าใจยากจึงสรุปเป็นคำอ่านแบบไทยไว้  จึงจะเห็นการบันทึกแบบกลับไปกลับมา  ทั้งนี้ก็อยากให้ท่านได้ทั้งแบบลาวและแบบไทยเข้าใจง่าย ๆ เป็นสำคัญครับ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="justify">ศัพท์ที่ควรทราบ  ในส่วนที่อัญประกาศจากภาษาลาวมีศัพท์ที่ควรแปลเป็นไทย  เช่น 1) ย้อนว่า  :เพราะว่า  2) ไจ้ : การแยกแยะ  การเลือก (ไจ้ ภาษาอีสานแทบไม่ใช้พูด)  3) ซอกหา : ค้นหา  4) ปุ้นจี้ : ปล้นจี้  5) คำ : ทองคำ  6) ปะฮ้าง : อย่าร้าง  (ปะหมายถึง ปล่อย  ละทิ้ง จะตรงข้ามกับ ปะ ภาษาไทยซึ่งหมายถึง พบกัน). 7)   กานตัวะ  กานล่าย  การพางส้อสน : การโกหก(ตัวะ) การร้าย  การพรางฉ้อฉล  8) ยัวะ : ยุแยง,  ส่งเสริมในทางที่ผิด   9) ซุกยู้ : ส่งเสริม  ผลักดัน (ซุก หมายถึงการผลัก, ยู้หมายถึงดัน เช่น รถเข็นน้ำ  พูดว่า รถยู้น้ำ,  รถติดโคลนขอแรงคนช่วยก็ว่า  มายู้รถช่วยหน่อยครับเป็นต้น)  10) ปึ้ม : หนังสือ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="justify">ทั้งนี้จากการที่ผู้อ่านชาวลาวใน 5 ฉบับแรกซึ่งได้ สึกสาค้นคว้าอย่างหลวงหลาย แต่ก็ยังไม่เข้าใจภาษาลาวโบราณ  สำลิด  บัวสีสะหวัด กล่าวว่ายังมีหางเสียงบางส่วนต่อว่าต่อขานว่าอ่านบ่ฮู้เลื่อง  บ่เข้าใจ  บ่ฮู้จักเอาเลื่องอันใดมาเว้า  และเว้าพาสาลาวแบบใด   จึงเป็นอันว่าการอ่านคัมภีร์  แล้วนำมาเล่าต่อครั้งนี้ผมได้พบปัญหาเดียวกันครับ  เพราะแม้แต่คนปริวรรตก็ได้กล่าวว่าคนลาวอ่านไม่รู้เรื่องเช่นกัน.</p><p>อ้างอิง</p>

สำลิด  บัวสีสะหวัด.  1996. คำพีโพสะราดและสังคะปะกอน  กฎหมายบูฮานลาว.  พิมเทื่อที่หนึ่ง.  เวียงจัน : มูนนิทิโตโยตาแห่งปะเทดยี่ปุ่น.

</span></font></font>

หมายเลขบันทึก: 157846เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2008 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีเจ้าค่ะ คุณครู

            โห!! ไม่เคยรู้ภาษาลาวมาก่อนเลยเจ้าค่ะ เคยได้แต่ฟังคนอีสานเขาพูดกัน คิคิ ขอบคุณเจ้าค่ะที่นำความรู้มาเผยแพร่  พึ่งจะรู้นะเนี่ย  จะได้เอาไปพูดกับเพื่อนๆที่โรงเรียน ให้เพื่อนงงเล่นๆ คิคิ

          เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ---------> น้องจิ ^_^

  • สวัสดีครับน้องP 1. นางสาว จิราภรณ์ น้องจิ กาญจนสุพรรณ
  • ดีใจที่น้องเข้ามาอ่านและสนใจ
  • อ่านประวัติน้องน่าสนใจมาก  อนาคตไปได้ดีในทางครูอาจารย์  หรือคนแวดวงวรรณกรรมแน่นอนครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับอาจารย์ชา....

ผมเห็นข้อความที่ 10  ปิ้ม หรือ  ปื้ม...อะไรทำนองนี้ ทางล้านนาก็ว่า ปั๊บ  หมายถึงหนังสือเหมือนกันครับเช่นคำว่า    ปั๊บสา   คือหนังสือที่ทำจากกระดาษสา  เป็นต้น  ผมคิดว่าภาษาล้านนากับภาษาลาวนั้นใกล้เคียงกันมาก  โดยเฉพาะทางลาวหลวงพระบางครับ... ขอบคุณครับ.....

จากลุงหนาน       พรหมมา

สวัสดีครับ

คราวก่อนแวะอ่านแล้วไม่ได้ทิ้งข้อความไว้ วันนี้ได้เพิ่มเติมภาษาลาวครับ

เสริมลุงหนานว่า ภาษาลาวโบราณ กะล้านนา หลายคำก็คล้ายกัน มีเพื่อนคนเวียงจันท์ เว้าลาว แต่คำลงท้ายว่าเจ้า เหมือนคนเหนือ แปลกจัง

  • สวัสดีครับลุงหนานพรหมมาP ครับ
  • สวัสดีท่านP 4. ธ.วั ช ชั ย ครับ 
  • สระอึ ครับลุง ปึ้ม ความหมายตรงกันคือหนังสือครับ
  • ความเหมือนกันของภาษาล้านนา  ล้านช้าง  เราสามารถศึกษาจากสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งชื่อมณฑลว่าลาวเฉียง ดังข้อความ "ปี พ.ศ.2427 ได้ปฏิรูปหัวเมืองประเทศราชทางเหนือ เป็นช่วงต้นก่อนการจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ขณะนั้นหัวเมืองทางเหนือเรียกว่า "หัวเมืองลาวเฉียง" พ.ศ.2435 ได้ปฏิรูประบบการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล ทำให้นครลำปางที่มีฐานะเป็นเมืองประเทศราชต้องถูกลดบทบาทลงกลายเป็นหัวเมืองหนึ่งในมณฑลลาวเฉียง" (http://www.chiangmainews.co.th/viewnews.php?id=17790&lyo=1) แสดงว่าแม้แต่ทางกรุงเทพฯ สมัยก่อนยังเรียกรวม ๆ กันว่าอย่างนี้
  • ถ้าเราจำวรรณคดี ขุนช้างขุนแผน พลายงามอาสาไปรบกับ "แสนตรีเพชรกล้า" ในเรื่องวรรณคดียังบอกว่าเป็นทัพ "ลาวเชียงใหม่"
  • ศึกษาประวัติพระเจ้าไชยเชษฐา  เจ้าครองทั้งเมืองเชียงใหม่-เวียงจัน
  • ก็คงพอจะเชื่อม "ความเหมือนกัน" ของภาษาได้
  • ขอบคุณลุงหนานและท่านธวัชชัยมากครับ
  • ชักอยากรู้เนื้อในกฎหมายลาว เร็ว ๆ ขึ้นแล้ว
  • เข้าใจว่าอาจารย์กำลังอ่านอยู่
  • จะคอยครับ
  • สวัสดีครับคุณสมชายครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • รักกันจริงคอยได้  ไม่นาน  แลกเปลี่ยนกันไปเรื่อยครับผม
  • ขอบคุณมากสวัสดีครับ

สวัสดีค่ะครูชา

อ๋อเคยอยู่ขอนแก่นช่วงหนึ่งซึ่งหลายปีอยู่ค่ะ แต่เว้าลาวบ่ได้เล้ยค่ะ ต้องมาเริ่มหัดใหม่กับครูชาเด้อค่ะ

อ๋อจ้ะ

  • สวัสดีครับหมออ๋อครับ
  • เว้าลาวบ่ได้  บ่เป็นหยัง  คนขอนแก่นเป็นไงบ้างครับ
  • ยินดี และขอบคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท