คัมภีร์ "โพสะราดและสังคะปะกอน" (4) ก. ลักษณะอุทธรณ์ 9 "เป็นใจคดคิดแปงสำนวนความ เสือกใสซ้อนสอดข้อความหนึ่ง"


คัมภีร์ "โพสะราดและสังคะปะกอน" กล่าวถึงลักษณะอุทธรณ์ 9 ประการ ว่า

อันว่าลักขะนะอุทอน  9  ปะกาน  นั้นคื :

1)  มิได้เอาฟ้องและกำนดใช้ด้วยกดพะทัมมะนูนหนึ่ง

2)  ทุสินสูนทอระชน  ฟ้องพ่อแม่ตน  รับบังคับหนึ่ง

3)  ถามมิรับในสำนวน  ทำบ่ควนเขียนว่ารับหนึ่ง

          

                                  ต้นฉบับ "ลักขะนะอุทอน 9"  ข้อ 1 - 3

4)  ให้กานบ่ต้องข้อทำลับลอ  บ่เขียนเอาหนึ่ง

5)  ถามความเล่านอกฟ้อง  มิได้ต้องกานตามกดหนึ่ง

6)  เป็นใจคดคิดแปงสำนวนความ  เสือกใสซ้อนสอดข้อความหนึ่ง

7)  เกาะจำเลยถามบ่มิฟ้อง  ให้ลอกลองตามคำกดหมายหนึ่ง

8)  ฮู้ทิบายแปงคารมให้ล้มโจด  จำเลยหนึ่ง

9)  มิให้จำเลยแก้อุทอน  ก่าวโทษกอนตัดข้อความหนึ่ง

9  ข้อนี้ห้ามชื่องคะอุทอนสำนวนกอนเด็ดขาดแล                                              

         

                                     ต้นฉบับ "ลักขะนะอุทอน 9"  ข้อ 4 - 9

คงเห็นแล้วนะครับที่สำลิด  บัวสีสะหวัดกล่าวว่าแม้แต่คนลาวอ่านก็ยังบอกว่าอ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง  ส่วนผมขอแปลไว้เป็นเบื้องต้นไว้ก่อนและทุกข้อที่แปลความนี้อยากวงเล็บไว้ว่า (หรือไม่อย่างไร) ดังนี้

1)  มิได้เอาฟ้องและกำนดใช้ด้วยกดพะทัมมะนูนหนึ่ง : มิให้รับฟ้องและกำหนดให้ชดใช้ในสิ่งที่ไม่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายพระธรรมนูญ  

2)  ทุสินสูนทอระชน  ฟ้องพ่อแม่ตน  รับบังคับหนึ่ง : รับฟ้องคดีคนทุศีล  ฟ้องพ่อแม่ของตน

3)  ถามมิรับในสำนวน  ทำบ่ควนเขียนว่ารับหนึ่ง : ถามผู้ถูกกล่าวหาในสำนวน  ผู้ถูกกล่าวหามิรับ  ไม่ควรเขียนว่ารับ

4)  ให้กานบ่ต้องข้อทำลับลอ  บ่เขียนเอาหนึ่ง : ผู้ถูกกล่าวหาให้การทำลับล่อมีพิรุธ  แต่เจ้าพนักงานมิเขียนเอา

5)  ถามความเล่านอกฟ้อง  มิได้ต้องกานตามกดหนึ่ง : สอบปากคำผู้ถูกกล่าวหานอกประเด็นฟ้อง  ไม่เป็นไปในการตามกฎหมาย

6)  เป็นใจคดคิดแปงสำนวนความ  เสือกใสซ้อนสอดข้อความหนึ่ง : เจ้าพนักงานมีใจคิดคดตัดตอนหรือสอดใส่สำนวน  เพื่อแปลงคดีช่วยผู้ถูกกล่าวหา

7)  เกาะจำเลยถามบ่มิฟ้อง  ให้ลอกลองตามคำกดหมายหนึ่ง : เกาะเอาผลประโยชน์จากจำเลย  สอบสวนแล้วไม่ฟ้อง  ให้จำเลย "ลอกลองตามคำกดหมาย" (ให้จำเลยรับรู้คำ  สำนวนการพิจารณาโดยเจ้าพนักงานเจตนาให้ประโยชน์จำเลย?)

8)  ฮู้ทิบายแปงคารมให้ล้มโจด  จำเลยหนึ่ง : อธิบายแปลงความเพื่อช่วยโจทก์  หรือจำเลยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้ชนะคดี

9)  มิให้จำเลยแก้อุทอน  ก่าวโทษกอนตัดข้อความหนึ่ง : การกีดกันมิให้จำเลยอุทธรณ์  การตัดสินโทษโดยมิพิจารณาข้อความหรือสำนวนให้ถี่ถ้วน

9  ข้อนี้ห้ามชื่องคะอุทอนสำนวนกอนเด็ดขาดแล : 9  ข้อนี้ห้าม(โดย)ตรงที่องค์อุทธรณ์มิให้ทำสำนวนก่อนโดยเด็ดขาด

ศัพท์ที่ควรรู้และสงสัย  ในวรรคสุดท้ายจากคำว่า "ห้ามชื่องคะอุทอน" จากคำว่า "ชื่" ซึ่งออกเสียงว่า "ซื่" มีความหมาย  2  นัย  คือ  หมายถึง  ชื่อ (นามเรียกคน  สัตว์)  กับความหมายที่แปลว่า ตรงที่..ที่...ตรงกันกับ  เช่นคำว่า  "ไปซื่ใด๋น้อ" (ไปตรงที่ใดครับ)  ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับความหมายหลัง  ซึ่งจะแปลไดว่า  "9  ข้อนี้ห้าม(โดย)ตรงที่องค์อุทธรณ์มิให้ทำสำนวนก่อนโดยเด็ดขาด"

จากการศึกษาลักษณะอุทธรณ์  9  ที่กล่าวมานี้  พอสรุปได้ว่าเป็นแนวทางปฏิบัติงานของทางฝ่ายข้าราชการ  หรือขบวนการยุติธรรมของลาวโบราณ  ซึ่งค่อนข้างจะให้ความเป็นธรรมกับประชาชนเอามาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นประชาชนที่เป็นโจทก์  หรือจำเลย  และมีข้อห้ามสำหรับข้าราชการอย่างชัดเจน

ทำให้มองเห็นได้ว่าในภาวะที่บ้านเมืองอยู่เป็นปกติไม่มีสงคราม  ประชาชนลาวโบราณมีหลักกฎหมายที่คุ้มครองสวัสดิภาพชีวิตที่ชัดเจน  สมกับคำกล่าวในบทนำคัมภีร์ "โพสะราดและสังคะปะกอน" ที่รอง รมต. กะซวงถะแหลงข่าวและวัดทะนะทำ  ท่านบัวบาน  วอละขุน (1996) กล่าวว่า "ซาดลาวแม่นซาดที่มีอะลิยะทำ  อันจบงามมาตั้งแต่ดนนาน"  ถ้าหากเราจะมองผ่านการศึกษาลักษณะอุทธรณ์  9  ที่กล่าวมานี้ก็นับว่าเป็นข้อแสดงให้เห็นได้เป็นอย่างดี.

อ้างอิง

สำลิด  บัวสีสะหวัด.  1996. คำพีโพสะราดและสังคะปะกอน  กฎหมายบูฮานลาว.  เวียงจัน : มูนนิทิโตโยตาแห่งปะเทดยี่ปุ่น.

หมายเลขบันทึก: 161290เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2008 08:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • ภาษาลาว กับภาษาวรรณคดีไทยแต่บุราณ ก็พ้องคำ พ้องความกัน ไม่น้อย ถ้าอ่านออกเสียง แยกไม่ออกเลยครับ
  • เสียดายไม่ได้เห็นต้นฉบับภาษาลาวควบคู่ ไม่งั้น คงสนุกนะครับคุณครู จะได้หัดสองภาษาคู่กันไป

 

 

  • สวัสดีครับ ท่านอาจารย์P  wwibul  ครับ
  • ผมลงต้นฉบับภาษาลาวแล้วครับ
  • ขออภัยไม่ลงไว้ตั้งแต่แรก  เพราะกล้องไม่ดี  เพิ่งหาที่พอถ่ายได้รู้เรื่อง  จึงลงประกอบไว้
  • สำนวนภาษาก็ดั่งที่อาจารย์ตั้งข้อสังเกตุไว้ครับ
  • ขอขอบคุณครับ

ขอบคุณครับครูชาครับ

ผมเองก็จนใจในหลายข้อความ ด้วยเป็นภาษากฎหมายโบราณที่อ่านยากมากๆ อ่านได้แต่ไม่รู้ความหมายก็มี

จะรอติดตามตอนต่อไปครับผม

สวัสดีครับ ท่านครูชา เปิงบ้าน

ผมมีข้อเสนอว่า ถ้าจัดรูปแบบทำนองนี้ 

  1. ภาพต้นฉบับ (เบิ่งคำ)
  2. แกะแบบอ่านเสียง (แกะคำ)
  3. แกะแบบเทียบคำไทย (เทียบคำ)
  4. แกะความเป็นภาษาไทย (แกะความ)

น่าจะทำให้เป็นการถอดบทเรียนที่บริบูรณ์และครบวงจรอย่างเป็นระบบครับ สามารถใช้เพื่อหัดอ่านลาวก็ได้ หัดภาษาโบราณก็ได้

เช่น

 

แกะคำ: เป็นใจคดคิดแปงสำนวนความ  เสือกใสซ้อนสอดข้อความหนึ่ง

เทียบคำ: เป็นใจคด แปลงสำนวนความ เสือกไส ซ้อนสอด ข้อความ (อีก)หนึ่ง

แกะความ: ....

(ขอโทษครับ เผลอสั่งบันทึกก่อนเสร็จ)

  • ผมคิดว่า ถอดแบบนี้ ได้ประโยชน์มากครับ เพราะได้เห็นรูปคำแบบเก่า ที่หาดูได้ยาก เป็นบุญตา

มีประเด็นที่สงสัยครับ

  • "ข้อนี้ห้ามชื่องคะอุทอน"
  • ="ข้อนี้ ห้าม(เสนอ)ชื่อ องค์อุทธรณ์"
  • เป็นไปได้ไหมครับ ว่า ห้ามเสนอชื่อผู้จะมาเป็นองค์อุทธรณ์ เพื่อป้องกันการซ้อนทับผลประโยชน์ ?

 

  • สวัสดีครับท่านpaleeyon ครับ
  • ครับผมเองก็อ่านแบบ "หมักไว้" สักหน่อยจึงค่อย ๆ ตีความหรือดังที่ท่านอาจารย์wwibul กรุณาแนะให้ "แกะความ"
  • ขอขอบคุณท่านมากครับผม

สวัสดีครับท่านอาจารย์wwibul ครับ

ขอบคุณท่านมากครับสำหรับรูปแบบ

  1. ภาพต้นฉบับ (เบิ่งคำ)
  2. แกะแบบอ่านเสียง (แกะคำ)
  3. แกะแบบเทียบคำไทย (เทียบคำ)
  4. แกะความเป็นภาษาไทย (แกะความ)

เป็นรูปแบบที่น่าจะเป็นระบบและครบวงจรดียิ่ง  ผมเห็นด้วยทุกประการครับ  ซึ่งรูปแบบดังกล่าวนี้ผมได้คิดอยู่ระยะหนึ่งเหมือนกัน  จากรูปแบบที่พบได้จาก "Thai - Isan - Lao - Phrasebook : หนังสือวลีภาษาไทย  อีสาน  ลาว : ปึ้มวะลีพาสา  ไท  อีสาน  ลาว : With  MP3  sound  tracks  on  CD-Rom" เล่มขนาด เอ 4 หนา 329  หน้า  โดยชาวเดนมาร์ค (White  Lotus  Co., Ltd.  Bangkok.  2005) เพื่อให้ฝรั่งฝึกพูดภาษาลาว  มีรูปแบบเทียบได้ตามที่ท่านอาจารย์แนะนำไว้นี้  ที่เพิ่มมาก็คือคำอ่านภาษาอังกฤษออกเสียง ลาว  ไทย พร้อมฟังเสียงจริงจาก MP 3

ด้วยความเบื้องต้นที่ผมเพียงอยากเป็นการแนะนำ  หรือรายงานสรุปจากการอ่าน  ก็เลยออกมาในลักษณะรูปแบบ แกะคำ  แกะความ  เมื่อเป็นความเห็นจากท่านอาจารย์ผู้ใหญ่  ผมจะพยายามบันทึกให้ได้ในตอนต่อไปครับ

ส่วนความเห็นของท่านอาจารย์ที่ว่า "

  • "ข้อนี้ห้ามชื่องคะอุทอน"
  • ="ข้อนี้ ห้าม(เสนอ)ชื่อ องค์อุทธรณ์"
  • เป็นไปได้ไหมครับ ว่า ห้ามเสนอชื่อผู้จะมาเป็นองค์อุทธรณ์ เพื่อป้องกันการซ้อนทับผลประโยชน์ ?

ก็เป็นความเห็นในการตีความที่น่าคิดตามอย่างยิ่งเช่นกันครับ

ขอขอบคุณท่านมากครับ

ໄທຍ໌ເຮົາຖ່າຍທອດວັດທະນະທັມລາວແຕ່ບູຣົມບູຣານແລ້ວບໍ່ແມ່ນບໍ ? ດູການອົບພະຍົບລາວໃນໄທຍ໌ຮູ້ເຣື່ອງ ແຍກກັນບໍ່ອອກດອກ

สะบายดีครับ  ท่านສຳນຽງຫວານ (สำเนียงหวาน)

จากความเห็นท่าน "ໄທຍ໌ເຮົາຖ່າຍທອດວັດທະນະທັມລາວແຕ່ບູຣົມບູຣານແລ້ວບໍ່ແມ່ນບໍ ? ດູການອົບພະຍົບລາວໃນໄທຍ໌ຮູ້ເຣື່ອງ ແຍກກັນບໍ່ອອກດອກ" (ไทยเฮาถ่ายทอดวัฒนธรรมลาวแต่บูรมบูราณแล้วบ่แม่นบอ?  ดูการอพยพลาวในไทยฮู้เรื่อง  แยกกันบ่ออกดอก)

แม่นแล้ว  แม่นคัก ๆ ครับ  สมัยก่อนแยกกันบ่ออกอีหลี  การเคลื่อนย้ายของคนเฮาบ่ว่าจะมาจากเหตุผลใด ๆ ก็ตาม  ย่อม ก่อให้เกิดสายน้ำสองสีลำใหม่ผสมผสานกันไป  ซึ่งมาจากกกเค้าเชื้อมูลเดิมอันเดียวกัน  วัฒนธรรมของคนในโลกที่ถูกแบ่งจากพรมแดนการปกครอง  ก็ยากที่คนรุ่นใหม่จะเข้าใจมูลเชื้อเดิมได้ตลอด  เพราะถูกแบ่งจากช่องมองของปัจจุบันไปแล้ว

ขอบใจ/ขอบคุณหลายครับ 

ສະບາຍດີທ່ານຄູຊາ

ສົນໃຈບົດຂຍນຂອງທ່ານ ເຂົ້າມາອ່ານເບິ່ງ ຂໍສະແດງຄຳເຫນຕາມປັນຍາຫນ້ອຍແດ່ເນ້ອ

"9 ຂໍ້ນີ້ຫ້າມຊື່ອົງຕະອຸທອນ ສຳນວນກອນເດດຊາດແລ"

ອາດມີຄວາມໝາຍແນວນີ້ກໍ່ໄດ້ ຄື ກົດໝາຍ9ຂໍ້ນີ້ ກຳຫນດຊື່ຊອງກົດໝາຍວ່າ ອົງຄະອຸທອນ ຫ້າມລູກຂຸນຜູ້ຈັດສຶນຄວາມກະທຳໂດຍເດດຂາດຕາມສຳນວນກອນທີ່ໄດ້ກລ່າວໄວ້

ຂໍຂອບໃຈໃນການນຳສະເຫນອບົດຂຍນດີ໒ ມີປະໂຫຢດຍ່າງຫລວງຫລາຍ

สำบายดี  ท่านความเห็นที่ ๑๐

ขอบใจหลาย  ที่มายามกัน

ความหมายตามที่ท่านกล่าวมา  ซงคือแล้วครับ

ไลยะนี้ผมบ่ได้เข้ามาเขียน  ขออภัยหลายเด้อครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท