สวัสดิการชุมชนด้านสุขภาพอนามัย: ประเมินกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น


ทำให้ อปท.เห็นความสำคัญของการทำงานพัฒนาที่เน้นคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของประชาชน (การทำงานพัฒนาแบบเดิมๆ เช่น เน้นก่อสร้าง?)

ในการดำเนินนโยบายสาธารณะ มักมีลักษณะเป็น package ประกอบด้วย  พรบ. (เป็นกติกา)  องค์กร (เป็นผู้บริหารจัดการ) และเงินกองทุน (เป็นเครื่องมือสนับสนุน)

กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (เริ่ม ๒๕๔๙) อยู่ภายใต้ พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕    "การมีส่วนร่วมของประชาชนและท้องถิ่น" ในมุมมองของ พรบ. ประกอบด้วยสิทธิในการเข้าร้บบริการ การบริหารจัดการ การตรวจสอบ และการรับรองคุณภาพบริการ  ผู้มีส่วนร่วม มีทั้ง อปท. องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน ภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์การดำเนินงานเพื่อกำไร (ตรงนี้รู้สึกจะตีความยาก)

สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช) สนับสนุนงบประมาณถ้วนหน้าเป็นรายหัวประชากร 37.50 บาทต่อคนต่อปี  (การจัดสรรงบประมาณเป็นรายหัวสะท้อนวัตถุประสงค์ความทั่วถึงและเท่าเทียม  แต่ทำไมจึงเป็น 37 บาทยังไม่ทราบเหมือนกัน)  โดย อปท.จ่ายเงินสมทบ (พบว่าโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 7.50 บาทต่อคนต่อปี)

จากการประเมินผลของดิเรก ปัทมสิริวัฒน์และคณะ (2550) หลังกองทุนจัดตั้งมาหนึ่งปี โดยสำรวจ 99 กองทุนใน 51 จังหวัด พบว่า

  • โครงการทำให้เกิดการร่วมมือกันมากขึ้นระหว่าง สถานีอนามัย ประชาคม อปท
  • กิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพที่พบประกอบด้วย  แนวทางส่งเสริมสุขภาพ  แนวทางป้องก้นโรค  แนวทางจัดการความรู้และให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชน  แนวทางแบบผสมผสาน
  • เกิดกิจกรรมเชิงรุกใหม่ๆด้านการส่งเสริมสุขภาพ  เช่น สวัสดิการเมื่อเจ็บป่วย  การป้องกันอุบัติภัย การปรับปรุงบริการของสถานีอนามัย  การสร้างเครือข่ายกับโรงพยาบาล  การจัดรถพยาบาลฉุกเฉิน เป็นต้น
  • ทำให้ผู้มีส่วนร่วมเกิด "มุมมองใหม่" เกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาพ  ทำให้ อปท.เห็นความสำคัญของการทำงานพัฒนาที่เน้นคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของประชาชน (แทนแนวทางการทำงานพัฒนาแบบเดิมๆ เช่น เน้นก่อสร้าง?)   ประเด็นนี้เราคิดว่าสำคัญมาก
  • ชาวบ้านเชื่อถือ  ยอมรับกองทุนและกรรมการกองทุน  และเห็นประโยชน์มากถึงมากที่สุด

ปัญหาอุปสรรค

  • ความล่าช้าของการจัดตั้งกองทุนในบางพื้นที่ เนื่องจากทัศนคติของเจ้าหน้าที่
  • ระเบียบการเบิกจ่ายยังไม่คล่องตัว
  • ชาวบ้านยังได้รับข้อมูลข่าวสารของกองทุนค่อนข้างน้อย

ถ้าพิจารณารายละเอียดลักษณะงาน ตัวอย่างกิจกรรมภายใต้กองทุนดังกล่าว ซึ่งมีหลากหลาย มีลักษณะเฉพาะแล้ว  ยังไม่เห็นว่า การเอากองทุนนี้ไปบูรณาการกับกองทุนอื่นจะช่วยให้อะไรดีขึ้นอย่างไร  ประสิทธิภาพของงานอาจลดลงด้วยซ้ำ เพราะการทำงานตรงนี้ต้องการความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการสุขภาพพอสมควร

 

หมายเลขบันทึก: 166534เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2008 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 11:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กองทุนนี้คิดรายหัวประชากรไทยคนละ1,xxxบาท รวม76,598.8ล้านบาทในปี2551 อีกส่วนหนึ่งจัดสรรผ่านกระทรวงสธ.เพื่อจ้างเจ้าหน้าที่ด้านสธ.และสร้างโรงพยาบาล65,235.2ล้านบาทและมีที่จัดสรรผ่านหน่วยงานอื่นของรัฐอีกเช่น องค์การเภสัชกรรม กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริทสุขภาพ(สสส.)เป็นต้นเพื่อดูแลด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน
กองทุนต่อหัวประชากรนี้ จัดสรรผ่านCUPที่มีร.พ.จังหวัดเช่นชุมพรและอำเภอเป็นหน่วยจัดการตามสัดส่วนประชากรในเขตอำเภอ โดยสร้างนวัตกรรมกองทุนสุขภาพท้องถิ่นต่อกับท้องถิ่นและชุมชนในส่วนของงบสร้างเสริมป้องกัน37.50บาทต่อคนในท้องถิ่น ซึ่งถูกหักจากCUPอำเภอนั้นๆ
นอกจากนี้ยังมีงบถ่ายโอนผ่านท้องถิ่นหมู่บ้านละ10,000บาทเพื่อดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพโดยมีแกนนำอสม.ผ่านเวทีประชาคมเป็นผู้เสนอขอมาดำเนินการด้วย(เข้าใจว่าเป็นงบในส่วนของสธ.ผ่านมาทางสสจ.)
ผมลงพื้นที่เทศบาลต.ห้างฉัตรจ.ลำปางเพื่อติดตามดูเงินกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม1ล้านบาทที่จัดสรรให้5จังหวัดนำร่องเมื่อวันที่15มี.ค.นี้พบว่าใช้แนวคิดคล้ายๆกับกองทุนสปสช.ท้องถิ่นแต่มีหน่วยจัดการต่างกันกล่าวคือ สปสช.ท้องถิ่นระบุคณะกรรมการ3ภาคส่วนชัดเจนคือท้องถิ่นเป็นประธานและเลขากองทุน ตัวแทนสปสช.และตัวแทนชุมชนเป็นกรรมการร่วม เงินสมทบร่วมกัน สำหรับกองทุนสวัสดิการใช้หน่วยท้องถิ่นเป็นพื้นที่ดำเนินการ แต่ไม่กำหนดหน่วยจัดการที่ชัดเจนและไม่เป็นกองทุนในตำบลแต่ให้เป็นงบกิจกรรมด้านสวัสดิการชุมชน ที่ห้างฉัตรเทศบาลใช้วิธีสนับสนุนให้3เครือข่ายคือเครือข่ายสุขภาพ ผู้สูงอายุและอาชีพ   ตั้งกรรมการเครือข่ายละ15คนขึ้นมาดูแล (สมาชิกรวมกัน3เครือข่ายประมาณ700คน แต่ละคนต้องเลือกเป็นสมาชิกมีรายชื่อเพียงกลุ่มหนึ่งเท่านั้น (แต่เข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มอื่นได้) โดยทำกิจกรรมออมทรัพย์วันละ1บาทในกลุ่ม/เครือข่ายของตนและทำกิจกรรมตามประเด็นของเครือข่ายเช่น รำไทเก๊ก แอร์โรบิค ทำขนม เป็นต้น กิจกรรมออมทรัพย์เริ่มดำเนินการเมื่อธันวาคม2550โดยการแนะนำของพี่เปี๊ยก(พมจ.)และพี่สามารถ(อนุกรรมการบริหารกองทุน) กรรมการ3เครือข่ายจำนวน45คนแยกเป็น2คณะคือ30คนเป็นสภา และ15คนเป็นกรรมการบริหาร จะเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินกิจกรรมกองทุนสวัสดิการสังคมที่ได้รับประมาณ1.5แสนบาทนี้เพื่อประโยชน์ของ3เครือข่าย โดยที่เทศบาลต.ห้างฉัตรจะเข้าร่วมกับกองทุนสปสช.ในปีนี้ด้วย ก็หมายความว่า เทศบาลจะมีเงินกองทุนสปสช.และเงินสวัสดิการสังคมเพื่อให้ชาวบ้านในเขตเทศบาลประมาณ3,000คนใช้ นอกจากเงินสนับสนุนของเทศบาลที่ให้กับกลุ่มอาชีพกลุ่มละ20,000บาทในแต่ละปี และเงินสนับสนุนกิจกรรมอื่นๆ ข้อเสนอของพวกเราคือ น่าจะมีการประชุมคณะกรรมการบริหารของเครือข่ายเดือนละ1ครั้ง ประชุมร่วมกับสภา3เดือนครั้งเพื่อดำเนินกิจกรรมของชุมชนที่มีทั้งการทำสวัสดิการร่วมกันทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน เช่นปั่นจักรยานทำบุญ9วัดในวันพระ เป็นต้น เป็นระบบสภาชุมชนที่ซ้อนขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง

การประสานเชื่อมโยงและบูรณาการกองทุนระดับตำบลในความหมายคือการจัดการความซ้ำซ้อนของงบประมาณในระดับตำบลที่มาจากการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ
พวกเราถามถึงกองทุนหมู่บ้านและเงินเอสเอ็มแอลที่รัฐบาลต่อข้ามหัวท้องถิ่นถึงชุมชนโดยตรง มีข้อเสนอจากนายกอบต.พิชัยให้มีกลไกเชื่อมโยงในส่วนนี้ด้วย เช่นให้นายกร่วมเป็นคณะกรรมการโดยตำแหน่ง หรือมีรายงานผลการดำเนินงานในรอบปีให้ท้องถิ่นทราบด้วย เป็นการจัดการที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญคือการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและชุมชน แต่นโยบายการเมืองต้องการเชื่อมโยงอำนาจตรงแทนที่จะคำนึงถึงระบบ

เรียนอาจารย์ภีม

ขอบคุณสำหรับข้อมูลโดยละเอียดค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท