ท่องเที่ยวโดยชุมชน กับวิทยานิพนธ์ด้าน "การจัดการความรู้"


เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดการหมุนของความรู้ในชุมชน ด้วยวิธีการใดก็ตาม นั่นคือ กระบวนการที่มีบรรยากาศสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ก็สามารถนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์นั้นต่อไป

มีท่านผู้อ่านรวมถึง นักศึกษาหลายท่านที่โทรศัพท์ และอีเมลมาสอบถามประเด็น การจัดการความรู้ ในชุมชนที่จัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทั้งกระบวนการและรูปแบบ ส่วนใหญ่เป็น นศ.ปริญญาโท และส่วนหนึ่งเป็น นศ.ปริญญาเอก ที่สนใจประเด็นดังกล่าว

ส่วนใหญ่ ยังไม่เข้าใจการจัดการความรู้และการเข้ามาทำงานวิจัยในชุมชนจำเป็นต้องเข้าใจวิถีของชุมชน หลายท่านถาม จะจัดการความรู้อย่างไร?

ไม่ต้องทำอะไรในขั้นแรก เพราะ ชุมชนที่ทำท่องเที่ยวมีการจัดการความรู้เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว หากเป็นชุมชนวิจัยก็มีการจัดการความรู้ที่เป็นระบบเข้าใจง่ายมากขึ้น ที่ว่า "เป็นระบบ" ก็คือ เราเทียบเคียงทฤษฏีที่เราอ่านมาได้ แต่การจัดการความรู้แบบธรรมชาติเราจำเป็นต้องเข้าใจวิถีชุมชนถึงกระบวนการที่เกิดขึ้น ให้ดูตรงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ว่า "ความรู้นั้นนำมาใช้พัฒนาชุมชน" ในรูปแบบไหน อย่างไร กระบวนการเป็นอย่างไร?

โดยสรุปการจัดการความรู้ในชุมชนท่องเที่ยวนั้น เนียนไปกับการพัฒนาอยู่แล้วครับ

Dsc00798

คนทางภาคเหนือเรียกความรู้ที่ฝังลึก (Tacit Knowledge) ว่า "กำกึ้ด"  หรือ "วิธีคิด" อันเป็นความรู้ที่ฝังในตนตัวผ่านผลึกประสบการณ์มากมาย ได้กำกึ้ดชุดหนึ่งที่เป็น "ผะหญา" หรือ "ภูมิปัญญา"

มีคำถามว่า เราจะจัดการภูมิปัญญานั้นอย่างไร?   เป็นการจัดการความรู้ที่เราต้องการนั่นเอง

ผะหญานั้นเป็น ความรู้ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset)  จะนำความรู้ที่จับต้องไม่ได้มาใช้ประโยชน์ "กระบวนการ" จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และ การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้นั้นเป็นกระบวนการที่เราต้องเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ให้เป็น "ธรรมชาติ" เนียนไปกับวิถีชีวิต

สิ่งหนึ่งที่นักวิจัยต้องตระหนักก็คือ การเข้าใจชุมชนก่อนที่จะคิดเอาโมเดลต่างๆที่เราคิดเข้าไป บางทีสิ่งที่เราคิดอาจไม่ถูกต้องเลย หากเราเข้าใจบริบทพื้นที่อย่างถ่องแท้

การทำความเข้าใจวิถี ตั้งแต่ต้นทาง ถึงปลายทาง เราจะเห็นการเดินทางของความรู้ที่ชาวบ้านคิดอย่างเป็นระบบ แต่ขาดคนที่จะสังเคราะห์ ออกมา  เรา(หมายถึง) นักวิจัย ต้องเป็นคนสังเคราะห์ปรากฏการณ์นั้นออกมาอรรถาธิบาย

วิธีการแบบนี้ไม่เหนื่อย แต่อาศัยความลุ่มลึก และเข้าใจ เข้าถึง ใช้เวลาหากเราไม่ใช่"คนใน"

ถามว่า หัวใจของการจัดการความรู้ในชุมชนท่องเที่ยวนั้นคืออะไร?

หัวใจก็คือ "การแลกเปลี่ยนเรียนรู้"

เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดการหมุนของความรู้ในชุมชน ด้วยวิธีการใดก็ตาม นั่นคือ กระบวนการที่มีบรรยากาศสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ก็สามารถนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์นั้นต่อไป

งานวิจัย งานวิทยานิพนธ์อาจต้องตอบคำถามหลักๆดังนี้

  • ความรู้ ภูมิปัญญาที่ว่านั้นคือ อะไรบ้าง

  • ความรู้ ภูมิปัญญาอยู่ที่ไหน

  • กระบวนการของชุมชนในการจัดการความรู้เป็นอย่างไร (การสร้างความรู้ การนำความรู้มาใช้ การยกระดับความรู้ การหมุนเวียนความรู้ รวมถึงผลิตซ้ำวาทกรรม)

  • ผลลัพธ์ของการจัดการความรู้ระดับชุมชนได้ส่งผลอะไรบ้าง แก่ชุมชน

  • สรุป ชุมชนดังกล่าวมีรูปแบบการจัดการความรู้แบบไหน มีนวัตกรรมใหม่ๆอะไรบ้าง

  • การจัดการความรู้ธรรมชาติ (KM ธรรมชาติ) นี้สามารถอธิบายได้อย่างไร

  • หลักๆก็น่าจะได้ตามคำถามนี้...

    ผมคิดว่าวิทยานิพนธ์ งานวิจัย ชิ้นนี้สามารถตอบโจทย์การจัดการความรู้ชุมชนได้ และน่าสนใจ สามารถนำไปต่อยอดเอากระบวนการไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆได้

    ผู้สนใจสามารถติดต่อ สอบถาม แลกเปลี่ยนผ่านบันทึกนี้ หรือทาง E - mail ก็ยินดีครับ

     

     

     

    หมายเลขบันทึก: 168376เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2008 08:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (40)

    มีหนังสือเล่มนี้ ที่ผมเขียนขึ้นมาในส่วนของ "การจัดการความรู้ในการท่องเที่ยวโดยชุมชน"

    สามารถติดตามอ่าน หรือขอรับหนังสือนี้ได้ที่

    สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

    ๑๕๔ ถนนพระราม ๑ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐

    โทรศัพท์ ๐๒ ๒๑๙๔๐๓๙

    •    อ่านแล้ว ทำให้กระจ่างเรื่องการจัดการความรู้ในชุมชน
    •    หนังสือน่าสนใจค่ะ
    •    เขตพื้นที่การศึกษารับผิดชอบในการสร้างความตระหนัก 
    •    เรื่องการจัดการความรู้ในสถานศึกษา   
    •    จากนั้นก็พัฒนาต่อยอด
    •    วันที่ 6 - 7 มีนาคม ก็จะพัฒนาต่อยอดเครือข่ายค่ะ
    •     โปรแกรม วันที่ 4 - 5 มีนาคม  cancle ใช่ไหมคะ

    พี่เอื้องแซะครับ

    ปรากฏว่าทางจังหวัดแจ้งมาบอกว่าเนื่องด้วยฉุกละหุกเรื่อง การเลือกตั้ง สว. จึงขอเลื่อนออกไปครับ

    ต้องขออภัยด้วยครับ ที่ไม่ได้แจ้ง ซึ่งผมเองก็ต้องขอโทษ วิทยากรกระบวนการที่ได้ติดต่อไป งานนี้เลื่อนมาสองรอบแล้วครับ :)

    คนจัดถอดใจตามๆกัน เพราะได้ติดต่อวิทยากรมาด้วยทุกครั้ง

    ต้องรอฟังจากทางจังหวัดอีกทีครับผม

    ส่วนการจัดการความรู้ในหน่วยงาน คงต้องตั้งธงให้ชัดครับ ว่าเราทำเพื่ออะไร ตัวกระบวนการสำคัญมาก หากกระบวนการนั้นสามารถสร้างความสุขระหว่างการแลกเปลี่ยนได้ ก็ประสบความสำเร็จ

    ไม่ยึดติดกับเครื่องมือ...

    น่าสนใจมากครับ KM ในส่วนของเขตพื้นที่การศึกษา

    นำมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะครับ

    ขอบคุณครับ

    เม๊าะขนาด   ... แม่นแล้ว

    เขียนได้  สะใจ  ตรงใจ

     

    • สวัสดีค่ะ คุณเอก
    • ขอแจม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ค่ะ
    • ประเด็น การทำวิทยานิพนธ์ นี้ครอบคลุมใหญ่มาก
    • แต่ หากนักศึกษา จะทำ แต่ละแขนง เพื่อเอามาเชื่อมโยงกัน จะดีมาก ๆ ค่ะ
    • หากให้คิดตอบโจทย์หลายประเด็นใหญ่ ๆ ต้องใช้เวลา ฉะนั้น เราต้องใช้ วิธีการ ให้ทำพร้อมกันในเวลาจำกัด แต่หลายมุม และได้คำตอบพร้อมกัน ค่ะ
    • เพราะวิทยานิพนธ์ 1 เล่ม ไม่สามารถตอบโจทย์ขนาดนี้ได้แน่ ๆ แต่หาก ให้ นักศึกษาทำ หลายๆ คน แต่คนละมุม ก็จะดีนะคะ
    • คิดแบบส่วนตัวค่ะ อิอิ
    • ขอบคุณค่ะ

    จะขอสักเล่ม  ต้องโทรไป  ขอใช่ไหมครับ

    สวัสดีค่ะคุณหมอเอก

    กนกวรรณ (เบียร์) นศ.ป.โท ธรรมศาสตร์ (บริหารงานวัฒนธรรม หมวดมรดกร่วมสมัยแนวนโยบายและปฏิบัติ)ที่โทรคุยเมื่อวานก่อนน่ะคะ เข้ามาอ่านแล้ว get มาๆค่ะ เป็นไก่ตาแตกมากเลยค่ะ เรื่องนี้ เพราะเรื่องที่จะทำ thesis คือเรื่องที่ คุณหมอเอกให้ความรู้ไว้

    สนใจในประเด็น กระบวนการของชุมชนในการจัดการความรู้เป็นอย่างไร (การสร้างความรู้ การนำความรู้มาใช้ การยกระดับความรู้ การหมุนเวียนความรู้ รวมถึงผลิตซ้ำวาทกรรม) ที่คุณหมอ โพสไว้มากๆค่ะ

    เบียร์พยายามจะ ทำเรื่องนี้ให้ได้ แม้ว่าคุณหมอบอกว่า "ต้องใช้ กำลังภายในเยอะ" แต่ก็อยากทำค่ะ (ตั้งใจสูง) อยากต่อยอกของงานวิจัยคุณสุรสิทธิ์ด้วย และได้ไปสำรวจคุยกับชาวบ้านมาบ้างแล้วค่ะ เค้ามีปัญหา เบียร์ตั้งคำถามนำไปว่า "หมดรุ่นลุงแล้ว การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนจะเป็นอยางไร ลุงสอนลูกหลานยังไง ?"

    แต่ตอนนี้ประเด็นอยู่ที่ว่า ทำไมเลือก บ้านผาหมอน .....ยังตอบอาจารย์เป็นภาษาวิชาการไม่ได้เลยค่ะ (เศร้า) คุณหมอมีอะไรช่วยแนะนำเพิ่มเติมด้วยนะคะ ขอบพระคุณอย่างสูง จะมาติดตามเรื่อยๆค่ะ

    อ่อ หัวข้อที่คิดว่าจะทำคือ

    "การจัดการองค์ความรู้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม กรณีศึกษา การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านผาหมอน จอมทอง เชียงใหม่" ค่ะ

    ขอบคุณอาจารย์ คนไร้กรอบ  มากครับ

    ผมจะส่งหนังสือไปให้ถึงบ้านครับ!!!

    แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือเท่านั้นครับ ส่วนใหญ่ก็คุย เขียนเรื่องเครือข่าย ปิดท้ายด้วย KM

    แต่รูปเล่มสวย น่าอ่าน น่าหยิบครับ

    สวัสดีครับคุณ บัวปริ่มน้ำ

    ผมเคยให้คำแนะนำ นศ. ป.โท เกี่ยวกับการทำเรื่อง KM ที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ด้านสุขภาพ ก็เป็นงานแบบเดียวกันแต่ประเด็นอาจเล็กลง และชัดมากขึ้น

    กรณีชุมชนท่องเที่ยว ก็เช่นกันครับ ผมเห็นด้วยประเด็นนี้ใหญ่ การท่องเที่ยวชุมชนมีองค์ประกอบดังนี้

    • องค์กรชุมชน
    • การบริหารจัดการ
    • การจัดการทรัพยากร
    • การจัดการผลผลิต
    • รวมถึงองค์ความรู้ด้านต่างๆอันเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำไปสู่การจัดการในระดับชุมชน
    • ฯลฯ

    ทำได้ในสองระดับคือ ดูตัวกระบวนการ อีกระดับหนึ่งคือ เจาะลึกในประเด็นต่างๆ

    ซึ่งก็น่าสนใจครับ

    สวัสดีครับคุณกนกวรรณ-เบียร์

    ยินดีครับที่ตามมาอ่าน

    หลังจากที่ได้คุยโทรศัพท์จากคุณเบียร์แล้วก็มานั่งคิดเขียนบันทึกนี้ขึ้นมาครับ

    เนื้อหาโดยสังเขปคงตามบันทึกที่เขียนครับ

    หากสนใจในรายละเอียดคงต้องตั้งคำถามแต่ละประเด็น

     

    ที่ ผาหมอน นั้นน่าสนใจครับ อย่างไรก็ตามครับ กลุ่มเยาวชนเป็นตัวขับเคลื่อนที่ดี และน้องสุรสิทธิ์เองก็เป็นนักวิจัยชาวบ้านที่มีทักษะการจัดเวทีแบบมีส่วนร่วมได้ดีครับ

    ชื่อ Thesis น่าสนใจครับ!!!

    ยินดีครับสามารถโทรศัพท์ถึงผมโดยตรงได้

     

    สวัสดีครับ คุณเอก

     ไม่ได้เข้ามาเยี่ยมเยือน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคุณเอกเสียนาน สบายดีนะครับ  ช่วงนี้ ปัญญาชักเริ่มถอยลง อาจเป็นเพราะขาดการติดตามข้อมูล ข่าวสาร ทำให้ขาดความรู้ไปเยอะ ...แต่บางครั้ง ผมติดตามมากๆก็จะติด กับดัก กับข่าวสารอยู่เรื่อยๆเหมือนกัน เลยกำลังหาทางออกอยู่ครับ

    สวัสดีครับ คุณมาหาอ้วน  นพรัตน์

    ยินดีมากครับ...หายไปนานเหมือนกันครับ

    เริ่มต้นประเด็นน่าสนใจนะครับ

    เรื่อง การขาดการติดตามข่าวสาร และ ติดตามข่าวสารมากไป รวมไปถึงการติด "กับดัก" ข่าวสาร ประเด็นนี้น่าสนใจอย่างยิ่ง

    จริงครับที่ว่าเราไม่ได้ดู ไม่ได้อ่าน ไม่ได้ค้นหา ติดตาม เผลอแป้บเดียวเราล้าหลังไปมาก ตามคนอื่นแทบไม่ทัน บางครั้งในวงสนทนาเราก็ เกิดอาการ "เอ๋อ" เหมือนกัน เอ..พูดอะไรกันหว่า?? ผมไม่เข้าใจ

    ยุคนี้ข้อมูลข่าวสารมากันอย่างรวดเร็วในทุกสื่อ และต้องกลั่นกรองกันมากทีเดียว หากรับอย่างเดียวก็เกิดภาวะ "โอเวอร์โหลด" ได้ เหมือนที่คุณนพรัตน์บอกมาครับ

    อาจต้องพอดี- - -ครับ หมายถึง ไม่มากไปและไม่น้อยไปในการเข้าถึงข่าวสารเหล่านี้ แต่การใช้ทักษะในการกรองข่าว รวมถึงสังเคราะห์ให้เกิดเป็น "ความรู้" ตรงนี้ท้าทายดี เพราะหมายถึงการสังเคราะห์เป็นการรวมศาสตร์ต่างๆเข้าด้วยกัน เป็นศิลปะการใช้ชีวิตในยุคข้อมูลข่าวสารให้มีความสุข

     

    เมื่อนานที่ผ่านมาผมได้พบกับ คุณประโยชน์ และ สาวสวยท่านหนึ่ง เรามาเจอกันที่เชียงใหม่และได้สนทนากันพอสมควรครับ เรื่อง หัวข้อดุษฏีนิพนธ์ ก็สนุกสนานเคล้ากับบรรยากาศธรรมชาติเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งได้ไปพักผ่อนเก็บข้อมูลในพื้นที่ธรรมชาติด้วยแล้ว พักผ่อนไปด้วยครับ

    --------------------

    ก็ขอให้เรียนอย่างมีความสุข เรียนสำเร็จเป็น ดุษฏีบัณฑิตเร็วๆครับ เพื่อมาใช้ความสามารถ ความรู้พัฒนาสังคม

    ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

    และฝากความระลึกถึงคุณประโยชน์ด้วยครับ

    ยินดีครับที่มาแวะฝากความคิดถึงนะ- - -ขอบคุณครับ

    หวัดดีครับผม

                หวัดดีครับคุณเอกครับผมได้อ่านที่คุณสรุปไว้แล้วทำให้ได้อะไรในสมองเพิ่มขึ้นเยอะเลยครับผม  ผมก็สนใจหัวข้อเหมือนคุณบัวปริ่มน้ำครับ  แต่ก็อยากทำ "การจัดการความรู้เกี่ยวกับปัจจัยสี่ และวัฒนธรรม กรณีศึกษา หมู่บ้านนาเมืองหรือนาทุ่งใหญ่ นครไทย พิษณุโลกครับ  ผมว่าชาวบ้านมีอะไรน่าค้นหา  และรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมเก่าๆ  ได้อย่างดีเลยครับ  และเป็นวัฒนธรรมผสมผสานของชาวลาวกะคนนครไทยครับ  ผมเคยไปอยู่เป็นหมู่บ้านนี้หลายวันครับ  ชาวบ้านน่ารักดี  และคงได้พบกันที่กำแพงเพชรนะครับ  ในงานสัมมนาของพี่หิ่งห้อยไงครับ

    สวัสดีค่ะคุณหมอเอก

    เบียร์ขอบคุณที่เปิดโอกาส ระหว่างรอหัวข้อผ่านคงยังไม่กล้ารบกวนค่ะ ถ้าหัวข้อผ่านเบียร์คงได้โทรขอคำปรึกษา

    เบียร์สนใจในกระบวนการค่ะ และนอกจากนี้ สนใจ....การมีส่วนร่วมของชุมชน ในการจัดการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นความรู้ ให้ความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว ตลอดจน การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการจัดการทรัพยกร ผู้มีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนแห่งนี้จะมีกระบวนการที่จะสืบทอดองค์ความรู้เหล่านี้ได้ยั่งยืนอย่างไร มิใช่เพี่ยงแต่การให้ความรู้นักท่องเที่ยวเท่านั้น การให้ความสำคัญต่อคนในชุมชนด้านการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) เป็นสิ่งสำคัญที่จะใช้ทุนทางสังคม ทรัยพากรธรรมชาติและวัฒนธรรมอย่างดีพอ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรให้ยาวนานขึ้น ซึ่งมีความสำคัญต่อการท่องเที่ยวในระยะยาว ฉะนั้นการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและวิธีปฏิบัติในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน......(คัดลอกจาก ร่างproposal ตัวเองมาค่ะ ไว้เสนอมหาลัยแล้วจะส่งให้คุณหมอช่วยดูให้ด้วยนะคะ)

    วัตถุประสงค์หลักๆ คงออกแบบวิธีการวิจัยแบบ People Research and Development : (PR&D)น่ะคะ คิดว่าได้ใช้กำลังภายในเยอะแน่ๆเลยแต่คิดว่าได้ประโยชน์ที่แท้จริงคืนให้แก่ชุมชน นั่นคือเป้าหมายหลักของเบียร์ค่ะ

    1. เพื่อศึกษาการกระบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมและบทบาทของชุมชน ในด้านการจัดการองค์ความรู้ ทุนทางสังคมของตนที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยการทำประชาพิจัยและพัฒนา

     

    ขอรายงานความคืบหน้าเท่านี้ก่อนนะคะ

    ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ

    เบียร์

    • "การเข้าใจชุมชนก่อนที่จะคิดเอาโมเดลต่างๆที่เราคิดเข้าไป" "การทำความเข้าใจวิถี ตั้งแต่ต้นทาง ถึงปลายทาง เราจะเห็นการเดินทางของความรู้ที่ชาวบ้านคิดอย่างเป็นระบบ"
    • ขอบคุณค่ะ  

    สวัสดีค่ะ

    -อยากได้เพราะอยากรู้

    - อยากดูและอยากทำ

    - อยากขำขอสักเล่มเถอะค่ะ...

    - อยากอ่านจริง ๆ ค่ะ ...เงื่อนไขอย่างไรโปรดแจ้ง

    พี่  ประโยชน์ ครับ

    เรื่องราวหัวข้อ ดุษฎีนิพนธ์ ผมคิดว่าพี่คง สบายไปแล้วครับ ยังไงมีอะไรที่จะคุยแลกเปลี่ยนติดต่อผมมาได้เลยครับ

    ตอนนี้ไม่ทราบว่า งานของ  AraBeer  ไปถึงไหน หากก้าวหน้าอย่างไร ติดต่อ แลกเปลี่ยนได้ครับ

    ขอบคุณครับ คุณ กล้าเกื้อฝัน 

    สวัสดีครับครู  นาง พรรณา ผิวเผือก (ไม่มีชื่อกลาง) เรื่องหนังสือต้องติดต่อตามสถานที่ที่ให้ไว้ในบันทึกครับ โทรสอบถามได้เลยครับ

    หจกโชคไพศาลขอเสนอแพคเกจท่องเที่ยวราคาพิเศษโดยเรือสปีคโบ้ทที่กระบี่ หากท่านผู้ใดสนใจสามารถที่เข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.chokpaisanandaman.com และในวันที่ 4- 7 ก.ย. ที่จะถึงนี้จะมีงานไทยเที่ยวไทยที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เจอกันได้ที่บูธ c 225 ถ้าสนใจเจอกีนได้นะคะที่งาน

    ภาพนี้มันเนิ่นนานมากเหมือนกันเนาะ การสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้มาเป็นสิ่งที่ควรทำเพราะมันสามารถอ้างอิงได้แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือกระบวนการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้นั้นให้เกิดประโยชน์ จริง ๆ ย้ำ ว่า จริง ๆ นำไปประยุกต์ใช้ได้จริงกับแต่ละพื้นที่จะร่วมกันอย่างไรให้ไปถึงจุดมุ่งหมายร่วมกัน

    ขอบคุณครับสำหรับความรู้ และกำลังใจที่ให้ตำรวจใต้ ยินดีต้อนรับครับ

    ยินดีต้อนรับเช่นกันครับ  ท่าน พ.ต.ท.ชาญเดช

    ผมเองคงต้องหาโอกาสทักมายท่านบ่อยๆครับ เพราะสนใจ ประเด็น การทำงานในสถานการณ์ไม่สงบ เช่นที่ภาคใต้

    ฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ

     

    ดิฉันเรียน ป.เอก มหา'ลัย เกษตรศาสตร์ เอกอาชีวศึกษา ยสนใจเกี่ยวกับเรื่องเครือข่าย +การบริหารจัดการ+เชิงอนุรักษ์ เพิ่งมีโอกาสได้อ่านสาระของงานคร่าวๆดูน่าสนใจจึงอยากเรียนถามว่า ในช่วงนี้มีประเด็นอะไรที่มีกรอบสาระที่ดิฉันกล่าวถึงบ้างไหมค่ะขอคำแนะนำค่ะ ดิฉันเห็นหนังสือของท่านแล้วชวนอ่านมากหากไม่เป็นการรบกวนท่านมากเกินไปดิฉันใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านเพื่อขอหนังสือที่ท่านแต่งสัก 1 เล่มจะได้ไหมค่ะอยากอ่านค่ะดูแล้วน่าจะมีประโยชน์ต่อนิสิตอย่างดิฉันและเพื่อนๆอย่างมากค่ะ หากท่านอนุเคราะห์ ดิฉันมีที่อยู่ ดังนี้ค่ะ สุรีวัลย์ ลิ้มพิพัฒนกุล เลขที่ 62/135 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย นนทบุรี 11130 ค่ะ หากได้อ่านหนังสือที่ท่านแต่ง แล้วน่าจะมีประเด็นที่น่าสนใจและข้อคิดเห็นที่หลากหลายอันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนรู้ได้มากยิ่งขึ้น ดิฉันหวังว่าคงได้รับความอนุเคราะห์จากท่านในครั้งนี้ด้วยน่ะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

    ผมจะส่งหนังสือไปให้ครับ ตามที่อยู่ ผมพักอยู่ไม่ไกลจากคุณครับ มีโอกาสคงได้คุยกันหากสนใจงานแบบนี้

     เราต้องการศาสตร์เพื่อไปขับเคลื่อนงานเหมือนกันครับ

    กรุณาส่งอีเมลถึงผมด้วยครับ

     

     

    เอก จตุพร

    ตอนนี้หนูเรียนปริญญาตรี การท่องเที่ยวที่มหาวิทยาลัยเทคโนฯสงขลาคะ

    อยากขอคำแนะนำเรื่องงานภาคนิพนธ์หัวข้อการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการจัดการท่องเที่ยวในชุมชน

    หนูอยากรบกวนขอคำแนะนำเรื่องการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนว่าเราจะตั้งวัตถุประสงค์อย่างไรดีคะ

    งานภาคนิพนธ์หัวข้อ "การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษา การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโหล๊ะหาร อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง"

    ได้โปรดเมตตาด้วยนะคะ

    ขอบคุณมากๆคะ

    เหมียว

    คุณเหมียวครับ

    ติดต่อผมผ่านทางอีเมลครับ...

    vjatuporn   ฮอตเมล ดอด คอม

     

     

     

     

     

     

     

    อยากได้หนังสือไปอ่านเสริมความรู้ เพราะกำลังดูแลวิสาหกิจชุมชนที่ให้บริการการท่องเที่ยวอยู่ครับ ต้องทำอย่างไรบ้างครับ

    คุณสมชัย ส่งที่อยู่มาให้ผม ทางอีเมลนะครับ

    อีเมลติดต่อ แล้วผมจะส่งไปให้ครับ

    สวัสดีค่ะ คือสนใจอยากได้หนังสือนี้มาอ่านเพิ่มน่ะค่ะ เพราะตอนนี้กำลังทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนอยู่ค่ะ ไม่ทราบต้องทำอย่างไรค่ะ

    เรียน คุณจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ที่เคารพ

    ดิฉันกำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่องการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน และมีความสนใจที่จะศึกษาเนื้อหาในหนังสือของท่าน

    ดิฉันคิดว่า หนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการหาข้อมูลเพื่อประกอบการทำวิทยานิพนธ์ในครั้งนี้

    รบกวนตอบกลับข้อความในอีเมล์นะคะ

    ขอขอบพระคุณอย่างสูง

    เรียน คุณจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ที่เคารพ

    ดิฉันกำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่องการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน และมีความสนใจที่จะศึกษาเนื้อหาในหนังสือของท่าน

    ดิฉันคิดว่า หนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการหาข้อมูลเพื่อประกอบการทำวิทยานิพนธ์ในครั้งนี้

    รบกวนตอบกลับข้อความในอีเมล์นะคะ

    ขอขอบพระคุณอย่างสูง

    ดิฉันกำลังเรียนป.โท ที่คณะวนศาสตร์ ม.เกษตร และสนใจทำวิทยานิพพนธ์ เรื่องการจัดการองค์ความรู้ของชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของบ้านปางแดง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ค่ะ

    แต่ยังสับสนกับกระบวนการในการทำนิดหน่อย คือดอฉันสนใจจะดูว่าชุมชนมีการนำองค์ความรู้ของชุมชนมาใช้ประโยชน์ในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนอย่างไรบ้าง และมีการจัดเก็บความรู้เหล่านั้นไว้อย่างไร นอกจากนี้ยังจะเสนอแนวทางในการดึงเอาองค์ความรู้ที่ยังไม่ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์มาใช้ด้วย แต่มีปัญญหาคือ ที่ปรึกษาร่วมให้ข้อสังเกตว่า นี้ไม่ใช่การศึกษาการจัดการองค์ความรู้ของท้องถิ่น เป็นเพียงการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการการท่องเที่ยว (อ.ยังบอกว่าองค์ความรู้ของชุมชนไม่ใช่ภูมิปัญญาของท้องถิ่น) ตอนนี้หนูมึนมากเลยค่ะ รบกวนอ.ช่วยให้ความกระจ่างหนูหน่อยนะคะ

    สวัสดีครับ คุณขวัญฤทัย

    ขอตอบผ่านคำถามที่ถามด้านบนโดยขอแยกตอบแบบนี้ครับ

    ดิฉันกำลังเรียนป.โท ที่คณะวนศาสตร์ ม.เกษตร และสนใจทำวิทยานิพพนธ์ เรื่องการจัดการองค์ความรู้ของชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของบ้านปางแดง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ค่ะ

    แต่ยังสับสนกับกระบวนการในการทำนิดหน่อย คือดิฉันสนใจจะดูว่าชุมชนมีการนำองค์ความรู้ของชุมชนมาใช้ประโยชน์ในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนอย่างไรบ้าง และมีการจัดเก็บความรู้เหล่านั้นไว้อย่างไร นอกจากนี้ยังจะเสนอแนวทางในการดึงเอาองค์ความรู้ที่ยังไม่ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์มาใช้ด้วย

     แต่มีปัญหาคือ ที่ปรึกษาร่วมให้ข้อสังเกตว่า นี้ไม่ใช่การศึกษาการจัดการองค์ความรู้ของท้องถิ่น เป็นเพียงการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการการท่องเที่ยว (อ.ยังบอกว่าองค์ความรู้ของชุมชนไม่ใช่ภูมิปัญญาของท้องถิ่น) ตอนนี้หนูมึนมากเลยค่ะ รบกวนอ.ช่วยให้ความกระจ่างหนูหน่อยนะคะ

     

    คุณจะทำเรื่องของ KM กับ Community Based Tourisms  (CBT.)

    ซึ่งในการจัดการ การท่องเที่ยวโดยชุมชน วัตถุประสงค์ประการหนึ่งคือ การยกระดับองค์ความรู้ท้องถิ่น หรือ องค์ความรู้ชุมชน (เหมือนกัน) นำมาใช้ในการเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยว

    ในกระบวนการวิจัยเเละพัฒนา ก็จะเกิดกระบวนการจัดการความรู้ เกิดขึ้นโดยมีทั้งการจัดการโดยมี กระบวนการที่เราจัดขึ้นต่างหาก เเละ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยธรรมชาติ ระหว่าง ชุมชนเอง (ในช่วงการเก็บข้อมูลชุมชน) เพื่อใช้เป็นฐานต้นทุนในการท่องเที่ยว เเละ ในที่สุดก็เกิดการจัดการความรู้โดยคนในชุมชนกับนักท่องเที่ยว (Sharing) กันในที่สุด

    ดังนั้นการท่องเที่ยวโดยชุมชน กับการจัดการความรู้จึงไปด้วยกัน โดยตัวกระบวนการจัดการการท่องเที่ยว ก็ทำให้กระบวนการจัดการความรู้เด่นชัดมากขึ้น (จัดเก็บ - เเลกเปลี่ยน )

    ผมคิดว่า ที่ อาจารย์ร่วมที่ปรึกษา ให้ข้อคิดเห็นนั้น ผมเองยังไม่ค่อยเข้าใจครับ เเท้จริงเป็นเรื่องเดียวกันนะครับ 

    การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการท่องเที่ยว ก็ถือว่าเป็น KM เช่นเดียวกัน ในที่นี้เราถือว่า "องค์ความรู้ท้องถิ่น" นั่นคือ "ภูมิปัญญา" ที่สั่งสมมา มีทั้ง tacit knowledge เเละ explicit knowledge

    ทั้งนี้ องค์ความรู้ท้องถิ่นที่เราได้มีความจำเพาะเฉพาะถิ่น สั่งสมผ่านมาโดยมีระยะเวลา ดังนั้น องค์ความรู้ที่ว่าก็เป็น "ภูมิปัญญา" ของท้องถิ่นนั้นๆด้วย

    ขอให้คุณศึกษา ทฤษฏีเกี่ยวข้องกับ KM ให้ชัดครับ เเละ ศึกษาเรื่องของ CBT ให้ละเอียดด้วย หากชัดเจนใน ๒ ประเด็นใหญ่ รวมไปถึง reviews งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเเนวนี้มีหลายๆเล่มด้วยกันครับ ลองเข้าไปดูที่ห้องสมุด สกว. ออนไลน์ได้ สามารถดาว์นโหลดได้ด้วยครับ

    งานวิจัยที่คุณสนใจ เป็นเรื่องที่น่าสนใจครับ อย่างน้อยเราก็เห็นรูปแบบการจัดการความรู้ที่สามารถเข้าใจวงจรการเรียนรู้เเละวิถีชุมชน ประยุกต์ใช้ในงานพัฒนาประเด็นอื่นๆด้วย

    ให้กำลังใจครับ สำหรับการเรียน การทำ thesis

     

    ขอบคุณครับ

     

    จตุพร 

     

     

    ขอบคุณมากสำหรับคำแนะนำดีๆ ค่ะ ความจริงหนูเริ่มอ่านและทำความเข้าใจกับการจัดการความรู้มาพักหนึ่งแล้วค่ะ

    แต่พอเจออาจารย์ทักเข้า เลยชักลังเล ว่าสิ่งที่หนูเข้าใจมันผิดหรือเปล่า พอได้ฟังที่อ.จตุพรพูดก็มีกำลังใจอึดขึ้นมาหน่อย

    หนูมีเรื่องจะถามต่อค่ะ คือปัญหาในชุมชนตอนนี้คือเค้ามีการดำเนินการท่องเที่ยวมาพักนึงแล้ว แต่ยังไม่สมบูรณ์

    (ส่วนใหญ่เน้นการบริการที่พักแบบโฮมเสตย์ ส่วนโปรแกรมทัวร์และกิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินการโดยบริษัททัวร์ พูดง่ายๆ คือชุมชนได้เพียงค่าที่พักเท่านั้น)

    และคนในชุมชนไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวทำให้คนภายนอกมาฉวยโอกาสใช้ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนไป ซึ่งน่าเสียดายมาก

    หนูจึงอยากที่จะใช้เรื่องการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือให้ชาวบ้านมีการดำเนินการท่องเที่ยวเชิงนิเวศด้วยตัวเอง เพื่อให้เค้าเห็นคุณค่าของทรัพยากรของท้องถิ่น

    แบบนี้ใช้งานวิจัยแบบ PAR จะเหมาะสมหรือไม่คะ (แต่หนูมีเวลาน้อยเพราะต้องทำเรื่องอนุมัติจบภายในภาคฤดูร้อนหน้า จึงต้องวิเคราะห์ข้อมูลส่ง สัมมนา 2 ประมาณเดือน กุมภาพันธ์ 2554 ค่ะ)

    พอจะมีความเป็นไปได้สำหรับการทำวิจัยแบบ PAR หรือปล่าวคะ

    ขอเป็นกำลังใจ ในการทำสิ่งดี ๆ ในการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ ขอให้ประสบความสำเร็จครับ

    สวัสดีครับ อาจารย์ครับ ผมกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาการจัดการท่องเที่ยว และในภาคการศึกษานี้มีวิชาเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และว่าด้วยเรื่องที่จะความช่วยเหลือจากอาจารย์เพื่อขอข้อมูลครับ คือ การเตรียมความพร้อมของชุมชนก่อนจะเป็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีการเตรียมตัว 10 ขั้นตอน อาจารย์พอจะมีตัวอย่างกิจกรรมที่ชัดเจนป่าวครับ

    สวัสดีค่ะ

    โอ๋ได้มาทำงานที่จังหวัดตาก และได้เขียนโครงการการจัดการความรู้ด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว

    แต่ไม่มีประสบการณ์ด้านนี้เลย แต่ต้องประสานโครงการให้เสร็จทำไงดีคะ หาที่ปรึกษาค่ะ

    และอยากได้แนวทางที่จะคีเอทงานให้สำเร็จคุุ่ะช่วยแนะนำหน่อยนะคะ

    ส่งมาทาง mail [email protected]

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท