โรงพยาบาลกับการรอ: มาลี


จากการพูดคุยพบว่าผู้ป่วยเคยได้เตียงนอนโรงพยาบาลแล้วในครั้งแรก แต่ผู้ป่วยปฏิเสธ ไปทานยาบ้าน วันนี้แพทย์ให้นอนโรงพยาบาลแต่ไม่มีเตียงรอจน 14.00 น จึงจองเตียงไว้และแนะนำถ้ามีอาการเร่งด่วนที่ต้องพบแพทย์ให้รีบมา ผู้ป่วยและญาติพึงพอใจ

              วันที่ 23 มิถุนายน 2551 ผู้ป่วยผู้หญิง เวลา 9.00 น เป็นผู้ป่วยนัดมาจาก คลินิกนอกเวลาอายุรกรรม เพื่อมาตรวจคลินิกอายุรกรรมหัวใจ เนื่องจากผลตรวจคลื่นหัวใจผิดปกติ ญาติผู้ป่วยบอกว่ามาครั้งแรกในเวลาราชการ (ครั้งที่แล้วไม่ได้คิวตรวจ จึงรอตรวจตอนเย็น) ขณะพูดคุย ผู้ป่วยและญาติ มีความพึงพอใจที่ได้ตรวจในเวลาราชการ

 

                วันที่ 25 มิถุนายน 2551 ผู้ป่วยผู้หญิง เวลา 13.30 น เป็นผู้ป่วยนัดตรวจครั้งแรกกับอาจารย์แพทย์  เวลา 11.40 น ผู้ป่วยบอกว่ารอตรวจนานมาก เพราะติดเวลาอาจารย์พักการตรวจ แต่ก็เข้าใจดีไม่รู้สึกว่าคับข้องใจ ส่วนการบริการด้านอื่นๆ ดี

 

                    วันที่ 30 มิถุนายน 2551 ผู้ป่วยผู้ชาย  มาตรวจคลินิกอายุรกรรมหัวใจ เป็นผู้ป่วยมีหนังสือส่งตัวมา มาตรวจเป็นครั้งที่ 3 เนื่องจากรอเตียงนอนโรงพยาบาล  จากการพูดคุยพบว่าผู้ป่วยเคยได้เตียงนอนโรงพยาบาลแล้วในครั้งแรก แต่ผู้ป่วยปฏิเสธ ไปทานยาบ้าน วันนี้แพทย์ให้นอนโรงพยาบาลแต่ไม่มีเตียงรอจน 14.00 น จึงจองเตียงไว้และแนะนำถ้ามีอาการเร่งด่วนที่ต้องพบแพทย์ให้รีบมา ผู้ป่วยและญาติพึงพอใจ

 

                                            

คำสำคัญ (Tags): #การรอตรวจ
หมายเลขบันทึก: 192216เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2008 22:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

      โรงพยาบาลกับการรอเกือบจะบอกได้ว่าเป็นของคู่กัน ในคลินิกอายุรกรรม ไม่ว่าจะเป็นการรอตรวจ รอเตียง ไม่ไดคิวตรวจ เป็นสิ่งที่เราพยายามจะให้มันเลือนหายไป แต่มันมีองค์ประกอบหลายๆอย่าง จากกรณีดังกล่าวการให้ข้อมูลที่ผู้ป่วยต้องการก็สามารถลดอุณหภูมิของความไม่พึงพอใจลงได้พอสมควร

      การให้ความสำคัญ การต้อนรับที่ดีเป็นสื่อที่แสดงถึงความรักความห่วงใยของพยาบาล  เป็นสะพานเชื่อมความสัมพนธ์

สวัสดีค่ะ ขอชื่นชมที่สามารถค้นหาความต้องการของผู้ป่วยแต่ละรายค่ะ อยากทราบว่า ได้นำข้อมูลต่างๆเหล่านี้มาจัดการต่ออย่างไรบ้างคะ ขอเรียนรู้ด้วยคนค่ะ ขอบคุณค่ะ

เป็นส่วนหนึ่งของประชาชน  ได้ทำอะดีๆ ทำแล้วสบายใจขอบคุณครับผม

เป็นกลยุทธ์ที่ต้องการให้บุคลากรใกล้ชิดกับประชาชน ด้วยบริบทของความเป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย บุคลากรเข้าถึงประชาชนได้น้อย ฝึกคนให้ลงมานั่งในระดับเดียวกับประชาชน  ปัญหาส่วนหนึ่งจะถูกแก้ในหน้างานไปแล้วประมาณ 60-70% เหลือส่วนน้อยที่เป็นปัญหาเชิงระบบจะนำมาทบทวนร่วมกัน หลังทำแล้วตัวเองเห็นว่าเกิด Impact มากมาย ฝึกคนให้ไหว้ผู้รับบริการ ฟังเป็น คิดเป็น ทำเป็น พูดเป็น สุดท้ายเขียนเป็น  ค่อยๆทำไปคิดว่าอนาคตน่าจะดีขึ้น  เราก็เพิ่งทดลองทำ

พี่หมีคะ ดีจังเลยต้องบอกว่าพี่หมีเป็น"คุณอำนวย" ที่ยอดเยี่ยมเลยค่ะ เป็นกลยุทธที่ดีด้วยเพราะคนทำงานก็รู้สึกอยากจะเก็บสิ่งดีๆที่ได้ทำมาเล่านะคะ อีกหน่อยเราก็จะได้น้องๆเหล่านี้เป็น"คุณลิขิต"เองจริงๆได้เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท