เต็มใจที่จะรอ:พรทิพย์


เพราะ มอ. มีแพทย์ที่ชำนาญ เก่ง มีเครื่องมือทันสมัย เวลามาก็เต็มใจที่จะรอการตรวจถึงแม้บางครั้งอาจจะรอนานก็ไม่เป็นไร

 

 

เรื่องเล่าของพยาบาลชื่อพรทิพย์

วันที่ 23 มิ.ย.51

            ผู้ป่วยมาตรวจตามนัด  มาด้วยรถนั่ง แขน-ขาขวาอ่อนแรง  มากับญาติผู้หญิง  1  คน  ดูผู้ป่วยเพลียๆ เข้าไปสอบถามบอกว่าไม่เหนื่อยอะไร แต่ง่วงนอนเพราะมาตั้งแต่เช้า จึงพาไปนอนที่รถนอนที่บริเวณรถนอนข้างหน้าต่างช่วงรอตรวจก่อน แนะนำให้ญาติอยู่ดูแลผู้ป่วยตรงนั้นก่อน เมื่อใกล้ถึงคิวแล้วค่อยพามารอหน้าห้องตรวจ  หากมีอาการให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที

 

วันที่ 24 มิ.ย.51

           ผู้ป่วย Refer จากนครศรีธรรมราช รถนั่งตรวจเสร็จช่วงเช้า แพทย์ให้ Admit แต่ยังไม่มีเตียง รอเตียงก่อน ช่วงบ่ายจึงให้มารอเตียงในห้องรถนอน ผู้ป่วยมากับลูกสาว 2 คน ช่วงบ่ายไม่มีเตียงแน่นอน แพทย์นัดตรวจพรุ่งนี้เช้าที่คลินิกโรคปอดอีก แนะนำให้ผู้ป่วยหาที่พักในหาดใหญ่ ผู้ป่วยบอกว่าไม่มีญาติในหาดใหญ่ จึงแนะนำให้นอนพักที่วัดก่อน 1 คืน หากมีอาการผิดปกติอะไรก็ให้มาตรวจที่ห้องฉุกเฉินได้ และได้จองเตียงไว้ให้ผู้ป่วยแล้ว

  

วันที่ 25 มิ.ย.51

        วันนี้มาตรวจก่อนนัด เพราะมีอาการเท้าบวมทั้งสองข้าง บวมขึ้นมาจนถึงเข่า ผู้ป่วยมากับลูกสาว บ้านอยู่ตรังที่บ้านก็อยู่กันแค่ 2 คน (ตนเองกับลูกสาว) ส่วนลูกคนอื่นแต่งงานมีครอบครัวไปอยู่ต่างจังหวัด ผู้ป่วยบอกว่าอยากมารักษาที่ มอ. มากกว่าที่....... เพราะ มอ. มีแพทย์ที่ชำนาญ เก่ง มีเครื่องมือทันสมัย เวลามาก็เต็มใจที่จะรอการตรวจถึงแม้บางครั้งอาจจะรอนานก็ไม่เป็นไร

 

            วันที่ 27 มิถุนายน 2551 ผู้ป่วยมาตรวจรักษาเรื่องเบื่ออาหาร ไม่มีความอยากอาหาร รับประทานได้น้อย แพทย์ตรวจแล้ว ให้น้ำเกลือ  จึงให้รอในห้องรถนอน  และรอLab อยู่ขณะรอได้เข้าไปคุยกับผู้ป่วย ทราบว่าผู้ป่วยเป็นอดีตพยาบาลอยู่กรุงเทพและเคยเป็นอาจารย์สอนพยาบาล ที่วิทยาลัยพยาบาลนครศรีธรรมราชผู้ป่วยได้ให้ข้อแนะนำว่า ห้องน้ำในรถนอน ควรมีตะขอที่เกี่ยวน้ำเกลือหรือถุงเลือด เพื่อความสะดวกของผู้ป่วยเวลาเข้าห้องน้ำ จึงบอกผู้ป่วยว่าขอบคุณสำหรับข้อแนะนำและยินดีรับคำเสนอแนะต่างๆ ค่ะ 

 

                                                                                

 

คำสำคัญ (Tags): #รอตรวจ#รอเตียง
หมายเลขบันทึก: 192237เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2008 00:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สภาพผู้ป่วยคลินิกอายุรกรรม ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยหนัก ส่งตัวมาจากโรงพยาบาลต่างๆ มาถึงโรงพยาบาลตั้งแต่เช้า เพื่อรอคิว รอตรวจ รอเตียง บางวันไม่ได้คิวต้องนัดตรวจวันใหม่ บางรายไม่ได้เตียงต้องนัดมานอนวันใหม่ หากไม่มีบ้านญาติจะแนะนำให้พักที่อาคารเย็นศิระ วัดโคกนาว  ระหว่างรอเตียงหากมีอาการฉุกเฉินให้มาห้องฉุกเฉินทันที

พูดถึงอาคารเย็นศิระ วัดโคกนาว   ขณะนี้กำลังรับบริจาคเพื่อสมทบทุน ปรับปรุงอาคารให้ดีขึ้นกว่านี้ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยและญาติ  โดยเฉพาะผู้ป่วยที่รับการฉายแสง  เช่นผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนที่มูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์

ดนที่มาหาหมอเพราะว่า มีความป่วย มีความไข้ ถึงมาโรงพยาบาล ไม่เหมือนพยาบาล ต้องมาโรงพยาบาททุกวัน ทั้งๆที่ไม่ได้ป่วย ไม่ได้ไข้กับเขา และ ไม่ได้มาหาหมอเหมือนผู้ป่วย แต่ว่ามาเพือช่วยผู้ป่วย ให้ได้รับความสะดวก ช่วยสงเคราะห์คนที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด การทำอย่างนี้ เท่ากับว่าได้บำเพ็ญ ในข้อที่ว่าไวยาวัจจมัย ซึ่งแปลว่า การขวนขว้ายในกิจที่ชอบที่ควร เป็นคนไม่นึ่งดูดาย ต่อผู้อืน อย่างนี้ให้ทำต่อไป ขออนุโมทนา

เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท