นิทานพื้นบ้าน นิทานชาติพันธุ์ : กระบวนการสืบค้นตัวตนเด็กและชุมชน


นิทานพื้นบ้านหรือที่นี่เราเรียกว่า นิทานชาติพันธุ์ โดยตัวของมันเอง อาจจะดูเผินๆก็ไม่ต่างจากนิทานทั่วไป ที่เป็นเรื่องสั้นๆเกี่ยวกับผู้คน สิงสาราสัตว์ มีอิทธิปาฏิหาริย์ และแฝงด้วยคติสอนใจ แต่สิ่งที่พิเศษกว่า มีอยู่อย่างน้อยสองอย่างครับ

ในขณะที่วันหยุดสุดสัปดาห์ เด็กๆส่วนใหญ่ที่ปางมะผ้า จะใช่เวลาหมดไปกับการพักผ่อน ดูทีวีอยู่กับบ้าน หรือไม่ก็เที่ยวเตร่กับเพื่อนฝูง แต่มีเด็กอยู่ห้าหกคน ที่ขี่มอเตอร์ไซต์ไปตามหมู่บ้านต่างๆ เพื่อหาสมบัติล้ำค่า ที่ฝังอยู่ในสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ในชุมชน

 

เสียงเล่านิทานชาติพันธุ์จากคนแก่คนเฒ่า ถูกเสียงละครน้ำเน่าจากจอตู้กลบมานานหลายสิบปีแล้ว แต่วันนี้ ที่ปางมะผ้า แม่ฮ่องสอน สโมสรเล็กๆของพวกเราภูมิใจที่ได้มีส่วนเริ่มต้นกอบกู้อารยธรรมเหล่านี้

 

นิทานพื้นบ้านหรือที่นี่เราเรียกว่า นิทานชาติพันธุ์  โดยตัวของมันเอง อาจจะดูเผินๆก็ไม่ต่างจากนิทานทั่วไป  ที่เป็นเรื่องสั้นๆเกี่ยวกับผู้คน สิงสาราสัตว์ มีอิทธิปาฏิหาริย์ และแฝงด้วยคติสอนใจ แต่สิ่งที่พิเศษกว่า มีอยู่อย่างน้อยสองอย่างครับ

 

อย่างแรก ก็คือส่วนของเนื้อหา  เรื่องนิทานชาติพันธุ์เท่าที่โครงการเก็บมาได้ เนื้อหายังคงกลิ่นไอของความเป็นท้องถิ่น อัตลักษณ์ต่างๆ ที่ทำให้ผู้คนได้รับรู้ถึงสิ่งดีงาม เช่น บางเรื่องสอนถึงความซื่อสัตย์ บางเรื่องสอนถึงความกตัญญู บางเรื่องอธิบายถึงวัฒนธรรมประเพณี  ทำให้รู้สึกชื่นชมกลุ่มชาติพันธุ์ สะท้อนว่าพวกเขาก็มีคุณธรรมที่สูงส่งไว้สอนสั่งลูกหลานไม่ต่างจากคนไทย หรือคนกลุ่มที่มีอารยธรรมศิวิไลซ์

 

นิทานบางเรื่องก็สะท้อนการต่อสู้ หรือการถูกเอารัดเอาเปรียบไว้ แต่ก็ถูกถ่ายทอดดัดแปลงมาเป็นนิทาน เช่น บางเรื่องอธิบายถึงสาเหตุที่พวกเขาต้องอพยพเข้ามา บางเรื่องก็เล่าถึงสาเหตุที่ทำให้พวกเขาไม่รู้หนังสือ เป็นต้น

          พ่อเฒ่าลาหู่ กำลังเล่านิทานสืบสานแก่อนุชน

 

อย่างที่สอง ซึ่งสำคัญไม่แพ้เนื้อหา แต่อาจจะยากกว่า (ในความคิดของผม) คือเรื่องกระบวนการ นับตั้งแต่การอบรม และเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กที่จะลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลนิทาน ตั้งแต่วิธีการเข้าหาผู้นำชุมชน วิธีการสัมภาษณ์ จดบันทึก การแปลภาษา และพิมพ์เรียบเรียง รวมถึงการวาดภาพระบายสีประกอบ ทั้งยังต้องจัดประชุมติดตามผลอย่างต่อเนื่อง จนหกเดือนผ่านไป  เราก็ได้นิทานครบทั้ง 5 กลุ่มชาติพันธุ์ รวม 25 เรื่อง โดยมีนิทานจากไทใหญ่  ลาหู่ ลีซู  กะเหรี่ยง และลัวะ จากมากไปน้อยตามลำดับ

 

            อีกหนึ่งบรรยากาศของการเล่านิทาน

โครงการหนังสือนิทานชาติพันธุ์ สำหรับอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เสร็จสิ้นลงแล้ว ต้องขอขอบคุณอาจารย์ ดร. ขวัญชีวันบัวแดง แห่งภาควิชาสังคมวิทยามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้รู้นิทานชาติพันธุ์ทั้ง 8 หมู่บ้าน ที่ให้โอกาสแก่พวกเรา แน่นอนว่าสิ่งที่โครงการมอบเอาไว้ มิใช่แค่องค์ความรู้ที่เริ่มฟื้นคืน แต่ตัวผมและกลไกเด็กที่ทำงานในพื้นที่เองก็ได้เรียนรู้กระบวนการ สรรค์สร้างสุขภาวะแห่งการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

เด็กๆใช้การประชุมหลังเลิกเรียนเป็นการติดตามความก้าวหน้าของงานเป็นประจำ

แม้โครงการจะเสร็จสิ้นลง แต่ยังคงทิ้งโจทย์ที่ท้าทายกับพวกเราต่อไปว่าจะนำไปสู่การจัดการความรู้อย่างไร

 

โครงการนี้ ไม่เครียดครับ เด็กๆได้ความรู้ ได้ลดอคติต่อกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆที่ไม่ใช่พวกตน ได้ฝึกการลงภาคสนาม สร้างวินัยเชิงบวก รู้สึกภูมิใจในตัวเองที่ได้ทำงานที่มีคุณค่าสำเร็จ ภูมิใจที่เกิดมาเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีความงามทางวัฒนธรรม แถมมีรายได้สะสมไว้ใช้จ่ายยามจำเป็นไว้ลดภาระผู้ปกครอง ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จเองก็มีความสุข

 

            ตัวอย่างภาพวาดประกอบนิทาน ฝีมือเด็กๆไทใหญ่

เสียดาย ที่ อบต. กับโรงเรียนยังไม่ออกมารับลูกต่อ ถามหาการมีส่วนร่วมทีไร อย่างดี ก็ได้แต่มาร่วมเป็น ผู้ตามทั้งๆที่สังคมเรายังต้องการผู้นำทาง หรือผู้มีส่วนร่วมในฐานะหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ (boundary partner) จากสถาบันเหล่านี้ ซึ่งก็มีคนเก่งๆมากมาย แต่ไม่ว่าท่านจะตาม หรือไม่ ยังไง เราก็จะเดินหน้าต่อไป

 

อีกไม่นานเกินรอ ถ้าหนังสือนิทานชาติพันธุ์พิมพ์เป็นเล่มออกมา ลูกชายผมก็ไม่ต้องง้อหนังสือนิทานอีสปแล้วครับ

          "ขอบคุณ ป่าป๊า มากคับ"



ความเห็น (8)

สวัสดีครับอ้ายยอดดอย

ผมเพิ่งดูรายการคนค้นฅน ตอน "ไทยใหญ่ คนพลัดถิ่น สิ้นชาติ ไม่สิ้นวัฒนธรรม" จบ

ได้มาอ่านบันทึกนี้แล้วอารมณ์ต่อเนื่องเลยครับ เกิดความคิดอะไรบางอย่าง : )

สวัสดีค่ะคุณยอดดอย

* มาร่วมชื่นชมและเป็นกำลังใจค่ะ

* เด็กทุกคนควรมีสิทธิได้เรียนรู้

* ภาษาท้องถิ่นควรได้รับการสืบทอด

* ลูกชายน่ารักมากๆ .. ขอบคุณค่ะ

 

น้องต้นกล้าครับ

           คนไทใหญ่นี่ น่าสงสารเขามากครับ ต้องสิ้นแผ่นดิน สิ้นชาติ พ่อแม่พี่น้องลูกเมียถูกฆ่า ถูกข่มเหงอย่างเลือดเย็น เด็กบางคนเห็นแม่ถูกข่มขืนแล้วฆ่าต่อหน้าต่อตา เราคนไทย เป็นเพื่อนบ้านเขา ต้องเมตตาเห็นใจเขามากๆครับ

            ทำความคิดให้เป็นความจริงนะครับ มีอะไรให้ผมช่วยก็ยินดีครับ

สวัสดีครับคุณปู (poo)

  • ใช่ครับ เด็กทุกคนควรมีสิทธิเรียนรู้ แต่ผมอยากให้เปลี่ยนจะ "ควร" เป็น "ต้อง" และเพิ่มคำต่อท้ายว่า "อย่างเท่าเทียม"ครับ
  • สิทธิข้อนี้จะเป็นจริงได้ ผู้ใหญ่ก็ต้องมีสิทธิที่จะเรียนรู้เรื่องเด็กอย่างรอบด้านด้วย
  • ทุกวันนี้ หลายหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับเด็ก แต่บุคคลากรก็ถูกกีดกันไม่ให้ศึกษาเพิ่มเติมให้รู้จักเด็กอย่างเพียงพอ
  • ผู้ใหญ่นี่เป็นปัญหาสำคัญเลยนะครับ แต่เรามักจะมองตัวเองไม่เห็น ต้องใช้คนนอกเป็น "กระจก"มาส่อง กระจกส่องมองว่าสวยหล่อก็พึงใจ ดูแล้วดูอีก แต่ถ้ากระจกอันไหนส่องแล้วเห็นด้านที่ไม่ดี เช่น ชัดจนเห็นร่องรอยบนใบหน้า เราก็อาจจะไม่ชอบ ว่ากระจกไม่ดีซะนั่น
  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจ
  • ลูกชายน่ารักจริงๆครับ เขาชอบอ่านหนังสือ ขีดเขียนเรื่อยเปื่อย ชอบเล่นดินเล่นทรายใบไม้ใบหญ้า มีความสุขพอเพียงในแบบของเขา
  • อิจฉาคุณแม่จริงๆที่มีเวลาอยู่กับลูกมากกว่าพ่อ

อ่านแล้วนึกถึง รุ่นพี่เล่าให้ฟังว่าตอนเด็กๆที่พ่อจะเล่านิทานชาดกให้ลูกๆฟังก่อนนอนทุกคืน มีคติธรรมสอนใจด้วยทุกครั้ง ตัวเองไม่เคยมีโอกาสแบบนั้น เพราะพ่อแม่ทำงานทั้งคู่อยู่กับพี่เลี้ยง แต่จำได้ว่าตอนเด็กๆชอบฟังละครวิทยุเรื่องผีๆ พี่เลี้ยงพาฟังประจำ จนกลัวผีมาจนทุกวันนี้ค่ะ

  • แสดงว่า สิ่งที่พี่เลี้ยงเล่าให้ฟังมีผลต่อเด็กยาวนานเป็นสิบๆปีเลย
  • เห็นไหมล่ะครับว่า ผ้าขาวในใจเด็ก เวลาเปื้อนอะไรแล้วซักออกย้ากยาก
  • เรื่องนี้เตือนใจเรานะครับว่า ไม่ว่าเราจะทำดีหรือไม่อย่างไรกับเด็ก มันจะมีผลติดตัวเขาไปจนเป็นผู้ใหญ่ โดยเฉพาะกับเด็กเล็ก
  • พ่อผมก็ไม่เคยเล่านิทานให้ฟังครับ แต่ท่านชอบสอนผมทำการบ้าน ทำให้ผมเป็นคนชอบศึกษาหาความรู้มาจนทุกวันนี้
  • อีกหน่อย คุณ ping จะเป็นคุณพ่อที่ดี ผมเชื่ออย่างนั้นนะครับ

อยาก ให้ หนังสือ ที่น้องพอ เป็นนางเอก น้องออมสิน นะคะ ถ้าเสร็จ ป้าจะฝาก ลุงเอก จตุพร ไปให้ นะคะ

สวัสดีค่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท