สรุปงานห้องเรียน “คนธรรมดา” วิชา “ความรุนแรง 101”


กรณีหนึ่งที่ผมสะเทือนใจมาก คือ มีการอธิบายว่า คนที่ถูกตีจนตาย คือ คนที่เคยไปตีชาวบ้านที่อุดรธานี ฉะนั้นเค้าจึงสมควรตาย และคนที่อธิบายปรากฏการณ์นี้ คือ คนที่เคยผ่านเคยร่วมอยู่ในเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 มาแล้ว ผมสงสัยว่าเขาลืมเหตุการณ์เมื่อ 30 ปีที่แล้วหรืออย่างไร ทำไมสังคมไทยไม่สรุปบทเรียน และยังผลิตซ้ำความรุนแรงซ้ำแล้วซ้ำเล่า”

สรุปงานห้องเรียน คนธรรมดา วิชา ความรุนแรง 101”

 

        9 กันยายน 2551

        เวลา 4 โมงเย็น – 6 โมงเย็น

        คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ฝนหยุดตกไปนานแล้วและเข็มนาฬิกาก็ชี้ไปที่เลขหกและเลขสิบสอง เวลาของห้องเรียนดูเหมือนจะสิ้นสุดลงพร้อมๆกับคำถามที่เกิดขึ้นมากมาย และเป็นเรื่องที่นักเรียนคนธรรมดาในห้องจะต้องร่วมกันค้นหาคำตอบต่อไป ไม่ว่าจะเป็น.....

 

รัฐหรือใครที่กำลังใช้ความรุนแรงในปัจจุบัน ?

 

ความรุนแรงที่ดำรงอยู่ในพื้นที่อื่นๆ แต่ทำไมไม่ถูกอธิบาย ?

 

เราพึ่งตื่นจากความรุนแรงหรือไม่ ?

 

มีความรุนแรงอะไรบ้าง ที่นอกเหนือจากความรุนแรงทางกายภาพ ?

 

ความรุนแรงเป็นธรรมชาติหรือวัฒนธรรม ?

 

 

        บางคำพูดจากห้องเรียนเมื่อวานนี้ค่ะ............

 

วิธีคิดวิธีมองต่อสถานการณ์ปัจจุบันตีบตัน คือ เห็นแค่ 2 ขั้วความขัดแย้ง คือ กลุ่มพันธมิตรกับรัฐบาล หรืออีกมุมหนึ่ง คือ ฝ่ายรัฐบาลในฐานะนักเลือกตั้งกับภาคประชาชน ประหนึ่งว่าเวลามองไปรอบตัวเห็นแค่ 2 ขั้วที่ขัดแย้งเท่านั้น

 - วราภรณ์ แช่มสนิท

 

ตอนนั้นดิฉันคิดในใจว่า ทำไมตำรวจหน่วยนี้ดูน่ารัก แววตาใสแจ๋วจังเลย ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่เราเรียนมา ซึ่งมักบอกว่ารัฐเป็นผู้ผูกขาดการใช้ความรุนแรงเสมอ แต่ตำรวจกลุ่มนี้ที่เราเดินผ่าน แง่หนึ่งถือว่าเป็นตัวแทนรัฐ กลับดูน่ารักดี

- จันจิรา สมบัติพูนศิริ

 

อะไรทำให้คนๆหนึ่งยิงคนอื่นได้โดยไม่รู้สึกอะไร หรือว่าเขาเห็นว่า คนเหล่านั้นเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่คน? นี้คือความน่ากลัวเป็นอย่างยิ่ง เพราะความรุนแรงได้ทำงานกับจิตใจเรา ได้บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ความรุนแรงในหัวใจเราทุกวัน

- งามศุกร์ รัตนเสถียร

 

หลายคนในห้องนี้ทำงานไม่เป็นสุข ต้องเช็คข่าวการเมืองอยู่ตลอดเวลา หลายคนก็อยากจะทำอะไรกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ตนเองกลับรู้สึกเศร้า เหมือนกับว่าเราพึ่งตื่นตอนที่มีคนตายเท่านั้นหรือ แล้วที่ผ่านมาล่ะ! มีความรุนแรงเกิดขึ้นมากมาย แต่เราเฉยชินกับมัน ไม่ทำอะไรอย่างนั้นหรือ

- เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว

 

 “กรณีหนึ่งที่ผมสะเทือนใจมาก คือ มีการอธิบายว่า คนที่ถูกตีจนตาย คือ คนที่เคยไปตีชาวบ้านที่อุดรธานี ฉะนั้นเค้าจึงสมควรตาย และคนที่อธิบายปรากฏการณ์นี้ คือ คนที่เคยผ่านเคยร่วมอยู่ในเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 มาแล้ว ผมสงสัยว่าเขาลืมเหตุการณ์เมื่อ 30 ปีที่แล้วหรืออย่างไร ทำไมสังคมไทยไม่สรุปบทเรียน และยังผลิตซ้ำความรุนแรงซ้ำแล้วซ้ำเล่า

- อดิศร เกิดมงคล

 

 

มนุษย์ได้ใช้ความรุนแรงในการจัดการปัญหาต่างๆมาตลอดวิวัฒนาการของมนุษย์ มายาคติความรุนแรง เช่น ในเรื่องของความองอาจ ความกล้าหาญ ได้เกิดการสร้างวีรบุรุษ วีรสตรีขึ้นมา ก็ต่อเมื่อมีการต่อสู้ฟันฝ่าต่อความรุนแรงทั้งทางตรงและทางโครงสร้าง ความรุนแรงทำให้เรารู้สึกได้ถึงความกล้าหาญ ความองอาจของมนุษย์ แต่ผมสงสัยว่า ความคิดเรื่องความรุนแรงนี้เป็นความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมด้วยหรือไม่ ?”

- เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช

อ่านต่อที่ http://www.prachatai.com/05web/th/home/13613

หมายเลขบันทึก: 207574เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2008 17:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท