ลอยกระทง


วันเพ็ญ เดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริง "วันลอยกระทง"

วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทยส่วนใหญ่ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือเดือนยี่ (เดือนที่ 2) ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา "มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย

ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น

  • ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบอลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า "ยี่เป็ง" หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
    • จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"
    • จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
  • ภาคอีสานจะตบแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า "ไหลเรือไฟ"
  • กรุงเทพฯ จะมี งานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว7-10วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
  • ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา

ประวัติ

เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3

ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี

ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ"

ความเชื่อเกื่ยวกับวันลอยกระทง

  • เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ
  • เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย
  • เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ
  • ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพญามารได้

 

วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทยส่วนใหญ่ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือเดือนยี่ (เดือนที่ 2) ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา "มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย

ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น

  • ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบอลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า "ยี่เป็ง" หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
    • จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"
    • จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
  • ภาคอีสานจะตบแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า "ไหลเรือไฟ"
  • กรุงเทพฯ จะมี งานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว7-10วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
  • ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา

ประวัติ

เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3

ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี

ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ"

ความเชื่อเกื่ยวกับวันลอยกระทง

  • เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ
  • เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย
  • เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ
  • ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพญามารได้

เนื่องจากปีนี้เป็นปีที่เรารณรงค์ลดภาวะโลกร้อนขอเชิญพี่น้องชาว Gotoknow ทุกท่านมาร่วมกันลอยกระทงเพื่อสืบสานประเพณีไทยและเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ  โดยทำกระจากวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้เพื่อลดภาวะโลกร้อนและหนึ่งสโลแกนของเมืองพัทยา หนึ่งกระทง หนึ่งครอบครัว ค่ะ  ประหยัด ลดภาวะโลกร้อน ลดขยะด้วยค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลวันลอยกระทงจากเว็บไซด์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยค่ะ 12 พฤศจิกายน 51 นี้นะคะ อย่าลืมจ้า!

 

หมายเลขบันทึก: 220564เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2008 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • ขอบคุณครับที่นำเรื่องราวกระทงมาให้อ่าน
  • แต่ของผมสิ คงเป็นกระทงหลงทาง อิอิ
  • เพราะยังหาทางกลับบ้านไม่เจอ
  • สบายดีนะครับ

 

สวัสดึค่ะ แวะมาอ่านเรื่องราวของประเพณีไทย

-แล้วปีนี้ไปลอยที่ไหนดีค่ะ

·    ขอบคุณค่ะ  คนพลัดถิ่น (แล้วช่วงนี้พลัดแฟนด้วยนิ)

·    มาเร็วมากอ่ะนะ  สงสัยชาติที่แล้วคงเป็นม้าเร็วส่งสาร

·    หลงทางเสียเวลา  หลงติดยาเสียตังค์ซื้อยา อิอิ

·    ไม่ค่อยสบายเท่าไหร่ค่ะ

·    เพราะมีคนคิดถึงเยอะ

·    แต่ไม่มีใครให้คิดถึง อิอิ (ล้อเล่นน๊า)

 

·    ขอบคุณค่ะ krutoi

·    ปีนี้ก็ลอยที่พัทยาค่ะ มาเที่ยวมั๊ยคะ? เจ้าบ้านยินดีต้อนรับเต็มที่ค่ะ

สวัสดีค่ะ..ที่ทำงานก็หานางรำกันค่ะ  แต่งานนี้ต้องขอบายเพราะมือแข็ง เอวแข็ง รำไม่สวยค่ะ แต่ถ้าเป็นคุณณัชชา น่าจะฉลุยแน่ ๆ

  • วันเพ็ญเดือนสิงสอง
  • น้ำก็นองเต็มตลิ่ง..
  • ....................
  • ร้องมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว
  • และก็ยังร้องจนปัจจุบัน
  • อย่างไม่เบื่อจริงๆ
  • ขอบคุณสำหรับข้อมูลเก่ามาเล่าใหม่
  • เพราะลืมไปบ้างแล้ว  อิ อิ

o                ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยม

o                คุณพิซซา

o                เห็นชื่อแล้วอยากไป พิซซ่าฮัท อ่ะ

o                หิวมาก

o                แต่อยู่ในช่วงลดน้ำหนักค่ะ

o                รอก่อน

o                เดี๋ยวได้กิน

o                อิอิ

 

ว่าที่ พ.ต. ณัฏฐพล ตันมิ่ง

o                ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยม

o                แล้วเอารูปกระทงสวย ๆ  มาลงให้

o                ยังทำไม่เป็นเลยค่ะ

o                ก็ทำแบบไม่ยังรู้อะไรเลยค่ะ

พี่มนัญญา

o                ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยม

o                ก์เกือบจะลืมเหมือนกันค่ะ สำหรับเพลงนี้

o                แต่ที่ทำงานต้องจัดกิจกรรมทุกปีค่ะ

o                เจ้าหน้าที่ต้องนำสมาชิกร้องเพลงนี้

o                ก็เลยลืมไม่ได้ค่ะ

  • ธุค่ะ..

ตั้งแต่โตขึ้นมาพอจะรู้เรื่องรู้ราว..ต้อมแน่ใจว่าตัวเองไม่เคยลอยกระทงเลย    รู้สึกสงสารแม่น้ำ..เพราะใครๆ ก็ลอยกระทงกันในวันนั้น    และอีกเหตุผลที่ทำให้ต้องไกลห่างจากเทศกาลนี้ก็เพราะเหมือนคนมีกรรม    ประสบอุบัติเหตุเกี่ยวกับประทัดหรือดอกไม้ไฟตามสถิติแทบจะปีเว้นปี    จนถือเป็นกฏเคร่งครัดคือจะไม่ยอมออกนอกบ้าน    ที่จำได้แม่น ตอนเด็กๆ เล็กๆ ชุดไหม้ทั้งชุด   พอมัธยมก็จู่ๆ ได้รู้สึกร้อนวูบที่หน้า  เอามือลูบดูเห็นสีดำๆ  ทั้งเลือดทั้งเขม่า (มันมาจากไหนเนี่ย???????)   เจอที่ข้อมือมั่ง   ปักลงกลางหัวมั่ง   สารพัด..ทั้งๆ ที่ระมัดระวังไม่เอาตัวเองไปอยู่ตรงมุมที่เสี่ยง

ขอบคุณนะคะที่แวะไปทักทายกันที่บันทึก  ^^

☺สวัสดีค่ะ มาอ่านเรื่องลอยกระทงค่ะ

☺ลอยกระทงแล้วจะโชคดีค่ะ

 ☺ขอบคุณค่ะ

o                ขอบคุณค่ะที่เข้ามาเยี่ยม

o                เนปาลี

o                ชอบจังเลยชื่อนี้  น่ารักมากค่ะ

o                ก็สงสารแม่น้ำเหมือนกันนะ

o                แต่ก็รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทยไว้

o                แต่ว่าจะเลือกอะไรดีหล่ะ

o                ไปที่เขมรเมื่อปลายปีที่แล้ว

o                แม่น้ำ หรือคลองที่บ้านเขาน้ำใสมาก

o                มองเห็นพื้นดินด้านล่างเลย

o                อยากให้บ้านเราเป็นแบบนั้นจัง

o                ได้แค่คิด

o                ตอนนี้ที่ทำงานก็กำลังรณรงค์ ลดภาวะโลกร้อน

o                พยายามรณรงค์ให้สมาชิกใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก เวลาไปซื้อของที่ซุปเปอร์มาร์ เก็ตหรือที่ตลาด

o                ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลยเนอะ

 

o                หนูรี

o                ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยม

o                ขอให้มีความสุขนะคะ

o                หลังจากที่ลอยกระทงแล้ว

o                หายทุกข์ หายโศก หายเจ็บ หายป่วย นะคะ

o                โชคดี โชคดี ตลอดไปค่ะ

o                สาธุ!!!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท